หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 6 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 6 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 6
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557
ขอให้ญาติโยมทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน เราอย่าไปมองข้าม เราอย่าไปมองข้ามกายของเรา ใจของเรา ปัญญาเก่าที่เกิดจากใจ ปัญญาเก่าที่เกิดจากขันธ์ห้า อันนี้เขาหลงเกิดมานาน เราก็เลยไปมั่นหมายเอาปัญญาเก่า ซึ่งเรียกว่า ‘ปัญญาของโลกีย์’ อาจจะถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ อยู่ในบุญ อยู่ในกุศล ฝักใฝ่ ปรารถนา อยากรู้ธรรม อยากเห็นธรรม
ในหลักธรรมจริงๆ แล้ว เราต้องมาสร้างปัญญาตัวใหม่ คือมาสร้างความรู้ตัว หรือว่ามาเจริญสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน ตั้งแต่ต้นเหตุ เรามาสร้างความรู้ตัวเข้าไปอบรมใจของเรา ความรู้ตัวนี้กำลังไม่เพียงพอ ก็เลยอบรมใจไม่ได้เพราะว่าไม่ต่อเนื่อง
ถ้าเราสร้างให้ต่อเนื่อง แล้วก็รู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ รู้จนกระทั่งใจคลายออกจากความคิด ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม มีอยู่สี่ส่วนซึ่งมีตัววิญญาณ ส่วนกองรูปนี้ก็ตั้งเอาไว้ต่างหาก ถ้าเราเห็นตรงนั้นแหละ สัมมาทิฏฐิถึงจะเปิดทางให้ ความรู้แจ้งเห็นจริงเพียงแค่เปิดทางให้ แยกรูปแยกนาม ยังไม่พอ เราต้องตามดูทุกเรื่องอีก เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาไปอย่างไร ทำไมใจถึงไปรวมไปหลง จนเกิดอัตตาตัวตน เรื่องอะไรที่เขาเกิด ตามดูให้รู้ทุกอย่าง
ความรู้ตัวของเรา พลั้งเผลอได้อย่างไร นิวรณ์เข้าครอบงำได้อย่างไร ความเกียจคร้านเข้าครอบงำได้อย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กาย ใจส่งเสริมด้วยหรือไม่ หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนาเป็นลักษณะอย่างไร กำลังสติของเราเมื่อใจคลายออกจากความคิด ตามรู้เห็นทุกเรื่อง ถ้าใจเคลื่อนไปรวม เราก็หยุดอีก ดับอีก จนกว่าจะกระจ่าง แล้วก็หมั่นอบรมใจ แก้ไขใจ ปรับสภาพใจของตัวเรา
เพียงแค่แยกรูปแยกนาม เพียงแค่เปิดทางนิดเดียว ความรู้แจ้งเห็นจริงฝ่ายนามธรรม ทีนี้ใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักละกิเลส เกิดความอยาก เกิดความไม่อยาก เกิดความยินดียินร้าย เกิดความกังวล เกิดความฟุ้งซ่าน เกิดการปรุงแต่ง ส่งออกไป เราต้องแจงให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นว่า อะไรคือ ‘ปัญญา’ อะไรคือ ‘ใจ’ ลึกลงไป ‘ใจ’ กับ ‘อาการของใจ’ อีก ว่าเขาเกิดๆ ดับๆ อย่างไร คำว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ เป็นลักษณะอย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ทุกเรื่องเลยทีเดียว ก็ต้องอาศัยความเพียร อาศัยความต่อเนื่อง อาศัยกาลเวลา อาศัยการเจริญพรหมวิหาร
ใจเกิดความโลภก็พยายามละความโลภ ด้วยเอาออก ด้วยการให้ ให้อภัยทาน ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธ เราดับได้ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ ออกทางกาย ทางวาจา หรือว่าดับได้ตั้งแต่ต้นเหตุ หรือรู้เท่า รู้ทัน แล้วก็รู้กัน รู้แก้
แต่เวลานี้ใจของเราเกิด แล้วก็มายึดเอาขันธ์ห้า มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง เราต้องมาทำความเข้าใจ จนมองเห็นความเป็นจริง จนใจเกิดความเบื่อหน่าย หาทางหลบหลีกนั่นแหละ ดับกิเลส ละความเกิดที่ใจจนวางใจให้เป็นอิสรภาพ อยู่ด้วยปัญญา บริหารด้วยปัญญา
แม้กระทั่งสมมติโลกธรรม เราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี เพราะว่ากายของเรายังอาศัยสมมติอยู่ ยังอาศัยปัจจัยสี่อยู่ ต่างก็เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เราต้องศึกษาให้ละเอียดทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บมันได้ปั๊บ การกระทำ การลงมือ ก็ต้องถึงพร้อม ถึงจะเกิดประโยชน์ ขัดเกลาเอาออกจากใจของเรา
จากความไม่มี ใจมาสร้างภพให้มี เราก็มาเจริญสติเข้าไปขัดเกลาออกจนไม่เหลืออะไร จะเอา จะมี จะเป็น ก็ให้เป็นเรื่องของปัญญา บริหารสมมติ อยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ เอาไปใช้กับชีวิตประจำวันของเรา จนกว่าจะหมดลมหายใจ มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
เราต้องมีจุดหมายของการเดินทาง ส่วนมากก็เถลไถล เล่นไปด้วยอำนาจของความทะเยอทะยานอยาก ด้วยความอยาก ด้วยความหวัง ในหลักธรรม ละทั้งความอยาก ละทั้งความหวัง ให้เป็นการบริหารด้วยปัญญา รับผิดชอบด้วยปัญญา ทำมากทำน้อยก็เป็นเรื่องของปัญญา บริหารด้วยปัญญาล้วนๆ การพูดง่าย การลงมือก็ต้องพยายามเอานะ
เราต้องพยายามเข้าให้ถึงคำสอนของท่านให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร คำว่า ‘อัตตา’ ‘อนัตตา’ เป็นลักษณะอย่างไร อริยสัจ ‘การเกิด’ ‘การดับ’ เป็นอย่างไร การเกิด การดับส่วนนามธรรม ส่วนรูปธรรม ปฏิจจสมุปบาท การเกิด การดับ ภาษาธรรม ภาษาโลก เราต้องศึกษาให้ละเอียดหมดความสงสัย ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา มองเห็นหนทางเดิน ว่าจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
บุคคลที่มีบุญมีอานิสงส์ ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากเลย ตื่นขึ้นมาดูใจ อะไรขาดตกบกพร่อง รีบแก้ไข ปรับปรุง ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของเราทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ทำภาระหน้าที่เรื่องจิตใจของเราให้ถึงจุดหมาย ทีนี้ก็ยังสมมติของเราให้เกิดประโยชน์ จนล้นออกไปสู่หมู่ สู่คณะ สู่สังคม
เรามาอาศัยสมมติอยู่ เราจะทิ้งสมมติไม่ได้ เพราะว่า “กายเป็นก้อนสมมติ” เราต้องรับผิดชอบ หมดลมหายใจนั่นแหละ เขาจะบังคับให้ทิ้ง บังคับให้วาง แต่เราต้องวางก่อน วางที่ใจของเราให้ได้ก่อน แล้วก็บริหารเข้าไปจนกว่าจะหมดสภาพ ถ้าหมดสภาพแล้วก็เอาไว้ไม่อยู่จะฉุด จะรั้ง จะเยียวยายังไงก็เอาไว้ไม่อยู่ เราก็ต้องพิจารณาเอา แก้ไขเอา ปรับปรุงตัวเราเอา ไม่มีใครที่จะทำให้เราได้เลย นอกจากตัวเรา การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน การไปศึกษาที่โน่นที่นี่ ก็เพื่อที่จะแสวงหาแนวทางเท่านั้นเอง ถ้าเราไม่ไปทำก็หมดสิทธิ์ ที่จะเข้าถึง
หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปทำก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้าคนจะเอาฟังนิดเดียว ไปทำตาม ไปศึกษาตาม เพราะว่าการศึกษาของเรานั้น มีมาตั้งแต่นานแล้ว แต่การละ การขัดเกลา การเอาออก การทำปัญญาโลก ให้เป็นปัญญาธรรม การแยกรูป แยกนาม ตรงนั้นเรายังไม่ชำนาญ ก็ต้องพยายามนะ
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอา
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2557
ขอให้ญาติโยมทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน เราอย่าไปมองข้าม เราอย่าไปมองข้ามกายของเรา ใจของเรา ปัญญาเก่าที่เกิดจากใจ ปัญญาเก่าที่เกิดจากขันธ์ห้า อันนี้เขาหลงเกิดมานาน เราก็เลยไปมั่นหมายเอาปัญญาเก่า ซึ่งเรียกว่า ‘ปัญญาของโลกีย์’ อาจจะถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ อยู่ในบุญ อยู่ในกุศล ฝักใฝ่ ปรารถนา อยากรู้ธรรม อยากเห็นธรรม
ในหลักธรรมจริงๆ แล้ว เราต้องมาสร้างปัญญาตัวใหม่ คือมาสร้างความรู้ตัว หรือว่ามาเจริญสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน ตั้งแต่ต้นเหตุ เรามาสร้างความรู้ตัวเข้าไปอบรมใจของเรา ความรู้ตัวนี้กำลังไม่เพียงพอ ก็เลยอบรมใจไม่ได้เพราะว่าไม่ต่อเนื่อง
ถ้าเราสร้างให้ต่อเนื่อง แล้วก็รู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ รู้จนกระทั่งใจคลายออกจากความคิด ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม มีอยู่สี่ส่วนซึ่งมีตัววิญญาณ ส่วนกองรูปนี้ก็ตั้งเอาไว้ต่างหาก ถ้าเราเห็นตรงนั้นแหละ สัมมาทิฏฐิถึงจะเปิดทางให้ ความรู้แจ้งเห็นจริงเพียงแค่เปิดทางให้ แยกรูปแยกนาม ยังไม่พอ เราต้องตามดูทุกเรื่องอีก เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ว่าเขาเกิดอย่างไร เขาไปอย่างไร ทำไมใจถึงไปรวมไปหลง จนเกิดอัตตาตัวตน เรื่องอะไรที่เขาเกิด ตามดูให้รู้ทุกอย่าง
ความรู้ตัวของเรา พลั้งเผลอได้อย่างไร นิวรณ์เข้าครอบงำได้อย่างไร ความเกียจคร้านเข้าครอบงำได้อย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กาย ใจส่งเสริมด้วยหรือไม่ หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ ปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนาเป็นลักษณะอย่างไร กำลังสติของเราเมื่อใจคลายออกจากความคิด ตามรู้เห็นทุกเรื่อง ถ้าใจเคลื่อนไปรวม เราก็หยุดอีก ดับอีก จนกว่าจะกระจ่าง แล้วก็หมั่นอบรมใจ แก้ไขใจ ปรับสภาพใจของตัวเรา
เพียงแค่แยกรูปแยกนาม เพียงแค่เปิดทางนิดเดียว ความรู้แจ้งเห็นจริงฝ่ายนามธรรม ทีนี้ใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักละกิเลส เกิดความอยาก เกิดความไม่อยาก เกิดความยินดียินร้าย เกิดความกังวล เกิดความฟุ้งซ่าน เกิดการปรุงแต่ง ส่งออกไป เราต้องแจงให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็นว่า อะไรคือ ‘ปัญญา’ อะไรคือ ‘ใจ’ ลึกลงไป ‘ใจ’ กับ ‘อาการของใจ’ อีก ว่าเขาเกิดๆ ดับๆ อย่างไร คำว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ เป็นลักษณะอย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร ทุกเรื่องเลยทีเดียว ก็ต้องอาศัยความเพียร อาศัยความต่อเนื่อง อาศัยกาลเวลา อาศัยการเจริญพรหมวิหาร
ใจเกิดความโลภก็พยายามละความโลภ ด้วยเอาออก ด้วยการให้ ให้อภัยทาน ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธ เราดับได้ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ ออกทางกาย ทางวาจา หรือว่าดับได้ตั้งแต่ต้นเหตุ หรือรู้เท่า รู้ทัน แล้วก็รู้กัน รู้แก้
แต่เวลานี้ใจของเราเกิด แล้วก็มายึดเอาขันธ์ห้า มาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง เราต้องมาทำความเข้าใจ จนมองเห็นความเป็นจริง จนใจเกิดความเบื่อหน่าย หาทางหลบหลีกนั่นแหละ ดับกิเลส ละความเกิดที่ใจจนวางใจให้เป็นอิสรภาพ อยู่ด้วยปัญญา บริหารด้วยปัญญา
แม้กระทั่งสมมติโลกธรรม เราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี เพราะว่ากายของเรายังอาศัยสมมติอยู่ ยังอาศัยปัจจัยสี่อยู่ ต่างก็เกี่ยวเนื่องกันอยู่ เราต้องศึกษาให้ละเอียดทุกเรื่อง ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บมันได้ปั๊บ การกระทำ การลงมือ ก็ต้องถึงพร้อม ถึงจะเกิดประโยชน์ ขัดเกลาเอาออกจากใจของเรา
จากความไม่มี ใจมาสร้างภพให้มี เราก็มาเจริญสติเข้าไปขัดเกลาออกจนไม่เหลืออะไร จะเอา จะมี จะเป็น ก็ให้เป็นเรื่องของปัญญา บริหารสมมติ อยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ เอาไปใช้กับชีวิตประจำวันของเรา จนกว่าจะหมดลมหายใจ มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
เราต้องมีจุดหมายของการเดินทาง ส่วนมากก็เถลไถล เล่นไปด้วยอำนาจของความทะเยอทะยานอยาก ด้วยความอยาก ด้วยความหวัง ในหลักธรรม ละทั้งความอยาก ละทั้งความหวัง ให้เป็นการบริหารด้วยปัญญา รับผิดชอบด้วยปัญญา ทำมากทำน้อยก็เป็นเรื่องของปัญญา บริหารด้วยปัญญาล้วนๆ การพูดง่าย การลงมือก็ต้องพยายามเอานะ
เราต้องพยายามเข้าให้ถึงคำสอนของท่านให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร คำว่า ‘อัตตา’ ‘อนัตตา’ เป็นลักษณะอย่างไร อริยสัจ ‘การเกิด’ ‘การดับ’ เป็นอย่างไร การเกิด การดับส่วนนามธรรม ส่วนรูปธรรม ปฏิจจสมุปบาท การเกิด การดับ ภาษาธรรม ภาษาโลก เราต้องศึกษาให้ละเอียดหมดความสงสัย ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา มองเห็นหนทางเดิน ว่าจะได้กลับมาเกิด หรือไม่กลับมาเกิดกัน
บุคคลที่มีบุญมีอานิสงส์ ไม่จำเป็นต้องไปพูดมากเลย ตื่นขึ้นมาดูใจ อะไรขาดตกบกพร่อง รีบแก้ไข ปรับปรุง ตัวเองอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของเราทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น ทำภาระหน้าที่เรื่องจิตใจของเราให้ถึงจุดหมาย ทีนี้ก็ยังสมมติของเราให้เกิดประโยชน์ จนล้นออกไปสู่หมู่ สู่คณะ สู่สังคม
เรามาอาศัยสมมติอยู่ เราจะทิ้งสมมติไม่ได้ เพราะว่า “กายเป็นก้อนสมมติ” เราต้องรับผิดชอบ หมดลมหายใจนั่นแหละ เขาจะบังคับให้ทิ้ง บังคับให้วาง แต่เราต้องวางก่อน วางที่ใจของเราให้ได้ก่อน แล้วก็บริหารเข้าไปจนกว่าจะหมดสภาพ ถ้าหมดสภาพแล้วก็เอาไว้ไม่อยู่จะฉุด จะรั้ง จะเยียวยายังไงก็เอาไว้ไม่อยู่ เราก็ต้องพิจารณาเอา แก้ไขเอา ปรับปรุงตัวเราเอา ไม่มีใครที่จะทำให้เราได้เลย นอกจากตัวเรา การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน การไปศึกษาที่โน่นที่นี่ ก็เพื่อที่จะแสวงหาแนวทางเท่านั้นเอง ถ้าเราไม่ไปทำก็หมดสิทธิ์ ที่จะเข้าถึง
หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปทำก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ถ้าคนจะเอาฟังนิดเดียว ไปทำตาม ไปศึกษาตาม เพราะว่าการศึกษาของเรานั้น มีมาตั้งแต่นานแล้ว แต่การละ การขัดเกลา การเอาออก การทำปัญญาโลก ให้เป็นปัญญาธรรม การแยกรูป แยกนาม ตรงนั้นเรายังไม่ชำนาญ ก็ต้องพยายามนะ
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอา