หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 113
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 113
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 113
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 กันยายน 2556
พากันดูดีๆ นะ พระเราชีเรา พิจารณาปฏิสังขาโย อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออก เราต้องทำความเข้าใจกับวิญญาณในกายของเรา ว่าใจของเราปกติด้วยใจหรือว่าตัววิญญาณปกติ การก่อตัว การเกิด การเกิดการยินดียินร้าย การปรุงการแต่ง เราพยายามรู้ให้เท่าทัน สร้างความรู้ตัว ยิ่งกายหิวๆ ใจจะปรุงแต่งความอยากได้เร็วได้ไว เราก็ต้องพยายามดู ยิ่งบวชใหม่ ยิ่งพิจารณาใหม่ๆ ยิ่งเห็นอะไรเยอะ ถ้าเรามีสติคอยสังเกต คอยวิเคราะห์ สร้างความรู้ตัว รู้จักควบคุมใจ รู้จักพิจารณา ไม่ใช่ว่าจะไปตั้งใจเวลาเดิน เวลานั่ง ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออก ขณะทำการทำงานเราต้องดูใจของเรา แล้วก็สังเกตดูทำไมใจถึงเกิด ทำไมความคิดถึงผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ความรู้ตัวของเราต่อเนื่องหรือไม่
ในหลักธรรมแล้วก็ท่านก็ให้รู้เรานั่นแหละ รู้ใจ แก้ไขใจของเราใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักละ รู้จักดับ เรามีความเกียจคร้าน เราก็เพิ่มความขยัน เรามีความรับผิดชอบระดับไหน อะไรคือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อะไรคือใจ ทำไมใจถึงเกิดทำไมใจถึงเป็นทาสของกิเลส เราต้องเจริญสติเข้าไปทำความเข้าใจ อบรมใจของตัวเราเอง ไม่ใช่ว่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอน คนอื่นเขาอบรมอย่างนั้น ไปไม่ถึงไหน
ธรรมะก็อยู่ที่กายที่ใจของเรา ใจของเราเป็นธรรม ใจของเราไม่มี มีกิเลส ใจของเราก็เป็นธรรม ก่อนที่จะสะสางได้ก็ต้องขัดเกลา เพราะว่าใจของเราเป็นทาสของกิเลสมานาน เขาหลงเกิดมานาน แนวทางนั้นมีอยู่ วิธีการมีอยู่ การพูด การศึกษา การอ่านก็เพียงแค่ชี้แนะอุบายแนวทางแผนที่เท่านั้นแหละ ถ้าพวกท่านไม่ไปทำไปสร้างให้มีให้เกิดขึ้น ที่ใจของตัวเราเองก็ยากอยู่ แต่ฐานในการทำบุญให้ทาน ศรัทธา เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยตรงนี้มีกันเต็มเปี่ยมกันทุกคน ความเสียสละก็มีกันเต็มเปี่ยมกันหมดทุกคน แต่ตัวเดินปัญญา ตัวเจริญสติเข้าไปคลายวิญญาณในกายในขันธ์ห้าของตัวเรา ตรงนี้มีอยู่แต่ไม่ต่อเนื่อง ก็พยายามทำให้ต่อเนื่อง ถึงจะเข้าใจ
ลักษณะของความรู้ตัวอยู่ปัจจุบันที่เราสร้างขึ้นมาเป็นอย่างไร การเอาไปใช้เป็นอย่างไร รู้ไม่ทันต้นเหตุเป็นอย่างไร เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ เราจะไปทิ้งสมมติไม่ได้ เพราะว่ากายเป็นก้อนสมมติ เราต้องทำความเข้าใจโลกธรรมเพราะอยู่ด้วยกัน ทุกเรื่องนั้นแหละตั้งแต่เกิดมา ตั้งแต่เกิดมา จะไปแยกกันไม่ได้ นอกจากหมดลมหายใจนั่นแหละถึงจะ แยกออกจากกัน แต่เราต้องแยกด้วยปัญญาให้ได้เสียก่อน เหมือนกับบันไดก็มีลูกบันได มีราวบันได อยู่ด้วยกัน อาศัยกันไป เหมือนกับกงเกวียนอาศัยล้อเกวียน จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไปไม่ได้
กายของเราก็เหมือนกัน เราทำความเข้าใจให้หมด ถึงจะเข้าใจในชีวิต แล้วก็ขยันหมั่นเพียร แยกแยะให้ออก ในกายในขันธ์ของเรา ท่านบอกว่าขันห้าเป็นกองเป็นขันธ์ คําว่ากองว่าขันธ์เป็นกองยังไง กองวิญญาณ กองรูป กองเวทนา กองสังขาร ทำไมถึงเรียกว่าเป็นกอง เราต้องให้รู้ ให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอันเป็นส่วน แต่เขาก็รวมกันอยู่ ทำไมใจถึงเป็นทาสของกิเลส ทำไมใจถึงเกิด ถ้าไม่เกิดก็ไม่หลง ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ไม่ต้องเกิด
ก่อนที่จะละความเกิดดับความเกิดได้ ก็ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน วิญญาณในกายของเรานี้ ไปอย่างไร มาอย่างไร ทำไมถึงหลง เจริญสติให้ได้เสียก่อน ประคับประคองสติให้ตั้งมั่นให้ได้เสียก่อน แล้วก็เอาไปสังเกตต้นเหตุไม่ทัน ก็รู้จักหยุด รู้จักดับ จนกว่าจะรู้เท่าทัน เห็นแล้วแยกแยะได้แล้วก็ต้องทำความเข้าใจให้ได้ทุกเรื่องอีก กิเลสหยาบกิเลสละเอียดอีก รู้ความจริงแล้วก็ละอีก ละแล้วก็ละขันธ์ห้า แล้วก็มาละกิเลสที่ใจอีก มาดับความเกิดที่ใจอีก ใจไม่เกิดก็วางใจอีก หลายชั้นจริงๆ แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายามเอา ขยันหมั่นเพียรเอาถึงวาระเวลาก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
แต่เวลานี้กําลังสติว่ากัน สร้างกระทำน้อย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ใจของเราส่งออกไปภายนอกสักกี่เรื่อง สักกี่เที่ยว ก็ไม่รู้ ความคิดที่เกิดจากใจเกิดจากขันธ์ห้า ไม่ใช่ความคิดที่เกิดจากสมองเกิดจากปัญญา ที่ทำความเข้าใจ แจงออกกันคนละส่วนอยู่ ถ้าคนเรารู้จักขยันหมั่นเพียร ก็จะมีความสุขในการดำเนินชีวิต รู้จักบริหารกายบริหารใจ กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหก ทำหน้าที่อย่างไร ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในขันธ์ห้า ในกายของเรายังไม่พอนะ ต้องรอบรู้ในโลกธรรมอีก ในสิ่งที่เราก็ไปยุ่งเกี่ยวเพราะว่าเกี่ยวเนื่องกันอยู่ รอบรู้ในกองสังขารในขันธ์ห้าของตัวเราเอง แล้วก็รอบรู้ในโลกธรรม ขยันหมั่นเพียร ยังสมมติให้เกิดประโยชน์ อยู่กับสมมติหมดลมหายใจนั่นแหละ เราถึงจะได้วางสมมติจริงๆ
การพูดนั้นง่ายอยู่ แต่การลงมือการกระทำการสร้างบารมี การละกิเลส ต้องเป็นกิจวัตรเป็นอุปนิสัย ไม่เอาอะไรสักอย่าง ไม่ให้มีความอยากเกิดขึ้นที่ใจเราแม้แต่นิดเดียว การเกิดไม่มีมันก็ไม่มี คนเราจะไปแสวงหาดิ้นรน ทั้งความทะเยอทะยานอยาก ทั้งความหิวของกาย แล้วก็ความอยากของใจผสมโรงกันไป ในหลักธรรมท่านก็ให้ทำอยู่ ให้เอาอยู่ แต่เป็นการเอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา ทำด้วยสติทำด้วยปัญญาให้ถูกต้อง อยู่กับสมมติจะมีมากมีน้อย เอามากเอาน้อยก็เป็นปัญญาเข้าไปทำหน้าที่เข้าไปรับผิดชอบ แต่ต้องคลายใจออกจากขันธ์ห้า รับรู้ให้ได้เสียก่อน
มันเหมือนกับเส้นผมบังภูเขา เราจะต้องทำจริงๆ เอาจริงๆ ท่านถือว่าเป็นทวน เป็นการทวนกระแส เป็นการสวนกระแสกิเลส กลับกันนิดเดียว อยู่กับสมมติก็ไม่ให้สมมติเข้าครอบงำ แล้วก็ยังประโยชน์คงสมมติให้เต็มที่ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องพยายามกัน ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น แต่อยู่ที่ไหนก็มีความสุข ถ้าบอกตัวเองไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น อยู่คนเดียวก็เป็นภาระให้กับตัวเอง อยู่หลายคนก็เป็นภาระให้หมู่ให้คณะ อยู่ด้วยกันก็ ถ้าต่างคนต่างมีความรับผิดชอบ อยู่น้อยคนก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่าน จงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลักษณะของการหายใจเข้า หายใจออก คําว่าปัจจุบันธรรม เวลาลมหายใจเข้าหายใจออก เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน
ถ้าความรู้ตัวต่อตรงนี้ต่อเนื่อง เขาถึงจะเรียกว่า สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็ยังไม่พอ สติที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าเรามีความรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เวลาใจจะเกิดจะก่อตัวอาการของใจ เราก็จะเข้าไปเห็นตรงนั้น เวลาความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดจะผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ เราก็จะเห็นใจกับอาการของใจก็จะเคลื่อนเข้าไปรวมกัน เราก็จะเห็น ขณะที่เห็นเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกัน ก็จะคลายออกจากกัน แล้วก็พลิก แล้วก็หงาย เขาเรียกว่าแยกรูปแยกนาม นี่แหละที่พระพุทธองค์ท่านบอกว่า สัมมาทิฏฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริงจะเปิดโอกาสขึ้นอยู่ตรงนี้ พอใจพลิกหงายขึ้นมาแล้วก็ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา อัตตา คำว่าอัตตานี่คือยังหนักอยู่ พออนัตตาเข้ามาปรากฏกายก็จะเบา แล้วก็จะเห็นความคิดที่เกิดๆ ดับๆ ใจก็ว่างรับรู้ เห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า สติก็ตามดู ตามดูทุกเรื่อง ตามดูทุกเรื่อง เขาถึงจะเรียกว่าวิปัสสนา ตามดูทุกเรื่อง เขาเกิดยังไง เขาดับยังไง เรื่องอะไรในขันธ์ห้าของตัวเราเอง ถ้าไม่เห็นตรงนี้ก็ ใจก็อยู่ในระดับบุญ แต่ก็ยังหลงอยู่ ใจก็ไปตามบุญตามกุศล ตามแรงเหวี่ยงของกรรม เราตามดูให้ทุกเรื่อง จนกําลังสติของเรา ค้นคว้าหมดทุกอย่าง จนหมดความสงสัยได้หมด หมั่นอบรมใจได้หมด ใจถึงจะมองเห็นความเป็นจริง เขาถึงจะปล่อยจะวางได้
กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ความอยาก ความยินดียินร้าย ความ ความไปความมา ความไม่ไปไม่มา มีทุกอย่างเลยอยู่ในกายของเรา ถ้าเรารู้จักวิธีรู้จักแนวทางเห็นต้นเหตุแล้วก็ มันก็จะตามทำความเข้าใจถึงปลายเหตุทุกอย่าง แต่เวลานี้ ต้นเหตุคือการเจริญสตินี้มีไม่เพียงพอ เพียงแค่สร้างก็ยังลำบาก ที่จะเอาไปสังเกตไปควบคุมใจก็ยังลำบาก เอาไปละกิเลสก็ยังลำบาก ส่วนมากก็มีตั้งแต่ตัวใจหรือว่าตัววิญญาณ ตัวขันธ์ห้าเป็นตัวบงการ เพราะเขาเกิดมานาน เขาเกิดมานาน เขาหลงมานาน เราก็เลยไปหลงเอาตรงนั้นว่าเราคิด เราทำ อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติ ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ก็ยังหลงอยู่ ถ้ายังคลายไม่ได้นี่หลงหมด หลงหมด ถ้าคลายได้ปล่อยวางได้ ใจหงายขึ้นมาได้ตามทำความเข้าใจได้ ดับความเกิดได้จนไม่เหลือ จนใจนิ่ง เป็นอิสระได้ บริสุทธิ์ นั่นแหละเขาเรียกว่านิพพาน
ไม่ต้องไปเอาที่ไหน ใจเที่ยง นิพพานก็เที่ยง ใจไม่เที่ยงก็นิพพานก็ไม่เที่ยง แล้วก็เวลาเขายังเกิด เกิดๆ ดับๆ ถ้ากายเนื้อแตกดับเขาก็ต้องไปเกิดใหม่ เป็นเรื่องของเราทุกคนที่จะต้องศึกษาต้องค้นคว้า แต่เราก็ต้องอิงอาศัยสมมติอยู่ อาศัยโลกธรรมอยู่ เราก็ต้องทำความเข้าใจ หมดความเป็นอยู่ทางสมมติก็ส่งผลถึงวิมุตติ ถ้าสมมติลำบากก็ การประพฤติปฏิบัติก็ลำบาก
เราก็ต้องพยายามกันนะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชีมีไม่มาก มีอยู่ในกายก้อนนี้ของเรา แต่กิเลสมันมีมาก แล้วก็หาเรื่องหาราวมาปิดกั้นตัวเราเอง ปิดกั้นแม้แต่ตัววิญญาณตัวใจก็หาเหตุมาปิดกั้นตัวของเขาเอง สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่มีกันทุกคน ถ้าเราไม่ฝืนจริงๆ เขาก็ไม่คลายให้เรา เราฝืนจนถึงที่สิ้นสุดน่ะใจมันถึงจะคลาย คลายเราก็เห็นเหตุเห็นผล สติตามดูตามรู้เหตุรู้ผล ทั้งภายนอกทั้งภายใน มีเรื่องเดียวเท่านี้แหละ ไม่มีเรื่องอะไรมากมาย นอกนั้นก็เป็นแค่ปลายเหตุ เราต้องพยายามสาวเข้าไปถึงต้นเหตุ เห็นต้นเหตุ แล้วก็จะมองเห็นหมด ทีนี้จะเอา จะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องปัญญาล้วนๆ ก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ถึงรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักพักนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 กันยายน 2556
พากันดูดีๆ นะ พระเราชีเรา พิจารณาปฏิสังขาโย อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออก เราต้องทำความเข้าใจกับวิญญาณในกายของเรา ว่าใจของเราปกติด้วยใจหรือว่าตัววิญญาณปกติ การก่อตัว การเกิด การเกิดการยินดียินร้าย การปรุงการแต่ง เราพยายามรู้ให้เท่าทัน สร้างความรู้ตัว ยิ่งกายหิวๆ ใจจะปรุงแต่งความอยากได้เร็วได้ไว เราก็ต้องพยายามดู ยิ่งบวชใหม่ ยิ่งพิจารณาใหม่ๆ ยิ่งเห็นอะไรเยอะ ถ้าเรามีสติคอยสังเกต คอยวิเคราะห์ สร้างความรู้ตัว รู้จักควบคุมใจ รู้จักพิจารณา ไม่ใช่ว่าจะไปตั้งใจเวลาเดิน เวลานั่ง ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออก ขณะทำการทำงานเราต้องดูใจของเรา แล้วก็สังเกตดูทำไมใจถึงเกิด ทำไมความคิดถึงผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ความรู้ตัวของเราต่อเนื่องหรือไม่
ในหลักธรรมแล้วก็ท่านก็ให้รู้เรานั่นแหละ รู้ใจ แก้ไขใจของเราใจของเราเกิดกิเลส เราก็รู้จักละ รู้จักดับ เรามีความเกียจคร้าน เราก็เพิ่มความขยัน เรามีความรับผิดชอบระดับไหน อะไรคือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา อะไรคือใจ ทำไมใจถึงเกิดทำไมใจถึงเป็นทาสของกิเลส เราต้องเจริญสติเข้าไปทำความเข้าใจ อบรมใจของตัวเราเอง ไม่ใช่ว่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอน คนอื่นเขาอบรมอย่างนั้น ไปไม่ถึงไหน
ธรรมะก็อยู่ที่กายที่ใจของเรา ใจของเราเป็นธรรม ใจของเราไม่มี มีกิเลส ใจของเราก็เป็นธรรม ก่อนที่จะสะสางได้ก็ต้องขัดเกลา เพราะว่าใจของเราเป็นทาสของกิเลสมานาน เขาหลงเกิดมานาน แนวทางนั้นมีอยู่ วิธีการมีอยู่ การพูด การศึกษา การอ่านก็เพียงแค่ชี้แนะอุบายแนวทางแผนที่เท่านั้นแหละ ถ้าพวกท่านไม่ไปทำไปสร้างให้มีให้เกิดขึ้น ที่ใจของตัวเราเองก็ยากอยู่ แต่ฐานในการทำบุญให้ทาน ศรัทธา เชื่อมั่นในพระรัตนตรัยตรงนี้มีกันเต็มเปี่ยมกันทุกคน ความเสียสละก็มีกันเต็มเปี่ยมกันหมดทุกคน แต่ตัวเดินปัญญา ตัวเจริญสติเข้าไปคลายวิญญาณในกายในขันธ์ห้าของตัวเรา ตรงนี้มีอยู่แต่ไม่ต่อเนื่อง ก็พยายามทำให้ต่อเนื่อง ถึงจะเข้าใจ
ลักษณะของความรู้ตัวอยู่ปัจจุบันที่เราสร้างขึ้นมาเป็นอย่างไร การเอาไปใช้เป็นอย่างไร รู้ไม่ทันต้นเหตุเป็นอย่างไร เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ เราจะไปทิ้งสมมติไม่ได้ เพราะว่ากายเป็นก้อนสมมติ เราต้องทำความเข้าใจโลกธรรมเพราะอยู่ด้วยกัน ทุกเรื่องนั้นแหละตั้งแต่เกิดมา ตั้งแต่เกิดมา จะไปแยกกันไม่ได้ นอกจากหมดลมหายใจนั่นแหละถึงจะ แยกออกจากกัน แต่เราต้องแยกด้วยปัญญาให้ได้เสียก่อน เหมือนกับบันไดก็มีลูกบันได มีราวบันได อยู่ด้วยกัน อาศัยกันไป เหมือนกับกงเกวียนอาศัยล้อเกวียน จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งก็ไปไม่ได้
กายของเราก็เหมือนกัน เราทำความเข้าใจให้หมด ถึงจะเข้าใจในชีวิต แล้วก็ขยันหมั่นเพียร แยกแยะให้ออก ในกายในขันธ์ของเรา ท่านบอกว่าขันห้าเป็นกองเป็นขันธ์ คําว่ากองว่าขันธ์เป็นกองยังไง กองวิญญาณ กองรูป กองเวทนา กองสังขาร ทำไมถึงเรียกว่าเป็นกอง เราต้องให้รู้ ให้เห็นเป็นชิ้นเป็นอันเป็นส่วน แต่เขาก็รวมกันอยู่ ทำไมใจถึงเป็นทาสของกิเลส ทำไมใจถึงเกิด ถ้าไม่เกิดก็ไม่หลง ถ้าไม่อยากจะทุกข์ก็ไม่ต้องเกิด
ก่อนที่จะละความเกิดดับความเกิดได้ ก็ต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน วิญญาณในกายของเรานี้ ไปอย่างไร มาอย่างไร ทำไมถึงหลง เจริญสติให้ได้เสียก่อน ประคับประคองสติให้ตั้งมั่นให้ได้เสียก่อน แล้วก็เอาไปสังเกตต้นเหตุไม่ทัน ก็รู้จักหยุด รู้จักดับ จนกว่าจะรู้เท่าทัน เห็นแล้วแยกแยะได้แล้วก็ต้องทำความเข้าใจให้ได้ทุกเรื่องอีก กิเลสหยาบกิเลสละเอียดอีก รู้ความจริงแล้วก็ละอีก ละแล้วก็ละขันธ์ห้า แล้วก็มาละกิเลสที่ใจอีก มาดับความเกิดที่ใจอีก ใจไม่เกิดก็วางใจอีก หลายชั้นจริงๆ แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายามเอา ขยันหมั่นเพียรเอาถึงวาระเวลาก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
แต่เวลานี้กําลังสติว่ากัน สร้างกระทำน้อย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ใจของเราส่งออกไปภายนอกสักกี่เรื่อง สักกี่เที่ยว ก็ไม่รู้ ความคิดที่เกิดจากใจเกิดจากขันธ์ห้า ไม่ใช่ความคิดที่เกิดจากสมองเกิดจากปัญญา ที่ทำความเข้าใจ แจงออกกันคนละส่วนอยู่ ถ้าคนเรารู้จักขยันหมั่นเพียร ก็จะมีความสุขในการดำเนินชีวิต รู้จักบริหารกายบริหารใจ กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหก ทำหน้าที่อย่างไร ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในขันธ์ห้า ในกายของเรายังไม่พอนะ ต้องรอบรู้ในโลกธรรมอีก ในสิ่งที่เราก็ไปยุ่งเกี่ยวเพราะว่าเกี่ยวเนื่องกันอยู่ รอบรู้ในกองสังขารในขันธ์ห้าของตัวเราเอง แล้วก็รอบรู้ในโลกธรรม ขยันหมั่นเพียร ยังสมมติให้เกิดประโยชน์ อยู่กับสมมติหมดลมหายใจนั่นแหละ เราถึงจะได้วางสมมติจริงๆ
การพูดนั้นง่ายอยู่ แต่การลงมือการกระทำการสร้างบารมี การละกิเลส ต้องเป็นกิจวัตรเป็นอุปนิสัย ไม่เอาอะไรสักอย่าง ไม่ให้มีความอยากเกิดขึ้นที่ใจเราแม้แต่นิดเดียว การเกิดไม่มีมันก็ไม่มี คนเราจะไปแสวงหาดิ้นรน ทั้งความทะเยอทะยานอยาก ทั้งความหิวของกาย แล้วก็ความอยากของใจผสมโรงกันไป ในหลักธรรมท่านก็ให้ทำอยู่ ให้เอาอยู่ แต่เป็นการเอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา ทำด้วยสติทำด้วยปัญญาให้ถูกต้อง อยู่กับสมมติจะมีมากมีน้อย เอามากเอาน้อยก็เป็นปัญญาเข้าไปทำหน้าที่เข้าไปรับผิดชอบ แต่ต้องคลายใจออกจากขันธ์ห้า รับรู้ให้ได้เสียก่อน
มันเหมือนกับเส้นผมบังภูเขา เราจะต้องทำจริงๆ เอาจริงๆ ท่านถือว่าเป็นทวน เป็นการทวนกระแส เป็นการสวนกระแสกิเลส กลับกันนิดเดียว อยู่กับสมมติก็ไม่ให้สมมติเข้าครอบงำ แล้วก็ยังประโยชน์คงสมมติให้เต็มที่ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องพยายามกัน ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น แต่อยู่ที่ไหนก็มีความสุข ถ้าบอกตัวเองไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น อยู่คนเดียวก็เป็นภาระให้กับตัวเอง อยู่หลายคนก็เป็นภาระให้หมู่ให้คณะ อยู่ด้วยกันก็ ถ้าต่างคนต่างมีความรับผิดชอบ อยู่น้อยคนก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่าน จงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลักษณะของการหายใจเข้า หายใจออก คําว่าปัจจุบันธรรม เวลาลมหายใจเข้าหายใจออก เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน
ถ้าความรู้ตัวต่อตรงนี้ต่อเนื่อง เขาถึงจะเรียกว่า สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็ยังไม่พอ สติที่เราสร้างขึ้นมา ถ้าเรามีความรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เวลาใจจะเกิดจะก่อตัวอาการของใจ เราก็จะเข้าไปเห็นตรงนั้น เวลาความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดจะผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ เราก็จะเห็นใจกับอาการของใจก็จะเคลื่อนเข้าไปรวมกัน เราก็จะเห็น ขณะที่เห็นเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกัน ก็จะคลายออกจากกัน แล้วก็พลิก แล้วก็หงาย เขาเรียกว่าแยกรูปแยกนาม นี่แหละที่พระพุทธองค์ท่านบอกว่า สัมมาทิฏฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริงจะเปิดโอกาสขึ้นอยู่ตรงนี้ พอใจพลิกหงายขึ้นมาแล้วก็ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา อัตตา คำว่าอัตตานี่คือยังหนักอยู่ พออนัตตาเข้ามาปรากฏกายก็จะเบา แล้วก็จะเห็นความคิดที่เกิดๆ ดับๆ ใจก็ว่างรับรู้ เห็นความเกิดความดับของขันธ์ห้า สติก็ตามดู ตามดูทุกเรื่อง ตามดูทุกเรื่อง เขาถึงจะเรียกว่าวิปัสสนา ตามดูทุกเรื่อง เขาเกิดยังไง เขาดับยังไง เรื่องอะไรในขันธ์ห้าของตัวเราเอง ถ้าไม่เห็นตรงนี้ก็ ใจก็อยู่ในระดับบุญ แต่ก็ยังหลงอยู่ ใจก็ไปตามบุญตามกุศล ตามแรงเหวี่ยงของกรรม เราตามดูให้ทุกเรื่อง จนกําลังสติของเรา ค้นคว้าหมดทุกอย่าง จนหมดความสงสัยได้หมด หมั่นอบรมใจได้หมด ใจถึงจะมองเห็นความเป็นจริง เขาถึงจะปล่อยจะวางได้
กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ความอยาก ความยินดียินร้าย ความ ความไปความมา ความไม่ไปไม่มา มีทุกอย่างเลยอยู่ในกายของเรา ถ้าเรารู้จักวิธีรู้จักแนวทางเห็นต้นเหตุแล้วก็ มันก็จะตามทำความเข้าใจถึงปลายเหตุทุกอย่าง แต่เวลานี้ ต้นเหตุคือการเจริญสตินี้มีไม่เพียงพอ เพียงแค่สร้างก็ยังลำบาก ที่จะเอาไปสังเกตไปควบคุมใจก็ยังลำบาก เอาไปละกิเลสก็ยังลำบาก ส่วนมากก็มีตั้งแต่ตัวใจหรือว่าตัววิญญาณ ตัวขันธ์ห้าเป็นตัวบงการ เพราะเขาเกิดมานาน เขาเกิดมานาน เขาหลงมานาน เราก็เลยไปหลงเอาตรงนั้นว่าเราคิด เราทำ อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติ ถูกบ้างผิดบ้าง แต่ก็ยังหลงอยู่ ถ้ายังคลายไม่ได้นี่หลงหมด หลงหมด ถ้าคลายได้ปล่อยวางได้ ใจหงายขึ้นมาได้ตามทำความเข้าใจได้ ดับความเกิดได้จนไม่เหลือ จนใจนิ่ง เป็นอิสระได้ บริสุทธิ์ นั่นแหละเขาเรียกว่านิพพาน
ไม่ต้องไปเอาที่ไหน ใจเที่ยง นิพพานก็เที่ยง ใจไม่เที่ยงก็นิพพานก็ไม่เที่ยง แล้วก็เวลาเขายังเกิด เกิดๆ ดับๆ ถ้ากายเนื้อแตกดับเขาก็ต้องไปเกิดใหม่ เป็นเรื่องของเราทุกคนที่จะต้องศึกษาต้องค้นคว้า แต่เราก็ต้องอิงอาศัยสมมติอยู่ อาศัยโลกธรรมอยู่ เราก็ต้องทำความเข้าใจ หมดความเป็นอยู่ทางสมมติก็ส่งผลถึงวิมุตติ ถ้าสมมติลำบากก็ การประพฤติปฏิบัติก็ลำบาก
เราก็ต้องพยายามกันนะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชีมีไม่มาก มีอยู่ในกายก้อนนี้ของเรา แต่กิเลสมันมีมาก แล้วก็หาเรื่องหาราวมาปิดกั้นตัวเราเอง ปิดกั้นแม้แต่ตัววิญญาณตัวใจก็หาเหตุมาปิดกั้นตัวของเขาเอง สิ่งนี้ก็เป็นสิ่งที่มีกันทุกคน ถ้าเราไม่ฝืนจริงๆ เขาก็ไม่คลายให้เรา เราฝืนจนถึงที่สิ้นสุดน่ะใจมันถึงจะคลาย คลายเราก็เห็นเหตุเห็นผล สติตามดูตามรู้เหตุรู้ผล ทั้งภายนอกทั้งภายใน มีเรื่องเดียวเท่านี้แหละ ไม่มีเรื่องอะไรมากมาย นอกนั้นก็เป็นแค่ปลายเหตุ เราต้องพยายามสาวเข้าไปถึงต้นเหตุ เห็นต้นเหตุ แล้วก็จะมองเห็นหมด ทีนี้จะเอา จะมีจะเป็นก็เป็นเรื่องปัญญาล้วนๆ ก็ต้องพยายามกัน
สร้างความรู้ถึงรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักพักนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อนะ