หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 22 วันที่ 31 มีนาคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 22 วันที่ 31 มีนาคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
คัดย่อ
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 22
พระธรรมเทศนา โดยพระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 31 มีนาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนแล้วก็ให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาวให้เป็นธรรมชาติที่สุด อย่าไปบังคับ อย่าไปเพ่ง อย่าไปจดจ่อ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้น ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น เราพยายามทำไว้บ่อยๆ
ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ เป็นการเจริญสติ แล้วก็พยายามสร้างให้ต่อเนื่อง พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ พยายามทำบ่อยๆ ส่วนศรัทธา ความเชื่อมั่น เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ การทำบุญให้ทานมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่ แต่การเจริญสติไม่ต่อเนื่อง เราก็เลยรู้ไม่ลึกถึงการเกิดของใจการเกิดของขันธ์ห้า ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง ทำไมใจถึงยึด เราไม่มีผู้รู้เราก็เลยไม่เห็น
เราจงมาสร้างผู้รู้ และก็เอาผู้รู้ไปใช้การใช้งาน หัดสังเกตหัดวิเคราะห์ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่ส่งไปภายนอกเป็นอย่างนี้ พยายามหัดสังเกตบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็พยายามหยุดเอาไว้ ซึ่งความหยุดนี่แหละ ที่ท่านเรียกว่า สมถภาวนา เราจะสร้างความรู้ตัว อยู่กับลมหายใจเข้าออกก็ได้ หรือว่าจะเอาคำบริกรรมเข้าไปกำกับก็ได้ จนความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เห็นลักษณะใจ เห็นลักษณะอาการของใจ ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาเคลื่อนเข้าไปรวมกันได้อย่างไร และเป็นสิ่งเดียวไปด้วยกันได้อย่างไร ซึ่งตัวละครอยู่ในกายของเรานี้มีเยอะ มีทั้งฝ่ายกุศลมีทั้งอกุศล มีมาตั้งแต่เกิด
ใจของคนเรานี้หลงมาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่ก่อนยังไม่เกิด แล้วก็ลงมาเกิด มาสร้างภพมนุษย์ซึ่งเรียกว่าขันธ์ห้า มีร่างกายส่วนรูปส่วนนาม มีส่วนรูป ส่วนนาม แล้วก็เกิดต่อ แล้วก็เป็นธาตุกิเลสต่อ แต่พระพุทธองค์ ท่านให้เจริญสติสร้างความรู้ตัวตัวใหม่เข้าไปอบรมใจของเรา แต่เวลานี้กำลังสติกำลังปัญญาของเรามีไม่เพียงพอ มีอยู่เฉพาะปัญญาของโลกีย์ ปัญญาของโลกๆ
แต่ปัญญาของพระพุทธองค์ท่านต้องให้เจริญ ให้สร้างขึ้นมา รู้เท่ารู้ทัน เห็นลักษณะหน้าตาอาการที่ท่านว่าเป็นกอง เป็นขันธ์ เป็นกองเป็นขันธ์ได้อย่างไร กองรูปเป็นอย่างไร กองนามเป็นอย่างไร กองอดีตกองอนาคต กองสังขารหรือว่ากองวิญญาณ เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจในลักษณะนั้นๆ ใจที่ปกติ ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ศีล ศีลก็คือความปกติ ใจที่สงบท่านเรียกว่าสมาธิ สงบได้ชั่วครั้งชั่วคราว สงบด้วยการข่มเอาไว้ สงบด้วยการสังเกตวิเคราะห์แยกแยะ จนทำความเข้าใจได้ละได้ซึ่งเรียกว่า สงบด้วยปัญญา ใจที่ไม่มีกิเลสเขาก็บริสุทธิ์ ใจที่ไม่เกิดเขาก็นิ่ง แต่เวลานี้ในใจของทุกคนนี้เกิด ทั้งเกิดเร็วไวด้วย ส่งไปภายนอกด้วย ทั้งอาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราด้วย ไปด้วยกันทั้งก้อน ก็เรียบรวมกันไปทั้งก้อน
ท่านให้เจริญสติ แล้วก็พยายามสร้างให้ต่อเนื่องจนเข้มแข็งเข้าไปอบรมใจ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม แล้วก็ตามเห็นความเกิดความดับเขาเรียกว่าเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา มีอยู่ทุกวันทุกเวลา ภายใน 5 นาที ความคิดเกิด บางทีก็เกิดจากใจบ้าง บางทีก็เกิดจากอาการของใจบ้าง ซึ่งเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า ถ้าเรามีความรู้ตัวหรือว่าสติที่ต่อเนื่องเราก็คงจะเห็นตั้งแต่ต้นเหตุ แต่เรารู้อยู่เมื่อเขาเกิดไปแล้วเขารวมกันไปแล้ว เราก็ทำตามความคิดทำตามอารมณ์ก็ซึ่งเรียกว่า ความหลง หลงในความคิด หลงในอารมณ์ เลยเกิดอัตตาตัวตน เกิดทิฏฐิ เกิดมานะ ทุกสิ่งทุกอย่าง
ท่านให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจของเราให้ได้ทุกวันทุกเวลา ทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อมั่นในสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา จนรู้จนเห็น จนชี้เหตุชี้ผล จนใจยอมรับความจริงได้ใจ ใจเขาถึงจะปล่อยจะวางได้ แต่ก็ต้องพยายามกันนะ
การพูดง่ายอยู่ แต่การลงมือ การกระทำ เราต้องพยายามดูรู้ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา สติเราพลั้งเผลอเป็นอย่างไร กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร กายทวารทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายการทำหน้าที่อย่างไร ก็ต้องพยายามกัน อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง ถ้าเราปล่อยวันเวลาทิ้งนั่นแหละ คือเป็นผู้ประมาทอยู่ เราจงรู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าออก แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ทำใจให้เป็นบุญ ทำกายให้บุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา
ทุกคนเกิดมาเท่าไหร่ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็วเพราะว่าตราบใดที่มีการเกิดก็มีการตาย ไม่อยากจะเกิดไม่อยากจะตาย ก็ต้องดับความเกิด คลายความหลง ดับความเกิด ละกิเลสให้มันหมดจดให้สั้นลง ตัดภพตัดชาติให้สั้นลง แต่เวลานี้เราเกิดมาในภพมนุษย์ เราก็ต้องทำความใจกับภพมนุษย์แล้วก็ดับความเกิดภายในใจของเรา เราก็ดับความเกิดที่ใจของเรา ละกิเลสที่ใจของเรา กิเลสก็มีหลายชนิดทั้งกิเลสหยาบบ้างกิเลสละเอียดบ้าง กิเลสเกิดขึ้นที่กายใจส่งเสริมหรือไม่ หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน เราต้องหมั่นวิเคราะห์หมั่นแก้ไขตัวเรา ไม่มีใครที่จะแก้ไขเราให้ได้นอกจากตัวของเรา
ครูบาอาจารย์คำสอน อันนั้นก็เป็นแค่เพียงแนวทางเท่านั้นแหละ เราจงพยายามน้อมเอาคำสอนของพระพุทธองค์มาให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา การเจริญสติเป็นอย่างนี้การแก้ไขเป็นอย่างนี้ แต่ละวันกายของเราเป็นอย่างไร มีความเกียจคร้านหรือไม่ มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบหรือเปล่า มีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่า มีความแข็งกระด้าง เราก็พยายามหัดสังเกตบ่อยๆ หัดทำความเข้าใจบ่อยๆ แก้ไขใจของเราให้ได้จนเห็นการเกิดการดับ จนรู้ลักษณะ รู้ลึกเข้าถึงความหมายนั้นๆ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน อยู่ตลอดเวลาจนเป็นอัตโนมัติ ในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ ก็ต้องพยายามกันนะ
อะไรที่จะเป็นประโยชน์ ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ในโลกนี้ประโยชน์ในโลกหน้า เราได้ทำได้ทั้งนั้นขณะที่เรายังมีกำลังกายอยู่ ถ้าหมดลมหายใจก็คงจะมีตั้งแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป เพราะว่าเราพยายามแก้ไขขณะที่ยังมีร่างกายอยู่นี้ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ล้มลุกขึ้นมาใหม่แก้ไขใหม่ ไม่สายเกินไปที่จะต้องแก้ไขตัวเรา ก็จะต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนา โดยพระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 31 มีนาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนแล้วก็ให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาวให้เป็นธรรมชาติที่สุด อย่าไปบังคับ อย่าไปเพ่ง อย่าไปจดจ่อ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจยาวๆ กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้น ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น เราพยายามทำไว้บ่อยๆ
ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ เป็นการเจริญสติ แล้วก็พยายามสร้างให้ต่อเนื่อง พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอแล้วก็เริ่มใหม่ พยายามทำบ่อยๆ ส่วนศรัทธา ความเชื่อมั่น เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นมีอยู่ การทำบุญให้ทานมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่ แต่การเจริญสติไม่ต่อเนื่อง เราก็เลยรู้ไม่ลึกถึงการเกิดของใจการเกิดของขันธ์ห้า ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง ทำไมใจถึงยึด เราไม่มีผู้รู้เราก็เลยไม่เห็น
เราจงมาสร้างผู้รู้ และก็เอาผู้รู้ไปใช้การใช้งาน หัดสังเกตหัดวิเคราะห์ ใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่ส่งไปภายนอกเป็นอย่างนี้ พยายามหัดสังเกตบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็พยายามหยุดเอาไว้ ซึ่งความหยุดนี่แหละ ที่ท่านเรียกว่า สมถภาวนา เราจะสร้างความรู้ตัว อยู่กับลมหายใจเข้าออกก็ได้ หรือว่าจะเอาคำบริกรรมเข้าไปกำกับก็ได้ จนความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เห็นลักษณะใจ เห็นลักษณะอาการของใจ ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาเคลื่อนเข้าไปรวมกันได้อย่างไร และเป็นสิ่งเดียวไปด้วยกันได้อย่างไร ซึ่งตัวละครอยู่ในกายของเรานี้มีเยอะ มีทั้งฝ่ายกุศลมีทั้งอกุศล มีมาตั้งแต่เกิด
ใจของคนเรานี้หลงมาตั้งแต่เกิด ตั้งแต่ก่อนยังไม่เกิด แล้วก็ลงมาเกิด มาสร้างภพมนุษย์ซึ่งเรียกว่าขันธ์ห้า มีร่างกายส่วนรูปส่วนนาม มีส่วนรูป ส่วนนาม แล้วก็เกิดต่อ แล้วก็เป็นธาตุกิเลสต่อ แต่พระพุทธองค์ ท่านให้เจริญสติสร้างความรู้ตัวตัวใหม่เข้าไปอบรมใจของเรา แต่เวลานี้กำลังสติกำลังปัญญาของเรามีไม่เพียงพอ มีอยู่เฉพาะปัญญาของโลกีย์ ปัญญาของโลกๆ
แต่ปัญญาของพระพุทธองค์ท่านต้องให้เจริญ ให้สร้างขึ้นมา รู้เท่ารู้ทัน เห็นลักษณะหน้าตาอาการที่ท่านว่าเป็นกอง เป็นขันธ์ เป็นกองเป็นขันธ์ได้อย่างไร กองรูปเป็นอย่างไร กองนามเป็นอย่างไร กองอดีตกองอนาคต กองสังขารหรือว่ากองวิญญาณ เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจในลักษณะนั้นๆ ใจที่ปกติ ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ศีล ศีลก็คือความปกติ ใจที่สงบท่านเรียกว่าสมาธิ สงบได้ชั่วครั้งชั่วคราว สงบด้วยการข่มเอาไว้ สงบด้วยการสังเกตวิเคราะห์แยกแยะ จนทำความเข้าใจได้ละได้ซึ่งเรียกว่า สงบด้วยปัญญา ใจที่ไม่มีกิเลสเขาก็บริสุทธิ์ ใจที่ไม่เกิดเขาก็นิ่ง แต่เวลานี้ในใจของทุกคนนี้เกิด ทั้งเกิดเร็วไวด้วย ส่งไปภายนอกด้วย ทั้งอาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราด้วย ไปด้วยกันทั้งก้อน ก็เรียบรวมกันไปทั้งก้อน
ท่านให้เจริญสติ แล้วก็พยายามสร้างให้ต่อเนื่องจนเข้มแข็งเข้าไปอบรมใจ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม แล้วก็ตามเห็นความเกิดความดับเขาเรียกว่าเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา มีอยู่ทุกวันทุกเวลา ภายใน 5 นาที ความคิดเกิด บางทีก็เกิดจากใจบ้าง บางทีก็เกิดจากอาการของใจบ้าง ซึ่งเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า ถ้าเรามีความรู้ตัวหรือว่าสติที่ต่อเนื่องเราก็คงจะเห็นตั้งแต่ต้นเหตุ แต่เรารู้อยู่เมื่อเขาเกิดไปแล้วเขารวมกันไปแล้ว เราก็ทำตามความคิดทำตามอารมณ์ก็ซึ่งเรียกว่า ความหลง หลงในความคิด หลงในอารมณ์ เลยเกิดอัตตาตัวตน เกิดทิฏฐิ เกิดมานะ ทุกสิ่งทุกอย่าง
ท่านให้เจริญสติเข้าไปอบรมใจของเราให้ได้ทุกวันทุกเวลา ทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อมั่นในสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา จนรู้จนเห็น จนชี้เหตุชี้ผล จนใจยอมรับความจริงได้ใจ ใจเขาถึงจะปล่อยจะวางได้ แต่ก็ต้องพยายามกันนะ
การพูดง่ายอยู่ แต่การลงมือ การกระทำ เราต้องพยายามดูรู้ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา สติเราพลั้งเผลอเป็นอย่างไร กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร กายทวารทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายการทำหน้าที่อย่างไร ก็ต้องพยายามกัน อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง ถ้าเราปล่อยวันเวลาทิ้งนั่นแหละ คือเป็นผู้ประมาทอยู่ เราจงรู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าออก แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ทำใจให้เป็นบุญ ทำกายให้บุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา
ทุกคนเกิดมาเท่าไหร่ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็วเพราะว่าตราบใดที่มีการเกิดก็มีการตาย ไม่อยากจะเกิดไม่อยากจะตาย ก็ต้องดับความเกิด คลายความหลง ดับความเกิด ละกิเลสให้มันหมดจดให้สั้นลง ตัดภพตัดชาติให้สั้นลง แต่เวลานี้เราเกิดมาในภพมนุษย์ เราก็ต้องทำความใจกับภพมนุษย์แล้วก็ดับความเกิดภายในใจของเรา เราก็ดับความเกิดที่ใจของเรา ละกิเลสที่ใจของเรา กิเลสก็มีหลายชนิดทั้งกิเลสหยาบบ้างกิเลสละเอียดบ้าง กิเลสเกิดขึ้นที่กายใจส่งเสริมหรือไม่ หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน เราต้องหมั่นวิเคราะห์หมั่นแก้ไขตัวเรา ไม่มีใครที่จะแก้ไขเราให้ได้นอกจากตัวของเรา
ครูบาอาจารย์คำสอน อันนั้นก็เป็นแค่เพียงแนวทางเท่านั้นแหละ เราจงพยายามน้อมเอาคำสอนของพระพุทธองค์มาให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา การเจริญสติเป็นอย่างนี้การแก้ไขเป็นอย่างนี้ แต่ละวันกายของเราเป็นอย่างไร มีความเกียจคร้านหรือไม่ มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบหรือเปล่า มีความอ่อนน้อมถ่อมตน หรือว่า มีความแข็งกระด้าง เราก็พยายามหัดสังเกตบ่อยๆ หัดทำความเข้าใจบ่อยๆ แก้ไขใจของเราให้ได้จนเห็นการเกิดการดับ จนรู้ลักษณะ รู้ลึกเข้าถึงความหมายนั้นๆ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน อยู่ตลอดเวลาจนเป็นอัตโนมัติ ในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ ก็ต้องพยายามกันนะ
อะไรที่จะเป็นประโยชน์ ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ในโลกนี้ประโยชน์ในโลกหน้า เราได้ทำได้ทั้งนั้นขณะที่เรายังมีกำลังกายอยู่ ถ้าหมดลมหายใจก็คงจะมีตั้งแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป เพราะว่าเราพยายามแก้ไขขณะที่ยังมีร่างกายอยู่นี้ ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ล้มลุกขึ้นมาใหม่แก้ไขใหม่ ไม่สายเกินไปที่จะต้องแก้ไขตัวเรา ก็จะต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ