หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 20
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 20
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 20
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 มีนาคม 2556
พากันดูดีๆนะ พระเรา ก่อนที่จะขบจะฉัน พิจารณาปฏิสังขาโย ยิ่งบวชใหม่ยิ่งฝึกใหม่อะไรก็อิรุงตุงนัง ตั้งแต่การนุ่งผ้าของผ้า การลุก การก้าว การเดิน การขบการฉัน กว่าจะลงล็อคลงที่ได้ก็สับสนอยู่หลายวัน เรามาทำความเข้าใจ มาวางสมมติของเราให้เรียบร้อย แล้วก็รู้จักการเจริญสติให้ได้ทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมายิ่งเวลาจะขบจะฉัน กายของเราหิวหรือว่าใจของเราเกิดความอยาก ส่วนมากใจจะอยาก ทั้งใจอยากทั้งกายหิว เพราะว่าความเคยกินเก่าๆ เอาอันโน้นเอาอันนี้ อันโน้นเอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันสั่งบอกว่าเอาเยอะๆ ถ้ามีการตรวจสอบนี้สอบตกหมด
เราก็ต้องพยายาม ดับความอยากภายในใจของเรา แล้วก็หัดสังเกต ความอยากเขาเกิดขึ้นตรงไหนเราดับตรงนั้น คือความคิดเกิดขึ้นตรงไหนเราสังเกตตรงนั้น ความคิดที่ได้ตั้งใจคิดหรือว่าไม่ได้ตั้งใจคิด ซึ่งภาษาธรรมท่านเรียกว่า ขันธ์ห้า รอบรู้สติปัญญารอบรู้ในกองสังขารของตัวเราเอง ว่าเรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความเสียสละเต็มเปี่ยมหรือไม่ แต่ละวันตื่นขึ้นมาความเกียจคร้านเข้าครอบงำ หรือว่ากายต้องการพักผ่อน สติของเราอ่อนแอ
เราต้องหัดวิเคราะห์พิจารณา แก้ไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา อย่าเป็นคนเกียจคร้าน ถ้าเป็นคนเกียจคร้านแล้วก็ไปอยู่ที่ไหนก็เสียดายเวลา ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียร รอบรู้ในความคิด รอบรู้ในดวงจิตหรือว่ารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในการทำงานของเรา กายทำงานอย่างไร ใจทำงานอย่างไร ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง ทำไมใจถึงเป็นทาสของกิเลส เราก็ต้องหัดวิเคราะห์ หัดพิจารณาแต่ละวัน ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งมืด พยายามน้อม การน้อม การสำเหนียก การสร้างความรู้ตัว คำว่าปัจจุบัน น้อมสำเหนียกรู้ จากน้อยๆ รู้ตั้งแต่การเกิดการก่อตัว แล้วก็ค่อยทำความเข้าใจให้มากๆ หมั่นพร่ำสอนใจของเราให้เต็มเปี่ยม จะค่อยสติปัญญาก็จะมากขึ้นๆ เป็นมหาสติ มหาปัญญา
แค่การสร้างความรู้ตัวกัน น้อมก็ไปรู้กายมันยังไม่ค่อยจะสนใจกัน ทั้งที่ใจก็อยากจะได้บุญอยากจะรู้ธรรม ก็ขึ้นอยู่กับอานิสงส์ความเพียรของแต่ละบุคคลที่จะทำ แต่การทำบุญ การฝักใฝ่ในบุญ การทำบุญให้ทาน รู้สึกว่ามีกันเต็มเปี่ยม การทำความเข้าใจ การแจง การแยกแยะในกายของเรามีน้อย ถ้าคนไม่มีความเพียร มีสติปัญญาที่ลุ่มลึก และก็ต่อเนื่องจริงๆ ก็ยากที่จะเข้าถึงตรงนั้น เข้าถึงการก่อตัวของวิญญาณ การก่อตัวของความคิด
ในหลักธรรมท่านให้ละความอยากละความหวัง คนทั่วไปมีทั้งความอยากมีทั้งความหวัง ทั้งความทะเยอทะยานอยาก เต็มไปหมด มันก็เลยปิดกั้นตัว ตัวของเขาเอาไว้หมด ก็ค่อยเป็นค่อยไป ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี ความขยันหมั่นเพียร ความอ่อนน้อมถ่อมตน การชำระสะสางกิเลส ละกิเลสหยาบกิเลสละเอียด นั่นแหละคือ ข้อวัตรปฏิบัติ การเจริญสติเข้าไปรู้เท่าทัน การละกิเลส การรักษาศีล การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ก็เพื่อที่จะละกิเลส ถ้าเราเข้าใจแล้วก็กายของเราก็เป็นก้อนกิเลส ทำความเข้าใจ ไม่หลงไม่ยึด ทำหน้าที่แต่ไม่ยึด ทำหน้าที่ให้ดี รู้จักหน้าที่ของตัวเรา รู้จักตัวใจ รู้จักปล่อย รู้จักวาง อยู่ที่ไหนก็จะมีความสุข
เราเป็นครอบครัวที่ใหญ่ ไม่ใช่ว่าขอให้ฉันอยู่ดีมีความสุข ฉันจะทำยังไงก็ได้ ไม่ใช่ มีมากมีน้อยเราก็ต้องประหยัดมัธยัสถ์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ กว่าจะทำขึ้นมาได้แต่ละจุดแต่ละชิ้นแต่ละอัน ให้ทุกคนได้มีความสุข ก็ต้องมีความรับผิดชอบ ช่วยกันทุกอย่าง ไม่ว่าอยู่ที่บ้านอยู่ที่วัด เราก็ต้องเป็นคนประหยัดมัธยัสถ์ ใช้ในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด รู้จักรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยช่วยกัน อยู่คนเดียวก็จะได้มีความสุขอยู่ หลายคนก็มีความสุข
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ มีความรู้สึกรับรู้ลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อันนี้ก็เป็นแค่เพียงอุบาย กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็ชัดเจน บางทีก็อึดอัด บางทีก็ตึง ถ้าเราฝึกไม่เกิดความเคยชินพอจะสร้างความรู้ตัวทีนี่ก็กายก็อึดอัด หายใจก็อึดอัด เราต้องพยายามยิ่งฝึกยิ่งฝืนยิ่งทำความเข้าใจให้ รู้ร่องของธรรมชาติของการหายใจเข้าออกให้ต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่า ‘อานาปานสติ’
เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน เราไม่เคยชินหรือว่าเราไม่เข้าใจ เราก็พยายามเพิ่มความเพียรให้ต่อเนื่องสักวันหนึ่ง เราก็จะเข้าใจ ความรู้ตัว รู้กาย รู้ต่อเนื่อง คำว่าปัจจุบันธรรม คำว่า ความรู้สึก รู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็สัมปชัญญะ ถ้าเรามีความรู้ตัวทั่วพร้อมให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ ส่วนใจของเรานั้นเขาเกิดๆ ดับๆ เขาปรุงเขาแต่ง บางทีก็เป็นเรื่องเป็นราว บางทีก็ไม่เป็นเรื่องเป็นราว บางทีก็มีอาการของขันธ์ห้าซึ่งอยู่ในกายของเรามีกันทุกคน มีความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดนั่นแหละ เขาก่อตัวอย่างไร เขาเกิดอย่างไร ใจของเราเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ตรงนั้นความรู้ตัวของเราไม่ต่อเนื่องยากที่จะเข้าใจ
ถ้าเรามาสร้างความรู้ตัวต่อเนื่อง จะมีการรู้เท่าทัน ส่วนมากก็รู้เมื่อเขาเกิดแล้ว เราก็หยุดเอาไว้ ยับยั้งเอาไว้ จนกว่าจะเห็นการก่อตัวของตัวใจ การก่อตัวของขันธ์ห้าเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกัน ถ้าเรารู้เท่าทันตรงนั้น ใจก็จะดีดออก ซึ่งเรียกว่า 'แยกรูปแยกนาม’ นี่แหละเขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้แจ้งเห็นจริงในข้อแรก ในอริยมรรค ในหนทางในการเดิน
พอสังเกตเห็น แยกได้ ก็เพียงแค่ใจของเราพลิกหงายจากสมมติไปหาวิมุตติ แต่การเกิดของเขายังมีอยู่ ถ้าความรู้ตัวของเราไม่ หรือว่าสติของเราตามทำความเข้าใจไม่ต่อเนื่องทุกเรื่อง เขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม ทั้งที่รู้ๆ เราก็พยายามหมั่นทำความเข้าใจ หมั่นอบรมใจ การเกิดเป็นทุกข์ การเป็นทาสของกิเลสเป็นทุกข์ กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราขัดเกลาออกให้มันหมดจด แม้แต่ความอยากจากในอาหาร การอยู่ การขบการฉันอยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง เราต้องพยายามคลายใจของเราออกให้รับรู้
กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร เขาทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว ตาก็ทำหน้าที่ดู หูก็ทำหน้าที่ฟัง ภาษาธรรมสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้จักแต่ว่าฟัง เป็นลักษณะอย่างไร เราต้องรู้จักจำแนกแจกแจง แยกรูป รส กลิ่น เสียงออกจากใจของเรา ทวารทั้งหกเขาทำหน้าที่ของเขา เราไปจัดการที่ตัววิญญาณของเราไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ไม่ให้เกิดกิเลส นั่นแหละเราก็จะได้รู้เท่าทันทุกสิ่งทุกอย่าง มองเห็นหนทางเดิน
เพียงแค่เวลานี้การเจริญสติก็มีน้อยนิด จะไปวิ่งหาตั้งแต่ธรรม จะเอาตั้งแต่บุญ ส่วนบุญนั้นมันได้อยู่แล้ว ในการทำบุญ ในการฝักใฝ่ ได้มากได้น้อยก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา ความสุขของใจของเรา แต่การชำระสะสางกิเลส การจัดการทำใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์ การเจริญสติให้ต่อเนื่อง ลักษณะของการสร้างสติ ตรงนี้ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ยังไม่ชำนาญ ทั้งที่ใจก็อยากได้บุญ อยากจะอยู่กับบุญนั่นแหละ ก็ต้องพยายามศึกษา
เรารู้จักวิธี รู้จักแนวทางแล้ว เราก็ไปทำ ยืน เดิน นั่ง นอนให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องจัดการกับตัวของเรา ถ้าเราไม่ทำ ไม่จัดการ ไม่อบรมใจของเรา ไม่มีใครที่ที่จะอบรมให้เราได้หรอก นอกจากตัวของเราเอง อย่าไปมอง อย่าไปโทษคนโน้นเป็นอย่างนั้นคนนั้นเป็นอย่างนี้ มีตั้งแต่นิสัยของคนโง่เท่านั้นแหละ คนฉลาดเขาจะแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง หมั่นพร่ำสอนตัวเอง อะไรที่จะเป็นบุญก็รีบสร้างรีบทำ อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็รีบสร้างรีบทำ อะไรที่จะเป็นอกุศล ก็รู้จักรีบ รู้จักลด รู้จักละ แม้ตั้งแต่ความคิด แม้ตั้งแต่อารมณ์ หลวงพ่อก็เพียงแค่พูดให้ฟัง
สร้างความรู้สึกรับรู้กันให้ต่อเนื่องกันสักพักสักระยะหนึ่งนะ พากันไว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 มีนาคม 2556
พากันดูดีๆนะ พระเรา ก่อนที่จะขบจะฉัน พิจารณาปฏิสังขาโย ยิ่งบวชใหม่ยิ่งฝึกใหม่อะไรก็อิรุงตุงนัง ตั้งแต่การนุ่งผ้าของผ้า การลุก การก้าว การเดิน การขบการฉัน กว่าจะลงล็อคลงที่ได้ก็สับสนอยู่หลายวัน เรามาทำความเข้าใจ มาวางสมมติของเราให้เรียบร้อย แล้วก็รู้จักการเจริญสติให้ได้ทุกอิริยาบถ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมายิ่งเวลาจะขบจะฉัน กายของเราหิวหรือว่าใจของเราเกิดความอยาก ส่วนมากใจจะอยาก ทั้งใจอยากทั้งกายหิว เพราะว่าความเคยกินเก่าๆ เอาอันโน้นเอาอันนี้ อันโน้นเอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันสั่งบอกว่าเอาเยอะๆ ถ้ามีการตรวจสอบนี้สอบตกหมด
เราก็ต้องพยายาม ดับความอยากภายในใจของเรา แล้วก็หัดสังเกต ความอยากเขาเกิดขึ้นตรงไหนเราดับตรงนั้น คือความคิดเกิดขึ้นตรงไหนเราสังเกตตรงนั้น ความคิดที่ได้ตั้งใจคิดหรือว่าไม่ได้ตั้งใจคิด ซึ่งภาษาธรรมท่านเรียกว่า ขันธ์ห้า รอบรู้สติปัญญารอบรู้ในกองสังขารของตัวเราเอง ว่าเรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความเสียสละเต็มเปี่ยมหรือไม่ แต่ละวันตื่นขึ้นมาความเกียจคร้านเข้าครอบงำ หรือว่ากายต้องการพักผ่อน สติของเราอ่อนแอ
เราต้องหัดวิเคราะห์พิจารณา แก้ไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา อย่าเป็นคนเกียจคร้าน ถ้าเป็นคนเกียจคร้านแล้วก็ไปอยู่ที่ไหนก็เสียดายเวลา ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียร รอบรู้ในความคิด รอบรู้ในดวงจิตหรือว่ารอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในการทำงานของเรา กายทำงานอย่างไร ใจทำงานอย่างไร ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง ทำไมใจถึงเป็นทาสของกิเลส เราก็ต้องหัดวิเคราะห์ หัดพิจารณาแต่ละวัน ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งมืด พยายามน้อม การน้อม การสำเหนียก การสร้างความรู้ตัว คำว่าปัจจุบัน น้อมสำเหนียกรู้ จากน้อยๆ รู้ตั้งแต่การเกิดการก่อตัว แล้วก็ค่อยทำความเข้าใจให้มากๆ หมั่นพร่ำสอนใจของเราให้เต็มเปี่ยม จะค่อยสติปัญญาก็จะมากขึ้นๆ เป็นมหาสติ มหาปัญญา
แค่การสร้างความรู้ตัวกัน น้อมก็ไปรู้กายมันยังไม่ค่อยจะสนใจกัน ทั้งที่ใจก็อยากจะได้บุญอยากจะรู้ธรรม ก็ขึ้นอยู่กับอานิสงส์ความเพียรของแต่ละบุคคลที่จะทำ แต่การทำบุญ การฝักใฝ่ในบุญ การทำบุญให้ทาน รู้สึกว่ามีกันเต็มเปี่ยม การทำความเข้าใจ การแจง การแยกแยะในกายของเรามีน้อย ถ้าคนไม่มีความเพียร มีสติปัญญาที่ลุ่มลึก และก็ต่อเนื่องจริงๆ ก็ยากที่จะเข้าถึงตรงนั้น เข้าถึงการก่อตัวของวิญญาณ การก่อตัวของความคิด
ในหลักธรรมท่านให้ละความอยากละความหวัง คนทั่วไปมีทั้งความอยากมีทั้งความหวัง ทั้งความทะเยอทะยานอยาก เต็มไปหมด มันก็เลยปิดกั้นตัว ตัวของเขาเอาไว้หมด ก็ค่อยเป็นค่อยไป ค่อยเป็นค่อยไป ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี ความขยันหมั่นเพียร ความอ่อนน้อมถ่อมตน การชำระสะสางกิเลส ละกิเลสหยาบกิเลสละเอียด นั่นแหละคือ ข้อวัตรปฏิบัติ การเจริญสติเข้าไปรู้เท่าทัน การละกิเลส การรักษาศีล การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ก็เพื่อที่จะละกิเลส ถ้าเราเข้าใจแล้วก็กายของเราก็เป็นก้อนกิเลส ทำความเข้าใจ ไม่หลงไม่ยึด ทำหน้าที่แต่ไม่ยึด ทำหน้าที่ให้ดี รู้จักหน้าที่ของตัวเรา รู้จักตัวใจ รู้จักปล่อย รู้จักวาง อยู่ที่ไหนก็จะมีความสุข
เราเป็นครอบครัวที่ใหญ่ ไม่ใช่ว่าขอให้ฉันอยู่ดีมีความสุข ฉันจะทำยังไงก็ได้ ไม่ใช่ มีมากมีน้อยเราก็ต้องประหยัดมัธยัสถ์ ใช้ให้เกิดประโยชน์ กว่าจะทำขึ้นมาได้แต่ละจุดแต่ละชิ้นแต่ละอัน ให้ทุกคนได้มีความสุข ก็ต้องมีความรับผิดชอบ ช่วยกันทุกอย่าง ไม่ว่าอยู่ที่บ้านอยู่ที่วัด เราก็ต้องเป็นคนประหยัดมัธยัสถ์ ใช้ในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศล ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด รู้จักรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยช่วยกัน อยู่คนเดียวก็จะได้มีความสุขอยู่ หลายคนก็มีความสุข
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ หรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ มีความรู้สึกรับรู้ลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อันนี้ก็เป็นแค่เพียงอุบาย กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็ชัดเจน บางทีก็อึดอัด บางทีก็ตึง ถ้าเราฝึกไม่เกิดความเคยชินพอจะสร้างความรู้ตัวทีนี่ก็กายก็อึดอัด หายใจก็อึดอัด เราต้องพยายามยิ่งฝึกยิ่งฝืนยิ่งทำความเข้าใจให้ รู้ร่องของธรรมชาติของการหายใจเข้าออกให้ต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่า ‘อานาปานสติ’
เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน เราไม่เคยชินหรือว่าเราไม่เข้าใจ เราก็พยายามเพิ่มความเพียรให้ต่อเนื่องสักวันหนึ่ง เราก็จะเข้าใจ ความรู้ตัว รู้กาย รู้ต่อเนื่อง คำว่าปัจจุบันธรรม คำว่า ความรู้สึก รู้ตัวทั่วพร้อม แล้วก็สัมปชัญญะ ถ้าเรามีความรู้ตัวทั่วพร้อมให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ ส่วนใจของเรานั้นเขาเกิดๆ ดับๆ เขาปรุงเขาแต่ง บางทีก็เป็นเรื่องเป็นราว บางทีก็ไม่เป็นเรื่องเป็นราว บางทีก็มีอาการของขันธ์ห้าซึ่งอยู่ในกายของเรามีกันทุกคน มีความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิดนั่นแหละ เขาก่อตัวอย่างไร เขาเกิดอย่างไร ใจของเราเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ตรงนั้นความรู้ตัวของเราไม่ต่อเนื่องยากที่จะเข้าใจ
ถ้าเรามาสร้างความรู้ตัวต่อเนื่อง จะมีการรู้เท่าทัน ส่วนมากก็รู้เมื่อเขาเกิดแล้ว เราก็หยุดเอาไว้ ยับยั้งเอาไว้ จนกว่าจะเห็นการก่อตัวของตัวใจ การก่อตัวของขันธ์ห้าเขาเคลื่อนเข้าไปรวมกัน ถ้าเรารู้เท่าทันตรงนั้น ใจก็จะดีดออก ซึ่งเรียกว่า 'แยกรูปแยกนาม’ นี่แหละเขาเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความรู้แจ้งเห็นจริงในข้อแรก ในอริยมรรค ในหนทางในการเดิน
พอสังเกตเห็น แยกได้ ก็เพียงแค่ใจของเราพลิกหงายจากสมมติไปหาวิมุตติ แต่การเกิดของเขายังมีอยู่ ถ้าความรู้ตัวของเราไม่ หรือว่าสติของเราตามทำความเข้าใจไม่ต่อเนื่องทุกเรื่อง เขาก็จะซึมเข้าสู่สภาพเดิม ทั้งที่รู้ๆ เราก็พยายามหมั่นทำความเข้าใจ หมั่นอบรมใจ การเกิดเป็นทุกข์ การเป็นทาสของกิเลสเป็นทุกข์ กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เราขัดเกลาออกให้มันหมดจด แม้แต่ความอยากจากในอาหาร การอยู่ การขบการฉันอยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง เราต้องพยายามคลายใจของเราออกให้รับรู้
กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร เขาทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว ตาก็ทำหน้าที่ดู หูก็ทำหน้าที่ฟัง ภาษาธรรมสักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้จักแต่ว่าฟัง เป็นลักษณะอย่างไร เราต้องรู้จักจำแนกแจกแจง แยกรูป รส กลิ่น เสียงออกจากใจของเรา ทวารทั้งหกเขาทำหน้าที่ของเขา เราไปจัดการที่ตัววิญญาณของเราไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย ไม่ให้เกิดกิเลส นั่นแหละเราก็จะได้รู้เท่าทันทุกสิ่งทุกอย่าง มองเห็นหนทางเดิน
เพียงแค่เวลานี้การเจริญสติก็มีน้อยนิด จะไปวิ่งหาตั้งแต่ธรรม จะเอาตั้งแต่บุญ ส่วนบุญนั้นมันได้อยู่แล้ว ในการทำบุญ ในการฝักใฝ่ ได้มากได้น้อยก็ขึ้นอยู่กับการกระทำของเรา ความสุขของใจของเรา แต่การชำระสะสางกิเลส การจัดการทำใจให้สะอาดให้บริสุทธิ์ การเจริญสติให้ต่อเนื่อง ลักษณะของการสร้างสติ ตรงนี้ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ยังไม่ชำนาญ ทั้งที่ใจก็อยากได้บุญ อยากจะอยู่กับบุญนั่นแหละ ก็ต้องพยายามศึกษา
เรารู้จักวิธี รู้จักแนวทางแล้ว เราก็ไปทำ ยืน เดิน นั่ง นอนให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องจัดการกับตัวของเรา ถ้าเราไม่ทำ ไม่จัดการ ไม่อบรมใจของเรา ไม่มีใครที่ที่จะอบรมให้เราได้หรอก นอกจากตัวของเราเอง อย่าไปมอง อย่าไปโทษคนโน้นเป็นอย่างนั้นคนนั้นเป็นอย่างนี้ มีตั้งแต่นิสัยของคนโง่เท่านั้นแหละ คนฉลาดเขาจะแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเอง หมั่นพร่ำสอนตัวเอง อะไรที่จะเป็นบุญก็รีบสร้างรีบทำ อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็รีบสร้างรีบทำ อะไรที่จะเป็นอกุศล ก็รู้จักรีบ รู้จักลด รู้จักละ แม้ตั้งแต่ความคิด แม้ตั้งแต่อารมณ์ หลวงพ่อก็เพียงแค่พูดให้ฟัง
สร้างความรู้สึกรับรู้กันให้ต่อเนื่องกันสักพักสักระยะหนึ่งนะ พากันไว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อเอานะ