หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 17 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 17 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 17
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องกัน ทั้งที่ใจของเราสงบอยู่ แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัว ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องก็เรียกว่า ‘สติ’ นี่ถ้าต่อเนื่องก็เรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ ถ้าเรารู้เข้าไปถึงใจ รู้ลักษณะของใจ จนกว่าใจจะคลายออกจากความคิด นั่นแหละเขาถึงจะเรียกว่าเริ่มมีปัญญา ปัญญารู้กาย รู้ใจ จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด ถึงเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ นี่แหละความหลงของพระพุทธองค์อยู่ตรงนี้
พอคลายออก พอแยกได้ ความรู้ตัวของเราก็จะรู้ เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าว่าเป็นเรื่องอะไร ทำไมใจกับขันธ์ห้าเขาถึงรวมกันเป็นสิ่งเดียวกัน ตรงนี้แหละสำคัญ มันแยกยากจริงๆ ถ้ากำลังสติไม่เพียงพอ ถ้าความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เห็นการเกิดการดับ เราไม่จำเป็นต้องแยกเขา เขาจะแยกเขาเอง ขณะเคลื่อนเข้าไปรวม ใจก็จะหงายขึ้น เขาเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ เรียกว่า ‘พลิก’ พลิกจากสมมติไปหาวิมุตติ เพียงแค่เริ่มต้นคิดถูก ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูกต้อง นั่นแหละข้อแรกในการดำเนินอริยมรรคในองค์แปด
พอรู้เห็นตามความเป็นจริง ตามดู สติตามดู ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ใจยอมรับความเป็นจริง มองเห็นตามแนวทางคำสอนของพระพุทธองค์ ทุกเรื่อง ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเรา ทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน ใจก็มีตั้งแต่ปิติ มีตั้งแต่สุข นั่นแหละบุญ
ทีนี้เราจะละกิเลสได้หมด ดับความเกิดได้หมดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ใจเกิดกิเลส กิเลสเกิดความโลภ ความโกรธ ความอยาก เกิดความยินดียินร้าย เราก็พยายามจัดการ พยายามละ แม้แต่การเกิด การปรุง การแต่ง หยุดความเกิดเลยทีเดียว หนุนกำลังสติปัญญาไปเกิดแทนจนกลายเป็นมหาสติ จนกลายเป็นมหาปัญญา จนเอาไปดำเนินในชีวิตได้จนหมดลมหายใจนั่นแหละ
ไม่ใช่ว่าจะไปรู้เลยทีเดียว เราต้องพยายามหมั่นวิเคราะห์ หมั่นสำรวจ หมั่นทำความเข้าใจ เป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เราต้องวิเคราะห์ใจของเรา ใจของเราเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้า คำว่า ‘ขันธ์ห้า’ เป็นกองเป็นขันธ์อย่างไร คำว่า ‘อัตตา อนัตตา’ มีความหมายลักษณะอย่างไร
ช่วงใหม่ๆ การเจริญสติ ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอได้อย่างไร นิวรณธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เขาเกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างไร สติพลั้งเผลอได้อย่างไร ใจฟุ้งซ่านได้อย่างไร ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ รอบรู้ในกองสังขาร แล้วก็รอบรู้ในกายในวิญญาณของเรา แล้วก็รอบรู้ในโลกธรรมแปดที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ท่านถึงบอกว่ารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในโลกธรรม รอบรู้ในสมมติ อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ เราต้องรู้จักลักษณะ เข้าให้ได้ รู้ให้ถึง ทำความเข้าใจให้ได้ ชี้เหตุชี้ผลทุกเรื่อง
ในหลักธรรม แม้แต่การไปการมา แม้แต่ความอยากที่เกิดจากตัวใจ เราก็ต้องละออก แต่คนทั่วไปมีแต่ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากด้วย หวังด้วย ส่งออกไปภายนอกด้วย ทั้งยึดติดกายของตัวเรายังไม่พอ ไปยึดติดโลกธรรม สารพัดอย่างที่มาห่อหุ้ม
พระพุทธองค์ท่านสอน ท่านชี้ให้ลงไปหาสภาวะเดิม คือ ความสะอาด ความบริสุทธ์ ความไม่เกิด ถ้าจะเกิดก็ให้เกิดด้วยสติ เกิดด้วยปัญญา ทำ บริหารด้วยสติ บริหารด้วยปัญญา จะมีมากมีน้อย ก็ทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ เราก็พลอยได้รับประโยชน์นั้นด้วย
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ สิ่งพวกนี้จะไปบังคับกันไม่ได้เลย นอกจากบุคคลที่สร้างความเพียรมาดี สร้างตบะสร้างบารมีมาดี มีทั้งของเก่าของใหม่ เราก็มาสร้างเสริมเติมให้เต็มอีก นี่แหละ แนวทางมีอยู่ตั้งนาน ธรรมชาติมีอยู่ทุกคน แต่เราจะเข้าถึงธรรมชาติด้วยวิธีไหน ด้วยวาระอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา อย่าไปทิ้ง
อย่าไปทิ้งในการทำบุญ ในการให้ทาน การทำบุญ การให้ทาน ความเสียสละ การเจริญพรหมวิหาร พวกนี้แหละจะเป็นตบะบารมี เป็นข้าวพกข้าวห่อให้เราได้เดินถึงจุดหมายปลายทางกัน ก็ต้องพยายามกันนะ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักนิดก็ยังดีนะ ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อกันนะ
วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องกัน ทั้งที่ใจของเราสงบอยู่ แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัว ความรู้ตัวที่ต่อเนื่องก็เรียกว่า ‘สติ’ นี่ถ้าต่อเนื่องก็เรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ ถ้าเรารู้เข้าไปถึงใจ รู้ลักษณะของใจ จนกว่าใจจะคลายออกจากความคิด นั่นแหละเขาถึงจะเรียกว่าเริ่มมีปัญญา ปัญญารู้กาย รู้ใจ จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด ถึงเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ นี่แหละความหลงของพระพุทธองค์อยู่ตรงนี้
พอคลายออก พอแยกได้ ความรู้ตัวของเราก็จะรู้ เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าว่าเป็นเรื่องอะไร ทำไมใจกับขันธ์ห้าเขาถึงรวมกันเป็นสิ่งเดียวกัน ตรงนี้แหละสำคัญ มันแยกยากจริงๆ ถ้ากำลังสติไม่เพียงพอ ถ้าความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เห็นการเกิดการดับ เราไม่จำเป็นต้องแยกเขา เขาจะแยกเขาเอง ขณะเคลื่อนเข้าไปรวม ใจก็จะหงายขึ้น เขาเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ เรียกว่า ‘พลิก’ พลิกจากสมมติไปหาวิมุตติ เพียงแค่เริ่มต้นคิดถูก ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูกต้อง นั่นแหละข้อแรกในการดำเนินอริยมรรคในองค์แปด
พอรู้เห็นตามความเป็นจริง ตามดู สติตามดู ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ใจยอมรับความเป็นจริง มองเห็นตามแนวทางคำสอนของพระพุทธองค์ ทุกเรื่อง ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเรา ทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน ใจก็มีตั้งแต่ปิติ มีตั้งแต่สุข นั่นแหละบุญ
ทีนี้เราจะละกิเลสได้หมด ดับความเกิดได้หมดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ใจเกิดกิเลส กิเลสเกิดความโลภ ความโกรธ ความอยาก เกิดความยินดียินร้าย เราก็พยายามจัดการ พยายามละ แม้แต่การเกิด การปรุง การแต่ง หยุดความเกิดเลยทีเดียว หนุนกำลังสติปัญญาไปเกิดแทนจนกลายเป็นมหาสติ จนกลายเป็นมหาปัญญา จนเอาไปดำเนินในชีวิตได้จนหมดลมหายใจนั่นแหละ
ไม่ใช่ว่าจะไปรู้เลยทีเดียว เราต้องพยายามหมั่นวิเคราะห์ หมั่นสำรวจ หมั่นทำความเข้าใจ เป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย เราต้องวิเคราะห์ใจของเรา ใจของเราเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้า คำว่า ‘ขันธ์ห้า’ เป็นกองเป็นขันธ์อย่างไร คำว่า ‘อัตตา อนัตตา’ มีความหมายลักษณะอย่างไร
ช่วงใหม่ๆ การเจริญสติ ความรู้ตัวของเราพลั้งเผลอได้อย่างไร นิวรณธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เขาเกิดขึ้นมาในลักษณะอย่างไร สติพลั้งเผลอได้อย่างไร ใจฟุ้งซ่านได้อย่างไร ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ รอบรู้ในกองสังขาร แล้วก็รอบรู้ในกายในวิญญาณของเรา แล้วก็รอบรู้ในโลกธรรมแปดที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ท่านถึงบอกว่ารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในโลกธรรม รอบรู้ในสมมติ อะไรคือสมมติ อะไรคือวิมุตติ เราต้องรู้จักลักษณะ เข้าให้ได้ รู้ให้ถึง ทำความเข้าใจให้ได้ ชี้เหตุชี้ผลทุกเรื่อง
ในหลักธรรม แม้แต่การไปการมา แม้แต่ความอยากที่เกิดจากตัวใจ เราก็ต้องละออก แต่คนทั่วไปมีแต่ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากด้วย หวังด้วย ส่งออกไปภายนอกด้วย ทั้งยึดติดกายของตัวเรายังไม่พอ ไปยึดติดโลกธรรม สารพัดอย่างที่มาห่อหุ้ม
พระพุทธองค์ท่านสอน ท่านชี้ให้ลงไปหาสภาวะเดิม คือ ความสะอาด ความบริสุทธ์ ความไม่เกิด ถ้าจะเกิดก็ให้เกิดด้วยสติ เกิดด้วยปัญญา ทำ บริหารด้วยสติ บริหารด้วยปัญญา จะมีมากมีน้อย ก็ทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ เราก็พลอยได้รับประโยชน์นั้นด้วย
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ สิ่งพวกนี้จะไปบังคับกันไม่ได้เลย นอกจากบุคคลที่สร้างความเพียรมาดี สร้างตบะสร้างบารมีมาดี มีทั้งของเก่าของใหม่ เราก็มาสร้างเสริมเติมให้เต็มอีก นี่แหละ แนวทางมีอยู่ตั้งนาน ธรรมชาติมีอยู่ทุกคน แต่เราจะเข้าถึงธรรมชาติด้วยวิธีไหน ด้วยวาระอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา อย่าไปทิ้ง
อย่าไปทิ้งในการทำบุญ ในการให้ทาน การทำบุญ การให้ทาน ความเสียสละ การเจริญพรหมวิหาร พวกนี้แหละจะเป็นตบะบารมี เป็นข้าวพกข้าวห่อให้เราได้เดินถึงจุดหมายปลายทางกัน ก็ต้องพยายามกันนะ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักนิดก็ยังดีนะ ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อกันนะ