หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 5 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 5 วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 5
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557
เจริญธรรมญาติโยมทุกคนทุกท่าน ขอให้ญาติโยมจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องประนมมือ
หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากใจ หรือว่าเกิดจากวิญญาณในกายของเรา ด้วยการสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เราพยายามฝึกตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บ รู้ลม สัมผัสของลมหายใจเข้าออกปุ๊บ รู้ความปกติของใจปั๊บ
ถ้าความรู้ตัวต่อเนื่อง ถ้าใจจะปรุงแต่งเขาก็จะเห็นอาการเกิดของใจ เราก็รู้จักหยุด หาอุบายเข้าไปหยุด เข้าไปดับ อาการของความคิดจะผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ใจจะเคลื่อนเข้าไปรวมเอง ถ้าเรารู้ทัน ใจก็จะคลายออกจากอาการของความคิด ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมด้วยกัน ก็เรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ใจของเราก็จะหงาย พลิกจากของที่คว่ำ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา
ความรู้ตัวหรือว่าสติที่เราสร้างขึ้นมานี้แหละ ตามดู เห็นการเกิดการดับของความคิด ซึ่งเรียกว่า เห็นอาการของขันธ์ห้าในขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง บางทีก็เป็นเรื่องอดีต บางทีก็เป็นเรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล บางทีก็เป็นกลางๆ ส่วนใจก็ยังว่างรับรู้อยู่ สติของเราตามดูรู้ทุกเรื่อง เราก็จะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของขันธ์ห้า เห็นเสียก่อน ตามดูเสียก่อน ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาตั้งอยู่อย่างไร เขาดับไปอย่างไร เวลาเขาดับไป เขาเรียกว่า ‘ไตรลักษณ์’ เขาเรียกว่า ‘ความว่าง’ ภาษาธรรม ภาษาสมมติเขาเรียกว่า ไตรลักษณ์ ความว่างเข้ามาปรากฏ เรื่องใหม่ก็เข้ามาอีก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
แต่เวลานี้เรายังแยกไม่ได้ ทั้งตัววิญญาณ ทั้งอาการของวิญญาณ หรือว่าความคิดรวมกันไป เราก็รู้อยู่เพียงแค่ว่า เราคิด เราทำ ทั้งที่เขาหลงกันอยู่ ถ้าแยกไม่ได้นี่เขาหลงเป็นกลุ่มเป็นก้อนหมดเลย เป็นวงกลมไปเลย หมุนไปตลอด ทั้งขันธ์ห้า ทั้งสติปัญญา
เราต้องมาเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม กระหนาบแล้ว กระหนาบอีก ชี้ จนกว่าจะแยกได้ ตามดูได้ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เหตุผลทางด้านรูปธรรม เหตุผลทางด้านนามธรรม เหตุผลทางสมมติ เหตุผลทางด้านวิมุตติ ที่ว่าเกิดๆ ดับๆ ขันธ์ห้าก็เกิดๆ ดับๆ ตัววิญญาณก็เกิดๆ ดับๆ เรียกว่า ‘ปรุงแต่ง’ การปรุงแต่ง การหมุน เราต้องพยายาม
การฝึกหัดปฏิบัติก็ต้องรู้ความหมาย และก็พยายามดำเนินให้ถึงจุดหมาย ถ้าเราไม่รู้ความหมายก็ไม่รู้จะฝึกไปทำไม การเจริญสติ ก็ไม่รู้จักลักษณะของคำว่า ‘สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน’ ที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นอย่างไร ลักษณะของใจที่ปราศจากกิเลส ลักษณะของใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ใจที่คลายจากความยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างไร ภาษาธรรม ภาษาโลก ที่ว่าสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นลักษณะอย่างไร กำลังสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ความรู้ตัวพลั้งเผลอได้อย่างไร เหตุจากภายนอกมาทำให้เกิด หรือเกิดจากภายใน งานระดับสมมติที่ยังสมมติของเราให้อยู่ดีมีความสุข เราขาดตกบกพร่องอะไร เราต้องรีบแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา หมั่นพร่ำสอนตัวเราอยู่ตลอดเวลาทุกเรื่อง อย่าไปเที่ยวให้คนโน้นเขาสอน คนนี้เขาสอน อย่างงั้นไปไม่ถึงไหน
เราเพียงแค่รู้จักวิธีรู้จักแนวทาง ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพออยู่ในระดับไหน เพียงแค่การเจริญสติที่ต่อเนื่องเราทำได้แล้วหรือยัง ทั้งที่ฐานบุญ ฐานบารมี ความเสียสละ ความอดทนอดกลั้น ผ่านกาล ผ่านเวลา ระดับสมมติ การฝักไฝ่ การสนใจ การยังสมมติของเราให้เกิดประโยชน์ ตรงนี้มีกันทุกคน มีมาตั้งแต่ภพก่อนโน้นแหละ จนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วมาสร้างมาสานต่อ
แต่ในความเป็นจริง ความเกิดนั่นแหละ คือ ‘ความหลง’ ความหลงมาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์ มาสร้างกายเนื้อมาปกปิดเอาไว้ อาการของขันธ์ห้ามาปกปิดเอาไว้ในระดับของสมมติ แล้วก็ลึกลงไปอีกในระดับใจก็เกิดๆ ดับๆ ขันธ์ห้า ความคิดที่ไม่ตั้งใจก็มาผุดปรุงแต่งใจของเราก็มาเกิดๆ ดับๆ อีก รวมกันไปอยู่ มันหลายชั้น ละเอียด
กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ท่านถึงว่า ‘นิวรณธรรม’ เป็นเครื่องกางกั้นใจของเราไม่ให้ได้รับความสงบ ความกังวล ความฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย สารพัดอย่าง มลทิน เรียบเรียงไล่ลงไปเรื่อยๆ ถ้ากำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ ไม่มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความจริงใจ ไม่มีสัจจะกับตัวเองแล้ว มันก็ยาก เพียงแค่สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ตัวเราไม่รู้จักแก้ไขตัวเรามันก็ยาก ก็ได้แค่ทำบุญ ให้ทาน อยู่ในระดับของสมมติ แต่รายละเอียดต่างๆ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรอย่างยิ่งยวด ต้องเป็นบุคคลที่มีความเสียสละอย่างยิ่งยวด ต้องเป็นคนฝึกหัดขัดเกลาตัวเราอยู่ตลอดเวลา เราต้องมองให้เห็นถึงจุดหมายปลายทางว่า การปฏิบัติธรรมนั้น จุดหมายที่แท้จริงอยู่ที่ไหน การดำเนินชีวิตอยู่ในระดับของสมมติ อะไรเราขาดตกบกพร่อง เรามีความสุขอยู่ในระดับไหน ความสุขของกาย ความสุขของใจ
กายของเราอยู่กับสมมติ กายนี้แหละเป็นก้อนสมมติ เราจะไปหนีสมมติ หนีไม่ได้ นอกจากเราจะทำความเข้าใจ ถ้าจะหลบหลีกก็หลบหลีกด้วยปัญญา หลบหลีกภายในใจของเรา แก้ไขภายในของเรา สมมติก็ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด จนกว่าเขาจะแตกจะดับ ก็ต้องพยายามกัน ไม่ใช่ว่าฝึกแบบเลื่อนๆ ลอยๆ ไม่มีความหมาย ไม่มีหลัก
เราละกิเลสได้ระดับไหน กิเลสเกิดขึ้น เราสักกี่ครั้ง เราละกิเลสในระดับนี้ ใจของเราเป็นอย่างนี้ ก็จะเลื่อนชั้น เลื่อนฐานะของเขาไปเรื่อยๆ ท่านถึงบอกว่า ตั้งแต่ต้นเหตุ ถึงปลายเหตุ ตั้งแต่การสร้างบารมี ตั้งแต่ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ระดับแยกรูปแยกนาม โสดา อนาคา อรหัตตมรรค อรหัตตผล ขึ้นไปเรื่อยๆ จนปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ
แนวทางนั้นมีอยู่หมด กิเลสนั้นก็มีกันทุกคน จะมีมากมีน้อยก็เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล หมั่นขัดเกลากันเอา ตื่นขึ้นมาเราก็รีบแก้ไข อยู่ที่ใจของเรา นี่กายของเรานี่แหละ ก้อนบุญ ก้อนธรรม สนามรบก็อยู่ที่ใจของเรา อย่าไปหลบหลีกเหตุการณ์ ต้องทำความเข้าใจ ต่อสู้กับเหตุการณ์ต่างๆ แก้ไขภายในด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยปัญญาล้วนๆ แต่เราต้องรอบรู้ ในดวงวิญญาณ ในกองสังขารภายในของเราให้เรียบร้อย ทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้อง อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง ทุกคนมีเวลาเท่ากันหมด ทุกคนก็ปรารถนาที่จะหาทางดับทุกข์ เดินให้ถึงจุดหมายปลายทางกันให้หมด แต่อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง แต่ก็อย่าทิ้ง เราก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอา
วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557
เจริญธรรมญาติโยมทุกคนทุกท่าน ขอให้ญาติโยมจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องประนมมือ
หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากใจ หรือว่าเกิดจากวิญญาณในกายของเรา ด้วยการสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เราพยายามฝึกตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บ รู้ลม สัมผัสของลมหายใจเข้าออกปุ๊บ รู้ความปกติของใจปั๊บ
ถ้าความรู้ตัวต่อเนื่อง ถ้าใจจะปรุงแต่งเขาก็จะเห็นอาการเกิดของใจ เราก็รู้จักหยุด หาอุบายเข้าไปหยุด เข้าไปดับ อาการของความคิดจะผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ใจจะเคลื่อนเข้าไปรวมเอง ถ้าเรารู้ทัน ใจก็จะคลายออกจากอาการของความคิด ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมด้วยกัน ก็เรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ ใจของเราก็จะหงาย พลิกจากของที่คว่ำ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา
ความรู้ตัวหรือว่าสติที่เราสร้างขึ้นมานี้แหละ ตามดู เห็นการเกิดการดับของความคิด ซึ่งเรียกว่า เห็นอาการของขันธ์ห้าในขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง บางทีก็เป็นเรื่องอดีต บางทีก็เป็นเรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกุศล บางทีก็เป็นอกุศล บางทีก็เป็นกลางๆ ส่วนใจก็ยังว่างรับรู้อยู่ สติของเราตามดูรู้ทุกเรื่อง เราก็จะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของขันธ์ห้า เห็นเสียก่อน ตามดูเสียก่อน ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาตั้งอยู่อย่างไร เขาดับไปอย่างไร เวลาเขาดับไป เขาเรียกว่า ‘ไตรลักษณ์’ เขาเรียกว่า ‘ความว่าง’ ภาษาธรรม ภาษาสมมติเขาเรียกว่า ไตรลักษณ์ ความว่างเข้ามาปรากฏ เรื่องใหม่ก็เข้ามาอีก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
แต่เวลานี้เรายังแยกไม่ได้ ทั้งตัววิญญาณ ทั้งอาการของวิญญาณ หรือว่าความคิดรวมกันไป เราก็รู้อยู่เพียงแค่ว่า เราคิด เราทำ ทั้งที่เขาหลงกันอยู่ ถ้าแยกไม่ได้นี่เขาหลงเป็นกลุ่มเป็นก้อนหมดเลย เป็นวงกลมไปเลย หมุนไปตลอด ทั้งขันธ์ห้า ทั้งสติปัญญา
เราต้องมาเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม กระหนาบแล้ว กระหนาบอีก ชี้ จนกว่าจะแยกได้ ตามดูได้ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เหตุผลทางด้านรูปธรรม เหตุผลทางด้านนามธรรม เหตุผลทางสมมติ เหตุผลทางด้านวิมุตติ ที่ว่าเกิดๆ ดับๆ ขันธ์ห้าก็เกิดๆ ดับๆ ตัววิญญาณก็เกิดๆ ดับๆ เรียกว่า ‘ปรุงแต่ง’ การปรุงแต่ง การหมุน เราต้องพยายาม
การฝึกหัดปฏิบัติก็ต้องรู้ความหมาย และก็พยายามดำเนินให้ถึงจุดหมาย ถ้าเราไม่รู้ความหมายก็ไม่รู้จะฝึกไปทำไม การเจริญสติ ก็ไม่รู้จักลักษณะของคำว่า ‘สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน’ ที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นอย่างไร ลักษณะของใจที่ปราศจากกิเลส ลักษณะของใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ใจที่คลายจากความยึดมั่นถือมั่นเป็นอย่างไร ภาษาธรรม ภาษาโลก ที่ว่าสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นลักษณะอย่างไร กำลังสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ความรู้ตัวพลั้งเผลอได้อย่างไร เหตุจากภายนอกมาทำให้เกิด หรือเกิดจากภายใน งานระดับสมมติที่ยังสมมติของเราให้อยู่ดีมีความสุข เราขาดตกบกพร่องอะไร เราต้องรีบแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา หมั่นพร่ำสอนตัวเราอยู่ตลอดเวลาทุกเรื่อง อย่าไปเที่ยวให้คนโน้นเขาสอน คนนี้เขาสอน อย่างงั้นไปไม่ถึงไหน
เราเพียงแค่รู้จักวิธีรู้จักแนวทาง ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพออยู่ในระดับไหน เพียงแค่การเจริญสติที่ต่อเนื่องเราทำได้แล้วหรือยัง ทั้งที่ฐานบุญ ฐานบารมี ความเสียสละ ความอดทนอดกลั้น ผ่านกาล ผ่านเวลา ระดับสมมติ การฝักไฝ่ การสนใจ การยังสมมติของเราให้เกิดประโยชน์ ตรงนี้มีกันทุกคน มีมาตั้งแต่ภพก่อนโน้นแหละ จนได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วมาสร้างมาสานต่อ
แต่ในความเป็นจริง ความเกิดนั่นแหละ คือ ‘ความหลง’ ความหลงมาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์ มาสร้างกายเนื้อมาปกปิดเอาไว้ อาการของขันธ์ห้ามาปกปิดเอาไว้ในระดับของสมมติ แล้วก็ลึกลงไปอีกในระดับใจก็เกิดๆ ดับๆ ขันธ์ห้า ความคิดที่ไม่ตั้งใจก็มาผุดปรุงแต่งใจของเราก็มาเกิดๆ ดับๆ อีก รวมกันไปอยู่ มันหลายชั้น ละเอียด
กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ท่านถึงว่า ‘นิวรณธรรม’ เป็นเครื่องกางกั้นใจของเราไม่ให้ได้รับความสงบ ความกังวล ความฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย สารพัดอย่าง มลทิน เรียบเรียงไล่ลงไปเรื่อยๆ ถ้ากำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ ไม่มีความขยันหมั่นเพียร ไม่มีความจริงใจ ไม่มีสัจจะกับตัวเองแล้ว มันก็ยาก เพียงแค่สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ ตัวเราไม่รู้จักแก้ไขตัวเรามันก็ยาก ก็ได้แค่ทำบุญ ให้ทาน อยู่ในระดับของสมมติ แต่รายละเอียดต่างๆ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรอย่างยิ่งยวด ต้องเป็นบุคคลที่มีความเสียสละอย่างยิ่งยวด ต้องเป็นคนฝึกหัดขัดเกลาตัวเราอยู่ตลอดเวลา เราต้องมองให้เห็นถึงจุดหมายปลายทางว่า การปฏิบัติธรรมนั้น จุดหมายที่แท้จริงอยู่ที่ไหน การดำเนินชีวิตอยู่ในระดับของสมมติ อะไรเราขาดตกบกพร่อง เรามีความสุขอยู่ในระดับไหน ความสุขของกาย ความสุขของใจ
กายของเราอยู่กับสมมติ กายนี้แหละเป็นก้อนสมมติ เราจะไปหนีสมมติ หนีไม่ได้ นอกจากเราจะทำความเข้าใจ ถ้าจะหลบหลีกก็หลบหลีกด้วยปัญญา หลบหลีกภายในใจของเรา แก้ไขภายในของเรา สมมติก็ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด จนกว่าเขาจะแตกจะดับ ก็ต้องพยายามกัน ไม่ใช่ว่าฝึกแบบเลื่อนๆ ลอยๆ ไม่มีความหมาย ไม่มีหลัก
เราละกิเลสได้ระดับไหน กิเลสเกิดขึ้น เราสักกี่ครั้ง เราละกิเลสในระดับนี้ ใจของเราเป็นอย่างนี้ ก็จะเลื่อนชั้น เลื่อนฐานะของเขาไปเรื่อยๆ ท่านถึงบอกว่า ตั้งแต่ต้นเหตุ ถึงปลายเหตุ ตั้งแต่การสร้างบารมี ตั้งแต่ทาน ศีล สมาธิ ปัญญา ระดับแยกรูปแยกนาม โสดา อนาคา อรหัตตมรรค อรหัตตผล ขึ้นไปเรื่อยๆ จนปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ
แนวทางนั้นมีอยู่หมด กิเลสนั้นก็มีกันทุกคน จะมีมากมีน้อยก็เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล หมั่นขัดเกลากันเอา ตื่นขึ้นมาเราก็รีบแก้ไข อยู่ที่ใจของเรา นี่กายของเรานี่แหละ ก้อนบุญ ก้อนธรรม สนามรบก็อยู่ที่ใจของเรา อย่าไปหลบหลีกเหตุการณ์ ต้องทำความเข้าใจ ต่อสู้กับเหตุการณ์ต่างๆ แก้ไขภายในด้วยสติ ด้วยปัญญา ด้วยปัญญาล้วนๆ แต่เราต้องรอบรู้ ในดวงวิญญาณ ในกองสังขารภายในของเราให้เรียบร้อย ทำหน้าที่ของเราให้ถูกต้อง อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง ทุกคนมีเวลาเท่ากันหมด ทุกคนก็ปรารถนาที่จะหาทางดับทุกข์ เดินให้ถึงจุดหมายปลายทางกันให้หมด แต่อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง แต่ก็อย่าทิ้ง เราก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอา