หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 35 วันที่ 11 เมษายน 2560
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 35 วันที่ 11 เมษายน 2560
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2560 ลำดับที่ 35
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 เมษายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าหายใจออกพวกเราก็ขาดการสังเกต ขาดการวิเคราะห์ ก็เลยรู้ไม่ทัน ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว
การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาวนี้ ความรู้สึกของกายก็จะสบายขึ้น ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากใจหรือว่าเกิดจากขันธ์ห้าก็จะหยุด สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราก็ชัดเจน ความรู้สึกรับรู้เวลาลมหายใจเข้าหายใจออกนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้ตัว สติรู้กาย ถ้าเรารู้ทั้งลมหายใจเข้าหายใจออกให้ต่อเนื่อง 1 นาที 2 นาที 3 นาที เป็น 5 เป็น 10 นาที ความรู้สึกตัวก็ต่อเนื่อง ภาษาธรรมท่านเรียกว่า สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม เราจงพยายามสร้างความรู้สึกตรงนี้แหละตั้งแต่ตื่นขึ้นยังไม่ลุกจากที่ จนเอาไปรู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้เท่าทันการเกิดของขันธ์ห้า
ความคิดที่เกิดจากใจเกิดจากขันธ์ห้า เขามีอยู่ตลอด เขาเกิดอยู่ตลอด เรามาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่นี้ให้เข้มแข็งให้เร็วไว รู้ไม่ทันเราก็พยายามหยุดความคิดเก่าๆ เอาไว้ จนกำลังสติของเราเข้มแข็งต่อเนื่อง จนเห็นการเกิดของความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิด กับตัววิญญาณในกาย หรือว่าตัวใจเคลื่อนเข้าไปรวม จะรู้เท่าทันก็จะเห็น ถ้าเราเห็นขณะเขาเกิด ขณะเขาเคลื่อนเข้าไปร่วม เขาก็จะแยกออกจากกันซึ่งเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ใจแยกออกจากขันธ์ห้า เขาเรียกว่า แยกรูปแยกนาม
ใจก็หงายขึ้นมา ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา ความรู้ตัวของเราตามเห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าเป็นเรื่องอะไร บางทีก็เป็นเรื่องอดีต เรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกลางๆ บางทีก็เป็นกุศลหรือว่าอกุศล อันนี้เกิด อาการของขันธ์ห้าเกิด
เราเห็น เราตามดู เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อัตตาเป็นอย่างนี้ อนัตตาเป็นอย่างนี้ สมมติเป็นอย่างนี้ วิมุตติเป็นอย่างนี้ ทีนี้เราก็มาดับความเกิดที่ใจ มาละกิเลสที่ใจ ขัดเกลากิเลสออกที่ใจ ความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก สารพัดอย่าง กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ใจเกิดเมื่อไรเราก็พยายามดับ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจเกิดความโลภเราพยายามละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออกให้ ให้ ก็มีให้หลายอย่างให้ทางด้านวัตถุทาน ทานอารมณ์ทานกิเลส เราก็พยายามหัดสังเกตวิเคราะห์ดูให้อภัยทานอโหสิกรรม
ใจไม่มีกิเลสเราก็มาดับความเกิดของใจอีก เราดับที่นั่นที่นี่ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น เราก็รู้จักการสร้างสะสมพลังจิต เครื่องอยู่ของจิต หรือว่าวิหารธรรม ความว่างนั้นมีจิตรับรู้อยู่เขาเรียกว่า วิหารธรรม คือเครื่องอยู่ของจิตหรือเครื่องอยู่ของใจ ใจไม่มีกิเลสใจก็ว่าง ใจไม่เกิดใจก็นิ่ง เขาก็รับรู้อยู่ภายใน การเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เอา แต่เวลานี้ความรู้ตัวก็ยังไม่ได้สร้าง สติก็ยังไม่ต่อเนื่อง การเกิดการดับของใจก็ส่งเสริม ความคิดที่เกิดจากอาการของใจ รวมกันไปกับใจก็ส่งเสริมกันไปทั้งสติทั้งปัญญา อันนี้เพียงแค่ระดับสมมติก็ยังหลง
เราก็ต้องพยายามคลายทั้งสมมติ รู้ทั้งวิมุตติ แก้ไขปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไปอยู่ที่โน่นฉันจะรู้ธรรม ไปอยู่ที่นี่ฉันจะรู้ธรรม อันนั้นมันก็ ถ้าเราดำเนินไม่ถูกที่ถูกทาง ทำให้ต่อเนื่อง รู้จักศึกษาค้นคว้า กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ละกิเลสหยาบได้เป็นอย่างไร ใจที่ละกิเลสปานกลางได้เป็นอย่างไร ใจที่ละกิเลสละเอียดได้เป็นอย่างไร การดับความเกิดเป็นอย่างไร มีอยู่ในกายของเราหมด ถ้าเราไม่ศึกษาค้นคว้าเราก็จะไม่เข้าใจ
กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร หูตาจมูกลิ้นกายเขาทำหน้าที่อย่างไร ถ้าเรารู้จักอันนี้สติปัญญาที่สร้างขึ้นมา อันนี้คือใจ อันนี้คืออาการของใจ เราก็จะมองออก มองเห็น เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่าพระพุทธเจ้านั้นมีจริง ไม่ต้องไปลังเลสงสัยอะไร ที่คำสอนของท่านมีมาตั้งหลายร้อยหลายพันปีก็ยังมีปรากฏ แต่พวกเรายังทำไม่ถึง ก็ยังมีแค่ศรัทธา แต่ยังขาดปัญญา ต้องศรัทธาและปัญญาตามดู ตามรู้ ตามเห็น รู้แจ้งเห็นจริง พระพุทธองค์ก็จะมาอยู่ที่ใจของเราก็คือพุทธะ รู้ใจของเรา ใจของเรารับรู้ มีสติปัญญาคอยดูรู้เห็นตามความเป็นจริงทุกอย่าง หมดความสงสัยหมดความลังเล มีตั้งแต่จะเดินให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน
ให้รู้เรื่องของนิพพานขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ หมดหนทาง หมดหนทางที่จะเข้าไปแก้ไข ถ้าเราไม่ได้เจริญสติ มีแต่ตั้งแต่จะสร้างกิเลสเข้าทับถมดวงใจของตัวเอง ก็ต้องพยายามนะ ไม่เหลือวิสัย ทั้งพระทั้งโยมทั้งชี ได้ยินได้ฟังได้อ่าน การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ เราต้องให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 เมษายน 2560
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าหายใจออกพวกเราก็ขาดการสังเกต ขาดการวิเคราะห์ ก็เลยรู้ไม่ทัน ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว
การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาวนี้ ความรู้สึกของกายก็จะสบายขึ้น ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากใจหรือว่าเกิดจากขันธ์ห้าก็จะหยุด สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราก็ชัดเจน ความรู้สึกรับรู้เวลาลมหายใจเข้าหายใจออกนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้ตัว สติรู้กาย ถ้าเรารู้ทั้งลมหายใจเข้าหายใจออกให้ต่อเนื่อง 1 นาที 2 นาที 3 นาที เป็น 5 เป็น 10 นาที ความรู้สึกตัวก็ต่อเนื่อง ภาษาธรรมท่านเรียกว่า สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม เราจงพยายามสร้างความรู้สึกตรงนี้แหละตั้งแต่ตื่นขึ้นยังไม่ลุกจากที่ จนเอาไปรู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้เท่าทันการเกิดของขันธ์ห้า
ความคิดที่เกิดจากใจเกิดจากขันธ์ห้า เขามีอยู่ตลอด เขาเกิดอยู่ตลอด เรามาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่นี้ให้เข้มแข็งให้เร็วไว รู้ไม่ทันเราก็พยายามหยุดความคิดเก่าๆ เอาไว้ จนกำลังสติของเราเข้มแข็งต่อเนื่อง จนเห็นการเกิดของความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิด กับตัววิญญาณในกาย หรือว่าตัวใจเคลื่อนเข้าไปรวม จะรู้เท่าทันก็จะเห็น ถ้าเราเห็นขณะเขาเกิด ขณะเขาเคลื่อนเข้าไปร่วม เขาก็จะแยกออกจากกันซึ่งเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ใจแยกออกจากขันธ์ห้า เขาเรียกว่า แยกรูปแยกนาม
ใจก็หงายขึ้นมา ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา ความรู้ตัวของเราตามเห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าเป็นเรื่องอะไร บางทีก็เป็นเรื่องอดีต เรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกลางๆ บางทีก็เป็นกุศลหรือว่าอกุศล อันนี้เกิด อาการของขันธ์ห้าเกิด
เราเห็น เราตามดู เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อัตตาเป็นอย่างนี้ อนัตตาเป็นอย่างนี้ สมมติเป็นอย่างนี้ วิมุตติเป็นอย่างนี้ ทีนี้เราก็มาดับความเกิดที่ใจ มาละกิเลสที่ใจ ขัดเกลากิเลสออกที่ใจ ความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก สารพัดอย่าง กิเลสหยาบกิเลสละเอียด ใจเกิดเมื่อไรเราก็พยายามดับ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจเกิดความโลภเราพยายามละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออกให้ ให้ ก็มีให้หลายอย่างให้ทางด้านวัตถุทาน ทานอารมณ์ทานกิเลส เราก็พยายามหัดสังเกตวิเคราะห์ดูให้อภัยทานอโหสิกรรม
ใจไม่มีกิเลสเราก็มาดับความเกิดของใจอีก เราดับที่นั่นที่นี่ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น เราก็รู้จักการสร้างสะสมพลังจิต เครื่องอยู่ของจิต หรือว่าวิหารธรรม ความว่างนั้นมีจิตรับรู้อยู่เขาเรียกว่า วิหารธรรม คือเครื่องอยู่ของจิตหรือเครื่องอยู่ของใจ ใจไม่มีกิเลสใจก็ว่าง ใจไม่เกิดใจก็นิ่ง เขาก็รับรู้อยู่ภายใน การเกิดเป็นทุกข์เขาก็ไม่เอา แต่เวลานี้ความรู้ตัวก็ยังไม่ได้สร้าง สติก็ยังไม่ต่อเนื่อง การเกิดการดับของใจก็ส่งเสริม ความคิดที่เกิดจากอาการของใจ รวมกันไปกับใจก็ส่งเสริมกันไปทั้งสติทั้งปัญญา อันนี้เพียงแค่ระดับสมมติก็ยังหลง
เราก็ต้องพยายามคลายทั้งสมมติ รู้ทั้งวิมุตติ แก้ไขปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไปอยู่ที่โน่นฉันจะรู้ธรรม ไปอยู่ที่นี่ฉันจะรู้ธรรม อันนั้นมันก็ ถ้าเราดำเนินไม่ถูกที่ถูกทาง ทำให้ต่อเนื่อง รู้จักศึกษาค้นคว้า กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ละกิเลสหยาบได้เป็นอย่างไร ใจที่ละกิเลสปานกลางได้เป็นอย่างไร ใจที่ละกิเลสละเอียดได้เป็นอย่างไร การดับความเกิดเป็นอย่างไร มีอยู่ในกายของเราหมด ถ้าเราไม่ศึกษาค้นคว้าเราก็จะไม่เข้าใจ
กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร หูตาจมูกลิ้นกายเขาทำหน้าที่อย่างไร ถ้าเรารู้จักอันนี้สติปัญญาที่สร้างขึ้นมา อันนี้คือใจ อันนี้คืออาการของใจ เราก็จะมองออก มองเห็น เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่าพระพุทธเจ้านั้นมีจริง ไม่ต้องไปลังเลสงสัยอะไร ที่คำสอนของท่านมีมาตั้งหลายร้อยหลายพันปีก็ยังมีปรากฏ แต่พวกเรายังทำไม่ถึง ก็ยังมีแค่ศรัทธา แต่ยังขาดปัญญา ต้องศรัทธาและปัญญาตามดู ตามรู้ ตามเห็น รู้แจ้งเห็นจริง พระพุทธองค์ก็จะมาอยู่ที่ใจของเราก็คือพุทธะ รู้ใจของเรา ใจของเรารับรู้ มีสติปัญญาคอยดูรู้เห็นตามความเป็นจริงทุกอย่าง หมดความสงสัยหมดความลังเล มีตั้งแต่จะเดินให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน
ให้รู้เรื่องของนิพพานขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ หมดหนทาง หมดหนทางที่จะเข้าไปแก้ไข ถ้าเราไม่ได้เจริญสติ มีแต่ตั้งแต่จะสร้างกิเลสเข้าทับถมดวงใจของตัวเอง ก็ต้องพยายามนะ ไม่เหลือวิสัย ทั้งพระทั้งโยมทั้งชี ได้ยินได้ฟังได้อ่าน การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ เราต้องให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ