หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 45 วันที่ 8 กรกฏาคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 45 วันที่ 8 กรกฏาคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 45
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องประนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา พวกท่านได้พากันสร้างความความรู้ตัวหรือว่าได้เจริญสติแล้วหรือยัง ถ้ายังก็พยายามเริ่มเสียนะ
ลองสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ รีบสำรวจกายสำรวจใจของเราให้เกิดเป็นความเคยชิน เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกหรือว่าอานาปานสติ พวกเราก็ขาดการทำความเข้าใจ จะเอาตั้งแต่ปัญญาเข้าไปดับทุกข์แก้ไข ก็เลยเป็นปัญญาโลกีย์ ปัญญาส่งไปภายนอกอยู่ตลอดเวลา
การเจริญสติเราก็ต้องรู้จักคำว่าปัจจุบันธรรม ขณะทุกสัมผัสของลมหายใจเข้า สัมผัสของลมหายใจออก ไม่เข้าใจเราก็พยายามเพิ่มความเพียรให้เกิดความเคยชิน ส่วนศรัทธามีกันทุกคน การฝักใฝ่การทำบุญการให้ทาน ศรัทธาตรงนี้มีอยู่ ศรัทธาแล้วก็ต้องให้เกิดปัญญาด้วย ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา คำว่า สติ ลักษณะของสติ ดั่งที่หลวงพ่อบอกกล่าวเล่าให้ฟังอยู่ตลอดเวลาทุกเช้าๆ ให้พวกท่านพากันไปทำ รู้จักวิธีการรู้จักแนวทางแล้วก็ไปทำให้ปรากฏขึ้น
รู้กาย ส่วนใจนั้นอีกส่วนหนึ่ง ส่วนความคิดหรือว่าอาการของขันธ์ห้า ใจกับขันธ์ห้านี้มีมาตั้งนาน ใจนี่หลงเกิด หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็หลงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าคือร่างกายของเรา ซึ่งมีส่วนรูปและก็ส่วนนามธรรม ส่วนรูปก็คือร่างกาย ส่วนนามธรรมก็คือจิตวิญญาณ อาการของความคิด ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา
พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบวิธีการแนวทางแล้ว ก็เอามาเปิดเผยมาจำแนกแจกแจงให้ทุกคนได้เข้าใจ จะได้มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้เดินอย่างไร ไปอย่างไรมาอย่างไร ท่านถึงบอกให้เจริญสติลงที่กายของเราให้ได้ สร้างความรู้ตัวตัวใหม่ หรือว่ามาเจริญสติต่อไปข้างหน้า สติของเรามีกำลังต่อเนื่องก็จะกลายเป็นปัญญารู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้เท่าทันการเกิดของขันธ์ห้า รู้การเกิดการดับ การแยกการคลาย การตามทำความเข้าใจ ขอให้น้อมเข้าไปดูสักหน่อยหนึ่ง ทำความเข้าใจบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ
กิเลสต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้เหมือนกัน เพราะว่าเขาเกิดมานาน การเกิดของใจนี่เกิดมานาน การเกิดของขันธ์ห้าเขาก็เกิดมานาน เขารวมกันเป็นเพื่อนไปด้วยกัน บางทีก็ทั้งสติทั้งใจ ทั้งอาการของใจรวมกันไปทั้งก้อน อาจจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยัง ยังผิดอยู่ คือใจยังไม่ได้แยก ใจยังไม่ได้หงายคลายออกจากความคิด มันก็เป็นความถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วใจยังเกิด ใจยังหลงอยู่ ซึ่งเรียกว่า วิปลาส ความหลงผิด
ถ้าเรามาหมั่นเจริญสติเข้าไปสังเกต เข้าไปวิเคราะห์ ใจแยกออกจากความคิด หงายขึ้นมาเขาเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ในข้อแรกในอริยมรรคในองค์แปด แล้วก็ทำความเข้าใจเห็นความเกิดความดับ ใจก็ว่างรับรู้อยู่ ซึ่งเรียกว่า เข้าใจในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขันธ์ห้าในร่างกายของเรา เป็นเรื่องอดีตก็เป็นอาการของสัญญา เป็นกองสังขาร ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ จะเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นกลางๆ บ้าง ใจของเราเข้าไปหลงเข้าไปรวมนั่นแหละคือความหลงอันละเอียด แยกได้คลายได้
เพียงแค่เริ่มต้นของความเห็นถูก การตามทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ ละกิเลส กิเลสทั้งหยาบทั้งละเอียด มีอยู่ในกายของเราหมด และก็ความเกิดของใจนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่สุด ไม่หลงก็ไม่เกิด แต่เขาหลงมาสร้างอัตตาตัวตน สร้างร่างกายขึ้นมาและก็มายึด มายึดอยู่ในกายแล้วก็เกิดต่อ ความเกิดอีกนั่นแหละเขาเรียกว่า ส่งใจไปภายนอก ทั้งหลงอาการของความคิดตัวเองด้วย เข้าไปร่วม ทั้งหลงเกิดยังไม่พอ บางทีบางครั้งก็เกิดความโลภ เกิดความโกรธ เกิดความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยาก ทั้งอิจฉาริษยา ทั้งมลทิน นิวรณ์ต่างๆ หลายชั้น หลายขั้นหลายตอน
พวกท่านจงเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียร วิเคราะห์ สร้างความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ สร้างความเพียรอยู่ตลอดเวลา มีความเป็นระบบระเบียบในตัวของเราเอง มีความจริงใจ มีความขยันหมั่นเพียร ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน ทำความเข้าใจ คำว่าปกติของใจเป็นอย่างไร ปกติของกายเป็นอย่างไร ศีลสมมติ ศีลวิมุตติเป็นอย่างไร อธิจิต อธิศีล อธิวินัยเป็นอย่างไร การทำความเพียรๆ ความหมายของการทำความเพียรจุดมุ่งหมายอยู่ที่ไหน ถ้าเพียรไม่ถูกที่ถูกทางก็ห่างไกล ห่างไกลใจ
แต่การทำบุญให้ทาน ศรัทธามีกันเต็มเปี่ยม ตรงนี้ก็มีเป็นพื้นฐาน เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวของเราไปไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน บุญมากบุญน้อยมีโอกาสก็พากันทำ อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เราก็ต้องพิจารณาใจพิจารณากายของเรา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนตั้งแต่ตื่นขึ้น อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง
ส่วนวันเข้าพรรษา วันปวารณา วันนั้นก็มีผู้ใจบุญมาไถ่ชีวิตโค ก็ขอเชิญพี่น้องของเรามาร่วมกันไถ่ชีวิตโค สนุกสร้างบุญ ทำบุญตามกำลังศรัทธาของเรา อย่าทำด้วยอำนาจของกิเลส ทำด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา ศรัทธาแล้วก็ให้มีปัญญาด้วย แล้วก็มองเห็นหนทางดับทุกข์ด้วย ไปที่ไหนมาที่ไหนเราก็จะได้ไม่ลำบาก ก็ขอเชิญทุกคนทุกท่าน
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องประนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา พวกท่านได้พากันสร้างความความรู้ตัวหรือว่าได้เจริญสติแล้วหรือยัง ถ้ายังก็พยายามเริ่มเสียนะ
ลองสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ รีบสำรวจกายสำรวจใจของเราให้เกิดเป็นความเคยชิน เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออกหรือว่าอานาปานสติ พวกเราก็ขาดการทำความเข้าใจ จะเอาตั้งแต่ปัญญาเข้าไปดับทุกข์แก้ไข ก็เลยเป็นปัญญาโลกีย์ ปัญญาส่งไปภายนอกอยู่ตลอดเวลา
การเจริญสติเราก็ต้องรู้จักคำว่าปัจจุบันธรรม ขณะทุกสัมผัสของลมหายใจเข้า สัมผัสของลมหายใจออก ไม่เข้าใจเราก็พยายามเพิ่มความเพียรให้เกิดความเคยชิน ส่วนศรัทธามีกันทุกคน การฝักใฝ่การทำบุญการให้ทาน ศรัทธาตรงนี้มีอยู่ ศรัทธาแล้วก็ต้องให้เกิดปัญญาด้วย ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา คำว่า สติ ลักษณะของสติ ดั่งที่หลวงพ่อบอกกล่าวเล่าให้ฟังอยู่ตลอดเวลาทุกเช้าๆ ให้พวกท่านพากันไปทำ รู้จักวิธีการรู้จักแนวทางแล้วก็ไปทำให้ปรากฏขึ้น
รู้กาย ส่วนใจนั้นอีกส่วนหนึ่ง ส่วนความคิดหรือว่าอาการของขันธ์ห้า ใจกับขันธ์ห้านี้มีมาตั้งนาน ใจนี่หลงเกิด หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด แล้วก็หลงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ มาสร้างขันธ์ห้าคือร่างกายของเรา ซึ่งมีส่วนรูปและก็ส่วนนามธรรม ส่วนรูปก็คือร่างกาย ส่วนนามธรรมก็คือจิตวิญญาณ อาการของความคิด ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา
พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบวิธีการแนวทางแล้ว ก็เอามาเปิดเผยมาจำแนกแจกแจงให้ทุกคนได้เข้าใจ จะได้มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้เดินอย่างไร ไปอย่างไรมาอย่างไร ท่านถึงบอกให้เจริญสติลงที่กายของเราให้ได้ สร้างความรู้ตัวตัวใหม่ หรือว่ามาเจริญสติต่อไปข้างหน้า สติของเรามีกำลังต่อเนื่องก็จะกลายเป็นปัญญารู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้เท่าทันการเกิดของขันธ์ห้า รู้การเกิดการดับ การแยกการคลาย การตามทำความเข้าใจ ขอให้น้อมเข้าไปดูสักหน่อยหนึ่ง ทำความเข้าใจบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ
กิเลสต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้เหมือนกัน เพราะว่าเขาเกิดมานาน การเกิดของใจนี่เกิดมานาน การเกิดของขันธ์ห้าเขาก็เกิดมานาน เขารวมกันเป็นเพื่อนไปด้วยกัน บางทีก็ทั้งสติทั้งใจ ทั้งอาการของใจรวมกันไปทั้งก้อน อาจจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยัง ยังผิดอยู่ คือใจยังไม่ได้แยก ใจยังไม่ได้หงายคลายออกจากความคิด มันก็เป็นความถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วใจยังเกิด ใจยังหลงอยู่ ซึ่งเรียกว่า วิปลาส ความหลงผิด
ถ้าเรามาหมั่นเจริญสติเข้าไปสังเกต เข้าไปวิเคราะห์ ใจแยกออกจากความคิด หงายขึ้นมาเขาเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก ในข้อแรกในอริยมรรคในองค์แปด แล้วก็ทำความเข้าใจเห็นความเกิดความดับ ใจก็ว่างรับรู้อยู่ ซึ่งเรียกว่า เข้าใจในอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขันธ์ห้าในร่างกายของเรา เป็นเรื่องอดีตก็เป็นอาการของสัญญา เป็นกองสังขาร ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ จะเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นกลางๆ บ้าง ใจของเราเข้าไปหลงเข้าไปรวมนั่นแหละคือความหลงอันละเอียด แยกได้คลายได้
เพียงแค่เริ่มต้นของความเห็นถูก การตามทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ ละกิเลส กิเลสทั้งหยาบทั้งละเอียด มีอยู่ในกายของเราหมด และก็ความเกิดของใจนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่สุด ไม่หลงก็ไม่เกิด แต่เขาหลงมาสร้างอัตตาตัวตน สร้างร่างกายขึ้นมาและก็มายึด มายึดอยู่ในกายแล้วก็เกิดต่อ ความเกิดอีกนั่นแหละเขาเรียกว่า ส่งใจไปภายนอก ทั้งหลงอาการของความคิดตัวเองด้วย เข้าไปร่วม ทั้งหลงเกิดยังไม่พอ บางทีบางครั้งก็เกิดความโลภ เกิดความโกรธ เกิดความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยาก ทั้งอิจฉาริษยา ทั้งมลทิน นิวรณ์ต่างๆ หลายชั้น หลายขั้นหลายตอน
พวกท่านจงเป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียร วิเคราะห์ สร้างความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ สร้างความเพียรอยู่ตลอดเวลา มีความเป็นระบบระเบียบในตัวของเราเอง มีความจริงใจ มีความขยันหมั่นเพียร ละความเกียจคร้าน สร้างความขยัน ทำความเข้าใจ คำว่าปกติของใจเป็นอย่างไร ปกติของกายเป็นอย่างไร ศีลสมมติ ศีลวิมุตติเป็นอย่างไร อธิจิต อธิศีล อธิวินัยเป็นอย่างไร การทำความเพียรๆ ความหมายของการทำความเพียรจุดมุ่งหมายอยู่ที่ไหน ถ้าเพียรไม่ถูกที่ถูกทางก็ห่างไกล ห่างไกลใจ
แต่การทำบุญให้ทาน ศรัทธามีกันเต็มเปี่ยม ตรงนี้ก็มีเป็นพื้นฐาน เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวของเราไปไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน บุญมากบุญน้อยมีโอกาสก็พากันทำ อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เราก็ต้องพิจารณาใจพิจารณากายของเรา ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนตั้งแต่ตื่นขึ้น อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง
ส่วนวันเข้าพรรษา วันปวารณา วันนั้นก็มีผู้ใจบุญมาไถ่ชีวิตโค ก็ขอเชิญพี่น้องของเรามาร่วมกันไถ่ชีวิตโค สนุกสร้างบุญ ทำบุญตามกำลังศรัทธาของเรา อย่าทำด้วยอำนาจของกิเลส ทำด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา ศรัทธาแล้วก็ให้มีปัญญาด้วย แล้วก็มองเห็นหนทางดับทุกข์ด้วย ไปที่ไหนมาที่ไหนเราก็จะได้ไม่ลำบาก ก็ขอเชิญทุกคนทุกท่าน
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ