หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559 ลำดับที่ 16 วันที่ 11 ตุลาคม 2559
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559 ลำดับที่ 16 วันที่ 11 ตุลาคม 2559
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2559 ลำดับที่ 16
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 ตุลาคม 2559
มีความสุขกันทุกคน ตื่นเช้าขึ้นมาอากาศเริ่มเย็นสงสัยฝนคงจะไปแล้วนะ อากาศเริ่มเย็นๆ หนาวๆ อากาศหนาวคงลงมา ต่อไปข้างหน้าก็คงจะเริ่มหนาวแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะได้ใส่เสื้อกันหนาวสวยๆ งามๆ มาแข่งกัน พระชีเราก็สนุกทำงานตากแดด อากาศหนาวๆ ให้เข้าอยู่ในร่มไม่เอา ต้องเอาออกไปที่กลางแดดในถึงอุ่น ปีนี้จะหนาวนาน
ตื่นเช้าขึ้นมารีบวิเคราะห์ใจของเรา รีบดู รู้กายรู้ใจของตัวเอง ใจปกติเป็นอย่างไร ปัญญาเป็นอย่างไร จะลุกจะก้าวจะเดิน จนกระทั่งถึงเวลาที่จะรับประทานข้าวปลาอาหาร การขบฉันพิจารณาใจก่อน ใจเกิดความอยากหรือว่ากายเกิดความหิวนี่แหละเรียกว่า ‘ปฏิสังขาโย’ กายหิว ใจจะเกิดความอยาก ใจเกิด ใจปรุงแต่ง อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย จะเอาเยอะๆ เอาอย่างนั้นนะ กิเลสมันสั่ง ยังมาไม่ถึงมันมองเห็น อันโน้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา คนโน้นเอาเยอะคนนี้เอาน้อย ไปอคติคนโน้นไปอคติคนนี้ ใจของเราทั้งนั้น ใจของเราทั้งนั้น
เราพยายามดับความเกิดที่ใจของตัวเราเอง แล้วก็วิเคราะห์พิจารณาปฏิสังขาโย กะประมาณในการขบฉันของตัวเรา อันไหนมันเกิดความอยากเราก็ดับภายใน อาหารข้างนอกก็ให้ผ่านเลยไป เพื่อที่จะขัดเกลากิเลส มันผ่านเลยไปแล้วก็มันยังเสียดายอาลัยอาวรณ์อยู่หรือเปล่าเราก็ดูอีก ความอยากเล็กๆ น้อยๆ นั่นแหละ คนเราขาดการวิเคราะห์ขาดการพิจารณา จะไปละตั้งแต่กิเลส แต่ไม่ดูความเกิดตั้งแต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ
เราพยายามดับความเกิดของใจของเรา เป็นผู้ให้ผู้เอาออก พิจารณาอาหารแต่ละชิ้นแต่ละส่วน เราเอาเท่านี้ เราจะตกถึงนี้ ถ้าเราไม่เอาคนอยู่ข้างหลังข้างล่างก็พลอยได้รับอานิสงส์จากเรา อันโน้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา ใส่บาตรเสียจนเต็มเป็นล้นก็มี เอาไปเททิ้ง เราต้องกะประมาณในการขบฉันของตัวเอง วันนี้เรากะประมาณได้เท่านี้ วันพรุ่งนี้เพิ่มขึ้นไปอีก วันนี้เรากะว่าอิ่มพอดี เอาไม่อิ่มมันก็จะอิ่มพอดี ดื่มน้ำลงไปก็อิ่มพอดี ทุกเรื่องๆ กายเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร วิเคราะห์พิจารณา
ยิ่งอยู่ด้วยกันเยอะๆ ทั้งพระ ทั้งชี ทั้งฆราวาสญาติโยม เรายิ่งเพิ่มความขยันหมั่นเพียร เพิ่มความสมัครสมานสามัคคี เพิ่มความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่นอน ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน มีอะไรเราช่วยกัน พากันสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ในสิ่งที่พวกเราทำเป็นประโยชน์ทั้งนั้น ประโยชน์เราก็พลอยได้รับประโยชน์ คนอื่นมาก็พลอยได้รับประโยชน์ เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความขยันหมั่นเพียร จัดระบบระเบียบภายในใจของเรา ใจของเราสงบ ใจของเราเป็นสมาธิ ใจของเราไม่เกิด เห็นความเกิดของเรา การแยกรูปแยกนาม อะไรคือสติที่เราสร้างขึ้นมา ความรู้ตัวเป็นอย่างไร ความรู้ตัวต่อเนื่องหรือไม่ การเกิดการดับของใจเกิดจากใจโดยตรงหรือว่าเกิดจากขันธ์ห้า เราก็หัดวิเคราะห์หัดพิจารณา สำรวมกายวาจาใจของเรา
อยู่คนเดียวเราก็รู้ใจของเรา อยู่หลายคนเราก็รู้ใจของเรา หมั่นแก้ไข ใจจะเกิดปรุงแต่งไปอคติคนโน้น อคติคนนี้ เราก็รู้จักดับรู้จักแก้ไข สร้างความอ่อนน้อม สร้างพรหมวิหาร สร้างความเมตตาให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเราอยู่ตลอดเวลา มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี การกระทำของเราให้ถึงพร้อมถึงจะเกิดประโยชน์ รู้จักการเจริญสติไปอบรมใจของเรานั่นแหละ หมั่นพร่ำสอนใจของเรา
ใจของคนเรานี่สอนได้ ไม่ใช่ว่าสอนไม่ได้ สอนได้ ได้บ้างไม่ได้บ้าง พยายามอบรมแก้ไข ปรับปรุง วางรากฐานให้ดีก็จะส่งผลถึงอนาคต ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย เราต้องพยายามเจริญสติให้เป็นที่พึ่งของใจของเราให้ได้ เป็นที่พึ่งท่านเรียกว่า ‘ตนเป็นที่พึ่งของตน’ สมมติเรามีโอกาสพึ่งพาอาศัยกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นเอง ถ้าหมดลมหายใจก็สติปัญญาเป็นที่พึ่งของใจ เพียงแค่เรื่องของสมมติ เราก็พยายามทำให้ดี มีอะไรเราก็คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ไม่ใช่ว่าจะไปอคติที่โน่นอคติที่นี่ ที่โน่นไม่ดีที่นี่ไม่ดี ใจของเราไม่ดีถึงไปมองเห็นภายนอกไม่ดี ถ้าใจของเราดีแล้วภายนอกไม่ดีอย่างไรใจของเราก็ดีอยู่เหมือนเดิม เรามาแก้ไขใจของเรา หมั่นพร่ำสอนใจของเรา แล้วก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่เพื่อนสู่ฝูง
รู้จักเพียงแค่กายก็รู้จักรักษากายของตัวเอง วาจาก็รู้จักรักษาวาจาของตัวเรา ลึกลงไปก็รู้จักรักษาใจ ท่านถึงว่าทำบุญกับตัวเรา ทำบุญกับใจของกับกายของเรา จนล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ เพียงแค่คําพูดวาจาเราก็ไม่ให้กระทบกระทั่งคนโน้นคนนี้ คนโน้นเป็นอย่างนั้นคนนั้นเป็นอย่างนี้ เราก็พยายามละ มาจัดระบบระเบียบ มาจัดระบบระเบียบภายใน ภายในกายภายในใจของเรา อะไรมันผิดพลาดก็รีบแก้ไขเสีย ขณะยังมีลมหายใจอยู่
ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคน ความเป็นระเบียบ ความเสียสละนี้ต้องยิ่งยวด ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย พยายามให้รักสมัครสมานสามัคคีซึ่งกันและกัน ก็รู้จักสำรวมวาจา เพียงแค่วาจาก็รู้จักรักษา กายก็รู้จักรักษา ใจก็รู้จักรักษา ยิ่งเจริญสติเข้าไปอีกก็ยิ่งจะเห็นใจของเราชัดเจนขึ้น ใจของเรามีความแข็งกระด้าง มีความแข็งกร้าวหรือว่ามีความอ่อนน้อม ทิฏฐิความเห็นของใจมันเกิดอย่างไร ไปอย่างไรมาอย่างไร
คําสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมานานแล้ว เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ เพียงแค่การเจริญสติก็ทำให้ได้ การสังเกตวิเคราะห์จนใจคลายออกจากขันธ์ห้า ใจพลิกใจหงายซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ สัมมาทิฏฐิก็เปิดทางให้ เราก็จะเข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ว่าท่านสอนเรื่องอัตตาเป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าเป็นอย่างไร เราก็จะเข้าถึงคําสอนนั้นๆ แล้วก็ทำความเข้าใจ แล้วก็ค่อยละออกจากใจของเราให้มันหมดจด
ละที่นั้นทีนี้ก็หมด ก็หมดจด ใจเกิดความโลภก็ละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธก็ดับความโกรธด้วยการให้อภัย ใจเกิดความทะเยอทะยานอยาก เราก็พยายามดับความอยากเสีย เปลี่ยนจากความทะเยอทะยานอยากให้เป็นความต้องการของสติปัญญา คลายใจออกจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ดับความเกิด ถ้าใจยังเกิดอยู่ใจก็ไม่เที่ยง ถ้าใจไม่เกิด ใจที่คลายจากกิเลส ใจที่คลายจากขันธ์ห้า ใจที่ไม่มีกิเลส ใจไม่เกิดเขาก็นิ่ง เขาก็ว่างเป็นธรรมชาตินั่นแหละ ใจเที่ยง นิพพานก็เลยเที่ยง จะไปหานิพพานที่ไหน
การทำบุญให้ทานก็เป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต จนกว่าใจของเราจะเข้าถึงนิพพานคือ ความว่าง ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ ไม่ต้องไปเอาอะไรหรอกเพียงแค่การเกิดเล็กๆ น้อยๆ เราก็พยายามดู รู้ ทำความเข้าใจ ยิ่งพระเราชีเราก็พยายามแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพียงแค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ สำหรับหลวงพ่อนี่จะเป็นเรื่องใหญ่ทันทีเลยนะ
เพียงแค่ความเกิดเล็กๆ น้อยๆ เนี่ย เรารู้ ดับความคิด ดับความเกิด แล้วก็ให้เกิดด้วยสติด้วยปัญญา คนทั่วไปจะเอาได้แต่เรื่องใหญ่ๆ ไม่จัดการความเกิดตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ มันจะไปดับความเกิดได้อย่างไร จะไปละกิเลสได้อย่างไร เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็รู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
มีอะไรก็ให้ช่วยกันทำ ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน ทุกคนก็ปรารถนามาสร้างบุญด้วยกันทั้งนั้น ทุกคนก็ปรารถนามาหาทางดับทุกข์ มาหาทางหลุดพ้น อยู่กันคนละทิศละที่ละทางก็มารวมกัน เราก็พยายามยังประโยชน์ส่วนตัวส่วนรวมให้เกิดประโยชน์ให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป อะไรไม่ดีก็รีบแก้ไขเสีย แก้ไขทั้งจิตใจของเรา กายของเรา แล้วก็วาจาของเรา ก็ไม่ให้ไปทิ่มแทงคนโน้น ไม่ให้ไปทิ่มแทงคนนี้
ทุกคนก็ปรารถนาดีกันทั้งนั้น ทุกคนก็ต้องการถึงจุดหมายปลายทางกันทั้งนั้น ยิ่งมาอยู่รวมกัน ทุกคนก็มีกิเลสกันทั้งนั้น บางทีก็กิเลสหนา บางทีก็กิเลสบาง ทุกคนก็ปรารถนาหาทางมาแก้ไขตัวเอง ก็ต้องพยายามนะ
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกันสักพักหนึ่ง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายก็สงบระงับตั้งมั่นขึ้น ใจของเราก็จะสงบระงับตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกของลมหายใจที่กระทบปลายจมูก ของเราก็จะชัดเจน
เราพยายามทำบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ระลึกได้เมื่อไร ลมหายใจเข้าเป็นอย่างนี้ ลมหายใจออกเป็นอย่างนี้ ความรู้สึกรับรู้ขณะทุกขณะลมหายใจเข้าออกเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เราพยายามรู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ ถ้าความรู้ตัวต่อเนื่องเป็น 1 นาที 2 นาที เป็น 5 นาที เป็น 10 นาที จนต่อเนื่องเป็นชั่วโมง เป็นวัน จนรู้เท่าทันการเจริญสติที่ต่อเนื่องรู้เท่าทันการก่อตัวของใจ การเกิดของใจ การเกิดของความคิด ลักษณะหน้าตาอาการของใจเป็นอย่างไร ใจก่อตัวเริ่มเกิดเริ่มปรุงแต่งส่งไปภายนอกเป็นอย่างไร นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘เหตุของสมุทัย’
ทั้งใจทั้งขันธ์ห้ารวมกันเขาเรียกว่า ‘ความหลง’ ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องจนเห็นการเกิดของขันธ์ห้า จนใจเคลื่อนเข้าไปรวม เห็นการแยกการคลายเขาเรียกว่า ‘พลิกจากของพลิกคว่ำ หงายใจขึ้นมา’ ใจก็ว่าง กายก็เบา ความรู้ตัวก็จะตามเห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าว่าเป็นเรื่องอะไร นั่นแหละเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจก็ยังว่างรับรู้อยู่ สติคอยดูรู้อยู่ เห็นความเกิดความดับ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เวลาเขาดับ อนัตตา
ความหมายของคําว่า อนัตตาปรากฏ ความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ เรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นมาอีก ถ้าใจเคลื่อนเข้าไปรวมก็ให้ดับให้หยุด ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละ รู้จักแก้ไข ใจปรุงแต่งส่งไปภายนอกเราก็รู้จักดับ ธรรมชาติของใจ ธรรมชาติของวิญญาณของทุกคนชอบคิดชอบเที่ยว ชอบปรุง ชอบแต่ง ก็เลยไปยึดไปมั่นหมายเอาตัวโน้นว่าเป็นความคิดของเราที่แท้จริง แต่เป็นแค่เพียงในหลักธรรม เป็นแค่เพียงอาการ เป็นแค่เพียงมายา ไม่มีตัว ไม่มีตน เราไปหลงไปยึด ไปติด ทำให้เกิดอัตตาตัวตน
ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้ เราก็จะเห็นความว่าง เห็นคําว่า ทำความเข้าใจ เห็นสมมติวิมุตติ ทำความเข้าใจกับสมมติวิมุตติ เข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ ถ้ายังเห็นตรงนี้ไม่ได้ แยกแยะตรงนี้ไม่ได้ มันก็เป็นปัญญาของโลกียะ อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยังหลงอยู่ ยังหลงอยู่ เราต้องคลายความหลงตรงนี้ แล้วก็มาดับความเกิดของใจอีก ละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดออกจากใจอีก มันมีกันหมดทุกคน
ถ้าเจริญสติให้ต่อเนื่องให้เข้มแข็งยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรยิ่งทำความเข้าใจ ยิ่งทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ ละออก เทนั้นเทนี้จนใจไม่เกิด จนใจสะอาด จนใจบริสุทธิ์ จนหนุนกําลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทนได้
เราต้องพยายามสร้างตบะสร้างบารมีให้มีให้เกิดขึ้น หมั่นสำรวจกายสํารวจใจของเรา แต่ละวันๆ ใจของเรามีความเสียสละหรือไม่ ใจของเรามีความอ่อนโยน มีความอ่อนน้อมถ่อมตนหรือเปล่า กายของเราเป็นอย่างไร เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบหรือเปล่า เรามีความรับผิดชอบหรือไม่ หรือว่ามีแต่ความเกียจคร้าน
เราพยายามรีบ รีบเดินให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน อย่าไปปล่อยวันเวลาทิ้งเสียดายเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกมีค่ามากมายมหาศาล วิธีการแนวทางนั้นมีอยู่ แต่เราจะนําไปพร่ำสอนใจของเราได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเราไม่ได้พึ่งอยู่กับคนอื่น เราพึ่งคนอื่นได้อยู่ในระดับของสมมติความเป็นอยู่ แต่ทางด้านจิตใจเราค่อยๆ แก้ไขกันไป ได้ทีละเล็กละน้อย เราก็พยายาม อย่าว่าไม่ทำ
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถยิ่งดีใหญ่
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 11 ตุลาคม 2559
มีความสุขกันทุกคน ตื่นเช้าขึ้นมาอากาศเริ่มเย็นสงสัยฝนคงจะไปแล้วนะ อากาศเริ่มเย็นๆ หนาวๆ อากาศหนาวคงลงมา ต่อไปข้างหน้าก็คงจะเริ่มหนาวแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่ก็จะได้ใส่เสื้อกันหนาวสวยๆ งามๆ มาแข่งกัน พระชีเราก็สนุกทำงานตากแดด อากาศหนาวๆ ให้เข้าอยู่ในร่มไม่เอา ต้องเอาออกไปที่กลางแดดในถึงอุ่น ปีนี้จะหนาวนาน
ตื่นเช้าขึ้นมารีบวิเคราะห์ใจของเรา รีบดู รู้กายรู้ใจของตัวเอง ใจปกติเป็นอย่างไร ปัญญาเป็นอย่างไร จะลุกจะก้าวจะเดิน จนกระทั่งถึงเวลาที่จะรับประทานข้าวปลาอาหาร การขบฉันพิจารณาใจก่อน ใจเกิดความอยากหรือว่ากายเกิดความหิวนี่แหละเรียกว่า ‘ปฏิสังขาโย’ กายหิว ใจจะเกิดความอยาก ใจเกิด ใจปรุงแต่ง อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย จะเอาเยอะๆ เอาอย่างนั้นนะ กิเลสมันสั่ง ยังมาไม่ถึงมันมองเห็น อันโน้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา คนโน้นเอาเยอะคนนี้เอาน้อย ไปอคติคนโน้นไปอคติคนนี้ ใจของเราทั้งนั้น ใจของเราทั้งนั้น
เราพยายามดับความเกิดที่ใจของตัวเราเอง แล้วก็วิเคราะห์พิจารณาปฏิสังขาโย กะประมาณในการขบฉันของตัวเรา อันไหนมันเกิดความอยากเราก็ดับภายใน อาหารข้างนอกก็ให้ผ่านเลยไป เพื่อที่จะขัดเกลากิเลส มันผ่านเลยไปแล้วก็มันยังเสียดายอาลัยอาวรณ์อยู่หรือเปล่าเราก็ดูอีก ความอยากเล็กๆ น้อยๆ นั่นแหละ คนเราขาดการวิเคราะห์ขาดการพิจารณา จะไปละตั้งแต่กิเลส แต่ไม่ดูความเกิดตั้งแต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ
เราพยายามดับความเกิดของใจของเรา เป็นผู้ให้ผู้เอาออก พิจารณาอาหารแต่ละชิ้นแต่ละส่วน เราเอาเท่านี้ เราจะตกถึงนี้ ถ้าเราไม่เอาคนอยู่ข้างหลังข้างล่างก็พลอยได้รับอานิสงส์จากเรา อันโน้นก็จะเอาอันนี้ก็จะเอา ใส่บาตรเสียจนเต็มเป็นล้นก็มี เอาไปเททิ้ง เราต้องกะประมาณในการขบฉันของตัวเอง วันนี้เรากะประมาณได้เท่านี้ วันพรุ่งนี้เพิ่มขึ้นไปอีก วันนี้เรากะว่าอิ่มพอดี เอาไม่อิ่มมันก็จะอิ่มพอดี ดื่มน้ำลงไปก็อิ่มพอดี ทุกเรื่องๆ กายเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร วิเคราะห์พิจารณา
ยิ่งอยู่ด้วยกันเยอะๆ ทั้งพระ ทั้งชี ทั้งฆราวาสญาติโยม เรายิ่งเพิ่มความขยันหมั่นเพียร เพิ่มความสมัครสมานสามัคคี เพิ่มความเสียสละ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่นอน ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน มีอะไรเราช่วยกัน พากันสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ในสิ่งที่พวกเราทำเป็นประโยชน์ทั้งนั้น ประโยชน์เราก็พลอยได้รับประโยชน์ คนอื่นมาก็พลอยได้รับประโยชน์ เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติ
ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความขยันหมั่นเพียร จัดระบบระเบียบภายในใจของเรา ใจของเราสงบ ใจของเราเป็นสมาธิ ใจของเราไม่เกิด เห็นความเกิดของเรา การแยกรูปแยกนาม อะไรคือสติที่เราสร้างขึ้นมา ความรู้ตัวเป็นอย่างไร ความรู้ตัวต่อเนื่องหรือไม่ การเกิดการดับของใจเกิดจากใจโดยตรงหรือว่าเกิดจากขันธ์ห้า เราก็หัดวิเคราะห์หัดพิจารณา สำรวมกายวาจาใจของเรา
อยู่คนเดียวเราก็รู้ใจของเรา อยู่หลายคนเราก็รู้ใจของเรา หมั่นแก้ไข ใจจะเกิดปรุงแต่งไปอคติคนโน้น อคติคนนี้ เราก็รู้จักดับรู้จักแก้ไข สร้างความอ่อนน้อม สร้างพรหมวิหาร สร้างความเมตตาให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเราอยู่ตลอดเวลา มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี การกระทำของเราให้ถึงพร้อมถึงจะเกิดประโยชน์ รู้จักการเจริญสติไปอบรมใจของเรานั่นแหละ หมั่นพร่ำสอนใจของเรา
ใจของคนเรานี่สอนได้ ไม่ใช่ว่าสอนไม่ได้ สอนได้ ได้บ้างไม่ได้บ้าง พยายามอบรมแก้ไข ปรับปรุง วางรากฐานให้ดีก็จะส่งผลถึงอนาคต ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย เราต้องพยายามเจริญสติให้เป็นที่พึ่งของใจของเราให้ได้ เป็นที่พึ่งท่านเรียกว่า ‘ตนเป็นที่พึ่งของตน’ สมมติเรามีโอกาสพึ่งพาอาศัยกันได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นเอง ถ้าหมดลมหายใจก็สติปัญญาเป็นที่พึ่งของใจ เพียงแค่เรื่องของสมมติ เราก็พยายามทำให้ดี มีอะไรเราก็คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ไม่ใช่ว่าจะไปอคติที่โน่นอคติที่นี่ ที่โน่นไม่ดีที่นี่ไม่ดี ใจของเราไม่ดีถึงไปมองเห็นภายนอกไม่ดี ถ้าใจของเราดีแล้วภายนอกไม่ดีอย่างไรใจของเราก็ดีอยู่เหมือนเดิม เรามาแก้ไขใจของเรา หมั่นพร่ำสอนใจของเรา แล้วก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่เพื่อนสู่ฝูง
รู้จักเพียงแค่กายก็รู้จักรักษากายของตัวเอง วาจาก็รู้จักรักษาวาจาของตัวเรา ลึกลงไปก็รู้จักรักษาใจ ท่านถึงว่าทำบุญกับตัวเรา ทำบุญกับใจของกับกายของเรา จนล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ เพียงแค่คําพูดวาจาเราก็ไม่ให้กระทบกระทั่งคนโน้นคนนี้ คนโน้นเป็นอย่างนั้นคนนั้นเป็นอย่างนี้ เราก็พยายามละ มาจัดระบบระเบียบ มาจัดระบบระเบียบภายใน ภายในกายภายในใจของเรา อะไรมันผิดพลาดก็รีบแก้ไขเสีย ขณะยังมีลมหายใจอยู่
ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคน ความเป็นระเบียบ ความเสียสละนี้ต้องยิ่งยวด ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย พยายามให้รักสมัครสมานสามัคคีซึ่งกันและกัน ก็รู้จักสำรวมวาจา เพียงแค่วาจาก็รู้จักรักษา กายก็รู้จักรักษา ใจก็รู้จักรักษา ยิ่งเจริญสติเข้าไปอีกก็ยิ่งจะเห็นใจของเราชัดเจนขึ้น ใจของเรามีความแข็งกระด้าง มีความแข็งกร้าวหรือว่ามีความอ่อนน้อม ทิฏฐิความเห็นของใจมันเกิดอย่างไร ไปอย่างไรมาอย่างไร
คําสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมานานแล้ว เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะดำเนินให้ถึงจุดหมายปลายทางหรือไม่ เพียงแค่การเจริญสติก็ทำให้ได้ การสังเกตวิเคราะห์จนใจคลายออกจากขันธ์ห้า ใจพลิกใจหงายซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ สัมมาทิฏฐิก็เปิดทางให้ เราก็จะเข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ว่าท่านสอนเรื่องอัตตาเป็นอย่างไร อนัตตาเป็นอย่างไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้าเป็นอย่างไร เราก็จะเข้าถึงคําสอนนั้นๆ แล้วก็ทำความเข้าใจ แล้วก็ค่อยละออกจากใจของเราให้มันหมดจด
ละที่นั้นทีนี้ก็หมด ก็หมดจด ใจเกิดความโลภก็ละความโลภด้วยการให้ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธก็ดับความโกรธด้วยการให้อภัย ใจเกิดความทะเยอทะยานอยาก เราก็พยายามดับความอยากเสีย เปลี่ยนจากความทะเยอทะยานอยากให้เป็นความต้องการของสติปัญญา คลายใจออกจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ห้า ดับความเกิด ถ้าใจยังเกิดอยู่ใจก็ไม่เที่ยง ถ้าใจไม่เกิด ใจที่คลายจากกิเลส ใจที่คลายจากขันธ์ห้า ใจที่ไม่มีกิเลส ใจไม่เกิดเขาก็นิ่ง เขาก็ว่างเป็นธรรมชาตินั่นแหละ ใจเที่ยง นิพพานก็เลยเที่ยง จะไปหานิพพานที่ไหน
การทำบุญให้ทานก็เป็นรากฐานในการดำเนินชีวิต จนกว่าใจของเราจะเข้าถึงนิพพานคือ ความว่าง ความบริสุทธิ์หลุดพ้น ขณะที่เรายังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ ไม่ต้องไปเอาอะไรหรอกเพียงแค่การเกิดเล็กๆ น้อยๆ เราก็พยายามดู รู้ ทำความเข้าใจ ยิ่งพระเราชีเราก็พยายามแก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพียงแค่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ สำหรับหลวงพ่อนี่จะเป็นเรื่องใหญ่ทันทีเลยนะ
เพียงแค่ความเกิดเล็กๆ น้อยๆ เนี่ย เรารู้ ดับความคิด ดับความเกิด แล้วก็ให้เกิดด้วยสติด้วยปัญญา คนทั่วไปจะเอาได้แต่เรื่องใหญ่ๆ ไม่จัดการความเกิดตั้งแต่เล็กๆ น้อยๆ มันจะไปดับความเกิดได้อย่างไร จะไปละกิเลสได้อย่างไร เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็รู้จักแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา
มีอะไรก็ให้ช่วยกันทำ ยิ่งอยู่ด้วยกันหลายคนหลายท่าน ทุกคนก็ปรารถนามาสร้างบุญด้วยกันทั้งนั้น ทุกคนก็ปรารถนามาหาทางดับทุกข์ มาหาทางหลุดพ้น อยู่กันคนละทิศละที่ละทางก็มารวมกัน เราก็พยายามยังประโยชน์ส่วนตัวส่วนรวมให้เกิดประโยชน์ให้มากยิ่งๆ ขึ้นไป อะไรไม่ดีก็รีบแก้ไขเสีย แก้ไขทั้งจิตใจของเรา กายของเรา แล้วก็วาจาของเรา ก็ไม่ให้ไปทิ่มแทงคนโน้น ไม่ให้ไปทิ่มแทงคนนี้
ทุกคนก็ปรารถนาดีกันทั้งนั้น ทุกคนก็ต้องการถึงจุดหมายปลายทางกันทั้งนั้น ยิ่งมาอยู่รวมกัน ทุกคนก็มีกิเลสกันทั้งนั้น บางทีก็กิเลสหนา บางทีก็กิเลสบาง ทุกคนก็ปรารถนาหาทางมาแก้ไขตัวเอง ก็ต้องพยายามนะ
ตั้งใจรับพรกัน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกันสักพักหนึ่ง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว กายก็สงบระงับตั้งมั่นขึ้น ใจของเราก็จะสงบระงับตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกของลมหายใจที่กระทบปลายจมูก ของเราก็จะชัดเจน
เราพยายามทำบ่อยๆ ทำบ่อยๆ ระลึกได้เมื่อไร ลมหายใจเข้าเป็นอย่างนี้ ลมหายใจออกเป็นอย่างนี้ ความรู้สึกรับรู้ขณะทุกขณะลมหายใจเข้าออกเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เราพยายามรู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ ถ้าความรู้ตัวต่อเนื่องเป็น 1 นาที 2 นาที เป็น 5 นาที เป็น 10 นาที จนต่อเนื่องเป็นชั่วโมง เป็นวัน จนรู้เท่าทันการเจริญสติที่ต่อเนื่องรู้เท่าทันการก่อตัวของใจ การเกิดของใจ การเกิดของความคิด ลักษณะหน้าตาอาการของใจเป็นอย่างไร ใจก่อตัวเริ่มเกิดเริ่มปรุงแต่งส่งไปภายนอกเป็นอย่างไร นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘เหตุของสมุทัย’
ทั้งใจทั้งขันธ์ห้ารวมกันเขาเรียกว่า ‘ความหลง’ ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องจนเห็นการเกิดของขันธ์ห้า จนใจเคลื่อนเข้าไปรวม เห็นการแยกการคลายเขาเรียกว่า ‘พลิกจากของพลิกคว่ำ หงายใจขึ้นมา’ ใจก็ว่าง กายก็เบา ความรู้ตัวก็จะตามเห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้าว่าเป็นเรื่องอะไร นั่นแหละเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในขันธ์ห้า เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ใจก็ยังว่างรับรู้อยู่ สติคอยดูรู้อยู่ เห็นความเกิดความดับ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เวลาเขาดับ อนัตตา
ความหมายของคําว่า อนัตตาปรากฏ ความว่างเปล่าเข้ามาปรากฏ เรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นมาอีก ถ้าใจเคลื่อนเข้าไปรวมก็ให้ดับให้หยุด ใจเกิดกิเลสก็รู้จักละ รู้จักแก้ไข ใจปรุงแต่งส่งไปภายนอกเราก็รู้จักดับ ธรรมชาติของใจ ธรรมชาติของวิญญาณของทุกคนชอบคิดชอบเที่ยว ชอบปรุง ชอบแต่ง ก็เลยไปยึดไปมั่นหมายเอาตัวโน้นว่าเป็นความคิดของเราที่แท้จริง แต่เป็นแค่เพียงในหลักธรรม เป็นแค่เพียงอาการ เป็นแค่เพียงมายา ไม่มีตัว ไม่มีตน เราไปหลงไปยึด ไปติด ทำให้เกิดอัตตาตัวตน
ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้ เราก็จะเห็นความว่าง เห็นคําว่า ทำความเข้าใจ เห็นสมมติวิมุตติ ทำความเข้าใจกับสมมติวิมุตติ เข้าใจในคําสอนของพระพุทธองค์ ถ้ายังเห็นตรงนี้ไม่ได้ แยกแยะตรงนี้ไม่ได้ มันก็เป็นปัญญาของโลกียะ อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยังหลงอยู่ ยังหลงอยู่ เราต้องคลายความหลงตรงนี้ แล้วก็มาดับความเกิดของใจอีก ละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดออกจากใจอีก มันมีกันหมดทุกคน
ถ้าเจริญสติให้ต่อเนื่องให้เข้มแข็งยิ่งเห็นเยอะ ยิ่งเห็นเยอะเท่าไรยิ่งทำความเข้าใจ ยิ่งทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วก็ค่อยละ ละออก เทนั้นเทนี้จนใจไม่เกิด จนใจสะอาด จนใจบริสุทธิ์ จนหนุนกําลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทนได้
เราต้องพยายามสร้างตบะสร้างบารมีให้มีให้เกิดขึ้น หมั่นสำรวจกายสํารวจใจของเรา แต่ละวันๆ ใจของเรามีความเสียสละหรือไม่ ใจของเรามีความอ่อนโยน มีความอ่อนน้อมถ่อมตนหรือเปล่า กายของเราเป็นอย่างไร เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบหรือเปล่า เรามีความรับผิดชอบหรือไม่ หรือว่ามีแต่ความเกียจคร้าน
เราพยายามรีบ รีบเดินให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน อย่าไปปล่อยวันเวลาทิ้งเสียดายเวลา ทุกลมหายใจเข้าออกมีค่ามากมายมหาศาล วิธีการแนวทางนั้นมีอยู่ แต่เราจะนําไปพร่ำสอนใจของเราได้หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเราไม่ได้พึ่งอยู่กับคนอื่น เราพึ่งคนอื่นได้อยู่ในระดับของสมมติความเป็นอยู่ แต่ทางด้านจิตใจเราค่อยๆ แก้ไขกันไป ได้ทีละเล็กละน้อย เราก็พยายาม อย่าว่าไม่ทำ
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถยิ่งดีใหญ่