หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 37 วันที่ 9 มิถุนายน 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 37 วันที่ 9 มิถุนายน 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 37
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 9 มิถุนายน 2561
มีความสุขกันทุกคน ตื่นเช้าขึ้นมาอากาศก็เย็นสบายนะ วันนี้มีการบวชนาคหรือเปล่าที่วัดเรา วันนี้มีการบวชนาคญาติโยมท่านใดที่ปรารถนาที่อยากจะไปบวชพระบวชนาคก็ประมาณบ่ายโมงที่บ้านโคก แล้วก็มีทางคณะนักเรียน ก.ศ.น. การศึกษานอกโรงเรียนจะได้มา มาช่วยกันสร้างบารมีด้วยการตัดผมฟรีให้กับทุกคน บอกกล่าวญาติโยมพี่น้องใครอยากจะมาตัดผมก็มาตัดผมได้ เพราะว่ามากันเยอะ มากันบริการตัดผม ตัดผมฟรีประมาณหลายคน 70, 40-50 คน จะมาช่วยกันตัดผม ญาติโยมท่านใดมีลูกมีหลานอยากจะมาตัดผมก็ส่งมาตัดได้ ก็คงจะเริ่มตั้งแต่ 9 โมงเช้า
พระเราชีเราก็พยายามดูดีๆ รู้จักพิจารณาปฏิสังขาโยก่อนที่จะรับประทานข้าวปลาอาหารก็พิจารณาดู กายของเราเกิดความหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก เราต้องจำแนกแจกแจงตรงจุดนี้ให้ได้ ใจเกิดความอยากก็รู้จักดับรู้จักควบคุม เขาเรียกว่าเจริญสติเจริญปัญญาเข้าไปควบคุม เข้าไปอบรมใจไม่ให้ใจเกิดความอยาก ถ้าใจเกิดความอยากกายเกิดความหิว ใจจะปรุงแต่งความอยากได้เร็วได้ไว อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม กิเลสมันสั่งมันบอกว่าเอาเยอะๆ ยิ่งฝึกใหม่ๆ ยิ่งเห็นความอยากเยอะ ยิ่งกายของเราอดอาหารสักมื้อสองมื้อ ความอยาก ความอยากจะบีบบังคับ อันโน้นก็จะอร่อยอันนี้ก็จะอร่อยบอกว่างั้น ยังมาไม่ถึงมันไปเลือกเอาก่อน เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันบอกเอาเยอะๆ
ถ้าใจเกิดความอยากเราก็รู้จักดับ ดับไม่ได้ก็ไม่ทำตาม ปล่อยให้มันเกิดเสียจนจนให้มันดับเองหรือว่าให้อาหารส่วนนั้นผ่านไป อาหารผ่านไปแล้วใจของเรามันยังเกิดความอาลัยอาวรณ์หรือไม่เราก็ต้องดู พิจารณาทุกอย่างท่านเรียกว่า ปฏิสังขาโย เราต้องพิจารณาใจของเรา เจริญปัญญาหรือว่าสร้างสติปัญญาตัวใหม่ไปอบรมใจของเราให้ได้ ใช้ตัวเราให้เป็น
ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ‘ตน’ ตัวแรกคือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ‘ตน’ ตัวที่สองคือใจ ใจเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้เขาทั้งรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด ทั้งเป็นทาสกิเลสทุกอย่าง เราก็ค่อยขัดเกลาเอาออก ทำความเข้าใจ ความเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ ความอดทน อันนี้เขาเรียกว่าตบะ ตบะบารมี อดต่อความหิว อดทนต่อกิเลสมารต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา ต้องเจริญสติเข้าไปอบรม เข้าไปแก้ไข ถ้าเราแก้ไขเราไม่ได้ ไม่มีใครจะแก้ไขให้เราได้เลยนอกจากตัวของเรา
แต่ละวันๆ ตื่นขึ้นมา เราจะแก้ไขจิตใจของเราอย่างไร ความเกิดของใจเป็นกุศลหรือว่าอกุศล ความเกิดของขันธ์ห้า ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดเป็นอย่างไรทุกเรื่อง ทุกเรื่องเราต้องเจริญสติเข้าไปจำแนกแจกแจงแยกแยะให้ได้ว่าที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์นั้นเป็นลักษณะอย่างไร ถ้าเราแยกไม่ได้เราก็ไม่เข้าใจ เราก็เข้าใจอยู่ในระดับของสมมติ ทำโน่นทำนี่สร้างคุณงามความดี สร้างประโยชน์สร้างบุญก็อยู่ในช่วงระยะสร้างบารมี เราก็อย่าเกียจคร้าน เจริญสติไปด้วย
แต่ละวันตื่นขึ้นมา คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น สารพัดอย่างที่ใจมันจะส่งออกไป เราก็มาแก้ไขตัวเรา ความขยัน ความรับผิดชอบ ความเสียสละ มีความจริงใจ สัจจะต่อตัวเราเอง กายของเราทำหน้าที่อย่างไร เราก็ต้องดู รู้ให้ชัดเจน ส่วนการทำงาน
ส่วนการทำบุญให้ทานตรงนี้มีกันเต็มเปี่ยม ศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญเชื่อบาป แต่ขาดการเจริญสติปัญญา ส่วนสมองเข้าไปดูแลใจ ส่วนมากก็มีแต่ใจส่งออกไป มีขันธ์ห้ากับใจรวมกัน เราก็ทำตามความคิด ถูกบ้างผิดบ้าง มันก็ความหลง ความเกิดของใจนั่นแหละคือความหลงปิดกั้นเองไว้อยู่ ถ้าหลงก็ขอให้หลงอยู่ในบุญเอาไว้ก็ยังดี ยังดีกว่าหลงอยู่ในกองอกุศล
ละอกุศล เจริญกุศล จนมันเต็มเปี่ยม จนเจริญสติปัญญาเข้าไปชี้เหตุชี้ผล มองเห็นความเป็นจริงได้ ใช้ตัวเองเป็น อยู่ที่ไหนก็มีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข มีเพื่อน มีเพื่อนอยู่ตลอดเวลาคือเพื่อนใจ สติปัญญาเป็นเพื่อนกับใจ คอยดูคอยรู้ คอยชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล แต่เวลานี้มีตั้งแต่กิเลสเป็นเพื่อนใจ ชวนกันไปไหนต่อไหน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาไม่รู้ไปสักกี่เรื่อง ความคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมไปด้วยกัน มีอะไรดีๆ เยอะในกายของเรา เราต้องพยายามวิเคราะห์เป็นเรื่องของเรา
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเอามาเปิดเผยจำแนกแจกแจงมีไว้หมดทุกอย่าง มีไว้หมดทุกอย่าง การเจริญสติเป็นอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบเป็นอย่างนี้ กิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ นิวรณธรรม มลทินต่างๆ เป็นอย่างนี้ มีไว้หมด
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ก็เป็นแค่เพียงแผนที่ การได้ยินได้ฟัง การพูดการจาก็เป็นแค่เพียงสื่อความหมายของภาษาสมมติ ให้ไปปฏิบัติให้มีให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นที่ใจ รู้ด้วยสติ รู้ด้วยปัญญา มันถึงจะเป็นของจริง รู้ด้วย เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย แล้วก็ละได้ด้วย แต่ส่วนมากก็มีตั้งแต่ไปสะสมปิดกั้นตัวเองไว้ มันก็เลยหนาเตอะ หนาขึ้นเรื่อยๆ เหมือนดินพอกหางหมู มันก็เลยขัดเกลาเอาออกยาก ก็ต้องพยายามขัดเกลาเอาออก ถึงจะยากลำบากขนาดไหนก็อย่าไปทิ้ง ในการสนใจในการฝักใฝ่ ทำความเข้าใจ
ทั้งพระทั้งชี ในการบวชก็เหมือนกัน ความหมายของการบวชอยู่ที่ไหน ความหมายของการบวชที่แท้จริง บวชก็เพื่อละกิเลส ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ เราทำได้เท่าไรก็ค่อยสะสมกันไป ไม่ใช่ว่าบวชแล้วก็มาสร้างความเกียจคร้าน เข้าครอบงำตัวเอง มีความเกียจคร้าน ความไม่เสียสละ ปิดกั้นตัวเองเอาไว้ มันก็จะเสียทีเสียเที่ยว
ตื่นขึ้นมาการเจริญสติเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องหมั่นวิเคราะห์ตัวเรา ไม่ใช่ให้ไปอยู่ที่โน้นเราจะรู้ธรรม ไปอยู่ที่นี่จะรู้ธรรม มันยังไม่ใช่ รู้อยู่ เราต้องสร้างผู้รู้เข้าไปขัดเกลาใจของเรา ชี้เหตุขี้ผลจนถึงจุดหมาย เชื่อมั่นในตัวเอง ประกาศด้วยตัวเอง ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น ก็ต้องพยายามกัน
ตั้งใจรับพรกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 9 มิถุนายน 2561
มีความสุขกันทุกคน ตื่นเช้าขึ้นมาอากาศก็เย็นสบายนะ วันนี้มีการบวชนาคหรือเปล่าที่วัดเรา วันนี้มีการบวชนาคญาติโยมท่านใดที่ปรารถนาที่อยากจะไปบวชพระบวชนาคก็ประมาณบ่ายโมงที่บ้านโคก แล้วก็มีทางคณะนักเรียน ก.ศ.น. การศึกษานอกโรงเรียนจะได้มา มาช่วยกันสร้างบารมีด้วยการตัดผมฟรีให้กับทุกคน บอกกล่าวญาติโยมพี่น้องใครอยากจะมาตัดผมก็มาตัดผมได้ เพราะว่ามากันเยอะ มากันบริการตัดผม ตัดผมฟรีประมาณหลายคน 70, 40-50 คน จะมาช่วยกันตัดผม ญาติโยมท่านใดมีลูกมีหลานอยากจะมาตัดผมก็ส่งมาตัดได้ ก็คงจะเริ่มตั้งแต่ 9 โมงเช้า
พระเราชีเราก็พยายามดูดีๆ รู้จักพิจารณาปฏิสังขาโยก่อนที่จะรับประทานข้าวปลาอาหารก็พิจารณาดู กายของเราเกิดความหิวหรือว่าใจเกิดความอยาก เราต้องจำแนกแจกแจงตรงจุดนี้ให้ได้ ใจเกิดความอยากก็รู้จักดับรู้จักควบคุม เขาเรียกว่าเจริญสติเจริญปัญญาเข้าไปควบคุม เข้าไปอบรมใจไม่ให้ใจเกิดความอยาก ถ้าใจเกิดความอยากกายเกิดความหิว ใจจะปรุงแต่งความอยากได้เร็วได้ไว อันโน้นก็อร่อยอันนี้ก็อร่อย เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม กิเลสมันสั่งมันบอกว่าเอาเยอะๆ ยิ่งฝึกใหม่ๆ ยิ่งเห็นความอยากเยอะ ยิ่งกายของเราอดอาหารสักมื้อสองมื้อ ความอยาก ความอยากจะบีบบังคับ อันโน้นก็จะอร่อยอันนี้ก็จะอร่อยบอกว่างั้น ยังมาไม่ถึงมันไปเลือกเอาก่อน เอาน้อยๆ ก็กลัวไม่อิ่ม มันบอกเอาเยอะๆ
ถ้าใจเกิดความอยากเราก็รู้จักดับ ดับไม่ได้ก็ไม่ทำตาม ปล่อยให้มันเกิดเสียจนจนให้มันดับเองหรือว่าให้อาหารส่วนนั้นผ่านไป อาหารผ่านไปแล้วใจของเรามันยังเกิดความอาลัยอาวรณ์หรือไม่เราก็ต้องดู พิจารณาทุกอย่างท่านเรียกว่า ปฏิสังขาโย เราต้องพิจารณาใจของเรา เจริญปัญญาหรือว่าสร้างสติปัญญาตัวใหม่ไปอบรมใจของเราให้ได้ ใช้ตัวเราให้เป็น
ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ‘ตน’ ตัวแรกคือสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา ‘ตน’ ตัวที่สองคือใจ ใจเป็นธาตุรู้ แต่เวลานี้เขาทั้งรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด ทั้งเป็นทาสกิเลสทุกอย่าง เราก็ค่อยขัดเกลาเอาออก ทำความเข้าใจ ความเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ ความอดทน อันนี้เขาเรียกว่าตบะ ตบะบารมี อดต่อความหิว อดทนต่อกิเลสมารต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในกายของเรา ต้องเจริญสติเข้าไปอบรม เข้าไปแก้ไข ถ้าเราแก้ไขเราไม่ได้ ไม่มีใครจะแก้ไขให้เราได้เลยนอกจากตัวของเรา
แต่ละวันๆ ตื่นขึ้นมา เราจะแก้ไขจิตใจของเราอย่างไร ความเกิดของใจเป็นกุศลหรือว่าอกุศล ความเกิดของขันธ์ห้า ความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดเป็นอย่างไรทุกเรื่อง ทุกเรื่องเราต้องเจริญสติเข้าไปจำแนกแจกแจงแยกแยะให้ได้ว่าที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์นั้นเป็นลักษณะอย่างไร ถ้าเราแยกไม่ได้เราก็ไม่เข้าใจ เราก็เข้าใจอยู่ในระดับของสมมติ ทำโน่นทำนี่สร้างคุณงามความดี สร้างประโยชน์สร้างบุญก็อยู่ในช่วงระยะสร้างบารมี เราก็อย่าเกียจคร้าน เจริญสติไปด้วย
แต่ละวันตื่นขึ้นมา คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น สารพัดอย่างที่ใจมันจะส่งออกไป เราก็มาแก้ไขตัวเรา ความขยัน ความรับผิดชอบ ความเสียสละ มีความจริงใจ สัจจะต่อตัวเราเอง กายของเราทำหน้าที่อย่างไร เราก็ต้องดู รู้ให้ชัดเจน ส่วนการทำงาน
ส่วนการทำบุญให้ทานตรงนี้มีกันเต็มเปี่ยม ศรัทธาเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญเชื่อบาป แต่ขาดการเจริญสติปัญญา ส่วนสมองเข้าไปดูแลใจ ส่วนมากก็มีแต่ใจส่งออกไป มีขันธ์ห้ากับใจรวมกัน เราก็ทำตามความคิด ถูกบ้างผิดบ้าง มันก็ความหลง ความเกิดของใจนั่นแหละคือความหลงปิดกั้นเองไว้อยู่ ถ้าหลงก็ขอให้หลงอยู่ในบุญเอาไว้ก็ยังดี ยังดีกว่าหลงอยู่ในกองอกุศล
ละอกุศล เจริญกุศล จนมันเต็มเปี่ยม จนเจริญสติปัญญาเข้าไปชี้เหตุชี้ผล มองเห็นความเป็นจริงได้ ใช้ตัวเองเป็น อยู่ที่ไหนก็มีความสุข อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข มีเพื่อน มีเพื่อนอยู่ตลอดเวลาคือเพื่อนใจ สติปัญญาเป็นเพื่อนกับใจ คอยดูคอยรู้ คอยชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล แต่เวลานี้มีตั้งแต่กิเลสเป็นเพื่อนใจ ชวนกันไปไหนต่อไหน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาไม่รู้ไปสักกี่เรื่อง ความคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมไปด้วยกัน มีอะไรดีๆ เยอะในกายของเรา เราต้องพยายามวิเคราะห์เป็นเรื่องของเรา
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเอามาเปิดเผยจำแนกแจกแจงมีไว้หมดทุกอย่าง มีไว้หมดทุกอย่าง การเจริญสติเป็นอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบเป็นอย่างนี้ กิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ นิวรณธรรม มลทินต่างๆ เป็นอย่างนี้ มีไว้หมด
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ก็เป็นแค่เพียงแผนที่ การได้ยินได้ฟัง การพูดการจาก็เป็นแค่เพียงสื่อความหมายของภาษาสมมติ ให้ไปปฏิบัติให้มีให้เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้นที่ใจ รู้ด้วยสติ รู้ด้วยปัญญา มันถึงจะเป็นของจริง รู้ด้วย เห็นด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย แล้วก็ละได้ด้วย แต่ส่วนมากก็มีตั้งแต่ไปสะสมปิดกั้นตัวเองไว้ มันก็เลยหนาเตอะ หนาขึ้นเรื่อยๆ เหมือนดินพอกหางหมู มันก็เลยขัดเกลาเอาออกยาก ก็ต้องพยายามขัดเกลาเอาออก ถึงจะยากลำบากขนาดไหนก็อย่าไปทิ้ง ในการสนใจในการฝักใฝ่ ทำความเข้าใจ
ทั้งพระทั้งชี ในการบวชก็เหมือนกัน ความหมายของการบวชอยู่ที่ไหน ความหมายของการบวชที่แท้จริง บวชก็เพื่อละกิเลส ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ เราทำได้เท่าไรก็ค่อยสะสมกันไป ไม่ใช่ว่าบวชแล้วก็มาสร้างความเกียจคร้าน เข้าครอบงำตัวเอง มีความเกียจคร้าน ความไม่เสียสละ ปิดกั้นตัวเองเอาไว้ มันก็จะเสียทีเสียเที่ยว
ตื่นขึ้นมาการเจริญสติเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นอย่างนี้ เราก็ต้องหมั่นวิเคราะห์ตัวเรา ไม่ใช่ให้ไปอยู่ที่โน้นเราจะรู้ธรรม ไปอยู่ที่นี่จะรู้ธรรม มันยังไม่ใช่ รู้อยู่ เราต้องสร้างผู้รู้เข้าไปขัดเกลาใจของเรา ชี้เหตุขี้ผลจนถึงจุดหมาย เชื่อมั่นในตัวเอง ประกาศด้วยตัวเอง ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น ก็ต้องพยายามกัน
ตั้งใจรับพรกัน