หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 54
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 54
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 54
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
มีความสุขกันทุกคน วันนี้อากาศแจ่ม เมื่อคืนนี้ฝนตกอากาศก็เลยเย็น ใจของคนก็เลยเย็นลงไปเยอะ อากาศร้อนๆ มีความสุขในการทำบุญในการให้ทาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็รีบมาวัดตั้งแต่เช้า มาทำบุญ รีบใส่บาตรตักบาตร ตื่นขึ้นมาต้องให้รู้ลมหายใจก่อน รู้ใจก่อน ก่อนที่จะมาวัดก่อนที่จะมาทำบุญ ว่าขณะนี้ใจของเราปกติ จะไปไหนมาไหนใจรับรู้อยู่ภายใน ปัญญาพากายไป อะไรควรทำก่อน อะไรควรทำหลัง ตื่นขึ้นมา รู้ลมหายใจเข้าออกปุ๊บ รู้ความปกติของใจปั๊บ จะลุก จะก้าว จะเดิน เข้าห้องส้วมห้องน้ำ ใจยังนิ่งอยู่ นั่นแหละเขาเรียกว่ามีสติมีปัญญาคอยดูแลใจ ปัญญาเป็นตัวสั่งเข้าห้องน้ำ ทำธุระปะปังต่างๆ ใจยังปกติอยู่ ลุกขึ้นก้าวแรก ความรู้สึกอยู่ที่การเดิน การก่อตัวของใจก็จะรู้ทัน เพราะว่าเรามีสติตั้งแต่ตื่นขึ้นมา
ส่วนมากเราไม่ค่อยจะฝึกความรู้ตัว มีแต่ความคิดเก่าๆ ไปก่อน ความอยาก ความเกิด ความคิด มีความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ใจปรุงแต่งความคิด มีอยู่สองตัวหลักนี่แหละ บางทีตัวปัญญาตัวสติผสมโรงไปด้วยกัน ก็เลยแยกไม่ได้ อาจจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ อยู่ในบุญในกุศล บุญเราก็สร้าง ไม่ใช่ว่าไม่ให้สร้าง ไม่ให้ทำ ยิ่งทำเยอะ ยิ่งขยันหมั่นเพียรเยอะ สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างบารมีให้มีให้เกิดขึ้นที่กายที่ใจของเรา
พระเราชีเราก็เหมือนกัน สามเณรก็ขยันหมั่นเพียร ชีก็ขยันหมั่นเพียร พยายามดูแลดีๆ นะสามเณร ใจของเราเกิดความอยากก็รีบหยุดนะ กะประมาณในการขบฉัน ถ้าอยากแล้วให้ผ่านเลยไปไม่ต้องเอา ใจของเราจะเกิดความอาลัยอาวรณ์หรือไม่ เราก็ต้องพยายามควบคุม ได้มาฝึกตั้งแต่ตัวเล็กๆ นี่แหละดี เอาตั้งแต่เล็กๆ บุญก็มาจากพ่อจากแม่ อยากให้ลูกได้อานิสงส์ใหญ่ ก็เอามาฝาก มาบวชสามเณร มาบวชเป็นเณรน้อย ออกจากบ้าน ออกจากอกพ่ออกแม่ นั่นแหละตัดความกังวลได้ระดับหนึ่งโดยที่ไม่รู้ว่าอันนี้แหละ ละความกังวล มาฝึกหัดช่วยเหลือตัวเอง ครูบาอาจารย์ก็ช่วยแนะนํา ช่วยพร่ำสอน ทำโน่นบ้างทำนี่บ้าง ความเป็นระเบียบ การขัดการเกลา ความรับผิดชอบ ถึงจะไม่เข้าใจในความหมาย สิ่งที่พาทำพาสร้างนี่แหละ ครูบาอาจารย์พาดูแลนี่แหละ จะส่งผลถึงวันข้างหน้า
เมื่อกําลังสติปัญญาแก่กล้าก็จะเห็นคุณค่าของการมาฝึก การห่างจากพ่อจากแม่เป็นลักษณะอย่างนี้ การดับความคิด ดับความกังวล ไม่กังวลเรื่องบ้านเรื่องช่อง เรื่องที่พักที่อาศัย ที่อยู่ที่กิน สิ่งที่เคยอยู่ก็วางมา ออกจากบ้านมาบวช มาเปลี่ยนเพศเปลี่ยนภาวะเป็นสามเณร เป็นพระ เป็นชี ก็ตัดความกังวลได้ระดับหนึ่ง มาช่วยการช่วยงานที่วัด ที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง เพื่อยังประโยชน์ นั่นแหละคือความเสียสละในระดับหนึ่ง ก็จะไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ
กําลังสติปัญญามีมาก การเจริญวัยของสติปัญญาเพิ่มพูนขึ้น การปล่อย การวาง การอนุเคราะห์ การช่วยเหลือ พรหมวิหาร ความเมตตา ทิฏฐิมานะ ความเห็นผิดๆ ก็จะคลายออกไป ใจก็จะปล่อยก็จะวางได้เร็วได้ไว ไม่ใช่ว่าจะปล่อยจะวางได้เลย ต้องสะสมคุณงามความดี ความเสียสละ ความอดทนอดกลั้น การให้ การเอาออก การอภัยทาน อโหสิกรรม ความขยันหมั่นเพียร ขยันหมั่นเพียรทั้งสมมติภายนอก ทั้งวิมุตติภายใน ขยันหมั่นเพียรในการให้ ในการเอาออก ในการช่วยเหลือ มีให้เป็น ทำให้เป็น มีได้ ใช้ได้ ใช้ด้วยสติ ใช้ด้วยปัญญา ก็ต้องพยายามกันนะ
มีโอกาสเราก็ช่วยกันทุกอย่าง อย่าไปเกียจคร้าน อย่าไปงอมืองอเท้า สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ การกระทำของเราก็ต้องถึงพร้อม นั่นแหละหลักของการปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมทำอะไรก็ไม่เป็น อย่างนั้นใช้การไม่ได้ คนปฏิบัติ คนฝึก คนวัดต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียร ไม่ว่าอยู่ที่บ้าน ที่ไร่ ที่นา เป็นคนขยันหมั่นเพียร หมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์ นั่นแหละเขาถึงเรียกว่าปฏิบัติ การควบคุมกาย ควบคุมวาจา ควบคุมใจ การกระทำให้ถึงพร้อม บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ถึงเป็นบุคคลที่ปฏิบัติ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา
หลวงพ่อขอขอบใจทุกคน
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเราให้เชื่อมโยงให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง ถึงเราจะทำไม่ได้ตลอดทำไม่ได้ต่อเนื่อง ก็ขอให้ทำขณะที่กําลังนั่งฟังอยู่นี่แหละ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราชัดเจน เวลาลมหายใจเข้าหายใจออก นี่แหละที่ภาษาสมมติเขาเรียกว่า ‘สติ’
เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ถ้าต่อเนื่องเชื่อมโยงเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ เพียงแค่สร้างให้ต่อเนื่อง ยังเอาไปใช้งานไม่ได้ เราต้องพยายามสร้างให้ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่จนเป็นอัตโนมัติ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก หายใจอย่างไรถึงเป็นธรรมชาติ หายใจอย่างไรถึงไม่อึดอัด บางทีหน้าอกก็แน่น บางทีสมองก็ตึง เราพยายามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์บ่อยๆ ความรู้สึกแบบธรรมชาติที่ต่อเนื่องเชื่อมโยง
ถ้าเราทำได้อย่างนี้ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ใจจะปรุงแต่งส่งไปภายนอก ใจจะเริ่มเกิดเราก็จะเริ่มเห็น เห็นอาการของใจเริ่มก่อตัวเริ่มปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว เรารู้ตั้งแต่ต้นเหตุเราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ ควบคุมใจของเราให้อยู่ในความสงบ บางทีก็มีความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด หรือว่าอาการของใจ ภาษาธรรมนั้นเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า บางทีก็เป็นเรื่องอดีต เรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกลางๆ เขามีอยู่ตลอด แต่ละวันๆ บางคนก็มีมาก บางคนก็มีน้อย บางคนก็คิดมาก บางคนก็คิดน้อย
เราพยายามสร้างตัวสังเกต สร้างความรู้ตัวเข้าไปวิเคราะห์ให้รู้เท่าทัน จนใจคลายออกจากความคิด หงายจากของที่คว่ำ เขาเรียกว่าแยกรูปแยกนาม อันนี้เราเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก เพียงแค่เริ่มต้นแยกได้ กําลังสติตามดูรู้เห็นการเกิดการดับ เราก็จะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา ในขันธ์ห้าของเรา ใจก็ว่างรับรู้อยู่ อันนี้เอาไว้ทีหลังเถอะ แต่เวลานี้กําลังสติของเรามีไม่เพียงพอ เพียงแค่รู้จักฝึกสติให้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ส่วนบารมีส่วนอื่น ทุกคนก็สร้างกันมาดี แต่กําลังสติ กําลังปัญญา การสังเกต การวิเคราะห์ ตรงนี้มีไม่เพียงพอ ก็ต้องพยายามนะ
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ให้ขยันหมั่นเพียร สักวันหนึ่งเราก็จะเห็นตรงนี้ ถ้ารู้ได้เห็นแล้วเราก็จะเข้าใจในชีวิต มองเห็นชีวิตว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร เราจะดำเนินชีวิตอย่างไรโดยใจที่ไม่ทุกข์ไม่เครียด โดยใจที่สะอาดบริสุทธิ์
สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดีนะ
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2558
มีความสุขกันทุกคน วันนี้อากาศแจ่ม เมื่อคืนนี้ฝนตกอากาศก็เลยเย็น ใจของคนก็เลยเย็นลงไปเยอะ อากาศร้อนๆ มีความสุขในการทำบุญในการให้ทาน ตื่นเช้าขึ้นมาก็รีบมาวัดตั้งแต่เช้า มาทำบุญ รีบใส่บาตรตักบาตร ตื่นขึ้นมาต้องให้รู้ลมหายใจก่อน รู้ใจก่อน ก่อนที่จะมาวัดก่อนที่จะมาทำบุญ ว่าขณะนี้ใจของเราปกติ จะไปไหนมาไหนใจรับรู้อยู่ภายใน ปัญญาพากายไป อะไรควรทำก่อน อะไรควรทำหลัง ตื่นขึ้นมา รู้ลมหายใจเข้าออกปุ๊บ รู้ความปกติของใจปั๊บ จะลุก จะก้าว จะเดิน เข้าห้องส้วมห้องน้ำ ใจยังนิ่งอยู่ นั่นแหละเขาเรียกว่ามีสติมีปัญญาคอยดูแลใจ ปัญญาเป็นตัวสั่งเข้าห้องน้ำ ทำธุระปะปังต่างๆ ใจยังปกติอยู่ ลุกขึ้นก้าวแรก ความรู้สึกอยู่ที่การเดิน การก่อตัวของใจก็จะรู้ทัน เพราะว่าเรามีสติตั้งแต่ตื่นขึ้นมา
ส่วนมากเราไม่ค่อยจะฝึกความรู้ตัว มีแต่ความคิดเก่าๆ ไปก่อน ความอยาก ความเกิด ความคิด มีความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ใจปรุงแต่งความคิด มีอยู่สองตัวหลักนี่แหละ บางทีตัวปัญญาตัวสติผสมโรงไปด้วยกัน ก็เลยแยกไม่ได้ อาจจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ อยู่ในบุญในกุศล บุญเราก็สร้าง ไม่ใช่ว่าไม่ให้สร้าง ไม่ให้ทำ ยิ่งทำเยอะ ยิ่งขยันหมั่นเพียรเยอะ สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างบารมีให้มีให้เกิดขึ้นที่กายที่ใจของเรา
พระเราชีเราก็เหมือนกัน สามเณรก็ขยันหมั่นเพียร ชีก็ขยันหมั่นเพียร พยายามดูแลดีๆ นะสามเณร ใจของเราเกิดความอยากก็รีบหยุดนะ กะประมาณในการขบฉัน ถ้าอยากแล้วให้ผ่านเลยไปไม่ต้องเอา ใจของเราจะเกิดความอาลัยอาวรณ์หรือไม่ เราก็ต้องพยายามควบคุม ได้มาฝึกตั้งแต่ตัวเล็กๆ นี่แหละดี เอาตั้งแต่เล็กๆ บุญก็มาจากพ่อจากแม่ อยากให้ลูกได้อานิสงส์ใหญ่ ก็เอามาฝาก มาบวชสามเณร มาบวชเป็นเณรน้อย ออกจากบ้าน ออกจากอกพ่ออกแม่ นั่นแหละตัดความกังวลได้ระดับหนึ่งโดยที่ไม่รู้ว่าอันนี้แหละ ละความกังวล มาฝึกหัดช่วยเหลือตัวเอง ครูบาอาจารย์ก็ช่วยแนะนํา ช่วยพร่ำสอน ทำโน่นบ้างทำนี่บ้าง ความเป็นระเบียบ การขัดการเกลา ความรับผิดชอบ ถึงจะไม่เข้าใจในความหมาย สิ่งที่พาทำพาสร้างนี่แหละ ครูบาอาจารย์พาดูแลนี่แหละ จะส่งผลถึงวันข้างหน้า
เมื่อกําลังสติปัญญาแก่กล้าก็จะเห็นคุณค่าของการมาฝึก การห่างจากพ่อจากแม่เป็นลักษณะอย่างนี้ การดับความคิด ดับความกังวล ไม่กังวลเรื่องบ้านเรื่องช่อง เรื่องที่พักที่อาศัย ที่อยู่ที่กิน สิ่งที่เคยอยู่ก็วางมา ออกจากบ้านมาบวช มาเปลี่ยนเพศเปลี่ยนภาวะเป็นสามเณร เป็นพระ เป็นชี ก็ตัดความกังวลได้ระดับหนึ่ง มาช่วยการช่วยงานที่วัด ที่โน่นบ้างที่นี่บ้าง เพื่อยังประโยชน์ นั่นแหละคือความเสียสละในระดับหนึ่ง ก็จะไล่ขึ้นไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ
กําลังสติปัญญามีมาก การเจริญวัยของสติปัญญาเพิ่มพูนขึ้น การปล่อย การวาง การอนุเคราะห์ การช่วยเหลือ พรหมวิหาร ความเมตตา ทิฏฐิมานะ ความเห็นผิดๆ ก็จะคลายออกไป ใจก็จะปล่อยก็จะวางได้เร็วได้ไว ไม่ใช่ว่าจะปล่อยจะวางได้เลย ต้องสะสมคุณงามความดี ความเสียสละ ความอดทนอดกลั้น การให้ การเอาออก การอภัยทาน อโหสิกรรม ความขยันหมั่นเพียร ขยันหมั่นเพียรทั้งสมมติภายนอก ทั้งวิมุตติภายใน ขยันหมั่นเพียรในการให้ ในการเอาออก ในการช่วยเหลือ มีให้เป็น ทำให้เป็น มีได้ ใช้ได้ ใช้ด้วยสติ ใช้ด้วยปัญญา ก็ต้องพยายามกันนะ
มีโอกาสเราก็ช่วยกันทุกอย่าง อย่าไปเกียจคร้าน อย่าไปงอมืองอเท้า สร้างความขยัน สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละ การกระทำของเราก็ต้องถึงพร้อม นั่นแหละหลักของการปฏิบัติ ปฏิบัติธรรมทำอะไรก็ไม่เป็น อย่างนั้นใช้การไม่ได้ คนปฏิบัติ คนฝึก คนวัดต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียร ไม่ว่าอยู่ที่บ้าน ที่ไร่ ที่นา เป็นคนขยันหมั่นเพียร หมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์ นั่นแหละเขาถึงเรียกว่าปฏิบัติ การควบคุมกาย ควบคุมวาจา ควบคุมใจ การกระทำให้ถึงพร้อม บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ถึงเป็นบุคคลที่ปฏิบัติ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา
หลวงพ่อขอขอบใจทุกคน
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ญาติโยมทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเราให้เชื่อมโยงให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง ถึงเราจะทำไม่ได้ตลอดทำไม่ได้ต่อเนื่อง ก็ขอให้ทำขณะที่กําลังนั่งฟังอยู่นี่แหละ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราชัดเจน เวลาลมหายใจเข้าหายใจออก นี่แหละที่ภาษาสมมติเขาเรียกว่า ‘สติ’
เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ถ้าต่อเนื่องเชื่อมโยงเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ เพียงแค่สร้างให้ต่อเนื่อง ยังเอาไปใช้งานไม่ได้ เราต้องพยายามสร้างให้ต่อเนื่องเป็นลูกโซ่จนเป็นอัตโนมัติ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก หายใจอย่างไรถึงเป็นธรรมชาติ หายใจอย่างไรถึงไม่อึดอัด บางทีหน้าอกก็แน่น บางทีสมองก็ตึง เราพยายามหัดสังเกตหัดวิเคราะห์บ่อยๆ ความรู้สึกแบบธรรมชาติที่ต่อเนื่องเชื่อมโยง
ถ้าเราทำได้อย่างนี้ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ใจจะปรุงแต่งส่งไปภายนอก ใจจะเริ่มเกิดเราก็จะเริ่มเห็น เห็นอาการของใจเริ่มก่อตัวเริ่มปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว เรารู้ตั้งแต่ต้นเหตุเราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ ควบคุมใจของเราให้อยู่ในความสงบ บางทีก็มีความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด หรือว่าอาการของใจ ภาษาธรรมนั้นเรียกว่า อาการของขันธ์ห้า บางทีก็เป็นเรื่องอดีต เรื่องอนาคต บางทีก็เป็นกลางๆ เขามีอยู่ตลอด แต่ละวันๆ บางคนก็มีมาก บางคนก็มีน้อย บางคนก็คิดมาก บางคนก็คิดน้อย
เราพยายามสร้างตัวสังเกต สร้างความรู้ตัวเข้าไปวิเคราะห์ให้รู้เท่าทัน จนใจคลายออกจากความคิด หงายจากของที่คว่ำ เขาเรียกว่าแยกรูปแยกนาม อันนี้เราเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก เพียงแค่เริ่มต้นแยกได้ กําลังสติตามดูรู้เห็นการเกิดการดับ เราก็จะเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายของเรา ในขันธ์ห้าของเรา ใจก็ว่างรับรู้อยู่ อันนี้เอาไว้ทีหลังเถอะ แต่เวลานี้กําลังสติของเรามีไม่เพียงพอ เพียงแค่รู้จักฝึกสติให้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ส่วนบารมีส่วนอื่น ทุกคนก็สร้างกันมาดี แต่กําลังสติ กําลังปัญญา การสังเกต การวิเคราะห์ ตรงนี้มีไม่เพียงพอ ก็ต้องพยายามนะ
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ให้ขยันหมั่นเพียร สักวันหนึ่งเราก็จะเห็นตรงนี้ ถ้ารู้ได้เห็นแล้วเราก็จะเข้าใจในชีวิต มองเห็นชีวิตว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร เราจะดำเนินชีวิตอย่างไรโดยใจที่ไม่ทุกข์ไม่เครียด โดยใจที่สะอาดบริสุทธิ์
สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจเข้าออกให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดีนะ
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อนะ