หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 7
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 7
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 7
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน
นั่งตามสบายวางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน พยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง อย่าไปนึกเอา อย่าไปคิดเอา
การสูดลมหายใจยาว สูดลมหายใจสั้น สูดลมหายใจเป็นธรรมชาติ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ เพียงแค่การหายใจเข้าหายใจออก พวกเราก็ขาดการสังเกต ปล่อยเลยตามเลย ทั้งที่ใจก็เป็นบุญ ทั้งที่ใจก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรม อยากจะเข้าถึงธรรม
ความเกิดของใจนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่ปิดกั้นตัวใจเอาไว้ แต่ใจก็ได้มาสร้างขันธ์ 5 คือมาสร้างอัตภาพร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนรูป ส่วนนาม มาปิดกั้นตัวเองเอาไว้
พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ เข้าไปสังเกต จนกว่าใจจะคลายออกจากความคิด หรือว่าแยกรูปแยกนาม ก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์เข้าใจคำว่า 'อัตตา' 'อนัตตา' เข้าใจ เห็นความเกิดความดับ เห็นการปล่อยการวาง รู้เรื่องชีวิต วิญญาณในกายของเรา
แต่เวลานี้วิญญาณหรือว่าใจของเราทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด แต่เราก็ไม่ว่าเราหลงหรอก นอกจากบุคคลที่เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ชี้เหตุชี้ผล จนใจคลายออกจากขันธ์ 5 ได้ ถึงจะรู้ว่าหลง ถ้าเราสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ถึงจะรู้ว่าสิ่งที่ผ่านมานั้น สติเรามีอยู่ เป็นแค่เพียงสติของสมมติ ประคับประคองตัว ประคับประคองกายอยู่ในระดับของสมมติ ส่วนวิมุตติ ส่วนใจนั้น สติเข้าไปอบรมใจไม่มีเลย มีแต่ปล่อยใจไปตามอำนาจของกิเลส ทำความเข้าใจไม่ได้
ศรัทธานั้นมีอยู่ แต่เป็นศรัทธาที่ยังไม่เกิดปัญญา ปัญญาเราต้องสร้างขึ้นมา เราต้องทำความเข้าใจบ่อยๆ ศึกษาตัวเองบ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติ รู้จักแก้ไขตัวเรา
แต่ละวันตื่นขึ้นมาเรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ หรือว่ามีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ความกังวลเป็นอย่างไร ความฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร กิเลสหยาบ กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร มีกันทุกคน เว้นเสียแต่ว่าเราจะศึกษาค้นคว้า ขยันหมั่นเพียร ทำความเข้าใจว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนินหรือไม่ ก็ต้องพยายาม
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องหลักของอริยสัจ 4 ความทุกข์ สอนเรื่องการดับทุกข์ ความทุกข์ อะไรคือความทุกข์ ความทุกข์เกิดขึ้นที่กาย หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ
ความไม่เที่ยง สอนเรื่องหลักของอนัตตา ทำไมเราถึงมองเห็นตั้งแต่เป็นตัวเป็นตน เป็น 'อัตตา' แต่พระพุทธองค์ท่านมองเห็นเป็น 'อนัตตา' ความว่างเปล่า ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ มีแต่ธาตุดินน้ำลมไฟ ที่มาประชุมกันเข้า แล้วก็มีวิญญาณเข้ามาครอบครอง แต่พวกเราก็มองเห็นเป็นตัวเป็นตน เป็นกลุ่มเป็นก้อน อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ระดับวิมุตติ ระดับใจจริงๆ แล้วต้องจำแนกแจกแจง
ท่านให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ เข้าไปอบรม เข้าไปสังเกต จนใจคลายออกหรือว่าหงายขึ้นมา หรือว่าแยกรูปแยกนาม ความเห็นถูกถึงจะปรากฏ ซึ่งเรียกว่า 'สัมมาทิฐิ' ความเห็นถูก ถ้าเห็นถูกในข้อแรก ก็จะถูกไปเรื่อยๆ วจีกรรมเป็นยังไง กายกรรมเป็นยังไง มโนกรรมเป็นยังไง ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะทำ
อะไรควรละ อะไรควรดำเนิน อะไรบุญใกล้ บุญไกล ประโยชน์มาก ประโยชน์น้อย ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ภายใน ทรัพย์ในก็ทำให้มีให้เกิดขึ้นแก่ใจของเรา ทั้งทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอก เราต้องศึกษาค้นคว้าให้ละเอียด
ถ้าเราสอนเราไม่ได้ จะไปเที่ยวให้คนโน้นเขาสอน คนนี้เขาสอน มันก็จะดำเนินไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เราจงพร่ำสอนตัว เราแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อะไรคือสติ อะไรคือใจ อะไรคืออาการของใจ จงจำแนกแจกแจงให้เห็นชัดเจน
คำว่าเป็นกอง เป็นขันธ์ พระพุทธองค์มองเห็นเป็นกองยังไง เป็นขันธ์ยังไง ที่เราพากันสวดทำวัตรเช้าเย็น มีอยู่ในกายของเราหมด กองนู้นก็ไม่เที่ยง กองวิญญาณก็ไม่เที่ยง กองรูปก็ไม่เที่ยง คำว่า 'ไม่เที่ยง' คือความเกิดความดับ จนกระทั่งถึงความตาย เพราะว่าทุกคนเกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว อันนี้เป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริงที่มีอยู่กับทุกคน ถ้าถึงวาระถึงเวลา
ยังไม่ถึงวาระถึงเวลาเราก็ไม่ได้ไป ให้รีบตักตวง ให้ทำความเข้าใจให้ถูก ก่อนที่ธาตุขันธ์เขาจะแตกจะดับ เข้าถึงความหมายกันได้หมดทุกคนนั่นแหละ ถ้าดำเนินให้ถูกทาง จะถึงช้าหรือจะถึงเร็วเท่านั้นเอง ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา
แต่ละวันเราก็ต้องหมั่นวิเคราะห์ เรามีความเกียจคร้าน เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เพียงแค่ความขยันหมั่นเพียรในระดับของสมมติก็ทำให้มีให้เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่า จะเอาตั้งแต่ธรรม มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ การกระทำไม่มีมันก็เข้าไม่ถึง
เราจงเป็นบุคคลที่มีความขยันอยู่ตลอดเวลา ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมถ่อมตน สัจจะ วิริยะความเพียร เป็นตบะในการดำเนินที่จะเข้าสู่ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้นทั้งนั้น ก็ต้องพยายามกัน ได้มากได้น้อยก็อย่าไปทิ้ง อย่าไปทิ้งบุญ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย เราก็มีส่วนแห่งบุญ
การเจริญสติ เรารู้จักวิธีการ รู้จักแนวทางแล้ว ไปทำ ยืนเดินนั่งนอนให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ จนปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ จนใจของเราอยู่ในความเป็นกลาง อยู่ในความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากขันธ์ 5 ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น จนประกาศด้วยตัวเอง ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น เอาความว่าง ความบริสุทธิ์ ความหยุดพ้นเป็นเครื่องตัดสิน นั่นแหละก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอา
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน
นั่งตามสบายวางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน พยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง อย่าไปนึกเอา อย่าไปคิดเอา
การสูดลมหายใจยาว สูดลมหายใจสั้น สูดลมหายใจเป็นธรรมชาติ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ เพียงแค่การหายใจเข้าหายใจออก พวกเราก็ขาดการสังเกต ปล่อยเลยตามเลย ทั้งที่ใจก็เป็นบุญ ทั้งที่ใจก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรม อยากจะเข้าถึงธรรม
ความเกิดของใจนั่นแหละคือกิเลสอันละเอียดที่ปิดกั้นตัวใจเอาไว้ แต่ใจก็ได้มาสร้างขันธ์ 5 คือมาสร้างอัตภาพร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนรูป ส่วนนาม มาปิดกั้นตัวเองเอาไว้
พระพุทธองค์ท่านถึงให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ เข้าไปสังเกต จนกว่าใจจะคลายออกจากความคิด หรือว่าแยกรูปแยกนาม ก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์เข้าใจคำว่า 'อัตตา' 'อนัตตา' เข้าใจ เห็นความเกิดความดับ เห็นการปล่อยการวาง รู้เรื่องชีวิต วิญญาณในกายของเรา
แต่เวลานี้วิญญาณหรือว่าใจของเราทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด แต่เราก็ไม่ว่าเราหลงหรอก นอกจากบุคคลที่เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ชี้เหตุชี้ผล จนใจคลายออกจากขันธ์ 5 ได้ ถึงจะรู้ว่าหลง ถ้าเราสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ถึงจะรู้ว่าสิ่งที่ผ่านมานั้น สติเรามีอยู่ เป็นแค่เพียงสติของสมมติ ประคับประคองตัว ประคับประคองกายอยู่ในระดับของสมมติ ส่วนวิมุตติ ส่วนใจนั้น สติเข้าไปอบรมใจไม่มีเลย มีแต่ปล่อยใจไปตามอำนาจของกิเลส ทำความเข้าใจไม่ได้
ศรัทธานั้นมีอยู่ แต่เป็นศรัทธาที่ยังไม่เกิดปัญญา ปัญญาเราต้องสร้างขึ้นมา เราต้องทำความเข้าใจบ่อยๆ ศึกษาตัวเองบ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติ รู้จักแก้ไขตัวเรา
แต่ละวันตื่นขึ้นมาเรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ หรือว่ามีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ความกังวลเป็นอย่างไร ความฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร กิเลสหยาบ กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร มีกันทุกคน เว้นเสียแต่ว่าเราจะศึกษาค้นคว้า ขยันหมั่นเพียร ทำความเข้าใจว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนินหรือไม่ ก็ต้องพยายาม
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขตัวเราใหม่อยู่ตลอดเวลา กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร สอนเรื่องหลักของอริยสัจ 4 ความทุกข์ สอนเรื่องการดับทุกข์ ความทุกข์ อะไรคือความทุกข์ ความทุกข์เกิดขึ้นที่กาย หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ
ความไม่เที่ยง สอนเรื่องหลักของอนัตตา ทำไมเราถึงมองเห็นตั้งแต่เป็นตัวเป็นตน เป็น 'อัตตา' แต่พระพุทธองค์ท่านมองเห็นเป็น 'อนัตตา' ความว่างเปล่า ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ มีแต่ธาตุดินน้ำลมไฟ ที่มาประชุมกันเข้า แล้วก็มีวิญญาณเข้ามาครอบครอง แต่พวกเราก็มองเห็นเป็นตัวเป็นตน เป็นกลุ่มเป็นก้อน อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ระดับวิมุตติ ระดับใจจริงๆ แล้วต้องจำแนกแจกแจง
ท่านให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ เข้าไปอบรม เข้าไปสังเกต จนใจคลายออกหรือว่าหงายขึ้นมา หรือว่าแยกรูปแยกนาม ความเห็นถูกถึงจะปรากฏ ซึ่งเรียกว่า 'สัมมาทิฐิ' ความเห็นถูก ถ้าเห็นถูกในข้อแรก ก็จะถูกไปเรื่อยๆ วจีกรรมเป็นยังไง กายกรรมเป็นยังไง มโนกรรมเป็นยังไง ก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะคิด ก่อนที่จะทำ
อะไรควรละ อะไรควรดำเนิน อะไรบุญใกล้ บุญไกล ประโยชน์มาก ประโยชน์น้อย ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ภายใน ทรัพย์ในก็ทำให้มีให้เกิดขึ้นแก่ใจของเรา ทั้งทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอก เราต้องศึกษาค้นคว้าให้ละเอียด
ถ้าเราสอนเราไม่ได้ จะไปเที่ยวให้คนโน้นเขาสอน คนนี้เขาสอน มันก็จะดำเนินไม่ถึงจุดหมายปลายทาง เราจงพร่ำสอนตัว เราแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อะไรคือสติ อะไรคือใจ อะไรคืออาการของใจ จงจำแนกแจกแจงให้เห็นชัดเจน
คำว่าเป็นกอง เป็นขันธ์ พระพุทธองค์มองเห็นเป็นกองยังไง เป็นขันธ์ยังไง ที่เราพากันสวดทำวัตรเช้าเย็น มีอยู่ในกายของเราหมด กองนู้นก็ไม่เที่ยง กองวิญญาณก็ไม่เที่ยง กองรูปก็ไม่เที่ยง คำว่า 'ไม่เที่ยง' คือความเกิดความดับ จนกระทั่งถึงความตาย เพราะว่าทุกคนเกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว อันนี้เป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริงที่มีอยู่กับทุกคน ถ้าถึงวาระถึงเวลา
ยังไม่ถึงวาระถึงเวลาเราก็ไม่ได้ไป ให้รีบตักตวง ให้ทำความเข้าใจให้ถูก ก่อนที่ธาตุขันธ์เขาจะแตกจะดับ เข้าถึงความหมายกันได้หมดทุกคนนั่นแหละ ถ้าดำเนินให้ถูกทาง จะถึงช้าหรือจะถึงเร็วเท่านั้นเอง ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา
แต่ละวันเราก็ต้องหมั่นวิเคราะห์ เรามีความเกียจคร้าน เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เพียงแค่ความขยันหมั่นเพียรในระดับของสมมติก็ทำให้มีให้เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่า จะเอาตั้งแต่ธรรม มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ การกระทำไม่มีมันก็เข้าไม่ถึง
เราจงเป็นบุคคลที่มีความขยันอยู่ตลอดเวลา ความกตัญญูกตเวที ความอ่อนน้อมถ่อมตน สัจจะ วิริยะความเพียร เป็นตบะในการดำเนินที่จะเข้าสู่ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้นทั้งนั้น ก็ต้องพยายามกัน ได้มากได้น้อยก็อย่าไปทิ้ง อย่าไปทิ้งบุญ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย เราก็มีส่วนแห่งบุญ
การเจริญสติ เรารู้จักวิธีการ รู้จักแนวทางแล้ว ไปทำ ยืนเดินนั่งนอนให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ จนปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ จนใจของเราอยู่ในความเป็นกลาง อยู่ในความว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากขันธ์ 5 ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น จนประกาศด้วยตัวเอง ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น เอาความว่าง ความบริสุทธิ์ ความหยุดพ้นเป็นเครื่องตัดสิน นั่นแหละก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอา