หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 66
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 66
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 66
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 29 มิถุนายน 2558
มีความสุขกันทุกคน ตอนนี้ชีก็เยอะพระก็เยอะ กว่าจะเข้าพรรษาก็คงจะเยอะเพิ่มขึ้นมาอีก ไปปิดกั้นบุญกันไม่ได้ เรามาสร้างความรู้ตัวมาเจริญสติ มาทำความเข้าใจ ขยันหมั่นเพียร ยิ่งหมู่มากเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มความเสียสละให้มากเป็นทวีคูณ อยู่ในวัดนี่มันอยู่ในภาพรวมเป็นครอบครัวที่ใหญ่ ไม่ใช่ครอบครัวเล็ก ถ้าจะเป็นคนตระหนี่เหนียวแน่นมีความเห็นแก่ตัว มันก็ไปลําบากหมู่คณะ
ต่างคนต่างแก้ไขตัวเราเอง ปรับปรุงตัวเราเอง อะไรพอประหยัดได้ก็ประหยัด พอมัธยัสถ์ได้ก็มัธยัสถ์ อะไรพอทำประโยชน์ได้ก็ทำให้เกิดประโยชน์ อย่าไปฟุ่มเฟือย กว่าจะมีได้แต่ละชิ้นแต่ละอันนี่มันลําบาก ไม่ใช่ว่ามีมาอยู่ก่อน ให้รู้จักหารู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ส่วนรวมให้กว้างใหญ่ ประโยชน์ภายในใจของเราก็ขัดเกลากิเลสของเรา
แต่ละวันๆ มีแต่มืดกับแจ้ง ปีนี้แปดสองหน พรุ่งนี้ก็ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก็คงจะเป็นขึ้น 15 ค่ำ แปดเดือนหน้า เดือนที่จะถึง ถึงจะได้เข้าพรรษา เหลืออีกเดือนหนึ่ง อีก 1 เดือนก็จะได้เข้าพรรษา ปีนี้แปดสองหน แปดแรกแล้ง แปดที่สองก็คงจะไม่แล้ง ให้รีบทำปะรำกันให้เสร็จก่อนที่ฝนใหญ่จะมา ก่อนที่น้ำใหญ่จะมา พวกเรานั่นแหละได้อยู่ดีมีความสุขในการกระทำของพวกเรา คนอื่นมาก็ได้รับอานิสงส์จากพวกเรา ถ้าเราคิดว่าไม่ทำ ไปที่ไหนคนอื่นเขาคิดเหมือนกับเราก็ไปเจอตั้งแต่สิ่งที่ไม่ดี ถ้าเราทำเอาไว้ไปที่ไหนก็มีคนทำเอาไว้ให้เรา ก็จะมีความสุขในโลกปัจจุบัน ในโลกหน้าก็อย่าเพิ่งไปคำนึงถึง เอาโลกปัจจุบันนี้ให้ดีเสียก่อน
พระใหม่ก็พยายามฝึกหัดขัดเกลา สร้างความขยันหมั่นเพียร เจริญสติทุกอิริยาบถ ให้เราสอนเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา กว่าจะมีถึงวันนี้ได้ก็อาศัยอานิสงส์ของทุกคน ความเพียรของทุกคน คอยจัดระบบระเบียบให้มันถูกต้อง อย่าไปแหวกแหกหมู่แหกคณะ อย่าถือดีถือเด่น กูดีกูดัง กูดัง กูแย่งชิงกัน ไม่ดี มีอะไรเราก็ช่วยกัน ชีวิตนี้ถึงจะไม่ได้เสียเปล่า ทางโรงทานก็ทำ วันนี้วันจันทร์แม่นบ่ ไม่ค่อยจะจดจำอะไร จำตัวเองก็ไม่ค่อยจะได้เท่าไร ดูตั้งแต่ใจก็พอ มีอะไรก็ทำ ทำไปให้เกิดประโยชน์ ไปซื้อภูเขาไว้สักลูก ไปตั้งเป็นสำนักแม่ชี ไปปล่อยไว้บนภูได้เยอะ
พากันตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติสร้างความระลึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ฟังไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง การน้อม การมอง การหันหลังเข้าไปดู รู้ความรู้สึก สัมผัสของลมหายใจของเราที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆแล้วก็ผ่อน ลมหายใจออกมายาวๆ กายก็สบายขึ้นเยอะ ใจก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากใจ หรือว่าความคิดที่จะเกิดจากอาการของขันธ์ห้าก็จะหยุดนิ่ง ความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจก็ชัดเจน เวลาลมกระทบเข้าก็รู้ ลมกระทบออกก็รู้ เราไปมองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เราก็เลยไม่ได้ทรัพย์อันใหญ่ ทั้งที่ใจก็เป็นบุญ ใจก็อยากจะสงบ ใจก็อยากจะรู้ธรรม ความอยากของใจนั่นแหละ คือความไม่เที่ยง การเกิดนั่นแหละ ความคิดนั่นแหละ เพียงแค่ต้นเหตุ เขามาก่อร่างสร้างกายเนื้อเข้ามาปิดกั้นตัวเองเอาไว้อีกทีหนึ่ง
ท่านถึงให้มาเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ไปสังเกตไปอบรม จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด แล้วก็ตามดูความคิด เราก็จะเห็นเป็นกองเป็นขันธ์ ว่าที่ท่านว่าเป็นกอง กองความคิด กองอารมณ์ก็เป็นทุกข์ ความไม่เที่ยงที่เราสวดเราท่องกันทุกวัน ก็ท่อง เอามาสวดมาท่องก็เพื่อที่จะน้อมเข้าไปดู ให้รู้เห็นตามที่เราสวด เราท่องกันในการทำวัตรเช้าวัตรเย็นนั่นแหละ ก็อยู่ในกายก้อนนี้ทั้งนั้น
เรามาเจริญสติ แต่เวลานี้กําลังสติของเรามีไม่เพียงพอ อาจจะมีบ้างได้เป็นบางช่วง เวลาเราเกิดความโกรธ เรารู้จักควบคุม แต่เราไม่เคยวิเคราะห์ว่าใจเกิดอย่างไร ลักษณะหน้าตาอาการของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ทำไมพระพุทธองค์ท่านถึงบอกว่า มีตั้งแต่ความว่างเปล่า เรามองเห็นก็เป็นตัวเป็นตนนั่งอยู่อย่างนี้ ทำไมพระพุทธองค์ว่ามีตั้งแต่ความว่างเปล่า มีแต่ความไม่เที่ยง หลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเป็นได้อย่างไร เราต้องพยายามปฏิบัติตามแนวทางของท่าน ด้วยการเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ แล้วก็ด้วยการเจริญพรหมวิหารเข้าไปลดละกิเลส
ใจเกิดความอยาก เราก็ละความอยากด้วยการให้ด้วยการเอาออก ให้ระดับวัตถุทาน จนกระทั่งให้ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ลงลึกถึงฐานของใจ ก็จะมีตั้งแต่ความสุข อะไรคือบุญ อะไรคืออกุศล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ทุกเรื่องในชีวิต ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ลมหายใจเข้าออกยังอยู่หรือไม่ หายใจรู้เท่าทันหรือเปล่า การงานอะไรเป็นประโยชน์ ประโยชน์มากประโยชน์น้อย ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ให้รีบ ให้รีบๆ ทำ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง หมั่นพร่ำสอนใจ เจริญสติไปอบรมใจ พร่ำสอนใจ เป็นเพื่อนของใจ เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล จนใจคลายออกจากขันธ์ห้า ทำความเข้าใจละขันธ์ห้า แล้วก็มาละ ดับการเกิดของใจ ถ้าใจไม่เกิดมันก็ไม่มีกิเลส แต่กายของเรานี่ก้อนกิเลส ก้อนกรรม ก้อนทุกข์ เดี๋ยวก็หนาว เดี๋ยวก็ร้อน เดี๋ยวก็หิว สารพัดอย่าง มันก้อนทุกข์
เราทำความเข้าใจเสียขณะที่ยังมีลมหายใจ ยังมีกําลัง ตามแนวทางของพระพุทธเจ้า ท่านชี้เหตุชี้ผลเอาไว้ปฏิบัติให้ปรากฏขึ้นที่ใจ ท่านถึงบอกให้เชื่อ อย่าไปหลงงมงาย ต้องให้รู้อยู่ด้วยปัญญา ไปด้วยปัญญา สนุกสร้างบุญอยู่กับบุญ หลวงพ่อก็พูดเรื่องเก่า ของเก่ามาอย่างนี้แหละ เป็น 30 ปีแล้ว ไม่พูดเยอะ พูดเยอะมันโหรงเหรง เอาต้นเหตุที่จะเข้าให้ถึงให้เห็นเหตุเสียก่อน รู้เหตุรู้ผล มันก็จะไปจัดการกิเลสตัวเยอะๆ ได้เอง ถ้าไม่รู้ต้นเหตุแล้วจะไปเอาตั้งแต่ปลายเหตุมันก็เข้าไม่ถึง เราก็พยายามปรับสภาพใจของเราให้มีความอ่อนน้อมอ่อนโยน หนักแน่น มีความละอาย แล้วก็รู้จักสร้างกําลังใจด้วยสมถะ หนุนกําลังสติปัญญาเข้าไปทำความเข้าใจ เขาเรียกว่า ‘วิปัสสนา’ เราจะละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียดได้ จนกว่าจะเข้าถึงนิพพาน ทรงความว่างไว้เป็นอารมณ์ พูดมากก็เลอะเทอะ สู้ไม่พูดดีกว่า สอนตัวเองสบาย
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 29 มิถุนายน 2558
มีความสุขกันทุกคน ตอนนี้ชีก็เยอะพระก็เยอะ กว่าจะเข้าพรรษาก็คงจะเยอะเพิ่มขึ้นมาอีก ไปปิดกั้นบุญกันไม่ได้ เรามาสร้างความรู้ตัวมาเจริญสติ มาทำความเข้าใจ ขยันหมั่นเพียร ยิ่งหมู่มากเท่าไรก็ยิ่งเพิ่มความเสียสละให้มากเป็นทวีคูณ อยู่ในวัดนี่มันอยู่ในภาพรวมเป็นครอบครัวที่ใหญ่ ไม่ใช่ครอบครัวเล็ก ถ้าจะเป็นคนตระหนี่เหนียวแน่นมีความเห็นแก่ตัว มันก็ไปลําบากหมู่คณะ
ต่างคนต่างแก้ไขตัวเราเอง ปรับปรุงตัวเราเอง อะไรพอประหยัดได้ก็ประหยัด พอมัธยัสถ์ได้ก็มัธยัสถ์ อะไรพอทำประโยชน์ได้ก็ทำให้เกิดประโยชน์ อย่าไปฟุ่มเฟือย กว่าจะมีได้แต่ละชิ้นแต่ละอันนี่มันลําบาก ไม่ใช่ว่ามีมาอยู่ก่อน ให้รู้จักหารู้จักใช้ให้เกิดประโยชน์ ประโยชน์ตนประโยชน์ท่าน ประโยชน์ส่วนรวมให้กว้างใหญ่ ประโยชน์ภายในใจของเราก็ขัดเกลากิเลสของเรา
แต่ละวันๆ มีแต่มืดกับแจ้ง ปีนี้แปดสองหน พรุ่งนี้ก็ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก็คงจะเป็นขึ้น 15 ค่ำ แปดเดือนหน้า เดือนที่จะถึง ถึงจะได้เข้าพรรษา เหลืออีกเดือนหนึ่ง อีก 1 เดือนก็จะได้เข้าพรรษา ปีนี้แปดสองหน แปดแรกแล้ง แปดที่สองก็คงจะไม่แล้ง ให้รีบทำปะรำกันให้เสร็จก่อนที่ฝนใหญ่จะมา ก่อนที่น้ำใหญ่จะมา พวกเรานั่นแหละได้อยู่ดีมีความสุขในการกระทำของพวกเรา คนอื่นมาก็ได้รับอานิสงส์จากพวกเรา ถ้าเราคิดว่าไม่ทำ ไปที่ไหนคนอื่นเขาคิดเหมือนกับเราก็ไปเจอตั้งแต่สิ่งที่ไม่ดี ถ้าเราทำเอาไว้ไปที่ไหนก็มีคนทำเอาไว้ให้เรา ก็จะมีความสุขในโลกปัจจุบัน ในโลกหน้าก็อย่าเพิ่งไปคำนึงถึง เอาโลกปัจจุบันนี้ให้ดีเสียก่อน
พระใหม่ก็พยายามฝึกหัดขัดเกลา สร้างความขยันหมั่นเพียร เจริญสติทุกอิริยาบถ ให้เราสอนเรา แก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา กว่าจะมีถึงวันนี้ได้ก็อาศัยอานิสงส์ของทุกคน ความเพียรของทุกคน คอยจัดระบบระเบียบให้มันถูกต้อง อย่าไปแหวกแหกหมู่แหกคณะ อย่าถือดีถือเด่น กูดีกูดัง กูดัง กูแย่งชิงกัน ไม่ดี มีอะไรเราก็ช่วยกัน ชีวิตนี้ถึงจะไม่ได้เสียเปล่า ทางโรงทานก็ทำ วันนี้วันจันทร์แม่นบ่ ไม่ค่อยจะจดจำอะไร จำตัวเองก็ไม่ค่อยจะได้เท่าไร ดูตั้งแต่ใจก็พอ มีอะไรก็ทำ ทำไปให้เกิดประโยชน์ ไปซื้อภูเขาไว้สักลูก ไปตั้งเป็นสำนักแม่ชี ไปปล่อยไว้บนภูได้เยอะ
พากันตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติสร้างความระลึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ฟังไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง การน้อม การมอง การหันหลังเข้าไปดู รู้ความรู้สึก สัมผัสของลมหายใจของเราที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆแล้วก็ผ่อน ลมหายใจออกมายาวๆ กายก็สบายขึ้นเยอะ ใจก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ที่เกิดจากใจ หรือว่าความคิดที่จะเกิดจากอาการของขันธ์ห้าก็จะหยุดนิ่ง ความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจก็ชัดเจน เวลาลมกระทบเข้าก็รู้ ลมกระทบออกก็รู้ เราไปมองข้ามสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เราก็เลยไม่ได้ทรัพย์อันใหญ่ ทั้งที่ใจก็เป็นบุญ ใจก็อยากจะสงบ ใจก็อยากจะรู้ธรรม ความอยากของใจนั่นแหละ คือความไม่เที่ยง การเกิดนั่นแหละ ความคิดนั่นแหละ เพียงแค่ต้นเหตุ เขามาก่อร่างสร้างกายเนื้อเข้ามาปิดกั้นตัวเองเอาไว้อีกทีหนึ่ง
ท่านถึงให้มาเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ไปสังเกตไปอบรม จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด แล้วก็ตามดูความคิด เราก็จะเห็นเป็นกองเป็นขันธ์ ว่าที่ท่านว่าเป็นกอง กองความคิด กองอารมณ์ก็เป็นทุกข์ ความไม่เที่ยงที่เราสวดเราท่องกันทุกวัน ก็ท่อง เอามาสวดมาท่องก็เพื่อที่จะน้อมเข้าไปดู ให้รู้เห็นตามที่เราสวด เราท่องกันในการทำวัตรเช้าวัตรเย็นนั่นแหละ ก็อยู่ในกายก้อนนี้ทั้งนั้น
เรามาเจริญสติ แต่เวลานี้กําลังสติของเรามีไม่เพียงพอ อาจจะมีบ้างได้เป็นบางช่วง เวลาเราเกิดความโกรธ เรารู้จักควบคุม แต่เราไม่เคยวิเคราะห์ว่าใจเกิดอย่างไร ลักษณะหน้าตาอาการของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ทำไมพระพุทธองค์ท่านถึงบอกว่า มีตั้งแต่ความว่างเปล่า เรามองเห็นก็เป็นตัวเป็นตนนั่งอยู่อย่างนี้ ทำไมพระพุทธองค์ว่ามีตั้งแต่ความว่างเปล่า มีแต่ความไม่เที่ยง หลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันเป็นได้อย่างไร เราต้องพยายามปฏิบัติตามแนวทางของท่าน ด้วยการเจริญสติเข้าไปวิเคราะห์ แล้วก็ด้วยการเจริญพรหมวิหารเข้าไปลดละกิเลส
ใจเกิดความอยาก เราก็ละความอยากด้วยการให้ด้วยการเอาออก ให้ระดับวัตถุทาน จนกระทั่งให้ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ลงลึกถึงฐานของใจ ก็จะมีตั้งแต่ความสุข อะไรคือบุญ อะไรคืออกุศล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ทุกเรื่องในชีวิต ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ลมหายใจเข้าออกยังอยู่หรือไม่ หายใจรู้เท่าทันหรือเปล่า การงานอะไรเป็นประโยชน์ ประโยชน์มากประโยชน์น้อย ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล ให้รีบ ให้รีบๆ ทำ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง หมั่นพร่ำสอนใจ เจริญสติไปอบรมใจ พร่ำสอนใจ เป็นเพื่อนของใจ เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล จนใจคลายออกจากขันธ์ห้า ทำความเข้าใจละขันธ์ห้า แล้วก็มาละ ดับการเกิดของใจ ถ้าใจไม่เกิดมันก็ไม่มีกิเลส แต่กายของเรานี่ก้อนกิเลส ก้อนกรรม ก้อนทุกข์ เดี๋ยวก็หนาว เดี๋ยวก็ร้อน เดี๋ยวก็หิว สารพัดอย่าง มันก้อนทุกข์
เราทำความเข้าใจเสียขณะที่ยังมีลมหายใจ ยังมีกําลัง ตามแนวทางของพระพุทธเจ้า ท่านชี้เหตุชี้ผลเอาไว้ปฏิบัติให้ปรากฏขึ้นที่ใจ ท่านถึงบอกให้เชื่อ อย่าไปหลงงมงาย ต้องให้รู้อยู่ด้วยปัญญา ไปด้วยปัญญา สนุกสร้างบุญอยู่กับบุญ หลวงพ่อก็พูดเรื่องเก่า ของเก่ามาอย่างนี้แหละ เป็น 30 ปีแล้ว ไม่พูดเยอะ พูดเยอะมันโหรงเหรง เอาต้นเหตุที่จะเข้าให้ถึงให้เห็นเหตุเสียก่อน รู้เหตุรู้ผล มันก็จะไปจัดการกิเลสตัวเยอะๆ ได้เอง ถ้าไม่รู้ต้นเหตุแล้วจะไปเอาตั้งแต่ปลายเหตุมันก็เข้าไม่ถึง เราก็พยายามปรับสภาพใจของเราให้มีความอ่อนน้อมอ่อนโยน หนักแน่น มีความละอาย แล้วก็รู้จักสร้างกําลังใจด้วยสมถะ หนุนกําลังสติปัญญาเข้าไปทำความเข้าใจ เขาเรียกว่า ‘วิปัสสนา’ เราจะละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียดได้ จนกว่าจะเข้าถึงนิพพาน ทรงความว่างไว้เป็นอารมณ์ พูดมากก็เลอะเทอะ สู้ไม่พูดดีกว่า สอนตัวเองสบาย
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ