หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 79 วันที่ 24 ตุลาคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 79 วันที่ 24 ตุลาคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี2561 ลำดับที่ 79
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 24 ตุลาคม 2561
มีความสุขกันทุกคน ดูดีๆ นะ พระเราชีเรา รู้จักกะประมาณในการขบฉันของเรา อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้งปล่อยเวลาทิ้ง ทั้งพระใหม่ทั้งพระเก่าเราต้องเป็นผู้ใหม่ตลอด ผู้ตื่นตลอด กายของเราต้องการอาหาร กายเกิดความหิว หรือว่าใจเกิดความอยาก เราต้องพยายามดูรู้ให้ทัน ถ้าใจเกิดความยากก็รู้จักหยุด รู้จักดับ เขาเรียกว่า ใช้สมถะเข้าไปดับ
อย่าไปคิดว่าเวลาโน้นเวลานี้ ใจเกิดเมื่อไหร่เราก็อบรมใจเมื่อนั้น ดับเมื่อนั้น ใจเกิดกิเลสเมื่อไรเราก็ละกิเลสทันที พยายามฝึกฝนตัวเราทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้น ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอได้อย่างไร ใจของเราเกิดส่งไปภายนอกได้อย่างไร ใจเป็นกุศลหรือว่าอกุศล กิเลสหยาบ หรือว่ากิเลสละเอียด มีหมด ถ้าเราเจริญสติเข้าไปดูรู้ทำความเข้าใจจะสนุก สนุกในการดูในการรู้ว่าเราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน เราจงพยายามเอากิเลสมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ความโลภ ความโกรธ ความอยาก เปลี่ยนเป็นความต้องการของสติปัญญาเข้าไปทำหน้าที่แทน ตื่นขึ้นมาก็รีบรู้กายรู้ใจของเรา เราก็จะได้ฟังธรรมตลอดเวลา ตากระทบรูป ใจของเราเกิดความยินดียินร้ายหรือไม่ หูกระทบเสียง เราจงแยกรูป รส กลิ่น เสียง ออกจากใจของเรา เราอย่าไปห้ามตาอย่าไปดู ก็ไม่ได้ ห้ามหูอย่าไปฟัง ก็ไม่ได้ เขาทำหน้าที่ของเขา เราต้องไปดูใจ รู้ใจ ใจเกิดความยินดียินร้าย ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ ทำในสิ่งตรงกันข้าม คลายกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมด
ความเกิดความอยากแม้แต่นิดเดียว ไม่ต้องไปเอาตัวใหญ่ ใจก่อตัวเมื่อไหร่ ความอยากเมื่อไหร่นั้นแหละเราดับ ใจก็จะไม่มีกำลังส่งไป ส่วนมากก็มีตั้งแต่ส่งเสริม ตัวความคิดผุดขึ้นมาเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า ผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมแล้วก็ส่งเสริมไปด้วยกันทั้งสติปัญญาไปกันทั้งก้อน ถูกผิด ถูกก็ถูกทั้งก้อน ผิดก็ผิดทั้งก้อน แต่ในหลักธรรมผิดหมด เพราะว่าการเกิดของใจมีอยู่ อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติเท่านั้นเอง
แต่ในหลักธรรมใจยังเกิด ความเกิดของใจคือความหลงอันละเอียด ทำอย่างไรใจถึงละความเกิด ดับความเกิดได้ หนุนกำลังสติปัญญาไปเกิดแทนทุกเรื่อง ใหม่ๆ ก็จะฝืนกับกิเลส ท่านถึงว่าทวนกระแสกิเลส ถ้าเราเข้าใจแล้ว ใจของเราก็จะตกกระแสธรรม ไปตามธรรม ธรรมชาติของใจที่ไม่มีกิเลสก็สะอาดบริสุทธิ์ ธรรมชาติของสมมติโลกธรรมเขาก็เป็นอยู่อย่างนั้น
เราต้องศึกษาให้ละเอียดในร่างกายของเราในชีวิตของเรา เป็นเรื่องของตัวเราเองไม่ใช่เรื่องของคนอื่น แต่ส่วนมากก็มีตั้งแต่เรื่องของคนอื่น คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ ไม่เคยมีเรื่องของเราสักที มีตั้งแต่เรื่องของเรา แก้ไขลงไป อบรมใจของเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น
อะไรคือสติปัญญาที่สร้างขึ้นมา อะไรคือส่วนใจ อะไรคืออาการของใจ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เป็นกองเป็นขันธ์ได้อย่างไร ความไม่เที่ยง คำว่าไม่เที่ยงในหลักธรรมคืออะไรไม่เที่ยง ไม่เที่ยงหมดนั่นแหละ ไม่เที่ยงหมดทุกอย่าง แต่เรามองไม่เห็น มองเห็นความไม่เที่ยงเฉพาะภายนอก
แต่ความไม่เที่ยงในหลักธรรม คือความเกิดความดับของใจ ความเกิดความดับของขันธ์ห้า ความไม่เที่ยงความเสื่อมในอัตภาพร่างกายของตัวเรา คนเราเกิดขึ้นมาต้องอาศัย อาศัยโลกอาศัยปัจจัยที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อาศัยอาหาร ความเป็นอยู่ ท่านถึงเรียกว่า ปัจจัยสี่ ถ้าปัจจัยสี่ไม่สมบูรณ์ ทางสมมติก็ลำบาก
เราก็ต้องพยายามให้รอบทั้งสมมติ รอบทั้งวิมุตติ ดูเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงเรา อบรมใจของเรา สนุกมีความสุขในการดู ในการรู้ ในการยังประโยชน์ขณะที่ยังมีลมหายใจ ลมหายใจก็ไม่ได้ซื้อสักแดงเดียว แต่ไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไร แต่เรื่องการทำบุญนี่ อยู่ใกล้อยู่ไกลเราก็ไปทำได้ ทำร่วมกันได้ ทำบุญทางสมมติ ทำบุญก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลส การเจริญรักษาศีลก็เพื่อที่จะยังสมมติให้ปกติ
ถ้าไม่มีศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลพระปาติโมกข์ สมมติก็ลําบากก็วุ่นวาย ท่านถึงเรียกว่า ศีลสมมติ ยังสังคมยังโลกให้อยู่ในความปกติ เราต้องให้อยู่เหนือทุกอย่าง ไม่ให้ใจของเราเขาไปยึด อยู่ในความเป็นกลาง
ความเป็นกลาง ใจที่ว่างจากการเกิด ใจที่ว่างจากกิเลส ใจที่ว่างจากขันธ์ห้า ความเป็นกลางเป็นความสุขที่ถาวร ความเป็นกลาง ความว่าง ในหลักธรรมท่านว่าความว่างนั่นแหละคือนิพพาน ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นใจก็ไม่เกิด ให้ปัญญาไปเกิดแทนทำหน้าที่แทน เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ กายเนื้อแตกดับใจไม่เกิดเข้าสู่ความบริสุทธิ์ การเกิดไม่มี
แต่ชีวิตของคนเราทุกคนตื่นขึ้นมาใจเกิดสักกี่ครั้ง ตั้งแต่เช้าตั้งแต่ตื่นขึ้นมา นับไม่ถ้วน ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราสักกี่ครั้ง ส่วนมากก็จะไม่ค่อยจะสนใจกัน การทำบุญให้ทานสนใจกันอยู่ อันนี้เป็นอานิสงส์เป็นบุญระดับของสมมติ การทำบุญให้ทาน ก็เพื่อที่จะขัดเกลาเบาบาง ให้กิเลสเบาบาง การเจริญพรหมวิหาร ใจของเราเกิดความโกรธ เราก็เจริญพรหมวิหารความเมตตาเยอะๆ ละความโกรธ ละความโลภ ละความโกรธ
ความโกรธ ความโลภเป็นอาการอย่างไร หน้าตาอย่างไร ก็ตัวใจของเรานั่นแหละมันเกิด เราก็พยายามดับพยายามละ หมั่นอบรมใจทีละเล็กละน้อย เขาก็เบาบางลงไปๆ ตนเป็นที่พึ่งของตน ชนะตน ชนะกิเลสได้ เราก็ชนะทุกอย่าง แต่ส่วนมากจะไปเอาชนะระรานกัน จะเอาเหมือนกับพวกนักการเมือง พูดคําเดียวขยายเป็นร้อยเป็นพันไม่จบ
ในหลักธรรม พระพุทธองค์ชี้ลงที่เหตุ ตั้งแต่ความคิด ความเกิด มันเกิดตรงไหนก็ดับมันตรงนั้น ดับที่เหตุตั้งแต่น้อยๆ ไม่ต้องไปรอเอาตัวใหญ่ ความเกิด ความอยาก เราพยายามดูต้นเหตุให้ทัน ส่วนมากก็ถ้าไปเก็บผักตำลึง ก็ไปเด็ดเอายอดตำลึง มันก็แตกออกปกคลุมฐานเดิมของมัน
เราต้องพยายามสาวลงไปลึกๆ ลงไปที่การก่อตัวการเกิดของใจ ของความคิด ดับตั้งแต่ความเกิดก็ไม่มีกําลังส่ง ทีนี้กระตุ้นปัญญาหรือว่าสติที่เราสร้างขึ้นมา ไปใช้การใช้งาน ทำความเข้าใจ กายไม่อยู่ในอำนาจของใจ แต่เวลานี้ใจมายึดหมดทุกอย่าง ยึดหมดแล้วก็ไปยึดภายนอกด้วย มันก็ถ้าไม่มีเหตุมีผล ชี้เหตุชี้ผลจริงๆ มันก็ยากที่จะคลาย ถึงคลายไม่ได้ก็ขอให้อยู่ในบุญในกุศลเอาไว้ หมั่นสร้างบุญสร้างกุศล สร้างให้เต็มที่ อย่าว่าไม่ทำ อยู่ที่ไหนมีโอกาสทำให้รีบทำ
ตั้งแต่ความคิด คิดดี ฝึกไปเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรก็ค่อยขัดเกลา ค่อยละ บางคนก็มีตั้งแต่มลทิน บางคนก็มีตั้งแต่กุศล ฝ่ายดีหรือก็ดีไป ถ้าฝ่ายอกุศลนี่ก็แย่ลําบากหน่อย ต้องแก้ไขทุกเรื่อง ในระดับของสมมติก็ทำสมมติไม่ให้ลําบาก ก็ส่งผลถึงกาย อันโน้นก็ยังขาดอันนี้ก็ยังขาด ใจก็ดิ้นรน ถ้าเรายังสมมติของเราให้สมบูรณ์แบบ ส่งผลถึงใจของเรา ใจก็มีความสุข เบาบางละกิเลสได้เร็วได้ไวขึ้น ก็ให้สมบูรณ์แบบทั้งสมมติทั้งวิมุตติ ทุกเรื่อง
จะมีมากมีน้อย ก็ไม่ให้ใจเกิดความอยาก ส่วนมากก็ทั้งอยากด้วย ทั้งหวังด้วย ทั้งยึดด้วย ความทะเยอทะยานอยาก ท่านถือว่าเป็นยางเหนียวที่มาเกาะกินจิตใจของเรา ไม่ใช่เกาะหรอก ใจของเรานั่นแหละเป็นทาสเลย เป็นทาสของกิเลส เราก็มาขัดมาเกลา เหมือนกับสันดอนสันดาน ค่อยขัดค่อยเกลาออกทีละเล็กละน้อย ตามแนวทางของพระพุทธองค์เราก็จะมองเห็นหนทางเดิน
หนทางเดินคืออริยมรรคในองค์แปด ข้อแรกคือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ถ้าแยกรูปแยกนามไม่ได้ ความเห็นถูกก็ไม่ปรากฏ ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้าแยกรูปแยกนามได้ ความเห็นถูกสัมมาทิฏฐิเพียงแค่เริ่มต้น ทีนี้เราก็ทำความเข้าใจว่าเราจะละกิเลสได้หมดจดหรือไม่ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดก็ตามมา
ที่ท่านบอกว่าวิปัสสนา ทำความเข้าใจ แล้วก็ละออกให้มันหมด ก็หน่วงเหนี่ยวเอาความว่างความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น ไว้เป็นอารมณ์ มีกันหมดทุกคนในกายก้อนนี้ ถ้าเราหมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์ อันนี้คือสติที่เราสร้างขึ้นมา จากสติก็จะกลายเป็นปัญญา จากปัญญาก็จะกลายเป็นมหาปัญญา ตามค้นคว้าจากมหาปัญญา จบค้นคว้าหมด ก็จะเหลือตั้งแต่ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในใจของเรา
ใจเป็นธาตุรู้ สติก็จะเป็นผู้รู้ สองผู้รู้อยู่ร่วมกัน เวลาเกิดสติปัญญาเป็นตัวเกิด ใจเป็นผู้รับรู้อยู่ภายใน ผิดถูกชั่วดีอย่างไร สติปัญญาแก้ไข แต่ส่วนมากเราจําแนกแจกแจงไม่ได้ก็หมุนเวียนกันเป็นวงกลม เขาเรียกว่า วัฏฏะ วัฏฏะถ้าเราแยกได้ก็เหมือนกับตัดวงกลม ตามดูได้ทำความเข้าใจได้ ขันธ์ห้าหรือว่าวิบากกรรมเก่าก็มาเล่นงานเราไม่ได้ ก็เป็นอโหสิกรรม กรรมใหม่เราก็ไม่ยึด ก็เลยอยู่เหนือกรรม ก็ต้องพยายามกันนะ พยายามกัน อย่าไปปล่อยปละละเลย
ตั้งใจรับพรกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 24 ตุลาคม 2561
มีความสุขกันทุกคน ดูดีๆ นะ พระเราชีเรา รู้จักกะประมาณในการขบฉันของเรา อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้งปล่อยเวลาทิ้ง ทั้งพระใหม่ทั้งพระเก่าเราต้องเป็นผู้ใหม่ตลอด ผู้ตื่นตลอด กายของเราต้องการอาหาร กายเกิดความหิว หรือว่าใจเกิดความอยาก เราต้องพยายามดูรู้ให้ทัน ถ้าใจเกิดความยากก็รู้จักหยุด รู้จักดับ เขาเรียกว่า ใช้สมถะเข้าไปดับ
อย่าไปคิดว่าเวลาโน้นเวลานี้ ใจเกิดเมื่อไหร่เราก็อบรมใจเมื่อนั้น ดับเมื่อนั้น ใจเกิดกิเลสเมื่อไรเราก็ละกิเลสทันที พยายามฝึกฝนตัวเราทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้น ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอได้อย่างไร ใจของเราเกิดส่งไปภายนอกได้อย่างไร ใจเป็นกุศลหรือว่าอกุศล กิเลสหยาบ หรือว่ากิเลสละเอียด มีหมด ถ้าเราเจริญสติเข้าไปดูรู้ทำความเข้าใจจะสนุก สนุกในการดูในการรู้ว่าเราจะพลั้งเผลอให้กิเลสตัวไหน เราจงพยายามเอากิเลสมาใช้ให้เกิดประโยชน์
ความโลภ ความโกรธ ความอยาก เปลี่ยนเป็นความต้องการของสติปัญญาเข้าไปทำหน้าที่แทน ตื่นขึ้นมาก็รีบรู้กายรู้ใจของเรา เราก็จะได้ฟังธรรมตลอดเวลา ตากระทบรูป ใจของเราเกิดความยินดียินร้ายหรือไม่ หูกระทบเสียง เราจงแยกรูป รส กลิ่น เสียง ออกจากใจของเรา เราอย่าไปห้ามตาอย่าไปดู ก็ไม่ได้ ห้ามหูอย่าไปฟัง ก็ไม่ได้ เขาทำหน้าที่ของเขา เราต้องไปดูใจ รู้ใจ ใจเกิดความยินดียินร้าย ใจเกิดกิเลส เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ ทำในสิ่งตรงกันข้าม คลายกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมด
ความเกิดความอยากแม้แต่นิดเดียว ไม่ต้องไปเอาตัวใหญ่ ใจก่อตัวเมื่อไหร่ ความอยากเมื่อไหร่นั้นแหละเราดับ ใจก็จะไม่มีกำลังส่งไป ส่วนมากก็มีตั้งแต่ส่งเสริม ตัวความคิดผุดขึ้นมาเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า ผุดขึ้นมาใจเคลื่อนเข้าไปรวมแล้วก็ส่งเสริมไปด้วยกันทั้งสติปัญญาไปกันทั้งก้อน ถูกผิด ถูกก็ถูกทั้งก้อน ผิดก็ผิดทั้งก้อน แต่ในหลักธรรมผิดหมด เพราะว่าการเกิดของใจมีอยู่ อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติเท่านั้นเอง
แต่ในหลักธรรมใจยังเกิด ความเกิดของใจคือความหลงอันละเอียด ทำอย่างไรใจถึงละความเกิด ดับความเกิดได้ หนุนกำลังสติปัญญาไปเกิดแทนทุกเรื่อง ใหม่ๆ ก็จะฝืนกับกิเลส ท่านถึงว่าทวนกระแสกิเลส ถ้าเราเข้าใจแล้ว ใจของเราก็จะตกกระแสธรรม ไปตามธรรม ธรรมชาติของใจที่ไม่มีกิเลสก็สะอาดบริสุทธิ์ ธรรมชาติของสมมติโลกธรรมเขาก็เป็นอยู่อย่างนั้น
เราต้องศึกษาให้ละเอียดในร่างกายของเราในชีวิตของเรา เป็นเรื่องของตัวเราเองไม่ใช่เรื่องของคนอื่น แต่ส่วนมากก็มีตั้งแต่เรื่องของคนอื่น คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ ไม่เคยมีเรื่องของเราสักที มีตั้งแต่เรื่องของเรา แก้ไขลงไป อบรมใจของเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น
อะไรคือสติปัญญาที่สร้างขึ้นมา อะไรคือส่วนใจ อะไรคืออาการของใจ ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เป็นกองเป็นขันธ์ได้อย่างไร ความไม่เที่ยง คำว่าไม่เที่ยงในหลักธรรมคืออะไรไม่เที่ยง ไม่เที่ยงหมดนั่นแหละ ไม่เที่ยงหมดทุกอย่าง แต่เรามองไม่เห็น มองเห็นความไม่เที่ยงเฉพาะภายนอก
แต่ความไม่เที่ยงในหลักธรรม คือความเกิดความดับของใจ ความเกิดความดับของขันธ์ห้า ความไม่เที่ยงความเสื่อมในอัตภาพร่างกายของตัวเรา คนเราเกิดขึ้นมาต้องอาศัย อาศัยโลกอาศัยปัจจัยที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อาศัยอาหาร ความเป็นอยู่ ท่านถึงเรียกว่า ปัจจัยสี่ ถ้าปัจจัยสี่ไม่สมบูรณ์ ทางสมมติก็ลำบาก
เราก็ต้องพยายามให้รอบทั้งสมมติ รอบทั้งวิมุตติ ดูเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงเรา อบรมใจของเรา สนุกมีความสุขในการดู ในการรู้ ในการยังประโยชน์ขณะที่ยังมีลมหายใจ ลมหายใจก็ไม่ได้ซื้อสักแดงเดียว แต่ไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไร แต่เรื่องการทำบุญนี่ อยู่ใกล้อยู่ไกลเราก็ไปทำได้ ทำร่วมกันได้ ทำบุญทางสมมติ ทำบุญก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลส การเจริญรักษาศีลก็เพื่อที่จะยังสมมติให้ปกติ
ถ้าไม่มีศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลพระปาติโมกข์ สมมติก็ลําบากก็วุ่นวาย ท่านถึงเรียกว่า ศีลสมมติ ยังสังคมยังโลกให้อยู่ในความปกติ เราต้องให้อยู่เหนือทุกอย่าง ไม่ให้ใจของเราเขาไปยึด อยู่ในความเป็นกลาง
ความเป็นกลาง ใจที่ว่างจากการเกิด ใจที่ว่างจากกิเลส ใจที่ว่างจากขันธ์ห้า ความเป็นกลางเป็นความสุขที่ถาวร ความเป็นกลาง ความว่าง ในหลักธรรมท่านว่าความว่างนั่นแหละคือนิพพาน ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นใจก็ไม่เกิด ให้ปัญญาไปเกิดแทนทำหน้าที่แทน เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ กายเนื้อแตกดับใจไม่เกิดเข้าสู่ความบริสุทธิ์ การเกิดไม่มี
แต่ชีวิตของคนเราทุกคนตื่นขึ้นมาใจเกิดสักกี่ครั้ง ตั้งแต่เช้าตั้งแต่ตื่นขึ้นมา นับไม่ถ้วน ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราสักกี่ครั้ง ส่วนมากก็จะไม่ค่อยจะสนใจกัน การทำบุญให้ทานสนใจกันอยู่ อันนี้เป็นอานิสงส์เป็นบุญระดับของสมมติ การทำบุญให้ทาน ก็เพื่อที่จะขัดเกลาเบาบาง ให้กิเลสเบาบาง การเจริญพรหมวิหาร ใจของเราเกิดความโกรธ เราก็เจริญพรหมวิหารความเมตตาเยอะๆ ละความโกรธ ละความโลภ ละความโกรธ
ความโกรธ ความโลภเป็นอาการอย่างไร หน้าตาอย่างไร ก็ตัวใจของเรานั่นแหละมันเกิด เราก็พยายามดับพยายามละ หมั่นอบรมใจทีละเล็กละน้อย เขาก็เบาบางลงไปๆ ตนเป็นที่พึ่งของตน ชนะตน ชนะกิเลสได้ เราก็ชนะทุกอย่าง แต่ส่วนมากจะไปเอาชนะระรานกัน จะเอาเหมือนกับพวกนักการเมือง พูดคําเดียวขยายเป็นร้อยเป็นพันไม่จบ
ในหลักธรรม พระพุทธองค์ชี้ลงที่เหตุ ตั้งแต่ความคิด ความเกิด มันเกิดตรงไหนก็ดับมันตรงนั้น ดับที่เหตุตั้งแต่น้อยๆ ไม่ต้องไปรอเอาตัวใหญ่ ความเกิด ความอยาก เราพยายามดูต้นเหตุให้ทัน ส่วนมากก็ถ้าไปเก็บผักตำลึง ก็ไปเด็ดเอายอดตำลึง มันก็แตกออกปกคลุมฐานเดิมของมัน
เราต้องพยายามสาวลงไปลึกๆ ลงไปที่การก่อตัวการเกิดของใจ ของความคิด ดับตั้งแต่ความเกิดก็ไม่มีกําลังส่ง ทีนี้กระตุ้นปัญญาหรือว่าสติที่เราสร้างขึ้นมา ไปใช้การใช้งาน ทำความเข้าใจ กายไม่อยู่ในอำนาจของใจ แต่เวลานี้ใจมายึดหมดทุกอย่าง ยึดหมดแล้วก็ไปยึดภายนอกด้วย มันก็ถ้าไม่มีเหตุมีผล ชี้เหตุชี้ผลจริงๆ มันก็ยากที่จะคลาย ถึงคลายไม่ได้ก็ขอให้อยู่ในบุญในกุศลเอาไว้ หมั่นสร้างบุญสร้างกุศล สร้างให้เต็มที่ อย่าว่าไม่ทำ อยู่ที่ไหนมีโอกาสทำให้รีบทำ
ตั้งแต่ความคิด คิดดี ฝึกไปเท่าไรยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรก็ค่อยขัดเกลา ค่อยละ บางคนก็มีตั้งแต่มลทิน บางคนก็มีตั้งแต่กุศล ฝ่ายดีหรือก็ดีไป ถ้าฝ่ายอกุศลนี่ก็แย่ลําบากหน่อย ต้องแก้ไขทุกเรื่อง ในระดับของสมมติก็ทำสมมติไม่ให้ลําบาก ก็ส่งผลถึงกาย อันโน้นก็ยังขาดอันนี้ก็ยังขาด ใจก็ดิ้นรน ถ้าเรายังสมมติของเราให้สมบูรณ์แบบ ส่งผลถึงใจของเรา ใจก็มีความสุข เบาบางละกิเลสได้เร็วได้ไวขึ้น ก็ให้สมบูรณ์แบบทั้งสมมติทั้งวิมุตติ ทุกเรื่อง
จะมีมากมีน้อย ก็ไม่ให้ใจเกิดความอยาก ส่วนมากก็ทั้งอยากด้วย ทั้งหวังด้วย ทั้งยึดด้วย ความทะเยอทะยานอยาก ท่านถือว่าเป็นยางเหนียวที่มาเกาะกินจิตใจของเรา ไม่ใช่เกาะหรอก ใจของเรานั่นแหละเป็นทาสเลย เป็นทาสของกิเลส เราก็มาขัดมาเกลา เหมือนกับสันดอนสันดาน ค่อยขัดค่อยเกลาออกทีละเล็กละน้อย ตามแนวทางของพระพุทธองค์เราก็จะมองเห็นหนทางเดิน
หนทางเดินคืออริยมรรคในองค์แปด ข้อแรกคือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ถ้าแยกรูปแยกนามไม่ได้ ความเห็นถูกก็ไม่ปรากฏ ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้าแยกรูปแยกนามได้ ความเห็นถูกสัมมาทิฏฐิเพียงแค่เริ่มต้น ทีนี้เราก็ทำความเข้าใจว่าเราจะละกิเลสได้หมดจดหรือไม่ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดก็ตามมา
ที่ท่านบอกว่าวิปัสสนา ทำความเข้าใจ แล้วก็ละออกให้มันหมด ก็หน่วงเหนี่ยวเอาความว่างความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น ไว้เป็นอารมณ์ มีกันหมดทุกคนในกายก้อนนี้ ถ้าเราหมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์ อันนี้คือสติที่เราสร้างขึ้นมา จากสติก็จะกลายเป็นปัญญา จากปัญญาก็จะกลายเป็นมหาปัญญา ตามค้นคว้าจากมหาปัญญา จบค้นคว้าหมด ก็จะเหลือตั้งแต่ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในใจของเรา
ใจเป็นธาตุรู้ สติก็จะเป็นผู้รู้ สองผู้รู้อยู่ร่วมกัน เวลาเกิดสติปัญญาเป็นตัวเกิด ใจเป็นผู้รับรู้อยู่ภายใน ผิดถูกชั่วดีอย่างไร สติปัญญาแก้ไข แต่ส่วนมากเราจําแนกแจกแจงไม่ได้ก็หมุนเวียนกันเป็นวงกลม เขาเรียกว่า วัฏฏะ วัฏฏะถ้าเราแยกได้ก็เหมือนกับตัดวงกลม ตามดูได้ทำความเข้าใจได้ ขันธ์ห้าหรือว่าวิบากกรรมเก่าก็มาเล่นงานเราไม่ได้ ก็เป็นอโหสิกรรม กรรมใหม่เราก็ไม่ยึด ก็เลยอยู่เหนือกรรม ก็ต้องพยายามกันนะ พยายามกัน อย่าไปปล่อยปละละเลย
ตั้งใจรับพรกัน