หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 33 วันที่ 20 มีนาคม 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 33 วันที่ 20 มีนาคม 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 2 (ลำดับที่ 21-40)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 33
วันที่ 20 มีนาคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก เราก็ต้องศึกษาให้ละเอียด ว่าลมหายใจเข้าเป็นอย่างไร หายใจออกเป็นอย่างไร หายใจเข้ายาว หายใจเข้าสั้น ความหมายของการสร้างความรู้ตัวเป็นลักษณะอย่างไร คำว่ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ปัจจุบัน
นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ เพียงแค่หลวงพ่อพูดให้ฟัง ชี้แนะแนวทาง พวกท่านจงพยายามน้อม วิธีการ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากตัวใจก็จะหยุด กายของเราก็จะรู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกนั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เราอาจจะรู้อยู่เป็นบางช่วง เป็นบางครั้ง เป็นบางขณะ แต่เรารู้ไม่ต่อเนื่อง
เราพยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘รู้กายอยู่กับปัจจุบัน’ รู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า มีสติรู้ตัว ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติเน้นลงอยู่ที่กาย ความรู้ตัวลงอยู่ที่กายเสียก่อน ลึกลงไปเราก็จะรู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติ ใจที่ก่อตัว อาการของใจ อาการของความคิด ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ที่เขาเกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอด แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ ก็เลยไปเอาความรู้ตัวตัวเก่าซึ่งเกิดจากตัวใจ ตัวอาการของใจ เกิดอยู่ตลอดเวลา คิดก็รู้ ทำก็รู้ นั่นแหละเขาหลงอยู่ในความรู้อยู่ หลงเกิดอยู่
ท่านถึงให้มาเจริญสติตัวใหม่เข้าไปอบรมใจ เข้าไปควบคุมใจ จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรมด้วยกัน จนกว่าใจของเราจะพลิกจะหงาย หรือว่าแยกรูปแยกนาม ในภาษาธรรมท่านเรียกว่า ความเห็น แยกออก แล้วก็เห็นความเป็นจริง เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า ‘อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’
รู้ด้วย เห็นด้วย ไม่ใช่ไปนึกเอา ไปคิดเอา ไปอ่านเอา รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ว่างวางคลายจากขันธ์ห้าเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ลักษณะของสติรู้ตัว ปัญญารู้ตัว อยู่กับปัจจุบันเป็นอย่างไร กำลังสติของเรามีเพียงพอหรือไม่ ตามดูรู้เห็นจนเป็น มหาสติ มหาปัญญา ชี้เหตุชี้ผลให้ใจมองเห็นความเป็นจริง จนใจยอมรับความเป็นจริงได้ ใจปล่อยวางได้ แล้วก็มาละกิเลสที่ใจ ดับความเกิดที่ใจจนหมดจดนั่นแหละ เราก็จะมองเห็นหนทางเดิน มองเห็นชีวิตที่แท้จริง ว่าคนเราเกิดมา นี่เกิดมาทำไม ดำเนินชีวิตอย่างไร ไปอย่างไร
อะไรคือโลก อะไรคือธรรม ‘ธรรม’ กับ ‘โลก’ เป็นอย่างไร อะไรคือ ‘สมมติ วิมุตติ’ ต้องรู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย ไม่ใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างทำปุ๊บมันจะได้ปั๊บ ต้องค่อยพยายาม ค่อยวิเคราะห์ ค่อยสังเกต ค่อยเจริญพรหมวิหาร สร้างสะสมบุญบารมีของเราไปให้เต็มเปี่ยม
เหมือนกับเราจะขึ้นบันได เหมือนกับเราจะขึ้นตัวเรือน เราก็ต้องอาศัยบันได เราจะปฏิบัติธรรมให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง เราก็อาศัยการละกิเลส การเจริญพรหมวิหารให้เต็มเปี่ยม กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เป็นอย่างไร เราต้องศึกษาให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น บอกตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้ได้อยู่ตลอดเวลา
ไม่ใช่ว่าจะไปเที่ยวหาธรรมที่นู่น หาธรรมที่นี่ ลักษณะของสติปัจจุบันก็ยังไม่เข้าใจ ลักษณะของใจก็ยังไม่เข้าใจ มันก็ไปด้วยความหลง แต่ว่ายังได้บุญอยู่ ก็เป็นบุญที่หลงๆ อยู่ เราต้องรู้ด้วยเห็นด้วย เราละกิเลสได้มาก ได้น้อย เราพลั้งเผลอให้กิเลสได้อย่างไร ความหิวเกิดขึ้นที่กาย หรือว่าความอยากเกิดขึ้นที่ใจ ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร เราต้องพยายามเข้าให้ถึง แล้วก็พยายามทำให้ปรากฏขึ้นที่ใจ หมดความสงสัยหมดความลังเล
นั่นแหละก็มีตั้งแต่ ‘ความเพียร’ พูดง่าย แต่การลงมือเราต้องมีความเพียรอย่างเต็มที่ มีความเพียรอย่างเป็นเลิศ ขยันหมั่นเพียรทุกเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก สักวันหนึ่งเราก็จะหมดความสงสัย ไม่ต้องไปเที่ยวถามใคร ถามตัวเรา แก้ไขตัวเรา หาความเป็นกลาง ความว่าง ความเป็นกลางเป็นเครื่องตัดสินภายใน นั่นแหละ จะไปอ่านตำราเล่มไหน ก็จะเข้าใจ ถ้าเรารู้จักฐานของใจ รู้จักการแยกการแยะ ไปหาครูบาอาจารย์องค์ไหน ถ้าท่านชี้แนะในทางที่ถูกต้อง เราก็จะเข้าใจ เพราะว่าเรามีเครื่องตัดสินภายใน
พยายามเอานะ ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี อย่าพากันเกียจคร้าน พยายามขยันหมั่นเพียร ตังแต่ตื่นขึ้นมา มันไม่ได้ขยันหมั่นเพียรไปได้ตลอดหรอก ขยันหมั่นเพียรต่อสู้ขัดเกลากิเลสจนหมด จนละกิเลสได้หมด เราก็ได้พัก แต่เราก็บริหารกายใจของเราด้วยปัญญา อยู่ด้วยปัญญา จนกว่าจะหมดลมหายใจ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนนะ ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออก กระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไปไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอานะ
วันที่ 20 มีนาคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก เราก็ต้องศึกษาให้ละเอียด ว่าลมหายใจเข้าเป็นอย่างไร หายใจออกเป็นอย่างไร หายใจเข้ายาว หายใจเข้าสั้น ความหมายของการสร้างความรู้ตัวเป็นลักษณะอย่างไร คำว่ามีความรู้สึกรับรู้อยู่ปัจจุบัน
นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ เพียงแค่หลวงพ่อพูดให้ฟัง ชี้แนะแนวทาง พวกท่านจงพยายามน้อม วิธีการ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ ความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากตัวใจก็จะหยุด กายของเราก็จะรู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกนั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เราอาจจะรู้อยู่เป็นบางช่วง เป็นบางครั้ง เป็นบางขณะ แต่เรารู้ไม่ต่อเนื่อง
เราพยายามสร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘รู้กายอยู่กับปัจจุบัน’ รู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า มีสติรู้ตัว ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีสติเน้นลงอยู่ที่กาย ความรู้ตัวลงอยู่ที่กายเสียก่อน ลึกลงไปเราก็จะรู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติ ใจที่ก่อตัว อาการของใจ อาการของความคิด ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ที่เขาเกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอด แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ ก็เลยไปเอาความรู้ตัวตัวเก่าซึ่งเกิดจากตัวใจ ตัวอาการของใจ เกิดอยู่ตลอดเวลา คิดก็รู้ ทำก็รู้ นั่นแหละเขาหลงอยู่ในความรู้อยู่ หลงเกิดอยู่
ท่านถึงให้มาเจริญสติตัวใหม่เข้าไปอบรมใจ เข้าไปควบคุมใจ จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากความคิด ซึ่งเป็นฝ่ายนามธรรมด้วยกัน จนกว่าใจของเราจะพลิกจะหงาย หรือว่าแยกรูปแยกนาม ในภาษาธรรมท่านเรียกว่า ความเห็น แยกออก แล้วก็เห็นความเป็นจริง เห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า ‘อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’
รู้ด้วย เห็นด้วย ไม่ใช่ไปนึกเอา ไปคิดเอา ไปอ่านเอา รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ว่างวางคลายจากขันธ์ห้าเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ลักษณะของสติรู้ตัว ปัญญารู้ตัว อยู่กับปัจจุบันเป็นอย่างไร กำลังสติของเรามีเพียงพอหรือไม่ ตามดูรู้เห็นจนเป็น มหาสติ มหาปัญญา ชี้เหตุชี้ผลให้ใจมองเห็นความเป็นจริง จนใจยอมรับความเป็นจริงได้ ใจปล่อยวางได้ แล้วก็มาละกิเลสที่ใจ ดับความเกิดที่ใจจนหมดจดนั่นแหละ เราก็จะมองเห็นหนทางเดิน มองเห็นชีวิตที่แท้จริง ว่าคนเราเกิดมา นี่เกิดมาทำไม ดำเนินชีวิตอย่างไร ไปอย่างไร
อะไรคือโลก อะไรคือธรรม ‘ธรรม’ กับ ‘โลก’ เป็นอย่างไร อะไรคือ ‘สมมติ วิมุตติ’ ต้องรู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย ไม่ใช่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างทำปุ๊บมันจะได้ปั๊บ ต้องค่อยพยายาม ค่อยวิเคราะห์ ค่อยสังเกต ค่อยเจริญพรหมวิหาร สร้างสะสมบุญบารมีของเราไปให้เต็มเปี่ยม
เหมือนกับเราจะขึ้นบันได เหมือนกับเราจะขึ้นตัวเรือน เราก็ต้องอาศัยบันได เราจะปฏิบัติธรรมให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทาง เราก็อาศัยการละกิเลส การเจริญพรหมวิหารให้เต็มเปี่ยม กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เป็นอย่างไร เราต้องศึกษาให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น บอกตัวเราให้ได้ ใช้ตัวเองให้ได้อยู่ตลอดเวลา
ไม่ใช่ว่าจะไปเที่ยวหาธรรมที่นู่น หาธรรมที่นี่ ลักษณะของสติปัจจุบันก็ยังไม่เข้าใจ ลักษณะของใจก็ยังไม่เข้าใจ มันก็ไปด้วยความหลง แต่ว่ายังได้บุญอยู่ ก็เป็นบุญที่หลงๆ อยู่ เราต้องรู้ด้วยเห็นด้วย เราละกิเลสได้มาก ได้น้อย เราพลั้งเผลอให้กิเลสได้อย่างไร ความหิวเกิดขึ้นที่กาย หรือว่าความอยากเกิดขึ้นที่ใจ ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร เราต้องพยายามเข้าให้ถึง แล้วก็พยายามทำให้ปรากฏขึ้นที่ใจ หมดความสงสัยหมดความลังเล
นั่นแหละก็มีตั้งแต่ ‘ความเพียร’ พูดง่าย แต่การลงมือเราต้องมีความเพียรอย่างเต็มที่ มีความเพียรอย่างเป็นเลิศ ขยันหมั่นเพียรทุกเวลา ทุกลมหายใจเข้าออก สักวันหนึ่งเราก็จะหมดความสงสัย ไม่ต้องไปเที่ยวถามใคร ถามตัวเรา แก้ไขตัวเรา หาความเป็นกลาง ความว่าง ความเป็นกลางเป็นเครื่องตัดสินภายใน นั่นแหละ จะไปอ่านตำราเล่มไหน ก็จะเข้าใจ ถ้าเรารู้จักฐานของใจ รู้จักการแยกการแยะ ไปหาครูบาอาจารย์องค์ไหน ถ้าท่านชี้แนะในทางที่ถูกต้อง เราก็จะเข้าใจ เพราะว่าเรามีเครื่องตัดสินภายใน
พยายามเอานะ ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี อย่าพากันเกียจคร้าน พยายามขยันหมั่นเพียร ตังแต่ตื่นขึ้นมา มันไม่ได้ขยันหมั่นเพียรไปได้ตลอดหรอก ขยันหมั่นเพียรต่อสู้ขัดเกลากิเลสจนหมด จนละกิเลสได้หมด เราก็ได้พัก แต่เราก็บริหารกายใจของเราด้วยปัญญา อยู่ด้วยปัญญา จนกว่าจะหมดลมหายใจ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนนะ ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออก กระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไปไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอานะ