หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 52
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 52
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 52
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 เมษายน 2556
ผู้เฒ่าจะเอาธงมาถวายหรือ มาเข้ามา เดี๋ยวปีหน้าจะพาไปปักธงสว่างไสวกันทั่วป่า ญาติโยมคนโน้นก็เอามาคนนี้ก็เอามา คนละเล็กละน้อย มีโอกาสมาสร้างอานิสงส์ร่วมกัน จะพาฉลองสมโภชใหญ่ให้ทุกคนได้มีความสุขกัน ญาติโยมท่านใดปรารถนาที่จะมาตั้งโรงทาน ก็ตั้งโรงทาน ได้มาฉลองสมโภช สรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ ปิดทององค์พระบรมสารีริกธาตุกันให้ตลอดทั้งปี เกิดมาแล้วก็ มีโอกาสได้สร้างบุญสร้างอานิสงส์ก็เอาเต็มที่ น้อมกายน้อมใจของเราเข้ามา
ส่วนการละกิเลสก็ต้องทำเอานะ กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไรก็ดับเมื่อนั้น เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ก็ดับเดี๋ยวนี้ เรื่องความอยากกับความหิว สองอย่างต้องดูรู้ให้ชัดเจน กายของเราต้องการอาหาร อันนี้เขาเรียกว่าความหิว ทีนี้ตัววิญญาณหรือว่าตัวใจเกิดความอยาก อันนี้เขาเรียกว่ากิเลส เราดับความอยากเสียก่อน แล้วก็เอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา สติ ปัญญา กับใจต้องแยกออกให้ชัดเจนอีก
ความรู้ตัวเราต้องสร้างขึ้นมาให้ต่อเนื่อง แล้วก็วิเคราะห์ใจของเรา วิเคราะห์ใจของเราไม่ทันต้นเหตุของการเกิดของใจแล้วก็ดับอีก หยุดอีก เขาเรียกว่าสมถะ มีความคิดที่แทรกเข้ามา เขาเรียกว่าอาการของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกัน ถ้าสังเกตดูดีๆ จะเห็นเยอะมากมาย เพียงแค่เรื่องความอยากความหิวก็ยังแยกแยะไม่ชัดเจน กะประมาณการขบฉันของตัวเราเอง
สามเณรน้อย เก่งทุกคนแหละ พระยังสู้เณรไม่ได้เลย เรื่องการพิจารณาอาหาร ดูให้ชัดเจน ดูรู้ให้ชัดเจน คนเราจะไปมองข้าม มองข้ามเรื่องกินนี่แหละสำคัญ เหตุการณ์บังคับ สถานการณ์บังคับ ไม่มีอยู่ไม่มีกินก็ต้องดิ้นรน ดิ้นรนทำ ดิ้นรนหา ใจก็เลยไม่สงบนี่แหละเขาเรียกว่า วิบากของกรรมดำเนินไป บางคนขยันหมั่นเพียร รู้จักแสวงหา รู้จักพิจารณา สมมติก็ไม่ได้ลำบาก ก็ส่งผลถึงวิมุตติถึงด้านจิตใจ บางคนก็สมมติก็ลำบากแต่จิตใจนี่ก็ไหลไปในบุญ แต่สมมติก็ยังอัตคัด ก็ต้องหมั่นวิเคราะห์หมั่นพิจารณา หมั่นแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าให้คนโน้นคนนี้เขาบังคับเขาเคี่ยวเข็ญ เราต้องบังคับเคี่ยวเข็ญตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
ยิ่งมาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน ยิ่งมาอยู่ด้วยกันเยอะๆ เราก็ต้องพยายามไม่เห็นแก่ตัว มีความเสียสละ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักแสวงหา รู้จักขวนขวาย รู้จักสร้างขึ้นมา ให้มีให้เกิดขึ้น สมมติก็จะได้ไม่ได้ลำบาก เป็นวิบากกรรมของหลวงพ่อหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ สมัยก่อนก็ไม่มีอะไร มาอยู่องค์เดียวก็ตะลอนๆ ไปทั่วป่านี่แหละ มุมโน้นบ้างมุมนี้บ้าง พออยู่มาหลายปีขึ้น อันโน้นก็ขาดอันนี้ก็ขาด ก็ต้องได้ดิ้นรนแสวงหา หามาให้ อาหารกายก็หาก็ทำให้ให้อยู่ดีมีความสุข จะหนาวจะร้อน จะมืดจะค่ำ ก็พยายามอุตส่าห์ทำ ให้สมมติไม่ให้ได้ลำบาก อาหารตาก็ทำให้ที่สวยๆ งามๆ ให้น่าอยู่น่าอาศัยน่ารื่นรมย์ ความร่มรื่นร่มเย็น ก็พยายามทำให้ทุกตารางนิ้ว
ถึงขนาดนั้นก็ยังพากันเกียจคร้าน ก็ช่วยเหลือไม่ได้นะ พยายามขยันหมั่นเพียร ตักตวงเอาอานิสงส์บุญให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา ไม่ใช่มาแล้วมีแต่ความเกียจคร้าน เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบหมู่คณะ เราต้องพยายามขยันขัดเกลากิเลส ขยันหมั่นเพียรในการยังสมมติให้เป็นประโยชน์ อยู่ที่ไหนก็จะมีความสุข รู้จักสร้างทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ภายใน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ปัจจุบัน เราต้องหัดวิเคราะห์ หัดสำรวจ หัดทำความเข้าใจ
คนเราบางคนเกิดมาก็สร้างสมมติมาดีตั้งแต่ปู่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทำไว้ให้ บางคนบางท่านก็มาสร้างเอาขณะที่ยังเริ่มจากศูนย์จากไม่มีอะไร ด้วยความขยันหมั่นเพียร ต่างกันนะบางคนก็สร้างมาดี บางคนก็ยังลำบากอยู่ แต่ก็ขอให้น้อมใจเข้ามาในกองบุญกองกุศล ค่อยพิจารณา ค่อยเป็นค่อยไป มันไม่เต็มในวันนี้ก็ต้องเต็มในวันหน้า ทั้งทรัพย์ภายในทรัพย์ภายนอก มันไม่เต็มจริงๆ มันจะไปต่อภพหน้าโน่นแหละ ก็ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ มันก็ต้องเกิด กายเนื้อแตกดับก็ต้องหาที่เกิดใหม่ ก็ขอให้เกิดอยู่ในกองบุญเอาไว้ ใจกับสติปัญญาต้องคนละส่วน สมมติก็ยังให้เกิดประโยชน์
ทางสวนมะลิวัลย์ ต้นชมนาดออกดอกกันเยอะ ก็ขอบคุณทุกคนที่ได้ช่วยกันดูแล กะว่าปีหน้าต้นกัลปพฤกษ์ก็คงจะออกดอกกันเกือบหมดช่วงฉลองสมโภช จะให้ทุกคนได้มีความสุขกัน จะว่าเคลียร์งานทุกสิ่งทุกอย่างให้ราบรื่น ฉลองสมโภชกันทั้งปี นิมนต์พระผู้หลักผู้ใหญ่มาทำบุญ มาผลัดเปลี่ยนผ้าสรงน้ำ หลวงตาท่านเจ้าอาวาสกับท่านเจ้าคุณ วิบากกรรมของหลวงพ่อเป็นผู้รับใช้หมู่คณะให้อยู่ดีมีความสุข จะได้ไม่ได้ลำบาก
เกิดมามีกรรมก็อย่างนี้นะ อย่าทะเลาะเบาะแว้งกัน สงสารคนใช้บ้าง ลำบากมานาน อะไรก็ทำให้ไม่ให้ลำบาก ถ้าจะทะเลาะเบาะแว้งกันก็สติปัญญาทะเลาะเบาะแว้งกับกิเลส ว่าใครชนะใครแพ้ แพ้แล้วเริ่มใหม่ แพ้แล้วเริ่มใหม่ ใครจะชนะมันถึงจะถูกต้อง ขยันในการสร้างคุณงามความดี ขยันในการสร้างประโยชน์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน อยู่คนเดียวเอาการเอางานเป็นการปฏิบัติทำงานไปด้วย ดูใจไปด้วย สติเราพลั้งเผลอหรือไม่ นิวรณ์ครอบงำหรือไม่ เรามีความเกียจคร้านหรือไม่ สนุกกับการทำงาน มีความสุข ใจเป็นสมาธิ ตั้งมั่นอยู่กับการทำงาน ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ใจที่ปราศจากกิเลส สติดูรู้ ใจก่อตัวนิดเดียวก็รีบดับรีบควบคุม ให้ใจเป็นสมาธิที่ปราศจากกิเลส ปราศจากการเกิดนั่นแหละถึงจะมีความสุข ถึงแดดร้อนๆ ใจก็เย็น มีความสุข ถึงเหงื่อจะออกเต็มตัว ใจก็เย็น แผ่ตลอดเวลา สติของเราชัดเจน ปัญญาของเราชัดเจน วิญญาณก็จะเผยแววออกมาให้เราเห็นชัดเจน ไม่ต้องไปโทษคนโน้น ไม่ต้องไปโทษคนนี้ โทษตัวเราแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ทำภารกิจภายในของเราให้จบ นอกนั้นก็เป็นงานอดิเรกทำประโยชน์ให้กับหมู่ให้กับคณะให้กับสังคม ไม่ต้องไปกลัวว่าจะเสียเปรียบกิเลสคนโน้น เสียเปรียบกิเลสคนนี้ พากันทำ อะไรที่จะเป็นประโยชน์ก็พากันทำ ขณะที่ยังมีกำลังมีลมหายใจอยู่ มีเวลาน้อยก็รีบตักตวง
ยิ่งบวชใหม่ๆ ยิ่งหนุ่มๆ แน่นๆ มาฝึกละความอยากนี้ทรมาน กายก็หิวใจก็ยาก อันโน้นก็อร่อย อันนี้ก็อร่อย บอกว่าเอาไปเยอะๆ เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่มว่าอย่างนั้น เอาไปเยอะๆ ก็เอาไปทิ้ง มองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองหมู่คณะ ถ้าเราเอาส่วนนี้แล้วคนรุ่นหลังเขาจะได้ทานได้ฉันไหมหนอ เราก็ต้องดู ส่วนมากมีตั้งแต่ความอยากความโลภ ตักตวงเอาๆ แทนที่จะขัดเกลากิเลส กลับไปส่งเสริมกิเลส ให้อาหารกิเลส แยกแยะ มันละเอียดหลายอย่างนะเรื่องกายของเรา
กิเลสเกิดขึ้นที่กายหรือว่ากิเลสเกิดขึ้นที่ใจ กิเลสเกิดขึ้นที่กายมีใจไปปรุงแต่งร่วมหรือไม่ กิเลสเกิดขึ้นที่ใจแล้วมันส่งเสริมส่งออกไปหรือไม่ การควบคุมกาย ควบคุมวาจา ควบคุมใจเป็นอย่างไร เราต้องหัดวิเคราะห์ ไม่ใช่ว่าจะพาไปเดินไปนั่งนั่นแหละคือการปฏิบัติ มันไม่ใช่หรอก นั้นก็เพียงแค่เพียงรูปแบบ สติต้องเน้นลงอยู่ที่ใจของเรา สติปัญญาของเราต้องทำหน้าที่ดำเนินแทนใจของเราให้ได้ ช่วงใหม่ๆ ก็เป็นการทรมาน เพราะว่าใจมันชอบเกิดชอบคิดชอบเที่ยว มีเพื่อนสนิทขันธ์ห้ามาเป็นเพื่อนไปด้วยกัน นั่นแหล่ะวิบากกรรม หลงขันธ์ห้าตัวเองแล้วเกิดอัตตาตัวตน สมมติเราก็อาจจะว่าเราไม่หลง เพราะว่าเรายังแจงยังแยกไม่ได้ สิ่งพวกนี้จะไปบังคับกันไม่ได้ ได้เพียงแค่เล่าให้ฟัง
พระเรา ชีเรา เณรเรา ทั้งฆราวาสญาติโยมนั่นแหละ หมั่นสร้างความรู้สึกตัวให้ได้ ดับความเกิด ละกิเลส อะไรที่จะเรียบ เงียบ ง่าย กายวิเวก ใจวิเวก ไม่ต้องให้จำเป็นให้คนอื่นเขารู้ เจริญสติอยู่ในใจ รู้ดูอยู่ว่านี้ใจนะ อันนี้สติปัญญานะ รีบแก้ไข ทุกอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย อะไรจะเงียบเรียบง่าย มีความสุข ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นเขารู้
การฝึกหัดปฏิบัติ คือการละกิเลส ได้มากได้น้อยก็รีบจัดการตัวเรา ให้มองเห็นเหมือนกับไม่ได้ปฏิบัติอะไร ยืน เดิน นั่ง นอนก็ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ แต่เด็ดขาดด้วยสติด้วยปัญญา ละความเกิดของใจที่มันก่อตัวต้นเหตุโน่น คลายความหลงแล้วทำความเข้าใจ แล้วละดับความเกิดให้มันหมดจด ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ดี ขอให้รู้จักวิธีการเจริญสตินะ ได้นิดหน่อยก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ แต่การทำบุญนี่ต้องเต็มเปี่ยม ทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ช่วยกันทำหนักเอาเบาสู้
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนแล้วก็ให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ เพียงแค่สร้างความรู้สึกเรื่องการหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ถ้าความรู้สึกไม่เด่นชัด เราก็พยายามกระตุ้นลมหายใจแรงๆ ทำบ่อยๆ ใหม่ๆ ก็อาจจะอึดอัดบ้าง หน้าท้องอาจจะแน่นบ้าง จิตอาจจะอึดอัด สมองอาจจะตึง
เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน หายใจหยาบเป็นอย่างนี้ หายใจละเอียดเป็นยังนี้ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง คำว่าลมหายใจเข้าหายใจออกรู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ รู้ตัวอยู่ปัจจุบันทุกขณะอันนี้เขาเรียกว่า ‘รู้กาย’ ลึกลงไปถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง ใจมันจะก่อตัวมันก็จะเห็น จะเห็นการเกิดของใจ เห็นการเกิดการดับของใจอันนี้มี 2 ส่วนแล้ว ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมาเขาเรียกว่า ‘สติ’ ถ้ารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ อันนี้ยังไม่เป็นปัญญานะ เพียงแค่สร้างเฉยๆ สร้างสติขึ้นมาเฉยๆ
ถ้ารู้เห็นใจ ถ้ารู้เท่าทันใจ รู้การก่อตัวของใจ ส่วนมากจะรู้เมื่อเขาเกิดไปเป็นเกือบถึงครึ่ง ถึงเรื่องถึงราวเราถึงรู้ อันนั้นเขาต้องให้ ให้หยุด ทำอย่างไรเราถึงจะรู้ได้แต่การก่อตัวเริ่มต้นนั่นแหละ เราต้อง พยายามสาวเข้าให้ถึงต้นเหตุ ได้รู้ถึงต้นเหตุ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็หยุดเอาไว้อีก หยุดเอาไว้ เขาเรียกว่า ‘สมถะ’ อันนี้เพียงแค่ควบคุมใจ จะมีความคิดอีกจุดหนึ่งที่เราไม่ตั้งใจคิด ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมด้วยกันกับตัววิญญาณ ตัววิญญาณหรือว่าตัวใจ จะเป็นตัวสุดท้ายในขันธ์ห้าของเราในกายของเรา
ส่วนกายนี้คือก้อนรูป ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดนั้นมีกันทุกคน ผุดขึ้นมาเรื่อยเฉื่อยเป็นอัตโนมัติ ตัววิญญาณเข้าไปรวมแล้วไปด้วยกัน เราถึงรู้ว่าอันนี้เราคิดเราทำ ก็ทำตามความคิดตรงนั้นแหละ มันหลง บางทีก็เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง ถ้าสังเกตตรงนี้ไม่ทันอีก คลายความลงไม่ได้เด็ดขาด ในส่วนลึกๆ ในสมมติเราอาจจะว่าเราไม่หลง อาจจะถูกต้องหรือระดับของสมมติ
แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีน้อย แต่จิตใจก็เป็นบุญ ก็พยายามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์เอา ทำตาม ทำตามแนวทางของพระพุทธองค์ กายวิเวกเป็นไง ใจวิเวกเป็นอย่างไร การเกิดของใจเป็นอย่างไร ความคิดกับใจเขารวมกันได้อย่างไร ถ้าเห็นแล้วจะมีความสุขมาก ใจนี่จะเกิดปีติเกิดสุข หงาย พลิก เขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้แจ้งเห็นจริง ข้อแรกเลยแหละ
ถ้าเห็น รู้แจ้งเห็นจริงเห็นถูกต้องตั้งแต่ข้อแรก จะเห็นการเกิดการดับ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า แล้วก็รู้จักหยุด ละกิเลส จุดหยาบจุดละเอียดอีก ตามมาหมด ถ้ากำลังสติของเรามีเพียงพอ ค้นคว้าให้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง จนกลายเป็นมหาสติ จนกลายเป็นมหาปัญญา เอาไปประหัตประหารกิเลสได้ตลอดเวลา จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้
ความเพียรของเราต้องยิ่งยวด ความเสียสละของเราก็ต้องเต็มเปี่ยม ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เอา ละออกจากใจ ละความเกิดออก วางให้หมด ของเก่ามันมี คลายออกให้หมด ทีนี้จะเอาจะมีจะเป็นเรื่องของปัญญา ทำความเข้าใจไปดำเนินไปทำหน้าที่แทน โลกธรรมเป็นอย่างนี้ กายของเราทำหน้าที่อย่างนี้นะ ตาก็ทำหน้าที่ดู เขาทำหน้าที่ของเขาหมดเรียบร้อย หูก็ทำหน้าที่ฟัง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ส่งเข้ามาทางทวารทั้งหก ตัววิญญาณเป็นตัวรับรู้ แต่เวลานี้ตัววิญญาณเป็นตัวเกิด แล้วก็ตัวบงการหมด ทุกอย่างเข้าไปหลงเข้าไปยึดหมด ไม่ใช่ว่าเขาจะคลายได้ง่ายๆ
สติปัญญาของเราต้องชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ตามดู ตามรู้ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ ให้ใจของเราว่างรับรู้ เขาถึงจะยอมรับความเป็นจริงได้ ถึงเขาจะยอมรับความเป็นจริงได้เล็กๆ น้อยๆ เขาก็ยังปล่อยวางไม่ได้ นอกจากเราจะละออกให้มันหมดอีก ดับความเกิดให้มันหมดอีก ก็ต้องพยายามไม่ได้มากก็ต้องได้น้อย พยายามน้อมสำเหนียก ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นธรรมหมด รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็จะเป็นอาจารย์สอนธรรมะให้เรา สติที่เราสร้างขึ้นมาจะเป็นคอยตรวจสอบใจเรา ผิดถูกชั่วดีอย่างไร สติปัญญาไปแก้ไขทุกเรื่อง เป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องของเรานั่นแหละ
หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง ดำเนินอย่างนี้ ทำให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเราอย่างนี้ ให้เห็นอย่างนี้ มันก็จะยอมรับความเป็นจริง แล้วก็มีแต่ความขยันหมั่นเพียรด้วยสติด้วยปัญญา ทั้งสมมติทั้งวิมุตติเขาก็อาศัยกันอยู่ โน่นแหละหมดลมหายใจนั่นแหละถึงจะได้พลัดพรากจากสมมติ ใจของเราต้องดับความเกิด ไม่ต้องกลับมาเกิดกัน ถ้าเกิดก็ให้เกิดอยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนนะ ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 เมษายน 2556
ผู้เฒ่าจะเอาธงมาถวายหรือ มาเข้ามา เดี๋ยวปีหน้าจะพาไปปักธงสว่างไสวกันทั่วป่า ญาติโยมคนโน้นก็เอามาคนนี้ก็เอามา คนละเล็กละน้อย มีโอกาสมาสร้างอานิสงส์ร่วมกัน จะพาฉลองสมโภชใหญ่ให้ทุกคนได้มีความสุขกัน ญาติโยมท่านใดปรารถนาที่จะมาตั้งโรงทาน ก็ตั้งโรงทาน ได้มาฉลองสมโภช สรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ ปิดทององค์พระบรมสารีริกธาตุกันให้ตลอดทั้งปี เกิดมาแล้วก็ มีโอกาสได้สร้างบุญสร้างอานิสงส์ก็เอาเต็มที่ น้อมกายน้อมใจของเราเข้ามา
ส่วนการละกิเลสก็ต้องทำเอานะ กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไรก็ดับเมื่อนั้น เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ก็ดับเดี๋ยวนี้ เรื่องความอยากกับความหิว สองอย่างต้องดูรู้ให้ชัดเจน กายของเราต้องการอาหาร อันนี้เขาเรียกว่าความหิว ทีนี้ตัววิญญาณหรือว่าตัวใจเกิดความอยาก อันนี้เขาเรียกว่ากิเลส เราดับความอยากเสียก่อน แล้วก็เอาด้วยสติเอาด้วยปัญญา สติ ปัญญา กับใจต้องแยกออกให้ชัดเจนอีก
ความรู้ตัวเราต้องสร้างขึ้นมาให้ต่อเนื่อง แล้วก็วิเคราะห์ใจของเรา วิเคราะห์ใจของเราไม่ทันต้นเหตุของการเกิดของใจแล้วก็ดับอีก หยุดอีก เขาเรียกว่าสมถะ มีความคิดที่แทรกเข้ามา เขาเรียกว่าอาการของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกัน ถ้าสังเกตดูดีๆ จะเห็นเยอะมากมาย เพียงแค่เรื่องความอยากความหิวก็ยังแยกแยะไม่ชัดเจน กะประมาณการขบฉันของตัวเราเอง
สามเณรน้อย เก่งทุกคนแหละ พระยังสู้เณรไม่ได้เลย เรื่องการพิจารณาอาหาร ดูให้ชัดเจน ดูรู้ให้ชัดเจน คนเราจะไปมองข้าม มองข้ามเรื่องกินนี่แหละสำคัญ เหตุการณ์บังคับ สถานการณ์บังคับ ไม่มีอยู่ไม่มีกินก็ต้องดิ้นรน ดิ้นรนทำ ดิ้นรนหา ใจก็เลยไม่สงบนี่แหละเขาเรียกว่า วิบากของกรรมดำเนินไป บางคนขยันหมั่นเพียร รู้จักแสวงหา รู้จักพิจารณา สมมติก็ไม่ได้ลำบาก ก็ส่งผลถึงวิมุตติถึงด้านจิตใจ บางคนก็สมมติก็ลำบากแต่จิตใจนี่ก็ไหลไปในบุญ แต่สมมติก็ยังอัตคัด ก็ต้องหมั่นวิเคราะห์หมั่นพิจารณา หมั่นแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าให้คนโน้นคนนี้เขาบังคับเขาเคี่ยวเข็ญ เราต้องบังคับเคี่ยวเข็ญตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
ยิ่งมาอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน ยิ่งมาอยู่ด้วยกันเยอะๆ เราก็ต้องพยายามไม่เห็นแก่ตัว มีความเสียสละ มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักแสวงหา รู้จักขวนขวาย รู้จักสร้างขึ้นมา ให้มีให้เกิดขึ้น สมมติก็จะได้ไม่ได้ลำบาก เป็นวิบากกรรมของหลวงพ่อหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ สมัยก่อนก็ไม่มีอะไร มาอยู่องค์เดียวก็ตะลอนๆ ไปทั่วป่านี่แหละ มุมโน้นบ้างมุมนี้บ้าง พออยู่มาหลายปีขึ้น อันโน้นก็ขาดอันนี้ก็ขาด ก็ต้องได้ดิ้นรนแสวงหา หามาให้ อาหารกายก็หาก็ทำให้ให้อยู่ดีมีความสุข จะหนาวจะร้อน จะมืดจะค่ำ ก็พยายามอุตส่าห์ทำ ให้สมมติไม่ให้ได้ลำบาก อาหารตาก็ทำให้ที่สวยๆ งามๆ ให้น่าอยู่น่าอาศัยน่ารื่นรมย์ ความร่มรื่นร่มเย็น ก็พยายามทำให้ทุกตารางนิ้ว
ถึงขนาดนั้นก็ยังพากันเกียจคร้าน ก็ช่วยเหลือไม่ได้นะ พยายามขยันหมั่นเพียร ตักตวงเอาอานิสงส์บุญให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเรา ไม่ใช่มาแล้วมีแต่ความเกียจคร้าน เห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบหมู่คณะ เราต้องพยายามขยันขัดเกลากิเลส ขยันหมั่นเพียรในการยังสมมติให้เป็นประโยชน์ อยู่ที่ไหนก็จะมีความสุข รู้จักสร้างทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอก ทรัพย์ภายใน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ปัจจุบัน เราต้องหัดวิเคราะห์ หัดสำรวจ หัดทำความเข้าใจ
คนเราบางคนเกิดมาก็สร้างสมมติมาดีตั้งแต่ปู่ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ทำไว้ให้ บางคนบางท่านก็มาสร้างเอาขณะที่ยังเริ่มจากศูนย์จากไม่มีอะไร ด้วยความขยันหมั่นเพียร ต่างกันนะบางคนก็สร้างมาดี บางคนก็ยังลำบากอยู่ แต่ก็ขอให้น้อมใจเข้ามาในกองบุญกองกุศล ค่อยพิจารณา ค่อยเป็นค่อยไป มันไม่เต็มในวันนี้ก็ต้องเต็มในวันหน้า ทั้งทรัพย์ภายในทรัพย์ภายนอก มันไม่เต็มจริงๆ มันจะไปต่อภพหน้าโน่นแหละ ก็ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ มันก็ต้องเกิด กายเนื้อแตกดับก็ต้องหาที่เกิดใหม่ ก็ขอให้เกิดอยู่ในกองบุญเอาไว้ ใจกับสติปัญญาต้องคนละส่วน สมมติก็ยังให้เกิดประโยชน์
ทางสวนมะลิวัลย์ ต้นชมนาดออกดอกกันเยอะ ก็ขอบคุณทุกคนที่ได้ช่วยกันดูแล กะว่าปีหน้าต้นกัลปพฤกษ์ก็คงจะออกดอกกันเกือบหมดช่วงฉลองสมโภช จะให้ทุกคนได้มีความสุขกัน จะว่าเคลียร์งานทุกสิ่งทุกอย่างให้ราบรื่น ฉลองสมโภชกันทั้งปี นิมนต์พระผู้หลักผู้ใหญ่มาทำบุญ มาผลัดเปลี่ยนผ้าสรงน้ำ หลวงตาท่านเจ้าอาวาสกับท่านเจ้าคุณ วิบากกรรมของหลวงพ่อเป็นผู้รับใช้หมู่คณะให้อยู่ดีมีความสุข จะได้ไม่ได้ลำบาก
เกิดมามีกรรมก็อย่างนี้นะ อย่าทะเลาะเบาะแว้งกัน สงสารคนใช้บ้าง ลำบากมานาน อะไรก็ทำให้ไม่ให้ลำบาก ถ้าจะทะเลาะเบาะแว้งกันก็สติปัญญาทะเลาะเบาะแว้งกับกิเลส ว่าใครชนะใครแพ้ แพ้แล้วเริ่มใหม่ แพ้แล้วเริ่มใหม่ ใครจะชนะมันถึงจะถูกต้อง ขยันในการสร้างคุณงามความดี ขยันในการสร้างประโยชน์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน อยู่คนเดียวเอาการเอางานเป็นการปฏิบัติทำงานไปด้วย ดูใจไปด้วย สติเราพลั้งเผลอหรือไม่ นิวรณ์ครอบงำหรือไม่ เรามีความเกียจคร้านหรือไม่ สนุกกับการทำงาน มีความสุข ใจเป็นสมาธิ ตั้งมั่นอยู่กับการทำงาน ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน
ใจที่ปราศจากกิเลส สติดูรู้ ใจก่อตัวนิดเดียวก็รีบดับรีบควบคุม ให้ใจเป็นสมาธิที่ปราศจากกิเลส ปราศจากการเกิดนั่นแหละถึงจะมีความสุข ถึงแดดร้อนๆ ใจก็เย็น มีความสุข ถึงเหงื่อจะออกเต็มตัว ใจก็เย็น แผ่ตลอดเวลา สติของเราชัดเจน ปัญญาของเราชัดเจน วิญญาณก็จะเผยแววออกมาให้เราเห็นชัดเจน ไม่ต้องไปโทษคนโน้น ไม่ต้องไปโทษคนนี้ โทษตัวเราแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ทำภารกิจภายในของเราให้จบ นอกนั้นก็เป็นงานอดิเรกทำประโยชน์ให้กับหมู่ให้กับคณะให้กับสังคม ไม่ต้องไปกลัวว่าจะเสียเปรียบกิเลสคนโน้น เสียเปรียบกิเลสคนนี้ พากันทำ อะไรที่จะเป็นประโยชน์ก็พากันทำ ขณะที่ยังมีกำลังมีลมหายใจอยู่ มีเวลาน้อยก็รีบตักตวง
ยิ่งบวชใหม่ๆ ยิ่งหนุ่มๆ แน่นๆ มาฝึกละความอยากนี้ทรมาน กายก็หิวใจก็ยาก อันโน้นก็อร่อย อันนี้ก็อร่อย บอกว่าเอาไปเยอะๆ เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่มว่าอย่างนั้น เอาไปเยอะๆ ก็เอาไปทิ้ง มองซ้ายมองขวา มองบนมองล่าง มองหมู่คณะ ถ้าเราเอาส่วนนี้แล้วคนรุ่นหลังเขาจะได้ทานได้ฉันไหมหนอ เราก็ต้องดู ส่วนมากมีตั้งแต่ความอยากความโลภ ตักตวงเอาๆ แทนที่จะขัดเกลากิเลส กลับไปส่งเสริมกิเลส ให้อาหารกิเลส แยกแยะ มันละเอียดหลายอย่างนะเรื่องกายของเรา
กิเลสเกิดขึ้นที่กายหรือว่ากิเลสเกิดขึ้นที่ใจ กิเลสเกิดขึ้นที่กายมีใจไปปรุงแต่งร่วมหรือไม่ กิเลสเกิดขึ้นที่ใจแล้วมันส่งเสริมส่งออกไปหรือไม่ การควบคุมกาย ควบคุมวาจา ควบคุมใจเป็นอย่างไร เราต้องหัดวิเคราะห์ ไม่ใช่ว่าจะพาไปเดินไปนั่งนั่นแหละคือการปฏิบัติ มันไม่ใช่หรอก นั้นก็เพียงแค่เพียงรูปแบบ สติต้องเน้นลงอยู่ที่ใจของเรา สติปัญญาของเราต้องทำหน้าที่ดำเนินแทนใจของเราให้ได้ ช่วงใหม่ๆ ก็เป็นการทรมาน เพราะว่าใจมันชอบเกิดชอบคิดชอบเที่ยว มีเพื่อนสนิทขันธ์ห้ามาเป็นเพื่อนไปด้วยกัน นั่นแหล่ะวิบากกรรม หลงขันธ์ห้าตัวเองแล้วเกิดอัตตาตัวตน สมมติเราก็อาจจะว่าเราไม่หลง เพราะว่าเรายังแจงยังแยกไม่ได้ สิ่งพวกนี้จะไปบังคับกันไม่ได้ ได้เพียงแค่เล่าให้ฟัง
พระเรา ชีเรา เณรเรา ทั้งฆราวาสญาติโยมนั่นแหละ หมั่นสร้างความรู้สึกตัวให้ได้ ดับความเกิด ละกิเลส อะไรที่จะเรียบ เงียบ ง่าย กายวิเวก ใจวิเวก ไม่ต้องให้จำเป็นให้คนอื่นเขารู้ เจริญสติอยู่ในใจ รู้ดูอยู่ว่านี้ใจนะ อันนี้สติปัญญานะ รีบแก้ไข ทุกอริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย อะไรจะเงียบเรียบง่าย มีความสุข ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นเขารู้
การฝึกหัดปฏิบัติ คือการละกิเลส ได้มากได้น้อยก็รีบจัดการตัวเรา ให้มองเห็นเหมือนกับไม่ได้ปฏิบัติอะไร ยืน เดิน นั่ง นอนก็ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ แต่เด็ดขาดด้วยสติด้วยปัญญา ละความเกิดของใจที่มันก่อตัวต้นเหตุโน่น คลายความหลงแล้วทำความเข้าใจ แล้วละดับความเกิดให้มันหมดจด ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ดี ขอให้รู้จักวิธีการเจริญสตินะ ได้นิดหน่อยก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ แต่การทำบุญนี่ต้องเต็มเปี่ยม ทุกอย่างค่อยเป็นค่อยไป ช่วยกันทำหนักเอาเบาสู้
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนแล้วก็ให้ต่อเนื่อง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ เพียงแค่สร้างความรู้สึกเรื่องการหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ถ้าความรู้สึกไม่เด่นชัด เราก็พยายามกระตุ้นลมหายใจแรงๆ ทำบ่อยๆ ใหม่ๆ ก็อาจจะอึดอัดบ้าง หน้าท้องอาจจะแน่นบ้าง จิตอาจจะอึดอัด สมองอาจจะตึง
เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน หายใจหยาบเป็นอย่างนี้ หายใจละเอียดเป็นยังนี้ ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง คำว่าลมหายใจเข้าหายใจออกรู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ รู้ตัวอยู่ปัจจุบันทุกขณะอันนี้เขาเรียกว่า ‘รู้กาย’ ลึกลงไปถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง ใจมันจะก่อตัวมันก็จะเห็น จะเห็นการเกิดของใจ เห็นการเกิดการดับของใจอันนี้มี 2 ส่วนแล้ว ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมาเขาเรียกว่า ‘สติ’ ถ้ารู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ อันนี้ยังไม่เป็นปัญญานะ เพียงแค่สร้างเฉยๆ สร้างสติขึ้นมาเฉยๆ
ถ้ารู้เห็นใจ ถ้ารู้เท่าทันใจ รู้การก่อตัวของใจ ส่วนมากจะรู้เมื่อเขาเกิดไปเป็นเกือบถึงครึ่ง ถึงเรื่องถึงราวเราถึงรู้ อันนั้นเขาต้องให้ ให้หยุด ทำอย่างไรเราถึงจะรู้ได้แต่การก่อตัวเริ่มต้นนั่นแหละ เราต้อง พยายามสาวเข้าให้ถึงต้นเหตุ ได้รู้ถึงต้นเหตุ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็หยุดเอาไว้อีก หยุดเอาไว้ เขาเรียกว่า ‘สมถะ’ อันนี้เพียงแค่ควบคุมใจ จะมีความคิดอีกจุดหนึ่งที่เราไม่ตั้งใจคิด ซึ่งเป็นส่วนนามธรรมด้วยกันกับตัววิญญาณ ตัววิญญาณหรือว่าตัวใจ จะเป็นตัวสุดท้ายในขันธ์ห้าของเราในกายของเรา
ส่วนกายนี้คือก้อนรูป ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดนั้นมีกันทุกคน ผุดขึ้นมาเรื่อยเฉื่อยเป็นอัตโนมัติ ตัววิญญาณเข้าไปรวมแล้วไปด้วยกัน เราถึงรู้ว่าอันนี้เราคิดเราทำ ก็ทำตามความคิดตรงนั้นแหละ มันหลง บางทีก็เป็นกุศลบ้างอกุศลบ้าง ถ้าสังเกตตรงนี้ไม่ทันอีก คลายความลงไม่ได้เด็ดขาด ในส่วนลึกๆ ในสมมติเราอาจจะว่าเราไม่หลง อาจจะถูกต้องหรือระดับของสมมติ
แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีน้อย แต่จิตใจก็เป็นบุญ ก็พยายามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์เอา ทำตาม ทำตามแนวทางของพระพุทธองค์ กายวิเวกเป็นไง ใจวิเวกเป็นอย่างไร การเกิดของใจเป็นอย่างไร ความคิดกับใจเขารวมกันได้อย่างไร ถ้าเห็นแล้วจะมีความสุขมาก ใจนี่จะเกิดปีติเกิดสุข หงาย พลิก เขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้แจ้งเห็นจริง ข้อแรกเลยแหละ
ถ้าเห็น รู้แจ้งเห็นจริงเห็นถูกต้องตั้งแต่ข้อแรก จะเห็นการเกิดการดับ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า แล้วก็รู้จักหยุด ละกิเลส จุดหยาบจุดละเอียดอีก ตามมาหมด ถ้ากำลังสติของเรามีเพียงพอ ค้นคว้าให้รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง จนกลายเป็นมหาสติ จนกลายเป็นมหาปัญญา เอาไปประหัตประหารกิเลสได้ตลอดเวลา จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้
ความเพียรของเราต้องยิ่งยวด ความเสียสละของเราก็ต้องเต็มเปี่ยม ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เอา ละออกจากใจ ละความเกิดออก วางให้หมด ของเก่ามันมี คลายออกให้หมด ทีนี้จะเอาจะมีจะเป็นเรื่องของปัญญา ทำความเข้าใจไปดำเนินไปทำหน้าที่แทน โลกธรรมเป็นอย่างนี้ กายของเราทำหน้าที่อย่างนี้นะ ตาก็ทำหน้าที่ดู เขาทำหน้าที่ของเขาหมดเรียบร้อย หูก็ทำหน้าที่ฟัง รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ที่ส่งเข้ามาทางทวารทั้งหก ตัววิญญาณเป็นตัวรับรู้ แต่เวลานี้ตัววิญญาณเป็นตัวเกิด แล้วก็ตัวบงการหมด ทุกอย่างเข้าไปหลงเข้าไปยึดหมด ไม่ใช่ว่าเขาจะคลายได้ง่ายๆ
สติปัญญาของเราต้องชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ตามดู ตามรู้ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ ให้ใจของเราว่างรับรู้ เขาถึงจะยอมรับความเป็นจริงได้ ถึงเขาจะยอมรับความเป็นจริงได้เล็กๆ น้อยๆ เขาก็ยังปล่อยวางไม่ได้ นอกจากเราจะละออกให้มันหมดอีก ดับความเกิดให้มันหมดอีก ก็ต้องพยายามไม่ได้มากก็ต้องได้น้อย พยายามน้อมสำเหนียก ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นธรรมหมด รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็จะเป็นอาจารย์สอนธรรมะให้เรา สติที่เราสร้างขึ้นมาจะเป็นคอยตรวจสอบใจเรา ผิดถูกชั่วดีอย่างไร สติปัญญาไปแก้ไขทุกเรื่อง เป็นเรื่องของทุกคน ไม่ใช่ว่าเป็นเรื่องของคนใดคนหนึ่ง เป็นเรื่องของเรานั่นแหละ
หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง ดำเนินอย่างนี้ ทำให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเราอย่างนี้ ให้เห็นอย่างนี้ มันก็จะยอมรับความเป็นจริง แล้วก็มีแต่ความขยันหมั่นเพียรด้วยสติด้วยปัญญา ทั้งสมมติทั้งวิมุตติเขาก็อาศัยกันอยู่ โน่นแหละหมดลมหายใจนั่นแหละถึงจะได้พลัดพรากจากสมมติ ใจของเราต้องดับความเกิด ไม่ต้องกลับมาเกิดกัน ถ้าเกิดก็ให้เกิดอยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนนะ ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจนะ