ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 29 วันที่ 13 เมษายน 2557
ชื่อตอน
ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 29 วันที่ 13 เมษายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
ตามความเป็นจริง ชุดที่ 2 (ลำดับที่ 21-40)
ถอดความฉบับเต็ม
ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 29
วันที่ 13 เมษายน 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่าน จงเจริญสติให้ต่อเนื่องกันซักนิดหนึ่ง สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออกของเราให้ชัดเจน วางกายให้สบายวางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ
หยุด วางภาระหน้าที่การงานทางสมมติ เราก็วางมาแล้ว ทีนี้เราก็มาหยุด ระงับยับยั้งทางด้านจิตวิญญาณของเราให้สงบ แล้วก็มาสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ในหลักธรรมท่านเรียกว่า 'สติ' ถ้าเรารู้ มีความรู้สึกให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า 'สัมปชัญญะ' มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
เราพยายามสร้างความรู้สึกให้ต่อเนื่อง ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ อย่าไปเกียจคร้าน จนกระทั่งความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง จากหนึ่งครั้งสองครั้ง จนรู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าออก ลึกลงไปก็รู้ตัวทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก รู้ลักษณะของใจของเรา รู้ความปกติ รู้การเกิด รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้า ซึ่งอยู่ในกายของเรา
วิเคราะห์พิจารณา รู้เห็นตามความเป็นจริง เข้าใจในความหมาย เข้าใจในภาษาธรรมที่พระพุทธองค์ท่านชี้แนะ ที่ท่านพร่ำสอนว่า อัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ การเกิดของใจเป็นลักษณะอย่างนี้ สาเหตุแห่งทุกข์ การเกิดแห่งทุกข์ อะไรคือทุกข์ คือความไม่เที่ยง ซึ่งเป็นส่วนรูป ทั้งส่วนนาม เราต้องเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ พิจารณา หมั่นพร่ำสอนใจ ชี้เหตุชี้ผล จนใจของเรายอมรับความเป็นจริง จนไม่มีทางจะต่อสู้นั่นแหละ เขาถึงจะปล่อย เขาถึงจะวาง เขาถึงจะละกิเลสได้
แต่เวลานี้กำลังสติของเราทุกคนมีไม่มาก เอาตั้งแต่ปัญญาที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ห้าเสียมากกว่า เขาก็เลยปิดกั้นตัวเองเอาไว้ ก็เลยมองไม่เห็นความเป็นจริง
พากันตั้งสติ สร้างความรู้ให้ต่อเนื่องกันให้ได้กันสักพักหนึ่ง ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ ก็ให้รู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อกันเอานะ อันนี้เพียงแค่ย้ำ แค่เตือนเท่านั้นเอง
วันที่ 13 เมษายน 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่าน จงเจริญสติให้ต่อเนื่องกันซักนิดหนึ่ง สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออกของเราให้ชัดเจน วางกายให้สบายวางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ
หยุด วางภาระหน้าที่การงานทางสมมติ เราก็วางมาแล้ว ทีนี้เราก็มาหยุด ระงับยับยั้งทางด้านจิตวิญญาณของเราให้สงบ แล้วก็มาสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ในหลักธรรมท่านเรียกว่า 'สติ' ถ้าเรารู้ มีความรู้สึกให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า 'สัมปชัญญะ' มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
เราพยายามสร้างความรู้สึกให้ต่อเนื่อง ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มขึ้นมาใหม่ อย่าไปเกียจคร้าน จนกระทั่งความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง จากหนึ่งครั้งสองครั้ง จนรู้ตัวทุกขณะลมหายใจเข้าออก ลึกลงไปก็รู้ตัวทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออก รู้ลักษณะของใจของเรา รู้ความปกติ รู้การเกิด รู้การเกิดการดับของใจ รู้การเกิดการดับของขันธ์ห้า ซึ่งอยู่ในกายของเรา
วิเคราะห์พิจารณา รู้เห็นตามความเป็นจริง เข้าใจในความหมาย เข้าใจในภาษาธรรมที่พระพุทธองค์ท่านชี้แนะ ที่ท่านพร่ำสอนว่า อัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ การเกิดของใจเป็นลักษณะอย่างนี้ สาเหตุแห่งทุกข์ การเกิดแห่งทุกข์ อะไรคือทุกข์ คือความไม่เที่ยง ซึ่งเป็นส่วนรูป ทั้งส่วนนาม เราต้องเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ พิจารณา หมั่นพร่ำสอนใจ ชี้เหตุชี้ผล จนใจของเรายอมรับความเป็นจริง จนไม่มีทางจะต่อสู้นั่นแหละ เขาถึงจะปล่อย เขาถึงจะวาง เขาถึงจะละกิเลสได้
แต่เวลานี้กำลังสติของเราทุกคนมีไม่มาก เอาตั้งแต่ปัญญาที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ห้าเสียมากกว่า เขาก็เลยปิดกั้นตัวเองเอาไว้ ก็เลยมองไม่เห็นความเป็นจริง
พากันตั้งสติ สร้างความรู้ให้ต่อเนื่องกันให้ได้กันสักพักหนึ่ง ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ ก็ให้รู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อกันเอานะ อันนี้เพียงแค่ย้ำ แค่เตือนเท่านั้นเอง