
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 53
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 53
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 53
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน แล้วก็ให้ชำนาญ แล้วก็ให้เป็นธรรมชาติที่สุด ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
พยายามฝึกความรู้ตัวตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จนต่อเนื่อง จนรู้เท่ารู้ทัน รู้ลักษณะของใจ รู้การเกิดการดับของใจ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ เวลาใจเกิดกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ เราจะละด้วยวิธีไหน ด้วยการข่มเอาไว้ หรือด้วยการทำความเข้าใจ ให้รู้เหตุรู้ผล เราต้องดำเนินสติของเราไปเป็นเพื่อนใจอยู่ตลอดเวลา อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ใจปกติก็รู้ว่าปกติ ใจเกิดกิเลสก็รู้ว่าเกิดกิเลส ก็รู้จักละ รู้จักดับ รู้จักหาวิธี รู้จักหาแนวทางเพื่อที่จะเข้าไปขัดเกลากิเลสออกจากจิตจากใจของเรา
ทุกคนก็มีกิเลส เพราะว่ากิเลสนี้มีมาทีหลัง สภาพจิตดวงเดิมนั้นปราศจากกิเลสมีแต่ความบริสุทธิ์ แต่ความไม่รู้ ความหลง จิตวิญญาณก็เลยเกิด เกิดอยู่ในภพน้อย เกิดอยู่ในภพใหญ่แล้วก็มาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์ แล้วก็มายึดว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นร่างกายของเราจริงๆ
อันนี้ก็เป็นร่างกายของเราจริงๆ นั่นแหละในทางสมมติ แต่ถ้าพิจารณาด้วยสติด้วยปัญญาตามแนวทางของพระพุทธองค์ เราก็จะเห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นแค่เพียงสภาวะ เป็นแค่เพียงธาตุธาตุสี่ ธาตุสี่ ดินน้ำลมไฟ มาประกอบกันเข้า มีวิญญาณเข้ามาครอบครอง ก็เลยมายึดมั่นถือมั่น พระพุทธองค์ท่านว่ามีตั้งแต่ความว่างเปล่า ไม่มีตัวมีตน แต่พวกเรามองเห็นเป็นตัวเป็นตนตัวตนก็ของเรา ร่างก็ของเรา อันนี้เป็นของเราจริงๆ
ในทางสมมติ เราต้องศึกษาเรื่องกายของเราให้ละเอียด เราถึงจะเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าอัตตาอนัตตา เป็นลักษณะอย่างไร เราต้องคลายใจออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนามให้ได้เสียก่อน เราถึงจะเข้าใจคำว่า ‘อัตตา อนัตตา’ เห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า เห็นความเกิดความดับของจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม
ส่วนร่างกาย ก้อนรูป หูตาจมูกลิ้นกาย เขาก็ทำหน้าที่ของเขาส่งเข้าไปถึงตัวใจ ตามีหน้าที่ดู หูมีหน้าที่ฟัง ก็ตาเห็นรูปใจของเราเกิดกิเลสหรือไม่ หูกระทบเสียงใจของเราเกิดกิเลสหรือไม่ เราต้องเจริญสติเข้าไปดู รู้ตั้งแต่ต้นเหตุ ใจเกิดกิเลสก็รู้จักหยุดรู้จักดับ ใจเกิดความโลภละความโลภ ใจเกิดความโกรธละความโกรธด้วยการให้อภัย อโหสิกรรม ทำใจของเราให้อยู่ในพรหมวิหาร อยู่ในความอ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในความหนักแน่น อยู่ในความบริสุทธิ์ ใจที่ปราศจากกิเลส ปราศจากความโลภ ความโกรธ ปราศจากความทะเยอทะยานอยาก ไม่เกิดใจเขาก็นิ่งใจไม่มีกิเลสใจเขาก็ว่าง เขาก็บริสุทธิ์
แต่เวลานี้ ทั้งความเกิดก็ปิดตัวใจเอาไว้ ทั้งกิเลสหยาบกิเลสละเอียดก็ปิดตัวใจเอาไว้ เราถึงได้มาเจริญสติเข้าไปแยกแยะ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ทำความเข้าใจแล้วก็ค่อยละ ละจนไม่มีอะไรเหลือที่ใจนั่นแหละ ในสิ่งที่ไม่เหลือก็จะมีวิญญาณอยู่คือความบริสุทธิ์ ความว่าง ในความว่างนั้นมีวิญญาณรับรู้อยู่
แต่เราจะมองด้วยตาเนื้อมองไม่เห็น เราต้องมองด้วยตาปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ความรู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้ละ รู้จักทำความเข้าใจ เขาก็ใจก็จะปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ จากกิเลสหนาก็กลายเป็นกิเลสบาง จากความหลงก็คลายความหลง แล้วก็มาขัดเกลากิเลส จากหยาบๆ ค่อยไปหาละเอียด จนกระทั่งความเกิดของจิต ดับความเกิดของจิตให้ได้ ถ้าเราดับบ่อยๆ จิตก็ไม่เกิดหรือใจก็ไม่เกิด
ความคิดนั่นแหละ คือความคิดที่เกิดจากใจวิ่งส่งออกไปภายนอกนั่นแหละ ส่งออกไปภายนอกยังไม่พอ ก็ไปรวมกับขันธ์ห้า ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม คิดก็รู้ ทำก็รู้ เรารู้เมื่อเขาหลงแล้ว เรารู้เมื่อเขาเกิดแล้ว แล้วก็พากันส่งเสริมกันไปทั้งก้อน
แต่พระพุทธองค์ท่านให้เจริญสติเข้าไปจำแนกแจกแจงให้รู้เห็นเป็นกองเป็นขันธ์ ซึ่งอยู่ในภาพรวม ในร่างกายของเรานี้มีกี่กองมีกี่ขันธ์ ซึ่งมีหนังห่อหุ้มเอาไว้ ถ้าเราไม่เข้าถึงตรงนั้นเราก็จะไม่เข้าใจในแก่นแท้ของชีวิตของเรา ถ้าเราแยกแยะได้เข้าถึงได้ ละได้เราก็จะเข้าถึงแก่นแท้ ทีนี้จะเอาอะไร จะทำอะไร ก็เป็นเรื่องของปัญญาทำหน้าที่ ทำความเข้าใจ รู้จักใช้สมมติให้เกิดประโยชน์ อะไรคือวิมุตติ อะไรคือสมมติ อะไรคืออัตตา อนัตตา อะไรคือหลักของอริยสัจความจริงอันประเสริฐ เราก็จะเข้าใจในความหมายในการขัดเกลากิเลส ในการปัดกวาดทำความสะอาดให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา
ท่านถึงบอกให้เชื่อ อย่าพากันปิดกั้นตัวเองว่าไม่มีโอกาส ทุกคนมีโอกาส ทุกคนมีวาสนากันหมด ความเพียรจะถูกต้องถูกตามแนวทางหรือไม่เราก็ต้องศึกษาค้นคว้าจนรู้แจ้งเห็นจริง ท่านจึงบอกให้เชื่อเพราะว่าศาสนาของพระพุทธองค์เป็นศาสนาที่มีเหตุ มีเหตุมีผล เหตุทางสมมติเหตุทางวิมุตติ ค้นคว้าลงไปยิ่งจะเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจรู้ความเป็นจริงแล้วก็ค่อยละ ทีละเล็ก ทีละน้อย ใจของเราก็จะเบาบางลงไปเรื่อยๆ
อย่าไปทิ้งในการทำบุญ ในการให้ทาน ทำมากทำน้อยก็เป็นอานิสงส์ของเรา เห็นคนอื่นทำ เราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย เราก็มีส่วนแห่งบุญ ก็ต้องพยายามกันดำเนิน ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ไม่ถึงจริงๆ สิ่งที่พวกเราทำก็ไปต่อเอาภพหน้า บุญวัตถุทานเราก็ทำ การละกิเลสเราก็ทำ การศึกษาการค้นคว้าให้สมบูรณ์แบบ ไปที่ไหนเราก็จะได้ไม่เก้อเขิน ไปที่ไหนเราก็จะเป็นผู้กล้าหาญองอาจกล้าหาญ ไม่ให้กิเลสมาเป็นเครื่องบงการชีวิตของเรา เราจงบงการด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา บริหารด้วยปัญญา ไม่มีใครที่จะมาบังคับเราได้เลยถ้าเราเข้าใจ ก็ต้องพยายามกันนะ
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี มีอะไรก็ช่วยกันทำ ความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ตั้งแต่ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอนที่อยู่ที่กิน ที่ถ่ายที่เยี่ยว มีอะไรติดขัดเราก็ช่วยเหลือกัน ค่อยแก้ไข ค่อยดำเนิน ค่อยทำให้อยู่ในความเป็นระเบียบ ทุกคนถ้าดูตัวเองเป็น แก้ไขตัวเองได้ ใช้ตัวเองเป็นนั่นแหละคือหลักของการปฏิบัติ ไม่ต้องให้คนอื่นเขาบังคับ เราบังคับตัวเราแก้ไขตัวเรา
กิเลสเกิดขึ้นที่ใจ ละที่ใจ กิเลสเกิดขึ้นที่กายขัดเกลาที่กาย ทำไมถึงว่ากิเลสเกิดขึ้นที่กาย อย่างเช่นพวกกามราคะ พวกราคะเกิดขึ้นที่กาย ไม่ให้ใจส่งเสริมด้วย หรือเกิดขึ้นที่ใจเราก็รู้จักดับรู้จักหาวิธีแก้ไข ใจของเราไปยินดีในเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียง เราก็รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักพิจารณามองเห็นเหตุ เห็นผล คลายใจออกให้รับรู้ อยู่ในความบริสุทธิ์
พูดง่ายอยู่หรอก แต่การฝึกหัดปฏิบัติ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน แล้วก็ให้ชำนาญ แล้วก็ให้เป็นธรรมชาติที่สุด ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน
พยายามฝึกความรู้ตัวตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จนต่อเนื่อง จนรู้เท่ารู้ทัน รู้ลักษณะของใจ รู้การเกิดการดับของใจ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ เวลาใจเกิดกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ เราจะละด้วยวิธีไหน ด้วยการข่มเอาไว้ หรือด้วยการทำความเข้าใจ ให้รู้เหตุรู้ผล เราต้องดำเนินสติของเราไปเป็นเพื่อนใจอยู่ตลอดเวลา อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย ใจปกติก็รู้ว่าปกติ ใจเกิดกิเลสก็รู้ว่าเกิดกิเลส ก็รู้จักละ รู้จักดับ รู้จักหาวิธี รู้จักหาแนวทางเพื่อที่จะเข้าไปขัดเกลากิเลสออกจากจิตจากใจของเรา
ทุกคนก็มีกิเลส เพราะว่ากิเลสนี้มีมาทีหลัง สภาพจิตดวงเดิมนั้นปราศจากกิเลสมีแต่ความบริสุทธิ์ แต่ความไม่รู้ ความหลง จิตวิญญาณก็เลยเกิด เกิดอยู่ในภพน้อย เกิดอยู่ในภพใหญ่แล้วก็มาเกิดอยู่ในภพของมนุษย์ แล้วก็มายึดว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นร่างกายของเราจริงๆ
อันนี้ก็เป็นร่างกายของเราจริงๆ นั่นแหละในทางสมมติ แต่ถ้าพิจารณาด้วยสติด้วยปัญญาตามแนวทางของพระพุทธองค์ เราก็จะเห็นตามความเป็นจริงว่าเป็นแค่เพียงสภาวะ เป็นแค่เพียงธาตุธาตุสี่ ธาตุสี่ ดินน้ำลมไฟ มาประกอบกันเข้า มีวิญญาณเข้ามาครอบครอง ก็เลยมายึดมั่นถือมั่น พระพุทธองค์ท่านว่ามีตั้งแต่ความว่างเปล่า ไม่มีตัวมีตน แต่พวกเรามองเห็นเป็นตัวเป็นตนตัวตนก็ของเรา ร่างก็ของเรา อันนี้เป็นของเราจริงๆ
ในทางสมมติ เราต้องศึกษาเรื่องกายของเราให้ละเอียด เราถึงจะเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าว่าอัตตาอนัตตา เป็นลักษณะอย่างไร เราต้องคลายใจออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนามให้ได้เสียก่อน เราถึงจะเข้าใจคำว่า ‘อัตตา อนัตตา’ เห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า เห็นความเกิดความดับของจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม
ส่วนร่างกาย ก้อนรูป หูตาจมูกลิ้นกาย เขาก็ทำหน้าที่ของเขาส่งเข้าไปถึงตัวใจ ตามีหน้าที่ดู หูมีหน้าที่ฟัง ก็ตาเห็นรูปใจของเราเกิดกิเลสหรือไม่ หูกระทบเสียงใจของเราเกิดกิเลสหรือไม่ เราต้องเจริญสติเข้าไปดู รู้ตั้งแต่ต้นเหตุ ใจเกิดกิเลสก็รู้จักหยุดรู้จักดับ ใจเกิดความโลภละความโลภ ใจเกิดความโกรธละความโกรธด้วยการให้อภัย อโหสิกรรม ทำใจของเราให้อยู่ในพรหมวิหาร อยู่ในความอ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในความหนักแน่น อยู่ในความบริสุทธิ์ ใจที่ปราศจากกิเลส ปราศจากความโลภ ความโกรธ ปราศจากความทะเยอทะยานอยาก ไม่เกิดใจเขาก็นิ่งใจไม่มีกิเลสใจเขาก็ว่าง เขาก็บริสุทธิ์
แต่เวลานี้ ทั้งความเกิดก็ปิดตัวใจเอาไว้ ทั้งกิเลสหยาบกิเลสละเอียดก็ปิดตัวใจเอาไว้ เราถึงได้มาเจริญสติเข้าไปแยกแยะ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ทำความเข้าใจแล้วก็ค่อยละ ละจนไม่มีอะไรเหลือที่ใจนั่นแหละ ในสิ่งที่ไม่เหลือก็จะมีวิญญาณอยู่คือความบริสุทธิ์ ความว่าง ในความว่างนั้นมีวิญญาณรับรู้อยู่
แต่เราจะมองด้วยตาเนื้อมองไม่เห็น เราต้องมองด้วยตาปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ความรู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้ละ รู้จักทำความเข้าใจ เขาก็ใจก็จะปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ จากกิเลสหนาก็กลายเป็นกิเลสบาง จากความหลงก็คลายความหลง แล้วก็มาขัดเกลากิเลส จากหยาบๆ ค่อยไปหาละเอียด จนกระทั่งความเกิดของจิต ดับความเกิดของจิตให้ได้ ถ้าเราดับบ่อยๆ จิตก็ไม่เกิดหรือใจก็ไม่เกิด
ความคิดนั่นแหละ คือความคิดที่เกิดจากใจวิ่งส่งออกไปภายนอกนั่นแหละ ส่งออกไปภายนอกยังไม่พอ ก็ไปรวมกับขันธ์ห้า ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม คิดก็รู้ ทำก็รู้ เรารู้เมื่อเขาหลงแล้ว เรารู้เมื่อเขาเกิดแล้ว แล้วก็พากันส่งเสริมกันไปทั้งก้อน
แต่พระพุทธองค์ท่านให้เจริญสติเข้าไปจำแนกแจกแจงให้รู้เห็นเป็นกองเป็นขันธ์ ซึ่งอยู่ในภาพรวม ในร่างกายของเรานี้มีกี่กองมีกี่ขันธ์ ซึ่งมีหนังห่อหุ้มเอาไว้ ถ้าเราไม่เข้าถึงตรงนั้นเราก็จะไม่เข้าใจในแก่นแท้ของชีวิตของเรา ถ้าเราแยกแยะได้เข้าถึงได้ ละได้เราก็จะเข้าถึงแก่นแท้ ทีนี้จะเอาอะไร จะทำอะไร ก็เป็นเรื่องของปัญญาทำหน้าที่ ทำความเข้าใจ รู้จักใช้สมมติให้เกิดประโยชน์ อะไรคือวิมุตติ อะไรคือสมมติ อะไรคืออัตตา อนัตตา อะไรคือหลักของอริยสัจความจริงอันประเสริฐ เราก็จะเข้าใจในความหมายในการขัดเกลากิเลส ในการปัดกวาดทำความสะอาดให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา
ท่านถึงบอกให้เชื่อ อย่าพากันปิดกั้นตัวเองว่าไม่มีโอกาส ทุกคนมีโอกาส ทุกคนมีวาสนากันหมด ความเพียรจะถูกต้องถูกตามแนวทางหรือไม่เราก็ต้องศึกษาค้นคว้าจนรู้แจ้งเห็นจริง ท่านจึงบอกให้เชื่อเพราะว่าศาสนาของพระพุทธองค์เป็นศาสนาที่มีเหตุ มีเหตุมีผล เหตุทางสมมติเหตุทางวิมุตติ ค้นคว้าลงไปยิ่งจะเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจรู้ความเป็นจริงแล้วก็ค่อยละ ทีละเล็ก ทีละน้อย ใจของเราก็จะเบาบางลงไปเรื่อยๆ
อย่าไปทิ้งในการทำบุญ ในการให้ทาน ทำมากทำน้อยก็เป็นอานิสงส์ของเรา เห็นคนอื่นทำ เราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย เราก็มีส่วนแห่งบุญ ก็ต้องพยายามกันดำเนิน ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ไม่ถึงจริงๆ สิ่งที่พวกเราทำก็ไปต่อเอาภพหน้า บุญวัตถุทานเราก็ทำ การละกิเลสเราก็ทำ การศึกษาการค้นคว้าให้สมบูรณ์แบบ ไปที่ไหนเราก็จะได้ไม่เก้อเขิน ไปที่ไหนเราก็จะเป็นผู้กล้าหาญองอาจกล้าหาญ ไม่ให้กิเลสมาเป็นเครื่องบงการชีวิตของเรา เราจงบงการด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา บริหารด้วยปัญญา ไม่มีใครที่จะมาบังคับเราได้เลยถ้าเราเข้าใจ ก็ต้องพยายามกันนะ
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี มีอะไรก็ช่วยกันทำ ความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย ตั้งแต่ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอนที่อยู่ที่กิน ที่ถ่ายที่เยี่ยว มีอะไรติดขัดเราก็ช่วยเหลือกัน ค่อยแก้ไข ค่อยดำเนิน ค่อยทำให้อยู่ในความเป็นระเบียบ ทุกคนถ้าดูตัวเองเป็น แก้ไขตัวเองได้ ใช้ตัวเองเป็นนั่นแหละคือหลักของการปฏิบัติ ไม่ต้องให้คนอื่นเขาบังคับ เราบังคับตัวเราแก้ไขตัวเรา
กิเลสเกิดขึ้นที่ใจ ละที่ใจ กิเลสเกิดขึ้นที่กายขัดเกลาที่กาย ทำไมถึงว่ากิเลสเกิดขึ้นที่กาย อย่างเช่นพวกกามราคะ พวกราคะเกิดขึ้นที่กาย ไม่ให้ใจส่งเสริมด้วย หรือเกิดขึ้นที่ใจเราก็รู้จักดับรู้จักหาวิธีแก้ไข ใจของเราไปยินดีในเรื่องของรูป รส กลิ่น เสียง เราก็รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักพิจารณามองเห็นเหตุ เห็นผล คลายใจออกให้รับรู้ อยู่ในความบริสุทธิ์
พูดง่ายอยู่หรอก แต่การฝึกหัดปฏิบัติ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ