หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 44 วันที่ 1 พฤษภาคม 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 44 วันที่ 1 พฤษภาคม 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 44
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องนั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาว กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้กาย
ถ้ารู้ทั้งเวลาหายใจเข้าหายใจออกก็เรียกว่า สัมปชัญญะ จนมีความรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วก็รู้กาย ลึกลงไปรู้ใจ รู้ลักษณะของใจ ใจที่เกิดปรุงแต่งส่งไปมาภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ แล้วก็รู้ลักษณะอาการของความคิด อาการของใจ หรือว่าอาการของขันธ์ห้า ผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมไปด้วยกันได้อย่างไร ตรงนี้แหละคือความหลง ใจของเรามาหลงความคิดหลงอารมณ์ เข้าไปรวมเข้าไปร่วม จนมองเห็นว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
แต่ในหลักธรรมท่านให้หัดสังเกต หัดวิเคราะห์ หัดรู้ตัว สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องทุกอิริยาบถตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จนรู้โดยอัตโนมัติ จนรู้เท่าทัน รู้การแยกการคลาย หรือว่าแยกรูปแยกนาม สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก เห็นถูกที่ใจไม่เข้าไปหลงเข้าไปร่วม เหมือนกับการพลิกของที่คว่ำ หงายของที่คว่ำ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา เราก็จะเห็นความเกิดความดับของความคิด เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เราก็จะเข้าเห็น เข้าถึง รู้ความจริงหลักของอนิจจัง ความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขังเป็นทุกข์ แล้วก็หลักของอนัตตาก็จบไป อนัตตาความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา แต่กำลังสติของเรามีน้อยเราก็เลยไม่เห็น
แต่การสร้างบารมีส่วนอื่น พวกเราก็พยายามพากันทำพากันสร้าง ตั้งแต่ทาน การให้การเอาออก การช่วยเหลือการอนุเคราะห์ รู้จักทำความเข้าใจกับคำว่า ศีล ความปกติ ปกติอยู่ในระดับตั้งแต่ระดับใจปกติ กายปกติ วาจาปกติ นั่นแหละคือศีล สมาธิใจที่สงบ ใจที่ไม่มีความกังวล ใจที่ไม่มีความฟุ้งซ่าน ใจของเราสงบเขาเรียกว่า สมถะภาวนา แต่ถ้าเราแยกแยะได้ ตามดูได้ เราต้องให้สงบทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่งนอน กินอยู่ ขับถ่าย สงบจากการเกิด สงบจากความหลง คลายความหลง แยกรูปแยกนาม ตามดูละขันธ์ห้า ละกิเลส ดับความเกิด หนุนนำกำลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทน
การได้ยิน ได้ฟัง และอ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม การลงมือการกระทำต้องรู้ทุกขณะลมหายใจเข้าออก จนเป็นมหาสติ มหาปัญญา จนอบรมใจของเราได้ ท่านถึงว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรกคือตัวสติที่เราสร้างขึ้นมา ตัวที่สองก็คือตัวใจ แต่เวลานี้ใจของเราไปพึ่งเอาความคิดเก่าๆ ไปพึ่งอำนาจของกิเลสและก็พึ่งตัวของเขาเองคือการเกิด เราดับความเกิดได้ก็จะเข้าถึงตัวใจ คือความว่างความบริสุทธิ์ ก็ต้องพยายามกัน ต้องศึกษากันให้ละเอียด ไม่เข้าถึงความเป็นจริงในวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ เดือนหน้า ปีหน้า ไม่ถึงจริงๆ ไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ อย่าไปทิ้งบุญ ในการทำบุญในการให้ทาน หมั่นสร้างสะสมคุณงามความดี สร้างตบะสร้างบารมีให้เกิดขึ้น จากน้อยๆ ไปหามากๆ เดี๋ยวก็เต็มเปี่ยม
เพียงแค่เรื่องการเจริญสติ สังเกต สร้างความรู้ตัวอยู่ หายใจเข้าออก พวกเราก็ไม่ค่อยจะสนใจกัน ถ้ารู้จักสนใจรู้จักวิเคราะห์ การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ กายทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างนี้ ภาษาธรรมเป็นลักษณะอย่างนี้ คำว่าอัตตาอนัตตาแยกคลายกันเป็นอย่างนี้ สมมติวิมุตติเป็นอย่างนี้ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
บุคคลที่มีปัญญา พอมองเห็นทางเท่านั้นก็จะไปเร่งทำความเพียร อยู่คนเดียวเราก็วิเคราะห์เรา อยู่หลายคนเราก็วิเคราะห์เรา แก้ไขตัวเรา ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละกิเลส เหตุจากภายนอกทำให้เกิด หรือเกิดจากภายใน เราก็ต้องพยายามดูวิเคราะห์อะไรคือสมมติ กายเป็นก้อนสมมติได้อย่างไร ทำไมท่านถึงว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองทั้งห้ามีอะไรบ้าง วิญญาณขันธ์ กองรูปกองนาม การดำเนินวิธีการแนวทางเราจะเจริญสติเข้าไปดูรู้ได้อย่างไร
มองเห็นหนทางเดิน เหมือนกับเรามองดูต้นไม้สักต้น อันนี้กิ่งนะ อันนี้ใบนะ อันนี้เปลือกนะ อันนี้กระพี้นะ อันนี้แก่นนะ ค่อยไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถอนรากถอนโคนต้นเหตุแห่งการเกิดโน่น มันก็จะมองเห็นตามความเป็นจริง เข้าถึงธรรมได้เร็วได้ไว ธรรมก็อยู่ที่ใจของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างวันนี้มี พรุ่งนี้มี เดือนหน้ามี ภพหน้ามี พ่อแม่มี พี่น้องมี เราก็ต้องพยายามหัดวิเคราะห์ หัดทำความเข้าใจขณะที่ยังมีกำลังกายอยู่ ก็ต้องพยายาม
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กันค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องนั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาว กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้กาย
ถ้ารู้ทั้งเวลาหายใจเข้าหายใจออกก็เรียกว่า สัมปชัญญะ จนมีความรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วก็รู้กาย ลึกลงไปรู้ใจ รู้ลักษณะของใจ ใจที่เกิดปรุงแต่งส่งไปมาภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ แล้วก็รู้ลักษณะอาการของความคิด อาการของใจ หรือว่าอาการของขันธ์ห้า ผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมไปด้วยกันได้อย่างไร ตรงนี้แหละคือความหลง ใจของเรามาหลงความคิดหลงอารมณ์ เข้าไปรวมเข้าไปร่วม จนมองเห็นว่าเป็นสิ่งเดียวกัน
แต่ในหลักธรรมท่านให้หัดสังเกต หัดวิเคราะห์ หัดรู้ตัว สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องทุกอิริยาบถตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จนรู้โดยอัตโนมัติ จนรู้เท่าทัน รู้การแยกการคลาย หรือว่าแยกรูปแยกนาม สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก เห็นถูกที่ใจไม่เข้าไปหลงเข้าไปร่วม เหมือนกับการพลิกของที่คว่ำ หงายของที่คว่ำ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา เราก็จะเห็นความเกิดความดับของความคิด เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เราก็จะเข้าเห็น เข้าถึง รู้ความจริงหลักของอนิจจัง ความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขังเป็นทุกข์ แล้วก็หลักของอนัตตาก็จบไป อนัตตาความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา แต่กำลังสติของเรามีน้อยเราก็เลยไม่เห็น
แต่การสร้างบารมีส่วนอื่น พวกเราก็พยายามพากันทำพากันสร้าง ตั้งแต่ทาน การให้การเอาออก การช่วยเหลือการอนุเคราะห์ รู้จักทำความเข้าใจกับคำว่า ศีล ความปกติ ปกติอยู่ในระดับตั้งแต่ระดับใจปกติ กายปกติ วาจาปกติ นั่นแหละคือศีล สมาธิใจที่สงบ ใจที่ไม่มีความกังวล ใจที่ไม่มีความฟุ้งซ่าน ใจของเราสงบเขาเรียกว่า สมถะภาวนา แต่ถ้าเราแยกแยะได้ ตามดูได้ เราต้องให้สงบทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่งนอน กินอยู่ ขับถ่าย สงบจากการเกิด สงบจากความหลง คลายความหลง แยกรูปแยกนาม ตามดูละขันธ์ห้า ละกิเลส ดับความเกิด หนุนนำกำลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทน
การได้ยิน ได้ฟัง และอ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม การลงมือการกระทำต้องรู้ทุกขณะลมหายใจเข้าออก จนเป็นมหาสติ มหาปัญญา จนอบรมใจของเราได้ ท่านถึงว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรกคือตัวสติที่เราสร้างขึ้นมา ตัวที่สองก็คือตัวใจ แต่เวลานี้ใจของเราไปพึ่งเอาความคิดเก่าๆ ไปพึ่งอำนาจของกิเลสและก็พึ่งตัวของเขาเองคือการเกิด เราดับความเกิดได้ก็จะเข้าถึงตัวใจ คือความว่างความบริสุทธิ์ ก็ต้องพยายามกัน ต้องศึกษากันให้ละเอียด ไม่เข้าถึงความเป็นจริงในวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ เดือนหน้า ปีหน้า ไม่ถึงจริงๆ ไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ อย่าไปทิ้งบุญ ในการทำบุญในการให้ทาน หมั่นสร้างสะสมคุณงามความดี สร้างตบะสร้างบารมีให้เกิดขึ้น จากน้อยๆ ไปหามากๆ เดี๋ยวก็เต็มเปี่ยม
เพียงแค่เรื่องการเจริญสติ สังเกต สร้างความรู้ตัวอยู่ หายใจเข้าออก พวกเราก็ไม่ค่อยจะสนใจกัน ถ้ารู้จักสนใจรู้จักวิเคราะห์ การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ กายทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างนี้ ภาษาธรรมเป็นลักษณะอย่างนี้ คำว่าอัตตาอนัตตาแยกคลายกันเป็นอย่างนี้ สมมติวิมุตติเป็นอย่างนี้ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
บุคคลที่มีปัญญา พอมองเห็นทางเท่านั้นก็จะไปเร่งทำความเพียร อยู่คนเดียวเราก็วิเคราะห์เรา อยู่หลายคนเราก็วิเคราะห์เรา แก้ไขตัวเรา ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละกิเลส เหตุจากภายนอกทำให้เกิด หรือเกิดจากภายใน เราก็ต้องพยายามดูวิเคราะห์อะไรคือสมมติ กายเป็นก้อนสมมติได้อย่างไร ทำไมท่านถึงว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองทั้งห้ามีอะไรบ้าง วิญญาณขันธ์ กองรูปกองนาม การดำเนินวิธีการแนวทางเราจะเจริญสติเข้าไปดูรู้ได้อย่างไร
มองเห็นหนทางเดิน เหมือนกับเรามองดูต้นไม้สักต้น อันนี้กิ่งนะ อันนี้ใบนะ อันนี้เปลือกนะ อันนี้กระพี้นะ อันนี้แก่นนะ ค่อยไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถอนรากถอนโคนต้นเหตุแห่งการเกิดโน่น มันก็จะมองเห็นตามความเป็นจริง เข้าถึงธรรมได้เร็วได้ไว ธรรมก็อยู่ที่ใจของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างวันนี้มี พรุ่งนี้มี เดือนหน้ามี ภพหน้ามี พ่อแม่มี พี่น้องมี เราก็ต้องพยายามหัดวิเคราะห์ หัดทำความเข้าใจขณะที่ยังมีกำลังกายอยู่ ก็ต้องพยายาม
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กันค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ