หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 6 วันที่ 25 มกราคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 6 วันที่ 25 มกราคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 6
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 25 มกราคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติหรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย การน้อมหมายถึงการสร้างความรู้ตัว หันไปมองข้างใน หันไปมองกายของตัวเรา เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก สัมผัสของการหายใจเข้าออกอันนี้เขาเรียกว่า ‘รู้กาย’ ถ้าเราหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ รู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘ความรู้ตัว หรือว่าสัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ตั้งแต่ตื่นขึ้นถ้าความรู้ตัวหรือว่าสติของเราต่อเนื่องได้สักนาที 2 นาที 3 นาที เป็น 5 เป็น 10 เราถึงจะรู้ว่าแต่ก่อนนั้นสติความรู้ตัวตรงนี้ของเรามีบ้างนิดๆ หน่อยๆ ไม่ต่อเนื่อง เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ส่วนมากก็มีตั้งแต่ปัญญาที่เกิดจากตัวใจ เพราะว่าการเกิดของใจ การเกิดของอาการของขันธ์ห้าหรือว่าอาการของใจ ตรงนั้นความเคยชินตรงนั้นมีอยู่ อาจจะถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้ว ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันละเอียดอันลุ่มลึก
เราพยายามคลายใจออกจากความคิด ถ้าเราสังเกตทันใจของเราจะคลายออกจากความคิดหรือว่าแยกรูปแยกนาม แยกรูปแยกนามนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูกเปิดทางให้ ใจของเราก็จะหงายขึ้นมาเหมือนกับหงายของที่คว่ำ ใจก็ว่างกายก็เบา เพียงแค่เริ่มต้นความเห็นที่ถูกต้อง กำลังความรู้ตัวหรือว่าสติที่เราสร้างขึ้นมานี้แหละ ตามเห็นความเกิดความดับ ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ ขณะที่ใจยังว่างรับรู้อยู่เขาเรียกว่า ‘เห็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ในขันธ์ห้า’
ส่วนนามธรรมบางทีก็เป็นเรื่องของอดีตเขาเรียกว่ากองของสัญญา กองของสัญญา กองของสังขาร กองของวิญญาณ ตัวใจนั่นแหละตัววิญญาณ รวมกันกับส่วนรูป เป็น 5 กอง ที่ท่านว่าขันธ์ห้าที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เราต้องรู้ต้องเห็นเหมือนกับเชือก มันมีเส้นเดียวแต่มีหลายเกลียว เรามองออกว่าเกลียวไหนเป็นเกลียวไหน วิญญาณในกายเราก็เหมือนกัน ตัววิญญาณ ตัวอาการของวิญญาณ กองรูป กองนาม เราแยกตรงนี้ไม่ได้ ใจของเรายังมาเกิดกิเลสอีก ใจของเรามาส่งไปภายนอกอีก ทั้งขันธ์ห้าก็มาปรุงแต่งใจรวมกันไป บางทีก็รวมกันไปทั้งสติปัญญา รวมกันไปทั้งก้อน เราอาจจะเห็นความถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ ถ้าในหลักธรรมแล้ว เราต้องพยายามหัดสังเกต หัดวิเคราะห์ จำแนกแจกแจงตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง
เพียงแค่การเจริญสติให้ต่อเนื่องก็ยังพากันทำไม่ค่อยจะได้ ทั้งที่ใจก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรมใจก็ปรารถนาอยากจะได้บุญ อยากจะเห็นบุญ อยากสร้างบุญ ตรงนี้มันก็ดีอยู่แต่ก็ยังหลงอยู่ เราก็ต้องพยายาม พยายามหัดวิเคราะห์ หัดสังเกต หัดจำแนกแจกแจง ตามดูรู้เห็น ชี้เหตุชี้ผล จนใจมองเห็นความเป็นจริงว่าการเกิดเป็นทุกข์ เขาก็ไม่เกิด การเป็นทาสกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยาก ความเกิดนั่นแหละคือความทุกข์ เขาก็จะไม่เกิด
อาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ เราก็ทำความเข้าใจแล้วก็ค่อยละ อันนี้แหละเขาเรียกว่า ‘ละกรรม’ กรรมเก่าคืออาการของขันธ์ห้านี้แหละ กรรมมาปรุงแต่งใจของเราให้หมุนเป็นวงกลมเขาเรียกว่า ‘วัฏจักร’ เขาเรียกว่า ‘ธรรมจักร’ นี้แหละตรงนี้แหละ ถ้าเราแยกได้มันก็ตัดวงกลมออก ถ้าเราไม่ตามดูรู้เห็นความเป็นจริงอีกเขาก็จะกลับขึ้นสู่สภาพเดิมอีก ทุกเรื่องเป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาค้นคว้า
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี เราก็ต้องพยายาม อย่าให้คนอื่นได้บังคับ เราจงบังคับตัวเรา อะไรผิดพลาดก็แก้ไข ผิดพลาดก็รีบแก้ไข ตื่นขึ้นมาความคิดเกิดสักกี่ครั้ง ความโลภ ความโกรธ ความอยาก เกิดสักกี่ครั้ง เหตุการณ์ต่างๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นอาจารย์สอบเราอยู่ตลอดเวลาเรามีสติปัญญาคอยสังเกตใจของเราว่าสอบได้สอบตกนี้แหละ เราคอยวิเคราะห์ คอยสังเกตกายทำหน้าอย่างนี้ ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างนี้ ใจทำหน้าที่อย่างนี้ จะเอาจะมีจะเป็น ก็เป็นเรื่องของปัญญายังสมมติ ยังปัจจัยสี่ให้สมมติไม่ให้ลำบากเท่านั้น
หลังจากหมดลมหายใจทิ้งหมด เราปล่อยวางทั้งขณะ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ เราดูแลรักษายังประโยชน์สมมติ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้เต็มเปี่ยม บุคคลที่มีบุญก็จะรีบตักตวง รีบฝักใฝ่ รีบสนใจ ไม่ว่าบุญสมมติ ไม่ว่าบุญวิมุตติก็จะรีบสะสมเอาไว้ การสร้างสะสมคุณงามความดี การสร้างสะสมบุญ กำลังสติกับกำลังปัญญาของเราเข้มแข็งขึ้น การประหัดประหารกิเลสก็จะเบาบางลงไปได้เร็วได้ไว ก็ต้องพยายามกันนะ หลวงพ่อก็แค่เพียงเล่าให้ฟัง
พระเราก็ขยันหมั่นเพียร บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น รู้จักแก้ไขตัวเรา อย่าเป็นบุคคลที่บอกยาก อย่าเป็นบุคคลที่สอนยาก จงเป็นบุคคลที่มีความเพียร มองเห็นความผิดพลาด มองเห็นสิ่งที่เราจะเข้าไปแก้ไขสิ่งต่างๆ สมมติในเราที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ปัจจัยสี่หรือว่าโลกธรรมเราก็พยายามทำดำเนินให้สมบูรณ์ ถึงอาจจะมีไม่เยอะแต่ก็ไม่ให้ถึงกับลำบาก ก็ต้องพยายามกันฆราวาสญาติโยมก็เหมือนกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 25 มกราคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติหรือว่าสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย การน้อมหมายถึงการสร้างความรู้ตัว หันไปมองข้างใน หันไปมองกายของตัวเรา เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก สัมผัสของการหายใจเข้าออกอันนี้เขาเรียกว่า ‘รู้กาย’ ถ้าเราหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ รู้ให้ต่อเนื่องเขาเรียกว่า ‘ความรู้ตัว หรือว่าสัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
ตั้งแต่ตื่นขึ้นถ้าความรู้ตัวหรือว่าสติของเราต่อเนื่องได้สักนาที 2 นาที 3 นาที เป็น 5 เป็น 10 เราถึงจะรู้ว่าแต่ก่อนนั้นสติความรู้ตัวตรงนี้ของเรามีบ้างนิดๆ หน่อยๆ ไม่ต่อเนื่อง เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ส่วนมากก็มีตั้งแต่ปัญญาที่เกิดจากตัวใจ เพราะว่าการเกิดของใจ การเกิดของอาการของขันธ์ห้าหรือว่าอาการของใจ ตรงนั้นความเคยชินตรงนั้นมีอยู่ อาจจะถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้ว ความเกิดนั่นแหละคือความหลงอันละเอียดอันลุ่มลึก
เราพยายามคลายใจออกจากความคิด ถ้าเราสังเกตทันใจของเราจะคลายออกจากความคิดหรือว่าแยกรูปแยกนาม แยกรูปแยกนามนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูกเปิดทางให้ ใจของเราก็จะหงายขึ้นมาเหมือนกับหงายของที่คว่ำ ใจก็ว่างกายก็เบา เพียงแค่เริ่มต้นความเห็นที่ถูกต้อง กำลังความรู้ตัวหรือว่าสติที่เราสร้างขึ้นมานี้แหละ ตามเห็นความเกิดความดับ ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ ขณะที่ใจยังว่างรับรู้อยู่เขาเรียกว่า ‘เห็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ในขันธ์ห้า’
ส่วนนามธรรมบางทีก็เป็นเรื่องของอดีตเขาเรียกว่ากองของสัญญา กองของสัญญา กองของสังขาร กองของวิญญาณ ตัวใจนั่นแหละตัววิญญาณ รวมกันกับส่วนรูป เป็น 5 กอง ที่ท่านว่าขันธ์ห้าที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เราต้องรู้ต้องเห็นเหมือนกับเชือก มันมีเส้นเดียวแต่มีหลายเกลียว เรามองออกว่าเกลียวไหนเป็นเกลียวไหน วิญญาณในกายเราก็เหมือนกัน ตัววิญญาณ ตัวอาการของวิญญาณ กองรูป กองนาม เราแยกตรงนี้ไม่ได้ ใจของเรายังมาเกิดกิเลสอีก ใจของเรามาส่งไปภายนอกอีก ทั้งขันธ์ห้าก็มาปรุงแต่งใจรวมกันไป บางทีก็รวมกันไปทั้งสติปัญญา รวมกันไปทั้งก้อน เราอาจจะเห็นความถูกต้องอยู่ระดับของสมมติ ถ้าในหลักธรรมแล้ว เราต้องพยายามหัดสังเกต หัดวิเคราะห์ จำแนกแจกแจงตามดูรู้เห็นตามความเป็นจริง
เพียงแค่การเจริญสติให้ต่อเนื่องก็ยังพากันทำไม่ค่อยจะได้ ทั้งที่ใจก็ปรารถนาอยากจะรู้ธรรมใจก็ปรารถนาอยากจะได้บุญ อยากจะเห็นบุญ อยากสร้างบุญ ตรงนี้มันก็ดีอยู่แต่ก็ยังหลงอยู่ เราก็ต้องพยายาม พยายามหัดวิเคราะห์ หัดสังเกต หัดจำแนกแจกแจง ตามดูรู้เห็น ชี้เหตุชี้ผล จนใจมองเห็นความเป็นจริงว่าการเกิดเป็นทุกข์ เขาก็ไม่เกิด การเป็นทาสกิเลส ความโลภ ความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยากทั้งไม่อยาก ความเกิดนั่นแหละคือความทุกข์ เขาก็จะไม่เกิด
อาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ เราก็ทำความเข้าใจแล้วก็ค่อยละ อันนี้แหละเขาเรียกว่า ‘ละกรรม’ กรรมเก่าคืออาการของขันธ์ห้านี้แหละ กรรมมาปรุงแต่งใจของเราให้หมุนเป็นวงกลมเขาเรียกว่า ‘วัฏจักร’ เขาเรียกว่า ‘ธรรมจักร’ นี้แหละตรงนี้แหละ ถ้าเราแยกได้มันก็ตัดวงกลมออก ถ้าเราไม่ตามดูรู้เห็นความเป็นจริงอีกเขาก็จะกลับขึ้นสู่สภาพเดิมอีก ทุกเรื่องเป็นเรื่องที่เราจะต้องศึกษาค้นคว้า
ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี เราก็ต้องพยายาม อย่าให้คนอื่นได้บังคับ เราจงบังคับตัวเรา อะไรผิดพลาดก็แก้ไข ผิดพลาดก็รีบแก้ไข ตื่นขึ้นมาความคิดเกิดสักกี่ครั้ง ความโลภ ความโกรธ ความอยาก เกิดสักกี่ครั้ง เหตุการณ์ต่างๆ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นอาจารย์สอบเราอยู่ตลอดเวลาเรามีสติปัญญาคอยสังเกตใจของเราว่าสอบได้สอบตกนี้แหละ เราคอยวิเคราะห์ คอยสังเกตกายทำหน้าอย่างนี้ ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างนี้ ใจทำหน้าที่อย่างนี้ จะเอาจะมีจะเป็น ก็เป็นเรื่องของปัญญายังสมมติ ยังปัจจัยสี่ให้สมมติไม่ให้ลำบากเท่านั้น
หลังจากหมดลมหายใจทิ้งหมด เราปล่อยวางทั้งขณะ ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่ เราดูแลรักษายังประโยชน์สมมติ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ให้เต็มเปี่ยม บุคคลที่มีบุญก็จะรีบตักตวง รีบฝักใฝ่ รีบสนใจ ไม่ว่าบุญสมมติ ไม่ว่าบุญวิมุตติก็จะรีบสะสมเอาไว้ การสร้างสะสมคุณงามความดี การสร้างสะสมบุญ กำลังสติกับกำลังปัญญาของเราเข้มแข็งขึ้น การประหัดประหารกิเลสก็จะเบาบางลงไปได้เร็วได้ไว ก็ต้องพยายามกันนะ หลวงพ่อก็แค่เพียงเล่าให้ฟัง
พระเราก็ขยันหมั่นเพียร บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น รู้จักแก้ไขตัวเรา อย่าเป็นบุคคลที่บอกยาก อย่าเป็นบุคคลที่สอนยาก จงเป็นบุคคลที่มีความเพียร มองเห็นความผิดพลาด มองเห็นสิ่งที่เราจะเข้าไปแก้ไขสิ่งต่างๆ สมมติในเราที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ปัจจัยสี่หรือว่าโลกธรรมเราก็พยายามทำดำเนินให้สมบูรณ์ ถึงอาจจะมีไม่เยอะแต่ก็ไม่ให้ถึงกับลำบาก ก็ต้องพยายามกันฆราวาสญาติโยมก็เหมือนกัน
เอาล่ะ วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ