หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 19 วันที่ 1 ตุลาคม 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 19 วันที่ 1 ตุลาคม 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 19
วันที่ 1 ตุลาคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา เราได้สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้เชื่อมโยง ให้ต่อเนื่องกันสักนาที สองนาทีแล้วหรือยัง เพียงแค่การทำให้ต่อเนื่อง พวกเราก็ขาดความเพียร
ทั้งที่ใจอยากจะรู้ธรรม อยากจะได้บุญ มันไปด้วยความอยาก ไปด้วยความหลงนะ ถ้าการเกิดยังมีอยู่ ก็ยังหลงอยู่ แต่หลงในขั้นละเอียด คือ หลงเกิด ตราบใดที่เราเอาสติปัญญาไปเกิดแทนใจได้ คลายใจออกจากขันธ์ห้าได้ ทำความเข้าใจได้ ละได้ ดับความเกิดได้ นั่นแหละเราถึงจะไม่หลง
เพียงแค่เราเจริญสติให้ต่อเนื่อง เราก็จะรู้ว่าแต่ก่อนนั้นสติตัวที่เราสร้างขึ้นมานี้ไม่มีเลย มีตั้งแต่ปัญญาของกิเลสที่เข้าข้างตัวเอง การเกิดของใจ ใจไปบงการความคิด ขันธ์ห้าไปบงการหมด ถ้าเราสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง หัดสังเกตบ้าง ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง เริ่มใหม่ เริ่มบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ
ถ้าเราเห็นลักษณะอาการการก่อตัวของใจ เห็นลักษณะอาการของขันธ์ห้า เข้ามารวมกับใจ ถ้าเราเห็นตั้งแต่ต้นเหตุ เขาก็จะคลายออก เขาก็จะแยกออกจากกันโดยปริยาย ถ้าเราเห็นนะ เรารู้ทันตั้งแต่การก่อตัว เราไม่จับเขาแยกหรอก เขาจะแยกของเขาเอง เหมือนกับขโมยจะเข้าบ้าน พอเราไปเห็นปุ๊บมันจะกระโดดปั๊บ วิ่งหนีทันที ถ้าเราเห็นการเกิดของใจ เห็นอาการของใจเสียก่อน ใจจะกระโดดเคลื่อนเข้าไปรวมเป็นสิ่งเดียวกันปุ๊บเลย ถ้าเราเห็นขณะนั้นปั๊บ ใจมันจะพลิกปุ๊บทันที เขาเรียกว่า ‘หงาย’ เหมือนกับตัดวงกลม เหมือนกับตัดวงกลมเลย หงายผึงออกมา ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา
ทีนี้ตัวรู้ที่เขาไปรวมกันนี่ ตามดู เราก็จะเห็นมันเกิดๆ ดับๆ เห็นความคิดนี่แหละ ที่พระพุทธองค์ท่านเปรียบเสมือนกับมายา ‘มายา’ หมายถึง ไม่มีตัว ไม่มีตน หรือว่าท่าน เปรียบเสมือนกับพยับแดด มองดูไกลๆ เหมือนกับเป็นเปลวเพลิง เห็นเป็นก้อนๆ อยู่ เวลาเข้าไปใกล้ไม่เห็น
สติตัวที่เรารู้นี่ตามเห็นตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ อันนี้เขาเรียกว่า ‘ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร’ ส่วนวิญญาณ หรือว่า ตัวใจนั้น ว่างรับรู้อยู่ สติตามดู นี่เขาเรียกว่าเห็น ‘อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ตามดูทุกเรื่อง เขาเรียกว่า ‘ลงไตรลักษณ์’ เขาเรียกว่า ‘ลงไตรลักษณ์’ ‘ลงความว่าง’ เรื่องใหม่ก็เข้ามา ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามดูจนขี้เกียจตามนั้นแหละว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงไตรลักษณ์ ลงความว่างหมด นี่เขาเรียกว่า ‘วางอัตตาตัวตน’
ทีนี้กิเลสก็ยังเหลืออยู่ที่ใจอีก เราก็มาละกิเลสที่ใจอีก กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด กิเลสความยินดียินร้าย ความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก กิเลสการเกิด นี่แหละที่หลวงพ่อพูดว่า “ความเกิดแม้แต่นิดเดียวก็ไม่ให้เกิดอยู่ที่ตัวใจ” ถ้าเราดับความเกิด ละกิเลสทีนั้นทีนี้ก็สั้นลง สั้นลง สั้นลง พอเขาก่อตัวปุ๊บ เราก็ดับ มันก็ถึงตัวใจ มันเกิดอีกเราดับอีก เกิดอีกเราดับอีก
ที่ท่านบอกว่า ‘วิปัสสนาญาณ’ เราละกิเลสหยาบได้ กิเลสละเอียดได้ ก็เหมือนกับเราขึ้นบันได ขึ้นทีละขั้น สองขั้น สามขั้น จนขึ้นถึงตัวเรือน พอขึ้นถึงตัวเรือน เราก็หมั่นปัดกวาดความสะอาด ให้สะอาดให้หมดจด ที่ท่านบอกว่า โสดาปัฏติมรรค โสดาปัฎติผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล ที่เราละกิเลสได้เบาบางลงไปเรื่อยๆ เบาบางลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงขั้นอรหัตมรรค อรหัตผล หน่วงเหนี่ยวเอาความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส เขาเรียกว่า ‘ทรง รักษา ใจของเราให้อยู่ในความสะอาด ให้อยู่ในความบริสุทธิ์ นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘วิหารธรรม’ เครื่องอยู่ของใจ
ละกิเลสออกให้มันหมดก็จะเข้าถึงความว่าง ความว่างในหลักธรรม ท่านเรียกว่า ‘นิพพาน’ นิพพานขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ ดับความเกิดขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ
เกิดทางกายเนื้อก็เกิดมาแล้ว แม้แต่สติปัญญาเราก็หัดเอาไปใช้ ทำหน้าที่แทนใจ ตาทำหน้าที่อย่างไร ที่ท่านบอกว่า ‘สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง’ เป็นลักษณะอย่างไร ‘แยกรูป รส กลิ่น เสียง’ ออกจากใจของเราเป็นลักษณะอย่างไร มีหมด พยายามหัดฝืนจนใจของเราคลายออกให้ได้ เราถึงจะเข้าใจ เข้าใจคำว่า อัตตาเป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องสมมติ วิมุตติเป็นอย่างไร การเกิดของใจ หลักของอริยสัจเป็นอย่างไร ใจที่สงบ สงบจากกิเลส สงบจากการเกิด สงบด้วยปัญญาเป็นอย่างไร
ส่วนมากก็มีเพียงแค่ได้ควบคุม กับการบังคับ ควบคุมหรือปล่อยปละละเลยไปเลย ไม่ค่อยจะสนใจ มันจะไปได้อย่างไร ทุกเวลา ทุกนาที ทุกลมหายใจเข้าออก ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอได้อย่างไร นิวรณ์ ความเกียจคร้านเข้ามาได้อย่างไร ความกังวล ความฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร มลทินเป็นอย่างไร ส่วนมากก็คนโน้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี หรือมองเห็นตัวเองต่ำ ยกคนอื่นสูง มองเห็นคนอื่นสูง ยกตัวเองต่ำ
ความจริงมีอยู่ สัจธรรมมีอยู่ รู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย หมดความสงสัยได้ด้วย ทีนี้เราจะละได้มาก ได้น้อยก็ขึ้นอยู่ความเพียรของเรา ปฏิบัติธรรม ฝึกธรรม เจริญสติก็ยังไม่รู้จักว่าลักษณะของสติเป็นอย่างไร ปัญญาที่แยก ที่คลาย การตามดู รู้เห็น การละกิเลส กิเลสตัวไหนมันเกิดลักษณะอย่างไร เหตุจากภายนอกทำให้มันเกิด หรือเกิดจากภายใน ความกลัวเป็นอย่างไร ความกล้าหาญเป็นอย่างไร ให้ละอายในสิ่งที่ควรละอาย ให้กล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้าหาญ
บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ไม่ต้องไปหาที่โน่นที่นี่หรอก ลงที่ใจของเรา อะไรคือสติปัญญาเป็นครูบาอาจารย์ หมั่นอบรมใจของตัวเรา จนใจมองเห็นความเป็นจริง รับรู้ความเป็นจริงได้นั้นแหละ ไม่ต้องไปเที่ยวถามคนโน้น เที่ยวถามคนนี้ แนวทางมีอยู่ตั้งนาน พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาตั้งนานแล้ว เราพยายามดำเนิน ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็อย่าไปทิ้งนะ พยายามสร้างบุญสร้างกุศล
การฝึกหัดปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทำเล่นๆ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียร มีสัจจะ มีสัจจะกับตัวเอง มีความจริงใจต่อตัวเอง มันถึงจะถึงจุดหมายปลายทางได้ ความเพียรต้องถึงพร้อม ไม่ใช่จะเอาตั้งแต่เล่น แต่พูด แต่เล่นแต่สนุกสนานกัน อย่างนั้นก็ปล่อยไปตามวิบากของกรรมแต่ละบุคคล เพราะว่าสร้างมาไม่เหมือนกัน บางคนก็พูดจนปากเปียกปากแฉะก็ไม่สนใจ บางคนได้ยินนิดเดียวการเจริญสติเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ลักษณะของใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ความเพียรระดับภายนอก ภายในเป็นอย่างไร ความเพียรระดับสมมติ เรายังขาดตกบกพร่องอะไร เราพยายามทำให้เกิดประโยชน์
อะไรคือธรรม ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เพื่ออะไร เพื่อละกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมดเท่านั้นเอง แต่เราก็ต้องรักษาข้อวัตรปฏิบัติ ถ้าเราไม่เคารพสมมติ สมมติก็วุ่นวาย ต้องพยายามทำความเข้าใจไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ก็ต้องขยันหมั่นเพียร ทุกคนเกิดมาตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว แต่ให้ตายจากกิเลสให้มันได้เสียก่อน กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด มันเกิดเมื่อไร เราพยายามจัดการกับมันเมื่อนั้น มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
ในหลักธรรมจริง ๆ นั้นไม่จำเป็นต้องไปพูดกันเลย ถ้าเราหมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ หมั่นพร่ำสอนใจของเรา ที่ท่านว่า ‘ตนเป็นที่พึ่งของตน’ อันนี้สมมติก็พึ่งตัวเองไม่ได้ วิมุตติก็มีตั้งแต่กิเลสเข้าไปใช้การใช้งานจนหัวหมุน หลงอยู่อย่างนั้น ก็ต้องพยายาม ค้นคว้าหาความจริงในกายของเราให้มันเจอ
ถ้าเราทำถึงที่สิ้นสุดแล้ว สติ ปัญญา สมาธิ เขาจะรักษาเราเอง ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นแค่เพียงอิริยาบถ จะร้องตะโกนอยู่ใจก็สงบ แม้แต่กายจะแตกจะดับ ใจก็มีตั้งแต่พลังที่จะวางกายได้ตลอดเวลา ส่วนภาระหน้าที่สมมติ เราก็ยังประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้สมมติได้อยู่ดีมีความสุข ขณะยังมีลมหายใจอยู่นี้เท่านั้น เรามีโอกาสมากเท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามกันนะ
วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ ไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอา
วันที่ 1 ตุลาคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมา เราได้สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้เชื่อมโยง ให้ต่อเนื่องกันสักนาที สองนาทีแล้วหรือยัง เพียงแค่การทำให้ต่อเนื่อง พวกเราก็ขาดความเพียร
ทั้งที่ใจอยากจะรู้ธรรม อยากจะได้บุญ มันไปด้วยความอยาก ไปด้วยความหลงนะ ถ้าการเกิดยังมีอยู่ ก็ยังหลงอยู่ แต่หลงในขั้นละเอียด คือ หลงเกิด ตราบใดที่เราเอาสติปัญญาไปเกิดแทนใจได้ คลายใจออกจากขันธ์ห้าได้ ทำความเข้าใจได้ ละได้ ดับความเกิดได้ นั่นแหละเราถึงจะไม่หลง
เพียงแค่เราเจริญสติให้ต่อเนื่อง เราก็จะรู้ว่าแต่ก่อนนั้นสติตัวที่เราสร้างขึ้นมานี้ไม่มีเลย มีตั้งแต่ปัญญาของกิเลสที่เข้าข้างตัวเอง การเกิดของใจ ใจไปบงการความคิด ขันธ์ห้าไปบงการหมด ถ้าเราสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องเชื่อมโยง หัดสังเกตบ้าง ทันบ้าง ไม่ทันบ้าง เริ่มใหม่ เริ่มบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ
ถ้าเราเห็นลักษณะอาการการก่อตัวของใจ เห็นลักษณะอาการของขันธ์ห้า เข้ามารวมกับใจ ถ้าเราเห็นตั้งแต่ต้นเหตุ เขาก็จะคลายออก เขาก็จะแยกออกจากกันโดยปริยาย ถ้าเราเห็นนะ เรารู้ทันตั้งแต่การก่อตัว เราไม่จับเขาแยกหรอก เขาจะแยกของเขาเอง เหมือนกับขโมยจะเข้าบ้าน พอเราไปเห็นปุ๊บมันจะกระโดดปั๊บ วิ่งหนีทันที ถ้าเราเห็นการเกิดของใจ เห็นอาการของใจเสียก่อน ใจจะกระโดดเคลื่อนเข้าไปรวมเป็นสิ่งเดียวกันปุ๊บเลย ถ้าเราเห็นขณะนั้นปั๊บ ใจมันจะพลิกปุ๊บทันที เขาเรียกว่า ‘หงาย’ เหมือนกับตัดวงกลม เหมือนกับตัดวงกลมเลย หงายผึงออกมา ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา
ทีนี้ตัวรู้ที่เขาไปรวมกันนี่ ตามดู เราก็จะเห็นมันเกิดๆ ดับๆ เห็นความคิดนี่แหละ ที่พระพุทธองค์ท่านเปรียบเสมือนกับมายา ‘มายา’ หมายถึง ไม่มีตัว ไม่มีตน หรือว่าท่าน เปรียบเสมือนกับพยับแดด มองดูไกลๆ เหมือนกับเป็นเปลวเพลิง เห็นเป็นก้อนๆ อยู่ เวลาเข้าไปใกล้ไม่เห็น
สติตัวที่เรารู้นี่ตามเห็นตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ อันนี้เขาเรียกว่า ‘ปัญญารอบรู้ในกองสังขาร’ ส่วนวิญญาณ หรือว่า ตัวใจนั้น ว่างรับรู้อยู่ สติตามดู นี่เขาเรียกว่าเห็น ‘อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ตามดูทุกเรื่อง เขาเรียกว่า ‘ลงไตรลักษณ์’ เขาเรียกว่า ‘ลงไตรลักษณ์’ ‘ลงความว่าง’ เรื่องใหม่ก็เข้ามา ก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ตามดูจนขี้เกียจตามนั้นแหละว่า ทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงไตรลักษณ์ ลงความว่างหมด นี่เขาเรียกว่า ‘วางอัตตาตัวตน’
ทีนี้กิเลสก็ยังเหลืออยู่ที่ใจอีก เราก็มาละกิเลสที่ใจอีก กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด กิเลสความยินดียินร้าย ความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก กิเลสการเกิด นี่แหละที่หลวงพ่อพูดว่า “ความเกิดแม้แต่นิดเดียวก็ไม่ให้เกิดอยู่ที่ตัวใจ” ถ้าเราดับความเกิด ละกิเลสทีนั้นทีนี้ก็สั้นลง สั้นลง สั้นลง พอเขาก่อตัวปุ๊บ เราก็ดับ มันก็ถึงตัวใจ มันเกิดอีกเราดับอีก เกิดอีกเราดับอีก
ที่ท่านบอกว่า ‘วิปัสสนาญาณ’ เราละกิเลสหยาบได้ กิเลสละเอียดได้ ก็เหมือนกับเราขึ้นบันได ขึ้นทีละขั้น สองขั้น สามขั้น จนขึ้นถึงตัวเรือน พอขึ้นถึงตัวเรือน เราก็หมั่นปัดกวาดความสะอาด ให้สะอาดให้หมดจด ที่ท่านบอกว่า โสดาปัฏติมรรค โสดาปัฎติผล อนาคามีมรรค อนาคามีผล ที่เราละกิเลสได้เบาบางลงไปเรื่อยๆ เบาบางลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงขั้นอรหัตมรรค อรหัตผล หน่วงเหนี่ยวเอาความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส เขาเรียกว่า ‘ทรง รักษา ใจของเราให้อยู่ในความสะอาด ให้อยู่ในความบริสุทธิ์ นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘วิหารธรรม’ เครื่องอยู่ของใจ
ละกิเลสออกให้มันหมดก็จะเข้าถึงความว่าง ความว่างในหลักธรรม ท่านเรียกว่า ‘นิพพาน’ นิพพานขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ ดับความเกิดขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ
เกิดทางกายเนื้อก็เกิดมาแล้ว แม้แต่สติปัญญาเราก็หัดเอาไปใช้ ทำหน้าที่แทนใจ ตาทำหน้าที่อย่างไร ที่ท่านบอกว่า ‘สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง’ เป็นลักษณะอย่างไร ‘แยกรูป รส กลิ่น เสียง’ ออกจากใจของเราเป็นลักษณะอย่างไร มีหมด พยายามหัดฝืนจนใจของเราคลายออกให้ได้ เราถึงจะเข้าใจ เข้าใจคำว่า อัตตาเป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องสมมติ วิมุตติเป็นอย่างไร การเกิดของใจ หลักของอริยสัจเป็นอย่างไร ใจที่สงบ สงบจากกิเลส สงบจากการเกิด สงบด้วยปัญญาเป็นอย่างไร
ส่วนมากก็มีเพียงแค่ได้ควบคุม กับการบังคับ ควบคุมหรือปล่อยปละละเลยไปเลย ไม่ค่อยจะสนใจ มันจะไปได้อย่างไร ทุกเวลา ทุกนาที ทุกลมหายใจเข้าออก ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอได้อย่างไร นิวรณ์ ความเกียจคร้านเข้ามาได้อย่างไร ความกังวล ความฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร มลทินเป็นอย่างไร ส่วนมากก็คนโน้นไม่ดี คนนี้ไม่ดี หรือมองเห็นตัวเองต่ำ ยกคนอื่นสูง มองเห็นคนอื่นสูง ยกตัวเองต่ำ
ความจริงมีอยู่ สัจธรรมมีอยู่ รู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย หมดความสงสัยได้ด้วย ทีนี้เราจะละได้มาก ได้น้อยก็ขึ้นอยู่ความเพียรของเรา ปฏิบัติธรรม ฝึกธรรม เจริญสติก็ยังไม่รู้จักว่าลักษณะของสติเป็นอย่างไร ปัญญาที่แยก ที่คลาย การตามดู รู้เห็น การละกิเลส กิเลสตัวไหนมันเกิดลักษณะอย่างไร เหตุจากภายนอกทำให้มันเกิด หรือเกิดจากภายใน ความกลัวเป็นอย่างไร ความกล้าหาญเป็นอย่างไร ให้ละอายในสิ่งที่ควรละอาย ให้กล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้าหาญ
บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ไม่ต้องไปหาที่โน่นที่นี่หรอก ลงที่ใจของเรา อะไรคือสติปัญญาเป็นครูบาอาจารย์ หมั่นอบรมใจของตัวเรา จนใจมองเห็นความเป็นจริง รับรู้ความเป็นจริงได้นั้นแหละ ไม่ต้องไปเที่ยวถามคนโน้น เที่ยวถามคนนี้ แนวทางมีอยู่ตั้งนาน พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาตั้งนานแล้ว เราพยายามดำเนิน ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็อย่าไปทิ้งนะ พยายามสร้างบุญสร้างกุศล
การฝึกหัดปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ทำเล่นๆ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียร มีสัจจะ มีสัจจะกับตัวเอง มีความจริงใจต่อตัวเอง มันถึงจะถึงจุดหมายปลายทางได้ ความเพียรต้องถึงพร้อม ไม่ใช่จะเอาตั้งแต่เล่น แต่พูด แต่เล่นแต่สนุกสนานกัน อย่างนั้นก็ปล่อยไปตามวิบากของกรรมแต่ละบุคคล เพราะว่าสร้างมาไม่เหมือนกัน บางคนก็พูดจนปากเปียกปากแฉะก็ไม่สนใจ บางคนได้ยินนิดเดียวการเจริญสติเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ลักษณะของใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ความเพียรระดับภายนอก ภายในเป็นอย่างไร ความเพียรระดับสมมติ เรายังขาดตกบกพร่องอะไร เราพยายามทำให้เกิดประโยชน์
อะไรคือธรรม ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ เพื่ออะไร เพื่อละกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมดเท่านั้นเอง แต่เราก็ต้องรักษาข้อวัตรปฏิบัติ ถ้าเราไม่เคารพสมมติ สมมติก็วุ่นวาย ต้องพยายามทำความเข้าใจไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ก็ต้องขยันหมั่นเพียร ทุกคนเกิดมาตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว แต่ให้ตายจากกิเลสให้มันได้เสียก่อน กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด มันเกิดเมื่อไร เราพยายามจัดการกับมันเมื่อนั้น มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน
ในหลักธรรมจริง ๆ นั้นไม่จำเป็นต้องไปพูดกันเลย ถ้าเราหมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ หมั่นพร่ำสอนใจของเรา ที่ท่านว่า ‘ตนเป็นที่พึ่งของตน’ อันนี้สมมติก็พึ่งตัวเองไม่ได้ วิมุตติก็มีตั้งแต่กิเลสเข้าไปใช้การใช้งานจนหัวหมุน หลงอยู่อย่างนั้น ก็ต้องพยายาม ค้นคว้าหาความจริงในกายของเราให้มันเจอ
ถ้าเราทำถึงที่สิ้นสุดแล้ว สติ ปัญญา สมาธิ เขาจะรักษาเราเอง ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นแค่เพียงอิริยาบถ จะร้องตะโกนอยู่ใจก็สงบ แม้แต่กายจะแตกจะดับ ใจก็มีตั้งแต่พลังที่จะวางกายได้ตลอดเวลา ส่วนภาระหน้าที่สมมติ เราก็ยังประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้สมมติได้อยู่ดีมีความสุข ขณะยังมีลมหายใจอยู่นี้เท่านั้น เรามีโอกาสมากเท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามกันนะ
วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ ไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอา