หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 55
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 55
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 55
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2558
มีความสุขกันทุกคน ดูดีๆ นะ สามเณร พระ ชี พิจารณาปฏิสังขาโยในการกะประมาณในการขบฉันของตัวเราเอง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่รู้กายรู้ใจ ทำความเข้าใจ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้งอย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เป็นเรื่องของเราทุกคนที่จะต้องศึกษาชีวิตของเรา แล้วก็รู้จักดำเนิน เดิน ตื่นขึ้นมาแล้วใจเป็นอย่างไร จะลุก จะก้าว จะเดิน ความรู้ตัว ตัวไหนเป็นตัวสั่ง ตัวใจหรือว่าตัวปัญญา ความคิดเกิดอย่างไร ปัญญาที่จะเอาไปใช้ ไม่ใช่ว่าจะไปผสมปนเปกัน ปัญญาส่วนบนส่วนสมองเราต้องฝึก เราต้องสร้างเข้าไปอบรมใจ
ปัญญาที่เกิดจากใจนี้มีมาแต่เดิม เขาเรียกว่า ปัญญาโลกีย์ ใจยังเกิดยังหลงอยู่ ยังมาสร้างขันธ์ห้ามาสร้างกายเนื้อก็ยังปรุงแต่งส่งต่อไปอีก เราก็ต้องมาเจริญสติเจริญปัญญาเข้าไปอบรม ไปวิเคราะห์ ไปสำรวจ ไปแยก ไปทำความเข้าใจ เรารู้อยู่ในภาพรวม เรารู้อยู่ทั้งก้อน เขารวมกันอยู่แต่เราไม่เห็นในสิ่งที่เขารวมกันอยู่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์เป็นชิ้นเป็นอันได้อย่างไร นี่แหละเขาถึงว่ามันหลงอยู่ หลงอยู่ในขันธ์ห้า อยู่ในกายเนื้อ
เราต้องรู้ รู้ในความหลง แยกให้ได้อยู่ในกายของเรา ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองของรูป กองของนาม กองของวิญญาณ กองของความคิด ที่พระพุทธองค์ท่านได้แจงออกมาให้เห็น แต่พวกเราไม่เห็น เห็นอยู่ในภาพรวมตั้งแต่ว่าเป็นตัวเรา เป็นตนของเรา ความคิดก็รู้อยู่ว่าเราคิด วิ่งไปตามความคิด เราไม่ได้แยกออกในสิ่งที่เขารวมกันเหมือนกับอาหารจานด่วน อันนี้ก็ข้าว อันนี้ก็ปลา อันนี้ก็ผัดรวมกัน แต่เราต้องแยกออกว่ามีอะไรบ้าง แต่เขารวมกันเป็นจานเดียวกัน กายของเราก็เหมือนกัน
แต่ส่วนมากก็ทำบุญในภาพรวม เอาในภาพรวมก็ยังดี ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ โอกาสสร้างบุญสร้างบารมี สำคัญทุกลมหายใจเข้าออก ในการสร้างคุณงามความดี จนกระทั่งไล่เรียงจัดระบบระเบียบของความคิดของอารมณ์ จนกระทั่งถึงเวลาจะรับประทานข้าวปลาอาหาร ถึงเวลาขบเวลาฉัน เราก็ต้องดู รู้ว่ากายของเราเกิดความหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ส่วนมากจะไปมองข้าม เราต้องพยายามแก้ไขความเกิดตั้งแต่ตัวนิดเดียว ตั้งแต่วิญญาณเกิด การก่อตัว เราดับความเกิดของวิญญาณ เขาก็ไม่เกิด เราแยกวิญญาณออกจากความคิด ตามค้นคว้าให้หมดทุกเรื่อง เราก็จะเข้าใจในชีวิตของเรา จนกว่าจะหมดลมหายใจ
เราได้สร้างบุญบารมีกันมากมาย แต่ละวันๆ ผ่านเลยไป เราอย่าปล่อยโอกาสทิ้ง เราอย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ถ้าเรารู้ใจเรา เรารู้ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ใจเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ นะ เขาเกิดมาตั้งนาน เขาหลงมาตั้งนาน เขาก็หาเหตุหาผลมาโต้แย้ง แต่เวลานี้กําลังสติปัญญาของเรามีน้อยก็เลยเอาไปสู้เขาไม่ค่อยได้ ก็เลยเอาตั้งแต่สร้างบุญ สร้างกุศล สร้างบารมี ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ต้องพยายามทำ โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด หลวงพ่อพาทำพาสร้างบุญ ญาติโยมท่านได้ปรารถนาอยากจะมาร่วมบุญด้วยก็มา เราก็อย่าพากันเกียจคร้านจงพากันขยันหมั่นเพียร เรามาฝึกมาศึกษาว่าจิตใจของเราเป็นอย่างไร มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีพรหมวิหาร มีความเมตตา เราก็จะได้ดูเรา
บางคนมาฝึกแทนที่จะขยันกลับเป็นคนเกียจคร้านเลยก็มี ขวางหูขวางตาก็มี ทำอะไรไม่เป็นก็มี แถมสร้างปัญหาให้อีกก็มี บางคนบางทีก็มาทะเลาะเบาะแว้งกันไปให้เราดูให้เราเห็นก็มี เพราะว่าต่างคนต่างสร้างสะสมกิเลสมาต่างกัน บางทีก็เอาอัตตาเข้าห้ำหั่นกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน ตีกันทะเลาะเบาะแว้งกันแล้วก็ไปก็มี เราอยู่มาตั้ง 30 กว่าปี เราก็มองดูมองเห็นอยู่เขาให้มาละทิฏฐิ ละมานะ ละอัตตาตัวตน ละกิเลส อะไรที่จะเป็นประโยชน์ก็ช่วยกันทำ คนเข้ามาวัดต้องเป็นคนมีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ ชนะตัวเรา แล้วชนะหมดทุกอย่าง บางคนมาก็สะสมตั้งแต่ความโลภ เอาตั้งแต่ความอยาก ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งโลภ สารพัดอย่าง เห็นแล้วก็น่าสงสารคนประเภทนี้
บางคนก็มาดี สมมติก็ไม่ได้ลําบากวิมุตติก็ไม่ได้ลําบากก็ไปได้เร็วได้ไว ก็มาศึกษามาทำความเข้าใจ ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ จะมีจะเป็นก็อยู่ด้วยปัญญา เอาด้วยปัญญา บริหารด้วยปัญญา ทำหน้าที่สมมติให้ดี ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง สู่สังคม สู่สมมติ ขัดเกลาภายในของเราให้จบ แล้วก็ล้นออกไปสู่ประโยชน์ภายนอก ก็ได้ตั้งแต่ประโยชน์ ได้ตั้งแต่อานิสงส์ อานิสงส์ผลบุญผลทาน ทานเพื่ออะไร เพื่อให้ เพื่อเอาออก เพื่อขัดเพื่อเกลา พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร เราต้องศึกษาให้ละเอียด ท่านสอนเรื่องชีวิตของเรา คําว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของพระพุทธองค์เป็นอย่างไร อัตตาอนัตตาเป็นลักษณะอย่างไร
หลวงพ่อถึงบอกว่าเรารู้อยู่ในภาพรวม แต่เราไม่เห็นอยู่ในภาพรวม เราแยกไม่ได้ในภาพรวมว่าอะไรเป็นอะไร ก็เลยสร้างบุญสร้างอานิสงส์ สร้างบารมีกันอยู่ในระดับหนึ่ง คนที่จะถึงจุดหมายปลายทางได้ต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรขัดเกลากิเลสเป็นเลิศทุกอิริยาบถ ความอยากแม้แต่นิดเดียวยังไม่ให้เกิดขึ้นที่ใจ ดับความเกิดของใจ ใจไม่เกิด มันจะมีความอยากได้อย่างไร สติปัญญาไปเกิดแทน ทำหน้าที่แทน กลับกันให้ได้ เปลี่ยนปัญญาโลกให้เป็นปัญญาธรรม เอาปัญญาธรรมไปใช้ จะมี จะเป็น จะเอา จะมีมากมีน้อยก็เป็นเรื่องของปัญญา ทำมากทำน้อยเป็นเรื่องของปัญญา ก็ต้องพยายามกัน
สามเณรก็เยอะน่ารัก วางภาระวางบ้านวางช่อง วางพ่อวางแม่ ได้มาเท่านี้ก็เก่ง มาช่วยกันช่วยโน่นช่วยนี่ ถึงจะเดินปัญญาไม่ได้ นี่แหละเป็นการวางรากฐานบุญไว้ให้กับเด็ก โตขึ้นไป กำลังสติปัญญาพัฒนาขึ้นไป ก็จะเดินปัญญา แยกรูปแยกนาม ละกิเลสในขั้นสูงได้ ไม่ต้องลําบาก
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่ง ดีกว่าไม่ได้ทำ วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย แล้วก็น้อมวิธีการแนวทาง ลองสูดลมหายใจยาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ อย่าไปเพ่งลมหายใจ อย่าเอาใจไปจดจ่อที่ปลายจมูก อย่าเอาสมองไปจดจ่อที่ปลายจมูก เราพยายามสูดลมหายใจยาวๆ การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาว สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกนั้นแหละ เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ทั้งเวลาลมเข้าลมออก เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่
อย่าไปเกียจคร้านในการเจริญสติตรงนี้ ถ้าเราฝึกให้เกิดความเคยชิน ความรู้ตัวของเราก็จะต่อเนื่องเชื่อมโยงจากหนึ่งครั้ง 2 ครั้ง เป็น 10 เป็น 20 เป็น 100 เป็น 1,000 จนเป็นอัตโนมัติในการรู้ลมหายใจเข้าออก จากกําลังสติที่เราสร้างขึ้นมา เราก็จะรู้ลึกลงไปในกายของเราอีกว่า ใจปกติเป็นอย่างไร เวลาใจก่อตัวปรุงแต่งความคิดเขาเกิดอาการลักษณะอย่างไร บางทีความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ใจกับความคิดเขาไปรวมกันได้อย่างไร นั่นแหละเราอาจจะรู้ว่าเราคิด เขารวมกันไปแล้ว เขาเกิดไปแล้ว เรายังไม่เห็นอาการตั้งแต่เริ่มเกิด แล้วก็รู้จักควบคุม รู้จักดับ เขาก็เกิดๆ ดับๆ นั่นแหละเขาหลงอยู่ในความเกิดตรงนั้น
เราถึงได้มาเจริญสติเข้าไปอบรมใจ เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล ทำความเข้าใจทุกเรื่องในชีวิตของเรา เราถึงจะรู้จักจุดปล่อยจุดวาง ใจอยากจะปล่อย ใจอยากจะวาง เขาไม่เห็นจุดปล่อยจุดวางเขาก็วางไม่ได้ เรารู้อยู่แต่เราไม่ดับไม่ละ ใจของเราก็ไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ เราทำความเข้าใจบ่อยๆ ขัดเกลาบ่อยๆ อยู่ด้วยปัญญา ทำด้วยปัญญา บริหารด้วยปัญญา มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน เอาทุกอย่าง ทำทุกอย่างในสิ่งที่จะดำเนินให้ถึงความบริสุทธิ์ของใจ
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา กายทำหน้าที่อย่างไร ตาทำหน้าที่อย่างไร หูทำหน้าที่อย่างไร ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างไร แต่เวลานี้กําลังสติเพียงแค่เราสร้างให้ต่อเนื่องก็ทั้งยาก จะเอาไปใช้การใช้งานได้อย่างไร ทั้งที่ใจของเราก็เป็นบุญ ใจก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรม อยากจะดับทุกข์ บางทีเขาก็มีความสุข บางทีเขาก็มีความทุกข์ กายส่วนรูปนี้เป็นก้อนทุกข์อยู่แล้ว
ถ้าบุคคลมีบุญมีอานิสงส์ฟังนิดเดียว กายวิเวกเป็นอย่างนี้ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การแยกรูปแยกนามเป็นอย่างนี้ การละการดับเป็นอย่างนี้ ไม่จำเป็นต้องไปถามใครเลย รู้ไม่เท่าทันก็หยุดเอาไว้ เอาใหม่เริ่มใหม่ หนุนกําลังสติปัญญาไปใช้ จนหมดความสงสัย หมดความลังเล มีตั้งแต่จะก้าวเดินให้ถึงจุดหมายปลายทางกันเท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามนะ
สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2558
มีความสุขกันทุกคน ดูดีๆ นะ สามเณร พระ ชี พิจารณาปฏิสังขาโยในการกะประมาณในการขบฉันของตัวเราเอง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่รู้กายรู้ใจ ทำความเข้าใจ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้งอย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เป็นเรื่องของเราทุกคนที่จะต้องศึกษาชีวิตของเรา แล้วก็รู้จักดำเนิน เดิน ตื่นขึ้นมาแล้วใจเป็นอย่างไร จะลุก จะก้าว จะเดิน ความรู้ตัว ตัวไหนเป็นตัวสั่ง ตัวใจหรือว่าตัวปัญญา ความคิดเกิดอย่างไร ปัญญาที่จะเอาไปใช้ ไม่ใช่ว่าจะไปผสมปนเปกัน ปัญญาส่วนบนส่วนสมองเราต้องฝึก เราต้องสร้างเข้าไปอบรมใจ
ปัญญาที่เกิดจากใจนี้มีมาแต่เดิม เขาเรียกว่า ปัญญาโลกีย์ ใจยังเกิดยังหลงอยู่ ยังมาสร้างขันธ์ห้ามาสร้างกายเนื้อก็ยังปรุงแต่งส่งต่อไปอีก เราก็ต้องมาเจริญสติเจริญปัญญาเข้าไปอบรม ไปวิเคราะห์ ไปสำรวจ ไปแยก ไปทำความเข้าใจ เรารู้อยู่ในภาพรวม เรารู้อยู่ทั้งก้อน เขารวมกันอยู่แต่เราไม่เห็นในสิ่งที่เขารวมกันอยู่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์เป็นชิ้นเป็นอันได้อย่างไร นี่แหละเขาถึงว่ามันหลงอยู่ หลงอยู่ในขันธ์ห้า อยู่ในกายเนื้อ
เราต้องรู้ รู้ในความหลง แยกให้ได้อยู่ในกายของเรา ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองของรูป กองของนาม กองของวิญญาณ กองของความคิด ที่พระพุทธองค์ท่านได้แจงออกมาให้เห็น แต่พวกเราไม่เห็น เห็นอยู่ในภาพรวมตั้งแต่ว่าเป็นตัวเรา เป็นตนของเรา ความคิดก็รู้อยู่ว่าเราคิด วิ่งไปตามความคิด เราไม่ได้แยกออกในสิ่งที่เขารวมกันเหมือนกับอาหารจานด่วน อันนี้ก็ข้าว อันนี้ก็ปลา อันนี้ก็ผัดรวมกัน แต่เราต้องแยกออกว่ามีอะไรบ้าง แต่เขารวมกันเป็นจานเดียวกัน กายของเราก็เหมือนกัน
แต่ส่วนมากก็ทำบุญในภาพรวม เอาในภาพรวมก็ยังดี ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ โอกาสสร้างบุญสร้างบารมี สำคัญทุกลมหายใจเข้าออก ในการสร้างคุณงามความดี จนกระทั่งไล่เรียงจัดระบบระเบียบของความคิดของอารมณ์ จนกระทั่งถึงเวลาจะรับประทานข้าวปลาอาหาร ถึงเวลาขบเวลาฉัน เราก็ต้องดู รู้ว่ากายของเราเกิดความหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก ส่วนมากจะไปมองข้าม เราต้องพยายามแก้ไขความเกิดตั้งแต่ตัวนิดเดียว ตั้งแต่วิญญาณเกิด การก่อตัว เราดับความเกิดของวิญญาณ เขาก็ไม่เกิด เราแยกวิญญาณออกจากความคิด ตามค้นคว้าให้หมดทุกเรื่อง เราก็จะเข้าใจในชีวิตของเรา จนกว่าจะหมดลมหายใจ
เราได้สร้างบุญบารมีกันมากมาย แต่ละวันๆ ผ่านเลยไป เราอย่าปล่อยโอกาสทิ้ง เราอย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ถ้าเรารู้ใจเรา เรารู้ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ใจเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ นะ เขาเกิดมาตั้งนาน เขาหลงมาตั้งนาน เขาก็หาเหตุหาผลมาโต้แย้ง แต่เวลานี้กําลังสติปัญญาของเรามีน้อยก็เลยเอาไปสู้เขาไม่ค่อยได้ ก็เลยเอาตั้งแต่สร้างบุญ สร้างกุศล สร้างบารมี ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ต้องพยายามทำ โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด หลวงพ่อพาทำพาสร้างบุญ ญาติโยมท่านได้ปรารถนาอยากจะมาร่วมบุญด้วยก็มา เราก็อย่าพากันเกียจคร้านจงพากันขยันหมั่นเพียร เรามาฝึกมาศึกษาว่าจิตใจของเราเป็นอย่างไร มีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีพรหมวิหาร มีความเมตตา เราก็จะได้ดูเรา
บางคนมาฝึกแทนที่จะขยันกลับเป็นคนเกียจคร้านเลยก็มี ขวางหูขวางตาก็มี ทำอะไรไม่เป็นก็มี แถมสร้างปัญหาให้อีกก็มี บางคนบางทีก็มาทะเลาะเบาะแว้งกันไปให้เราดูให้เราเห็นก็มี เพราะว่าต่างคนต่างสร้างสะสมกิเลสมาต่างกัน บางทีก็เอาอัตตาเข้าห้ำหั่นกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน ตีกันทะเลาะเบาะแว้งกันแล้วก็ไปก็มี เราอยู่มาตั้ง 30 กว่าปี เราก็มองดูมองเห็นอยู่เขาให้มาละทิฏฐิ ละมานะ ละอัตตาตัวตน ละกิเลส อะไรที่จะเป็นประโยชน์ก็ช่วยกันทำ คนเข้ามาวัดต้องเป็นคนมีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ ชนะตัวเรา แล้วชนะหมดทุกอย่าง บางคนมาก็สะสมตั้งแต่ความโลภ เอาตั้งแต่ความอยาก ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งโลภ สารพัดอย่าง เห็นแล้วก็น่าสงสารคนประเภทนี้
บางคนก็มาดี สมมติก็ไม่ได้ลําบากวิมุตติก็ไม่ได้ลําบากก็ไปได้เร็วได้ไว ก็มาศึกษามาทำความเข้าใจ ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ จะมีจะเป็นก็อยู่ด้วยปัญญา เอาด้วยปัญญา บริหารด้วยปัญญา ทำหน้าที่สมมติให้ดี ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง สู่สังคม สู่สมมติ ขัดเกลาภายในของเราให้จบ แล้วก็ล้นออกไปสู่ประโยชน์ภายนอก ก็ได้ตั้งแต่ประโยชน์ ได้ตั้งแต่อานิสงส์ อานิสงส์ผลบุญผลทาน ทานเพื่ออะไร เพื่อให้ เพื่อเอาออก เพื่อขัดเพื่อเกลา พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร เราต้องศึกษาให้ละเอียด ท่านสอนเรื่องชีวิตของเรา คําว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของพระพุทธองค์เป็นอย่างไร อัตตาอนัตตาเป็นลักษณะอย่างไร
หลวงพ่อถึงบอกว่าเรารู้อยู่ในภาพรวม แต่เราไม่เห็นอยู่ในภาพรวม เราแยกไม่ได้ในภาพรวมว่าอะไรเป็นอะไร ก็เลยสร้างบุญสร้างอานิสงส์ สร้างบารมีกันอยู่ในระดับหนึ่ง คนที่จะถึงจุดหมายปลายทางได้ต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรขัดเกลากิเลสเป็นเลิศทุกอิริยาบถ ความอยากแม้แต่นิดเดียวยังไม่ให้เกิดขึ้นที่ใจ ดับความเกิดของใจ ใจไม่เกิด มันจะมีความอยากได้อย่างไร สติปัญญาไปเกิดแทน ทำหน้าที่แทน กลับกันให้ได้ เปลี่ยนปัญญาโลกให้เป็นปัญญาธรรม เอาปัญญาธรรมไปใช้ จะมี จะเป็น จะเอา จะมีมากมีน้อยก็เป็นเรื่องของปัญญา ทำมากทำน้อยเป็นเรื่องของปัญญา ก็ต้องพยายามกัน
สามเณรก็เยอะน่ารัก วางภาระวางบ้านวางช่อง วางพ่อวางแม่ ได้มาเท่านี้ก็เก่ง มาช่วยกันช่วยโน่นช่วยนี่ ถึงจะเดินปัญญาไม่ได้ นี่แหละเป็นการวางรากฐานบุญไว้ให้กับเด็ก โตขึ้นไป กำลังสติปัญญาพัฒนาขึ้นไป ก็จะเดินปัญญา แยกรูปแยกนาม ละกิเลสในขั้นสูงได้ ไม่ต้องลําบาก
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่ง ดีกว่าไม่ได้ทำ วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย แล้วก็น้อมวิธีการแนวทาง ลองสูดลมหายใจยาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ อย่าไปเพ่งลมหายใจ อย่าเอาใจไปจดจ่อที่ปลายจมูก อย่าเอาสมองไปจดจ่อที่ปลายจมูก เราพยายามสูดลมหายใจยาวๆ การสูดลมหายใจยาว ผ่อนลมหายใจยาว สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกนั้นแหละ เขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ทั้งเวลาลมเข้าลมออก เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่
อย่าไปเกียจคร้านในการเจริญสติตรงนี้ ถ้าเราฝึกให้เกิดความเคยชิน ความรู้ตัวของเราก็จะต่อเนื่องเชื่อมโยงจากหนึ่งครั้ง 2 ครั้ง เป็น 10 เป็น 20 เป็น 100 เป็น 1,000 จนเป็นอัตโนมัติในการรู้ลมหายใจเข้าออก จากกําลังสติที่เราสร้างขึ้นมา เราก็จะรู้ลึกลงไปในกายของเราอีกว่า ใจปกติเป็นอย่างไร เวลาใจก่อตัวปรุงแต่งความคิดเขาเกิดอาการลักษณะอย่างไร บางทีความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ใจกับความคิดเขาไปรวมกันได้อย่างไร นั่นแหละเราอาจจะรู้ว่าเราคิด เขารวมกันไปแล้ว เขาเกิดไปแล้ว เรายังไม่เห็นอาการตั้งแต่เริ่มเกิด แล้วก็รู้จักควบคุม รู้จักดับ เขาก็เกิดๆ ดับๆ นั่นแหละเขาหลงอยู่ในความเกิดตรงนั้น
เราถึงได้มาเจริญสติเข้าไปอบรมใจ เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล ทำความเข้าใจทุกเรื่องในชีวิตของเรา เราถึงจะรู้จักจุดปล่อยจุดวาง ใจอยากจะปล่อย ใจอยากจะวาง เขาไม่เห็นจุดปล่อยจุดวางเขาก็วางไม่ได้ เรารู้อยู่แต่เราไม่ดับไม่ละ ใจของเราก็ไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ เราทำความเข้าใจบ่อยๆ ขัดเกลาบ่อยๆ อยู่ด้วยปัญญา ทำด้วยปัญญา บริหารด้วยปัญญา มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน เอาทุกอย่าง ทำทุกอย่างในสิ่งที่จะดำเนินให้ถึงความบริสุทธิ์ของใจ
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา กายทำหน้าที่อย่างไร ตาทำหน้าที่อย่างไร หูทำหน้าที่อย่างไร ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างไร แต่เวลานี้กําลังสติเพียงแค่เราสร้างให้ต่อเนื่องก็ทั้งยาก จะเอาไปใช้การใช้งานได้อย่างไร ทั้งที่ใจของเราก็เป็นบุญ ใจก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรม อยากจะดับทุกข์ บางทีเขาก็มีความสุข บางทีเขาก็มีความทุกข์ กายส่วนรูปนี้เป็นก้อนทุกข์อยู่แล้ว
ถ้าบุคคลมีบุญมีอานิสงส์ฟังนิดเดียว กายวิเวกเป็นอย่างนี้ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ การแยกรูปแยกนามเป็นอย่างนี้ การละการดับเป็นอย่างนี้ ไม่จำเป็นต้องไปถามใครเลย รู้ไม่เท่าทันก็หยุดเอาไว้ เอาใหม่เริ่มใหม่ หนุนกําลังสติปัญญาไปใช้ จนหมดความสงสัย หมดความลังเล มีตั้งแต่จะก้าวเดินให้ถึงจุดหมายปลายทางกันเท่านั้นเอง ก็ต้องพยายามนะ
สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถนะ