หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 64 วันที่ 17 กรกฎาคม 2563

หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 64 วันที่ 17 กรกฎาคม 2563
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ผู้บรรยาย
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 64 วันที่ 17 กรกฎาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2565 ลำดับที่ 64
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2563

ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยงให้ได้ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาได้สำรวจกาย สำรวจใจของเราแล้วหรือยัง เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก พวกเราก็พยายามหัดวิเคราะห์ หัดสังเกตให้เกิดความเคยชิน ถึงเราจะควบคุมใจของเรายังไม่ได้เด็ดขาดก็ให้มีสติรู้กายเอาไว้ก่อนก็ยังดี
ความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้า หายใจออกที่ต่อเนื่อง ที่เชื่อมโยง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็รู้ใจ รู้ลักษณะของใจ รู้ความปกติ เห็นลักษณะ รู้ลักษณะการเกิดของใจ รู้ลักษณะการเกิดของความคิดซึ่งเป็นส่วนนามธรรม จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนาม ถึงเราแยกรูปแยกนามไม่ได้ก็ให้รู้จักการควบคุมใจของเราให้อยู่ในความปกติเอาไว้ แล้วก็หมั่นพร่ำสอนใจอยู่ตลอดเวลา

แต่ละวันตื่นขึ้นมา ความขยันหมั่นเพียร ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ละความตะหนี่เหนียวแน่น ละกิเลสออกจากใจของเรา ตรงนี้ก็มีกันหมดทุกคนนั้นแหละ แต่เราไม่ได้ทำความเข้าใจให้ต่อเนื่องว่า การเกิดการดับเป็นอย่างไร คำว่าไม่เที่ยงเป็นอย่างไร คำว่า อนิจจังความไม่เที่ยง ทุกข์ขังเป็นทุกข์ เป็นทุกข์ได้อย่างไร เราก็ลงที่ไตรลักษณ์คือหลักของอนัตตา เพราะว่าทุกสิ่งทุกอย่างลงที่ไตรลักษณ์หมด ลงที่ความว่างหมด แต่พวกเรามองเห็นเป็นตัวเป็นตน ก็เลยไม่เห็นความว่าง

ในความว่างนั้นมีใจ หรือว่ามีวิญญาณรับรู้อยู่ แต่วิญญาณเป็นตัวเกิด พอเขาเกิดมานาน เราจะไปดับความเกิดของเขาเลยทีเดียว ก็ต้องมีความเพียรอย่างยิ่งยวด ใจที่ปราศจากเป็นอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่คลาย ที่หงายออกจากความคิดเป็นอย่างไร เราต้องหมั่นวิเคราะห์

แต่เวลานี้ความรู้ตัวหรือว่าสติของเรา เพียงแค่สร้าง เพียงแค่ทำให้มีให้ต่อเนื่องตรงนี้ก็ยังยากอยู่ ก็เลยเอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ความคิดเก่า ปัญญาเก่าซึ่งว่าปัญญาโลกีย์ ปัญญาที่เกิดจากใจ ปัญญาที่เกิดจากขันธ์ห้า เขาไปบงการหมด ท่านถึงให้เจริญสติแล้วก็แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ปฏิวัติตัวเองนั้นแหละ ปฏิวัติตัวเอง
ความจริง ให้เข้าถึงความจริงคือความบริสุทธ์ ทุกคนก็กลัวว่าจะไม่ได้คิด ทุกคนก็กลัวว่าจะไม่ได้ทำ ความกลัว ความเกิด ทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นธรรม ธรรมดำ ธรรมขาว ธรรมสมมติ ธรรมวิมุตติ เราต้องรู้จัก รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักหน้าตาอาการ ซึ่งจะไปมองด้วยตาเนื้อเรามองไม่เห็น ต้องมองด้วยตาปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ตามแนวทางของพระพุทธองค์ที่ท่านได้ค้นพบ ที่ท่านได้จำแนกแจกแจงเอามาเปิดเผย

คำว่า ‘สัมมาทิฐิ ความเห็นถูก’ พวกเราก็อาจจะเห็นถูกอยู่ แต่เป็นการเห็นถูกระดับของสมมติ ความเห็นถูกในหลักธรรม คือใจต้องคลายออกจากขันธ์ห้า แต่เวลานี้ใจทั้งเป็นตัวสั่ง ทั้งเป็นตัวบางการ ทั้งเป็นธาตุของกิเลส เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน กิเลสมารต่างๆ ขันธมารหรือว่าความคิดต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ถ้ากำลังสติของเราไม่มีเพียงพอก็ยิ่งยากเข้าไปอีก

มันก็ยากช่วงฝึกใหม่ๆ ถ้าเราฝึกไปเรื่อยๆ หมั่นขัดเกลากิเลสของเราออกไปเรื่อยๆ ละความอยากของเราออกไปเรื่อยๆ เป็นผู้ให้ ผู้คลาย ผู้เอาออก ผู้ช่วยเหลือ ความเกลียดคร้านก็ไม่ให้เข้าครอบงำ นิวรณ์ธรรม ความเกียจคร้านต่างๆ ความกังวล ความลังเล ความสงสัยต่างๆ เราก็ค่อยพยายามหยุด พยายามดับ ทำเรื่องของเรา รู้เรื่องของเราให้เห็น ทำเรื่องของเราให้ถึงจุดหมายปลายทาง ส่วนมากก็มีแต่เรื่องคนโน้นบ้าง คนนี้บ้าง สาระพัดเรื่อง

เพราะว่าธรรมชาติของใจ ความหลงยังครอบงำอยู่ เขายังเกิดเร็วไวด้วย แต่ละนาที แต่ละนั่นละนี่ เขาคิด เขาปรุง เขาแต่งไม่รู้ตั้งกี่เรื่อง หมั่นมาดับ มาหยุด มาวิเคราะห์ ใหม่ๆ ถึงเป็นการสวด เป็นการสวนกระแสกิเลส สวนกระแสกิเลสมากเลยทีเดียว ถ้าใจคลายออกได้เมื่อไหร่ถึงจะตกกระแสธรรม ทีนี้เราจะละกิเลสได้หมดหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา

การทำบุญให้ทานก็มีอยู่ระดับนึง ความเชื่อก็มีอยู่ระดับนึง ศรัทธาความเชื่อ แต่กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ เราก็ต้องพยายามทำ ชี้ให้เห็น อันนี้สติความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าเราสร้างความรู้ตัวมาได้สัก 5 นาที 10 นาที เป็นชั่วโมงเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี จนคลายออกจนเป็นอัตโนมัติ จนไม่ได้ฝึก จนเป็นอัตโนมัติ ในการดูในการรู้ว่าเราการละกิเลสได้ยังไง ดับความเกิดได้อย่างไง ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ เรื่องเกิดจากไหน เหตุจากภายนอกทำให้เกิดหรือเกิดจากภายใน หรือเกิดจากใจ หรือเกิดจากขันธ์ห้า มีหมดทุกคน จะมีมากมีน้อย ก็ขึ้นอยู่กับอนิสงค์บุญบารมีของแต่ละบุคคลที่สร้างขึ้นมา

เราอย่าไปปิดกลั้นตัวเราเอง ให้กำลังใจตัวเราเอง ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงใหม่ ทั้งสมมติ สมมติอะไร เราขาดตกบกพร่อง เราก็พยายามทำเพื่อยังสมมติให้เอื้ออำนวยความสะดวกในระดับของสมมติ ให้อยู่ดี มีความสุข ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเลยทีเดียว เป็นเรื่องของเราทุกคนนั้นแหละ ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เป็นเรื่องของเรา

การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน อันนั้นก็เป็นแค่เพียงแนวทาง เราต้องปฏิบัติลงมือให้ปรากฏขึ้นที่ใจ ทุกอย่างก็ล้วนเป็นธรรมถ้าใจเราป็นธรรม ธรรมดำ ธรรมขาว ธรรมดี ธรรมชั่ว ก็ละหมดนั้นแหละ ละความอกุศล หรือว่าละความไม่ดีออกไปเจริญกุศลให้มี ให้เกิดขึ้น สูงขึ้นไปก็วางหมด ก็อยู่กับคุณงามความดี สร้างความดีให้ได้ตลอดเวลา
ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ อะไรที่จะเป็นบุญ เป็นประโยชน์ เป็นกุศล เราก็พยายามทำ พยายามสร้าง ตั้งแต่การคิด คิดดีทำดี การกระทำให้ถึงพร้อม ถึงจะเกิดประโยชน

เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง