หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 34
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 34
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2558 ลำดับที่ 34
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 มีนาคม 2558
คงเข้ามากันพร้อมเพรียงกันแล้วนะ นี่ของเราพระก็เยอะ ชีก็เยอะ เณรก็เยอะ ญาติโยมก็เยอะ อานิสงส์ผลบุญผลทานก็หลั่งไหลมา ก็จัดกันให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จะได้ไม่ได้ลําบากแต่ละวันๆ เทวดาก็มาเยอะ เทวดาที่มีกายเนื้อเทวดาที่ไม่มีกายเนื้อก็พากันมาเยอะ มาร่วมอนุโมทนาบุญ มาสร้างบุญมาสร้างอานิสงส์กัน เห็นแล้วก็มีความสุข แต่ละวันตื่นขึ้นมาก็ดูใจของเราก่อน ก่อนที่จะไปไหนมาไหนใจมีความสุข ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ใจสั่งมาทำบุญ ในหลักธรรมท่านให้เจริญสติพากายมาใจรับรู้ แต่ใจให้บอกว่ามาเอาบุญเสียก่อน ใจเกิดก่อน ความคิดกับใจรวมกันไปก่อน ไปเอาบุญเอาอย่างนั้น ก็เรียกว่าสร้างบารมีสร้างกุศลกันก่อน เรารู้จักมาเจริญสติเข้าไปอบรมใจ
ดูดีๆ นะ อย่าให้ความอยากเข้าครอบงำ ทั้งพระทั้งเณรทั้งชี ใจปกติ กายมันหิวหรือใจมันอยาก เราต้องวิเคราะห์พิจารณาทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ยิ่งฝึกใหม่ๆ กายก็จะหิว ใจก็จะเกิดความอยาก จะเอาโน่นเอานี่ อันโน่นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม กิเลสมันบอกว่าเอาเยอะๆ บอกว่างั้น ถ้าเราจัดการกับความอยากได้ ทำความเข้าใจได้ ความโลภ ความโกรธก็จะเบาบาง เราดับความเกิดได้ตั้งแต่ตัวนิดเดียว จุดเกิดอยู่ตรงไหนนั่นแหละสำคัญ เราก็ดับความเกิด กิเลสตัวใหญ่ๆ มันจะไปเกิดได้อย่างไร เราดับความอยากตั้งแต่ตัวเล็กๆ ตั้งแต่ตัววิญญาณการเกิดของใจ เราต้องฝึกฝนตัวเราแก้ไขตัวเรา ความทะเยอทะยานอยากนี่แหละ ทำให้คนทุกข์ ทั้งสมมติก็บังคับ กายก็หิว ใจก็เกิดความอยาก การดิ้นรน การแสวงหาทุกวิถีทางในที่นี้ ก็เลยไปตามวิบากของกรรม เพราะว่าความหิวบังคับให้ดิ้นรน แต่เราไม่ได้ดิ้นรนด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยการกระทำของเรา เป็นการดิ้นรนด้วยความอยาก ก็เลยหนักเข้าไปเรื่อยๆ หนักเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าคนเรารู้จักแก้ไข รู้จักปรับปรุง รู้จักขยันหมั่นเพียร ตามแนวทางของพระพุทธองค์แล้วก็ ชีวิตก็จะไม่ได้ลําบาก ถึงความลําบากก็จะคลี่คลายเบาบาง
สมมติอะไรเราไม่พร้อมเราก็พยายามทำขึ้นมา ด้วยความขยันหมั่นเพียร แล้วก็ดิ้นรน แสวงหา รู้จักหารู้จักใช้ รู้จักเก็บ มันจะค่อยส่งผลถึงปัจจุบัน อนาคตออกมาที่ดี ดูดีๆ พระเรา พระใหม่พระเก่า ต้องเป็นผู้ใหม่ตลอดผู้ตื่นตลอด สามเณรก็เหมือนกัน ยิ่งบวชใหม่ๆ มาสร้างความขยันหมั่นเพียร มาสร้างความรับผิดชอบ มารู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ความเป็นระเบียบมีหรือไม่ ความขยันมีหรือไม่ ตื่นขึ้นมาเราก็รีบสะสางใจของเราให้รู้ใจให้รู้ฐานของใจ คิดก็รู้ ทำก็รู้ มันรู้อยู่ หลงอยู่ ใจมันเกิดอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่
เพราะว่าการเกิดของใจเขามีอยู่ตลอด เราต้องเจริญสติเข้าไปคลายความหลง ดับความเกิด ละกิเลส ออกจากใจของเรา ให้ใจของเรารับรู้ ตั้งมั่นอยู่ในกายเป็นสมาธิ ใจที่ปราศจากกิเลส ใจที่ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่นคือใจต้องคลายออกจากความคิด นี่ตัวแรกความยึดมั่นในความคิด ในความคิดในอารมณ์ เขาเรียกว่าทำให้เกิดอัตตา เราต้องคลายตัวนี้ให้ได้เสียก่อน คลายแล้วก็ทำความเข้าใจกับความคิดที่มาปรุงแต่งใจก็เรียกว่ารู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ตัววิญญาณมันคือตัวใจนั่นแหละ ให้เขารับรู้ ตามดู นี่แหละเขาถึงจะเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ รู้แจ้งเห็นจริง เพียงแค่รู้แจ้งเห็นจริงในขันธ์ห้า เพียงแค่เริ่มต้น
การทำความเข้าใจ การละกิเลสต้องตามมาอีก แล้วก็การดับความเกิดก็ต้องตามมาอีก จนใจไม่เกิด แล้วก็วางใจให้เป็นอิสรภาพอีก อันนี้ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียร มีความเพียรอย่างยิ่งยวด ทำความเข้าใจ ลักษณะของการเจริญสติ ลักษณะของการเจริญปัญญา ปัญญาฝ่ายดู ฝ่ายรู้ ฝ่ายแยก ฝ่ายทำความเข้าใจ ฝ่ายละ ทุกเรื่อง กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณทำหน้าที่อย่างไร สติปัญญาทำหน้าที่อย่างไร ทำหน้าที่ของเขาอยู่ตลอดเวลา ดูดีๆ นะสามเณร อันไหนอยากห้ามเอา นั่งดู ถ้าผ่านเลยไปแล้วยังเสียดายอาลัยอาวรณ์หรือเปล่า ท่านเจ้าคุณเอยจะตรวจทุกบาตรเลยนะ ใครเหลือมากเหลือน้อย เอาแค่เรื่องการขบการฉัน ต่อไปข้างหน้าก็สร้างความขยัน ไปนอนอยู่ข้างศพ ดูว่าตัวผีตัวข้างล่าง หรือผีตัวในใจ มันจะออกไปหลอกเขา
สมัยก่อนฝึก ฝึกไปฝึกมาขอไปอยู่หมด ขอไปอยู่ตามหลุมศพไปแย่งผี แต่ก่อนคนกลัวผี เดี๋ยวนี้ผีกลัวคน เพียงแค่ไปฝึกรู้ความกลัวดับความกลัว ต่อไปข้างหน้าก็รู้ทุกอิริยาบถ ต่อไปข้างหน้าก็กลัวอะไรล่ะ กลัวความคิดกลัวอารมณ์ว่ามันไม่มีสาระประโยชน์แก่นสารอะไร จนอยากจะหาทางหลบหลีก หลบหลีกไม่ได้ทำความเข้าใจแล้วละ แล้วก็ค่อยอยู่อุเบกขา มันมีหมด มีหมดในใจในกายของเรามีหมด ถ้าเราเห็น ถ้าเรารู้เราเห็น ถ้าเราไม่รู้ไม่เห็นมันก็หลอกเราอยู่อย่างนั้นแหละ มันก็เอาสิ่งดีๆ นั้นแหละมาหลอก กิเลสเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน ก็เอาโน่นมาหลอก ก็เอาอันนี้มาหลอก ก็เอาบุญมาหลอก เอาความดี มาหลอก เอาสารพัดอย่าง เพราะว่าการเกิดของเขายังมีอยู่
แต่ในหลักธรรมแล้วท่านก็ให้สร้างคุณงามความดีแต่ไม่ให้ยึด ให้อยู่เหนือ ในหลักธรรมท่านให้ต้องทำความเข้าใจกับกรรม กรรมก็กายของเรานี่ ก้อนกรรมมีอะไรบ้าง มีส่วนรูปส่วนนาม ถ้าเราแยกได้ตามได้ กรรมเก่าก็เป็นการอโหสิกรรม กรรมใหม่เราก็ไม่หลงไปยึด ก็เป็นแค่เพียงกิริยาการกระทำด้วยเหตุด้วยผล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำาเนินก่อน อะไรควรดำเนินหลัง มันมองเห็นชัดเจน
พูดง่ายอยู่ แต่การปฏิบัติต้องทุกขณะจิตทุกขณะลมหายใจเข้าออก ในการชําระสะสางกิเลส แต่คนทั่วไปมีตั้งแต่สะสมกิเลส สะสมกิเลสฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดีก็ผลักไส ฝ่ายดีก็ดึงเข้ามา ก็เลยอีรุงตุงนังกันอยู่ ไม่แยกไม่แยะ ไม่แจง ไม่ทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล ดูเหตุดูผล ก็มีเหตุ กิเลสก็มีเหตุมีผล ฝ่ายดีก็มีเหตุมีผล กรรมการไม่มี กรรมการก็คือสติ มีความรู้ตัวหรือว่าปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ก็เรียกว่ากรรมการ เรียกว่าผู้บริหาร
เวลานี้ใจเป็นประธาน ใจเป็นผู้บริหาร กระโดดออกไปบริหารอย่างเดียว ทั้งใจทั้งความคิด ทั้งความหลง ไม่ยอมมาเป็นประธาน ประธานต้องเป็นกลางแต่ไม่ยอมเป็นกลาง กระโดดออกไปลุย ผิดถูกชั่วดีอย่างไรก็ ประธานต้องตั้งผู้บริหารไปจัดการ แต่ไม่ยอมเป็นประธานขอลุยเอง ก็เลยไม่เป็นกลางให้สักทีนะ ก็พยายามเอา ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็พยายามเอาดีกว่าไม่ได้ทำ
อย่าลืมข้อวัตรล่ะสามเณร ท่านเจ้าคุณมีกฎเกณฑ์อยู่ อย่าข้ามเอา แต่เวลาสึกวันสึกต้องชั่งน้ำหนักหน่อย ถ้าน้ำหนักไม่เพิ่ม 2 กิโลก็ต้องๆ อยู่ต่อ ทำน้ำหนักให้ได้ มองซ้ายมองขวามองบนมองล่าง อาหารชิ้นนี้จะตกถึงหมู่คณะหรือเปล่า ตกถึงเพื่อนหรือเปล่า ถ้าเราเอาหมด เพื่อนได้ฉันหรือเปล่า ข้างล่างได้ขบได้ฉันหรือเปล่า คนทั่วไปเห็นอะไรก็เอาไว้ก่อน คว้าไว้ก่อนนะ อยากไว้ก่อน เอาไว้ก่อน มันเป็นเสียอย่างนั้น เดินไปกลางทุ่งนาเจอวัวตัวสวยๆ ไม่ได้พูดออกมาเลยว่ากูอยากเอามะนาวนวดหัว เป็นเสียอย่างนั้น พอเห็นงูวิ่งเข้ามาแล้วก็จับไม้ รีบไล่ตี ไปหลบอยู่ที่ไหนกูจะฆ่ามึง นั่นแหละไม่รู้จักหักห้าม ไม่รู้จักหลบหลีก ไม่รู้จักใช้ปัญญา ความอยากบังคับ ความหิวบังคับ บางทีความหิวมันไม่มีอะไรจะกิน ก็เข้าไปแอบลักแอบขโมยก็มี ที่วัดของเรานี่ขโมยเยอะ มาขโมยปลาแทบทุกวันเลย ก็เลยยกให้เป็นกรรมของมันเถอะ
ท่านเจ้าคุณก็มาบ่นมาขโมยปลาทุกวัน มีรอยเล็กๆ ของมัน มาเอาด่างเอาอะไรมาล้อม มาเอาอะไรต่างๆมาเอาแทบทุกวัน ปลาก็จะหมดบ่อ คนเอามาปล่อยก็มาปล่อย คนมาขโมยก็มาขโมย มีครบสูตรเลยที่วัดท่านเจ้าคุณ กระต่ายก็ยังไปขโมยเอาอยู่ในเล้ากระต่ายในคอกกระต่าย ไปไล่จับขโมยกระต่ายเรียกก็ได้ ทำไมไม่มาขอเอาให้หมดเลยก็ได้ ไม่ต้องไปขโมย เอามาปล่อยๆ คนก็มาปล่อย คนมาขโมยก็มาขโมย อยากจะได้มาเลยจะให้หมดเลย ไม่ต้องห่วง ไม่เอาไว้หรอก ไม่ต้องไปแอบขโมย
หลายสิ่งหลายอย่าง เราต้องแก้ไขเราต้องปรับปรุง ถ้าเราแก้ไขเราไม่ได้ไม่ปรับปรุงตัวเรา ไม่มีใครจะปรับปรุงให้เราได้หรอก อีกสักหน่อยก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็นก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย ก็เป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ เราก็พยายาม พยายามศึกษาพยายามค้นคว้า พยายามสร้างอานิสงส์สร้างบุญบารมี ให้มีให้เกิดขึ้นในใจของเรา แล้วก็รู้จักรับผิดชอบ รับผิดชอบตัวเรา รับผิดชอบกาย วาจา ใจของเรา แล้วก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง บวชเป็นพระเป็นเณรมาแล้วก็พยายาม สำรวมแก้ไข ปรับปรุง สร้างความขยันมั่นเพียร จนติดเป็นนิสัย จนไม่ได้ต้องลําบาก หนักไม่เอาเบาไม่สู้ เอาแต่หลบเอาแต่หลีก ไปอยู่ที่ไหนก็จะหนักตัวเอง หนักคนอื่น หนักสถานที่ เราต้องมาปฏิวัติตัวเรา แก้ไขตัวเรา
พระพุทธองค์ท่านสอนอะไร สอนเรื่องอะไร ทำอย่างไร แล้วเราถึงจะดำเนินให้ถึง ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเรา ขอให้พี่น้องเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสทางลมหายใจของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่ง ภาระทางสมมติ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะเดินปัญญาขั้นสูงไม่ได้ก็ขอให้รู้จักการเจริญสติ รู้จักลักษณะของคําว่าความระลึกรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน
ความรู้สึกรับรู้ ลองฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ นะ ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เวลาเราหายใจเข้าหายใจออก ลมกระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละ เขาเรียกว่าความรู้ตัว ความรู้สึกรับรู้ รู้กาย สติที่เราสร้างขึ้นมาความรู้สึกตัวที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ เราพยายามสร้างให้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่
ถ้าเราเริ่มสืบต่อให้ต่อเนื่อง เราจะรู้ว่าแต่ก่อนโน้นคําว่าสติของเรานี่มีไม่ค่อยเยอะ มีควบคุมใจได้เป็นบางครั้งบางคราว บางเรื่อง กําลังสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละจะเข้าไปควบคุมใจอบรมใจ จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิดซึ่งมีอยู่เดิม การเกิดของใจก็มีอยู่เดิม เขาหลงมานาน ใจเป็นธาตุรู้ แต่เขาก็ยังเกิดทั้งรู้ทั้งหลง เขาหลงอยู่ในความเกิด การเกิดยังไม่พอ เขาก็มาสร้างขันธ์ห้ามาสร้างกายเนื้อมาปกปิดตัวเขาไว้อีก เขาก็ยังดำเนินต่อเขาก็ยังเป็นทาสของกิเลสต่ออีก
เราต้องมาเจริญสติเข้าไปอบรมใจตามแนวทางของพระพุทธองค์ น้อมใจของเราเข้ามาด้วยแรงบุญ แรงศรัทธา ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร วิธีการอย่างไรถึงจะดำเนินเข้าถึง การละกิเลส กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กายเกิดขึ้นที่ใจ กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร การทำบุญให้ทานทำอย่างไรถึงจะถึงจุดหมายปลายทาง
เราก็ต้องพยายามมาวิเคราะห์มาแก้ไข มาปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา จากน้อยๆ ไปหามากๆ พลั้งเผลอเริ่มใหม่ผิดพลาดเริ่มใหม่ ทำความทำความเข้าใจอยู่บ่อยๆ สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน แต่เวลานี้เดี๋ยวนี้เรามาสร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดีนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจตามอัธยาศัยของพวกเราเอง
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 มีนาคม 2558
คงเข้ามากันพร้อมเพรียงกันแล้วนะ นี่ของเราพระก็เยอะ ชีก็เยอะ เณรก็เยอะ ญาติโยมก็เยอะ อานิสงส์ผลบุญผลทานก็หลั่งไหลมา ก็จัดกันให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จะได้ไม่ได้ลําบากแต่ละวันๆ เทวดาก็มาเยอะ เทวดาที่มีกายเนื้อเทวดาที่ไม่มีกายเนื้อก็พากันมาเยอะ มาร่วมอนุโมทนาบุญ มาสร้างบุญมาสร้างอานิสงส์กัน เห็นแล้วก็มีความสุข แต่ละวันตื่นขึ้นมาก็ดูใจของเราก่อน ก่อนที่จะไปไหนมาไหนใจมีความสุข ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ ใจสั่งมาทำบุญ ในหลักธรรมท่านให้เจริญสติพากายมาใจรับรู้ แต่ใจให้บอกว่ามาเอาบุญเสียก่อน ใจเกิดก่อน ความคิดกับใจรวมกันไปก่อน ไปเอาบุญเอาอย่างนั้น ก็เรียกว่าสร้างบารมีสร้างกุศลกันก่อน เรารู้จักมาเจริญสติเข้าไปอบรมใจ
ดูดีๆ นะ อย่าให้ความอยากเข้าครอบงำ ทั้งพระทั้งเณรทั้งชี ใจปกติ กายมันหิวหรือใจมันอยาก เราต้องวิเคราะห์พิจารณาทุกเรื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ยิ่งฝึกใหม่ๆ กายก็จะหิว ใจก็จะเกิดความอยาก จะเอาโน่นเอานี่ อันโน่นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม กิเลสมันบอกว่าเอาเยอะๆ บอกว่างั้น ถ้าเราจัดการกับความอยากได้ ทำความเข้าใจได้ ความโลภ ความโกรธก็จะเบาบาง เราดับความเกิดได้ตั้งแต่ตัวนิดเดียว จุดเกิดอยู่ตรงไหนนั่นแหละสำคัญ เราก็ดับความเกิด กิเลสตัวใหญ่ๆ มันจะไปเกิดได้อย่างไร เราดับความอยากตั้งแต่ตัวเล็กๆ ตั้งแต่ตัววิญญาณการเกิดของใจ เราต้องฝึกฝนตัวเราแก้ไขตัวเรา ความทะเยอทะยานอยากนี่แหละ ทำให้คนทุกข์ ทั้งสมมติก็บังคับ กายก็หิว ใจก็เกิดความอยาก การดิ้นรน การแสวงหาทุกวิถีทางในที่นี้ ก็เลยไปตามวิบากของกรรม เพราะว่าความหิวบังคับให้ดิ้นรน แต่เราไม่ได้ดิ้นรนด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยการกระทำของเรา เป็นการดิ้นรนด้วยความอยาก ก็เลยหนักเข้าไปเรื่อยๆ หนักเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าคนเรารู้จักแก้ไข รู้จักปรับปรุง รู้จักขยันหมั่นเพียร ตามแนวทางของพระพุทธองค์แล้วก็ ชีวิตก็จะไม่ได้ลําบาก ถึงความลําบากก็จะคลี่คลายเบาบาง
สมมติอะไรเราไม่พร้อมเราก็พยายามทำขึ้นมา ด้วยความขยันหมั่นเพียร แล้วก็ดิ้นรน แสวงหา รู้จักหารู้จักใช้ รู้จักเก็บ มันจะค่อยส่งผลถึงปัจจุบัน อนาคตออกมาที่ดี ดูดีๆ พระเรา พระใหม่พระเก่า ต้องเป็นผู้ใหม่ตลอดผู้ตื่นตลอด สามเณรก็เหมือนกัน ยิ่งบวชใหม่ๆ มาสร้างความขยันหมั่นเพียร มาสร้างความรับผิดชอบ มารู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ความเป็นระเบียบมีหรือไม่ ความขยันมีหรือไม่ ตื่นขึ้นมาเราก็รีบสะสางใจของเราให้รู้ใจให้รู้ฐานของใจ คิดก็รู้ ทำก็รู้ มันรู้อยู่ หลงอยู่ ใจมันเกิดอยู่ในความรู้ตรงนั้นอยู่
เพราะว่าการเกิดของใจเขามีอยู่ตลอด เราต้องเจริญสติเข้าไปคลายความหลง ดับความเกิด ละกิเลส ออกจากใจของเรา ให้ใจของเรารับรู้ ตั้งมั่นอยู่ในกายเป็นสมาธิ ใจที่ปราศจากกิเลส ใจที่ปราศจากความยึดมั่นถือมั่น ความยึดมั่นถือมั่นคือใจต้องคลายออกจากความคิด นี่ตัวแรกความยึดมั่นในความคิด ในความคิดในอารมณ์ เขาเรียกว่าทำให้เกิดอัตตา เราต้องคลายตัวนี้ให้ได้เสียก่อน คลายแล้วก็ทำความเข้าใจกับความคิดที่มาปรุงแต่งใจก็เรียกว่ารู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า ตัววิญญาณมันคือตัวใจนั่นแหละ ให้เขารับรู้ ตามดู นี่แหละเขาถึงจะเรียกว่าสัมมาทิฏฐิ รู้แจ้งเห็นจริง เพียงแค่รู้แจ้งเห็นจริงในขันธ์ห้า เพียงแค่เริ่มต้น
การทำความเข้าใจ การละกิเลสต้องตามมาอีก แล้วก็การดับความเกิดก็ต้องตามมาอีก จนใจไม่เกิด แล้วก็วางใจให้เป็นอิสรภาพอีก อันนี้ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียร มีความเพียรอย่างยิ่งยวด ทำความเข้าใจ ลักษณะของการเจริญสติ ลักษณะของการเจริญปัญญา ปัญญาฝ่ายดู ฝ่ายรู้ ฝ่ายแยก ฝ่ายทำความเข้าใจ ฝ่ายละ ทุกเรื่อง กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณทำหน้าที่อย่างไร สติปัญญาทำหน้าที่อย่างไร ทำหน้าที่ของเขาอยู่ตลอดเวลา ดูดีๆ นะสามเณร อันไหนอยากห้ามเอา นั่งดู ถ้าผ่านเลยไปแล้วยังเสียดายอาลัยอาวรณ์หรือเปล่า ท่านเจ้าคุณเอยจะตรวจทุกบาตรเลยนะ ใครเหลือมากเหลือน้อย เอาแค่เรื่องการขบการฉัน ต่อไปข้างหน้าก็สร้างความขยัน ไปนอนอยู่ข้างศพ ดูว่าตัวผีตัวข้างล่าง หรือผีตัวในใจ มันจะออกไปหลอกเขา
สมัยก่อนฝึก ฝึกไปฝึกมาขอไปอยู่หมด ขอไปอยู่ตามหลุมศพไปแย่งผี แต่ก่อนคนกลัวผี เดี๋ยวนี้ผีกลัวคน เพียงแค่ไปฝึกรู้ความกลัวดับความกลัว ต่อไปข้างหน้าก็รู้ทุกอิริยาบถ ต่อไปข้างหน้าก็กลัวอะไรล่ะ กลัวความคิดกลัวอารมณ์ว่ามันไม่มีสาระประโยชน์แก่นสารอะไร จนอยากจะหาทางหลบหลีก หลบหลีกไม่ได้ทำความเข้าใจแล้วละ แล้วก็ค่อยอยู่อุเบกขา มันมีหมด มีหมดในใจในกายของเรามีหมด ถ้าเราเห็น ถ้าเรารู้เราเห็น ถ้าเราไม่รู้ไม่เห็นมันก็หลอกเราอยู่อย่างนั้นแหละ มันก็เอาสิ่งดีๆ นั้นแหละมาหลอก กิเลสเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน ก็เอาโน่นมาหลอก ก็เอาอันนี้มาหลอก ก็เอาบุญมาหลอก เอาความดี มาหลอก เอาสารพัดอย่าง เพราะว่าการเกิดของเขายังมีอยู่
แต่ในหลักธรรมแล้วท่านก็ให้สร้างคุณงามความดีแต่ไม่ให้ยึด ให้อยู่เหนือ ในหลักธรรมท่านให้ต้องทำความเข้าใจกับกรรม กรรมก็กายของเรานี่ ก้อนกรรมมีอะไรบ้าง มีส่วนรูปส่วนนาม ถ้าเราแยกได้ตามได้ กรรมเก่าก็เป็นการอโหสิกรรม กรรมใหม่เราก็ไม่หลงไปยึด ก็เป็นแค่เพียงกิริยาการกระทำด้วยเหตุด้วยผล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำาเนินก่อน อะไรควรดำเนินหลัง มันมองเห็นชัดเจน
พูดง่ายอยู่ แต่การปฏิบัติต้องทุกขณะจิตทุกขณะลมหายใจเข้าออก ในการชําระสะสางกิเลส แต่คนทั่วไปมีตั้งแต่สะสมกิเลส สะสมกิเลสฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดีก็ผลักไส ฝ่ายดีก็ดึงเข้ามา ก็เลยอีรุงตุงนังกันอยู่ ไม่แยกไม่แยะ ไม่แจง ไม่ทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล ดูเหตุดูผล ก็มีเหตุ กิเลสก็มีเหตุมีผล ฝ่ายดีก็มีเหตุมีผล กรรมการไม่มี กรรมการก็คือสติ มีความรู้ตัวหรือว่าปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ก็เรียกว่ากรรมการ เรียกว่าผู้บริหาร
เวลานี้ใจเป็นประธาน ใจเป็นผู้บริหาร กระโดดออกไปบริหารอย่างเดียว ทั้งใจทั้งความคิด ทั้งความหลง ไม่ยอมมาเป็นประธาน ประธานต้องเป็นกลางแต่ไม่ยอมเป็นกลาง กระโดดออกไปลุย ผิดถูกชั่วดีอย่างไรก็ ประธานต้องตั้งผู้บริหารไปจัดการ แต่ไม่ยอมเป็นประธานขอลุยเอง ก็เลยไม่เป็นกลางให้สักทีนะ ก็พยายามเอา ได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็พยายามเอาดีกว่าไม่ได้ทำ
อย่าลืมข้อวัตรล่ะสามเณร ท่านเจ้าคุณมีกฎเกณฑ์อยู่ อย่าข้ามเอา แต่เวลาสึกวันสึกต้องชั่งน้ำหนักหน่อย ถ้าน้ำหนักไม่เพิ่ม 2 กิโลก็ต้องๆ อยู่ต่อ ทำน้ำหนักให้ได้ มองซ้ายมองขวามองบนมองล่าง อาหารชิ้นนี้จะตกถึงหมู่คณะหรือเปล่า ตกถึงเพื่อนหรือเปล่า ถ้าเราเอาหมด เพื่อนได้ฉันหรือเปล่า ข้างล่างได้ขบได้ฉันหรือเปล่า คนทั่วไปเห็นอะไรก็เอาไว้ก่อน คว้าไว้ก่อนนะ อยากไว้ก่อน เอาไว้ก่อน มันเป็นเสียอย่างนั้น เดินไปกลางทุ่งนาเจอวัวตัวสวยๆ ไม่ได้พูดออกมาเลยว่ากูอยากเอามะนาวนวดหัว เป็นเสียอย่างนั้น พอเห็นงูวิ่งเข้ามาแล้วก็จับไม้ รีบไล่ตี ไปหลบอยู่ที่ไหนกูจะฆ่ามึง นั่นแหละไม่รู้จักหักห้าม ไม่รู้จักหลบหลีก ไม่รู้จักใช้ปัญญา ความอยากบังคับ ความหิวบังคับ บางทีความหิวมันไม่มีอะไรจะกิน ก็เข้าไปแอบลักแอบขโมยก็มี ที่วัดของเรานี่ขโมยเยอะ มาขโมยปลาแทบทุกวันเลย ก็เลยยกให้เป็นกรรมของมันเถอะ
ท่านเจ้าคุณก็มาบ่นมาขโมยปลาทุกวัน มีรอยเล็กๆ ของมัน มาเอาด่างเอาอะไรมาล้อม มาเอาอะไรต่างๆมาเอาแทบทุกวัน ปลาก็จะหมดบ่อ คนเอามาปล่อยก็มาปล่อย คนมาขโมยก็มาขโมย มีครบสูตรเลยที่วัดท่านเจ้าคุณ กระต่ายก็ยังไปขโมยเอาอยู่ในเล้ากระต่ายในคอกกระต่าย ไปไล่จับขโมยกระต่ายเรียกก็ได้ ทำไมไม่มาขอเอาให้หมดเลยก็ได้ ไม่ต้องไปขโมย เอามาปล่อยๆ คนก็มาปล่อย คนมาขโมยก็มาขโมย อยากจะได้มาเลยจะให้หมดเลย ไม่ต้องห่วง ไม่เอาไว้หรอก ไม่ต้องไปแอบขโมย
หลายสิ่งหลายอย่าง เราต้องแก้ไขเราต้องปรับปรุง ถ้าเราแก้ไขเราไม่ได้ไม่ปรับปรุงตัวเรา ไม่มีใครจะปรับปรุงให้เราได้หรอก อีกสักหน่อยก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็นก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย ก็เป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่ เราก็พยายาม พยายามศึกษาพยายามค้นคว้า พยายามสร้างอานิสงส์สร้างบุญบารมี ให้มีให้เกิดขึ้นในใจของเรา แล้วก็รู้จักรับผิดชอบ รับผิดชอบตัวเรา รับผิดชอบกาย วาจา ใจของเรา แล้วก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง บวชเป็นพระเป็นเณรมาแล้วก็พยายาม สำรวมแก้ไข ปรับปรุง สร้างความขยันมั่นเพียร จนติดเป็นนิสัย จนไม่ได้ต้องลําบาก หนักไม่เอาเบาไม่สู้ เอาแต่หลบเอาแต่หลีก ไปอยู่ที่ไหนก็จะหนักตัวเอง หนักคนอื่น หนักสถานที่ เราต้องมาปฏิวัติตัวเรา แก้ไขตัวเรา
พระพุทธองค์ท่านสอนอะไร สอนเรื่องอะไร ทำอย่างไร แล้วเราถึงจะดำเนินให้ถึง ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของตัวเรา ขอให้พี่น้องเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสทางลมหายใจของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่ง ภาระทางสมมติ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะเดินปัญญาขั้นสูงไม่ได้ก็ขอให้รู้จักการเจริญสติ รู้จักลักษณะของคําว่าความระลึกรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน
ความรู้สึกรับรู้ ลองฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ นะ ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เวลาเราหายใจเข้าหายใจออก ลมกระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละ เขาเรียกว่าความรู้ตัว ความรู้สึกรับรู้ รู้กาย สติที่เราสร้างขึ้นมาความรู้สึกตัวที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ เราพยายามสร้างให้ต่อเนื่องให้ได้เสียก่อน ถ้าความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่
ถ้าเราเริ่มสืบต่อให้ต่อเนื่อง เราจะรู้ว่าแต่ก่อนโน้นคําว่าสติของเรานี่มีไม่ค่อยเยอะ มีควบคุมใจได้เป็นบางครั้งบางคราว บางเรื่อง กําลังสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละจะเข้าไปควบคุมใจอบรมใจ จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิดซึ่งมีอยู่เดิม การเกิดของใจก็มีอยู่เดิม เขาหลงมานาน ใจเป็นธาตุรู้ แต่เขาก็ยังเกิดทั้งรู้ทั้งหลง เขาหลงอยู่ในความเกิด การเกิดยังไม่พอ เขาก็มาสร้างขันธ์ห้ามาสร้างกายเนื้อมาปกปิดตัวเขาไว้อีก เขาก็ยังดำเนินต่อเขาก็ยังเป็นทาสของกิเลสต่ออีก
เราต้องมาเจริญสติเข้าไปอบรมใจตามแนวทางของพระพุทธองค์ น้อมใจของเราเข้ามาด้วยแรงบุญ แรงศรัทธา ว่าพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร วิธีการอย่างไรถึงจะดำเนินเข้าถึง การละกิเลส กิเลสหยาบเป็นอย่างไร กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่กายเกิดขึ้นที่ใจ กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร การทำบุญให้ทานทำอย่างไรถึงจะถึงจุดหมายปลายทาง
เราก็ต้องพยายามมาวิเคราะห์มาแก้ไข มาปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา จากน้อยๆ ไปหามากๆ พลั้งเผลอเริ่มใหม่ผิดพลาดเริ่มใหม่ ทำความทำความเข้าใจอยู่บ่อยๆ สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน แต่เวลานี้เดี๋ยวนี้เรามาสร้างความรู้สึกรับรู้ การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดีนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจตามอัธยาศัยของพวกเราเอง