หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 33 วันที่ 2 มิถุนายน 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 33 วันที่ 2 มิถุนายน 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 33
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 มิถุนายน 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย และก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้เด็ดขาด ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ความรู้สึกรับรู้เวลาลมหายใจเข้าอยู่ที่ปลายจมูกของเรา เวลาลมหายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา นี่แหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้กาย
เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ แล้วก็พยายามทำให้ต่อเนื่อง จากนาที เป็น 2 นาที 3 นาที เป็น 4 เป็น 5 ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง เราก็จะรู้ว่าแต่ก่อนนั้นสติปัญญาของเราเป็นแค่เพียงสติปัญญาของโลกียะ ไม่ใช่สติปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ใช้ปัญญาส่วนบนส่วนสมอง ส่วนใจของเรานั้น เขาเกิดเขาดับ เขาปรุงแต่งส่งไปภายนอกอยู่ตลอดเวลา
การเกิดของใจ แล้วก็อาการของขันธ์ห้า ความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมเป็นสิ่งเดียวไปด้วยกัน เราก็ต้องเจริญสติเข้าไปอบรมจนกลายเป็นปัญญา ปัญญาอบรมใจของเรา ใช้สติ สมถะควบคุมใจของเราให้อยู่ในความสงบ แล้วก็ปัญญาอบรมใจของเราจนกว่าจะเห็นใจคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม ใจหงาย เหมือนกับหงายของที่คว่ำ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา
ความเห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า การเกิดการดับของความคิด เห็นความไม่เที่ยง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ คำว่า อัตตา เป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตา ความว่างเปล่า เป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ เวลานี้ใจของเรายังเกิด ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งรวมกับความคิดอยู่ บางครั้งบางคราวก็อาจจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ยังไม่ถูกต้องในระดับของหลักธรรม คือการเกิดของใจ ความหลงของใจยังมีอยู่ ถ้าใจยังไม่คลายจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนามไม่ได้ เราก็ว่าเราไม่หลง เราก็ว่าเราถูก อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติเท่านั้นเอง
แต่ในระดับของหลักธรรมแล้ว การเกิดของใจนั่นแหละคือกิเลสอย่างละเอียดที่สุด เกิดของใจยังไม่พอ ยังไปรวมกับอาการของขันธ์ห้าอีก เข้าไปหลงเข้าไปยึด ก็เลยเกิดอัตตาตัวตน ใจเกิดทิฏฐิ เกิดมานะ เกิดกิเลส เป็นทาสของกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด หลายชั้นหลายขั้นหลายตอน ถ้าเรามาเจริญสติให้ต่อเนื่อง การควบคุมใจการอบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล หมั่นสร้างอานิสงส์ สร้างตบะบารมี ให้มีให้เกิดขึ้น ใจเกิดความอยาก เกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธให้ได้เสียก่อน แล้วก็มองโลกในทางที่ดี เราก็ให้อภัยอโหสิกรรม เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความละอายที่มีให้เกิดขึ้นแก่ใจของตัวเรา กล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้าหาญ ละอายในสิ่งที่ควรละอาย
เราก็ต้องพยายาม หมั่นวิเคราะห์ หมั่นพิจารณา อันนี้ส่วนบุญ ส่วนสติ ส่วนปัญญาของเรา อันนี้ส่วนใจ อันนี้อาการของขันธ์ห้า ถ้ากำลังสติปัญญาของเราต่อเนื่องเชื่อมโยงเราก็จะเห็นสักวันหนึ่ง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล เห็นการทำความเข้าใจ อันนี้ภาษาธรรม อันนี้ภาษาโลก ภาษาสื่อความหมาย เพื่อที่จะให้ไปประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึงสิ่งนั้นๆ ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เป็นเรื่องของตัวเราเองทุกคน การหายใจเข้าหายใจออกเราก็ไม่ได้ซื้อ เราพยายามหัดสังเกต หัดวิเคราะห์
การทำบุญให้ทาน ศรัทธาต่างๆ นั้น ทุกคนก็มีกันอยู่ ส่วนการสังเกต การวิเคราะห์ ใจคลายออกเมื่อไหร่ถึงจะมองเห็นความเป็นจริง ซึ่งท่านบอกว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกเพียงแค่เริ่มต้น การทำความเข้าใจ การดู การรู้ การเห็น กายทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายของเราเป็นอย่างไร การละกิเลสหยาบละกิเลสละเอียดเป็นอย่างไร การทรงความว่าง ใจที่ไม่มีกิเลส ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างไร ใจที่หงายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม เป็นลักษณะอย่างไร เราต้องรู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ บางครั้งก็อาจจะมีเป็นช่วงๆ บางครั้งก็ไปนึกไปคิดเอา การประพฤติวัตรปฏิบัติขัดเกลาจะคร่ำเคร่งถึงขนาดไหน ถ้าเราทำความเข้าใจไม่ถูกต้องก็ยากที่จะเข้าถึง เราจงพยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ กายวิเวกจากสิ่งต่างๆ จากพันธะภาระที่เราเคยทำอยู่ ใจวิเวกจากความคิด จากอารมณ์ จากกิเลส เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ การเจริญสติที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จะลุก จะก้าว จะเดิน มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ใจยังนิ่งอยู่ เรารู้จักวิธีการรู้จักแนวทางแล้ว ก็ต้องพยายามพากันไปทำไปสร้างให้มีให้เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่าฟังแล้วก็ผ่านๆ ไป มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเราไปเริ่มไปทำ จากการเจริญสติ จากหนึ่งครั้งสองครั้งสามครั้ง ต่อกันไปเป็นนาที 2 นาที 3 นาที ความสืบต่อ ความต่อเนื่อง เราก็จะรู้ทันทีว่าแต่ก่อนนั้นเป็นแค่เพียงสติปัญญาของโลกียะ ไม่ใช่สติปัญญาที่จะเข้าไปทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล เพียงแค่การเจริญสติก็ทำให้ได้ก่อนเถอะ ส่วนอานิสงส์บารมีส่วนอื่นนั้นทุกคนก็มีกันอยู่ ก็ต้องพยายามกันนะ
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 มิถุนายน 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย และก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้เด็ดขาด ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ความรู้สึกรับรู้เวลาลมหายใจเข้าอยู่ที่ปลายจมูกของเรา เวลาลมหายใจออกมีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา นี่แหละที่ท่านเรียกว่า สติรู้กาย
เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ แล้วก็พยายามทำให้ต่อเนื่อง จากนาที เป็น 2 นาที 3 นาที เป็น 4 เป็น 5 ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง เราก็จะรู้ว่าแต่ก่อนนั้นสติปัญญาของเราเป็นแค่เพียงสติปัญญาของโลกียะ ไม่ใช่สติปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา ใช้ปัญญาส่วนบนส่วนสมอง ส่วนใจของเรานั้น เขาเกิดเขาดับ เขาปรุงแต่งส่งไปภายนอกอยู่ตลอดเวลา
การเกิดของใจ แล้วก็อาการของขันธ์ห้า ความคิดที่เราไม่ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ใจเคลื่อนเข้าไปรวมเป็นสิ่งเดียวไปด้วยกัน เราก็ต้องเจริญสติเข้าไปอบรมจนกลายเป็นปัญญา ปัญญาอบรมใจของเรา ใช้สติ สมถะควบคุมใจของเราให้อยู่ในความสงบ แล้วก็ปัญญาอบรมใจของเราจนกว่าจะเห็นใจคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม ใจหงาย เหมือนกับหงายของที่คว่ำ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา
ความเห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า การเกิดการดับของความคิด เห็นความไม่เที่ยง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ คำว่า อัตตา เป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตา ความว่างเปล่า เป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ เวลานี้ใจของเรายังเกิด ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งรวมกับความคิดอยู่ บางครั้งบางคราวก็อาจจะถูกต้องอยู่ในระดับของสมมติ แต่ยังไม่ถูกต้องในระดับของหลักธรรม คือการเกิดของใจ ความหลงของใจยังมีอยู่ ถ้าใจยังไม่คลายจากขันธ์ห้า หรือว่าแยกรูปแยกนามไม่ได้ เราก็ว่าเราไม่หลง เราก็ว่าเราถูก อาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติเท่านั้นเอง
แต่ในระดับของหลักธรรมแล้ว การเกิดของใจนั่นแหละคือกิเลสอย่างละเอียดที่สุด เกิดของใจยังไม่พอ ยังไปรวมกับอาการของขันธ์ห้าอีก เข้าไปหลงเข้าไปยึด ก็เลยเกิดอัตตาตัวตน ใจเกิดทิฏฐิ เกิดมานะ เกิดกิเลส เป็นทาสของกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด หลายชั้นหลายขั้นหลายตอน ถ้าเรามาเจริญสติให้ต่อเนื่อง การควบคุมใจการอบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล หมั่นสร้างอานิสงส์ สร้างตบะบารมี ให้มีให้เกิดขึ้น ใจเกิดความอยาก เกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธให้ได้เสียก่อน แล้วก็มองโลกในทางที่ดี เราก็ให้อภัยอโหสิกรรม เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความละอายที่มีให้เกิดขึ้นแก่ใจของตัวเรา กล้าหาญในสิ่งที่ควรกล้าหาญ ละอายในสิ่งที่ควรละอาย
เราก็ต้องพยายาม หมั่นวิเคราะห์ หมั่นพิจารณา อันนี้ส่วนบุญ ส่วนสติ ส่วนปัญญาของเรา อันนี้ส่วนใจ อันนี้อาการของขันธ์ห้า ถ้ากำลังสติปัญญาของเราต่อเนื่องเชื่อมโยงเราก็จะเห็นสักวันหนึ่ง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ เห็นเหตุเห็นผล ชี้เหตุชี้ผล เห็นการทำความเข้าใจ อันนี้ภาษาธรรม อันนี้ภาษาโลก ภาษาสื่อความหมาย เพื่อที่จะให้ไปประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึงสิ่งนั้นๆ ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง เป็นเรื่องของตัวเราเองทุกคน การหายใจเข้าหายใจออกเราก็ไม่ได้ซื้อ เราพยายามหัดสังเกต หัดวิเคราะห์
การทำบุญให้ทาน ศรัทธาต่างๆ นั้น ทุกคนก็มีกันอยู่ ส่วนการสังเกต การวิเคราะห์ ใจคลายออกเมื่อไหร่ถึงจะมองเห็นความเป็นจริง ซึ่งท่านบอกว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกเพียงแค่เริ่มต้น การทำความเข้าใจ การดู การรู้ การเห็น กายทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายของเราเป็นอย่างไร การละกิเลสหยาบละกิเลสละเอียดเป็นอย่างไร การทรงความว่าง ใจที่ไม่มีกิเลส ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างไร ใจที่หงายออกจากขันธ์ห้าซึ่งเรียกว่า แยกรูปแยกนาม เป็นลักษณะอย่างไร เราต้องรู้ด้วย เห็นด้วย เข้าถึงด้วย ทำความเข้าใจได้ด้วย แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ บางครั้งก็อาจจะมีเป็นช่วงๆ บางครั้งก็ไปนึกไปคิดเอา การประพฤติวัตรปฏิบัติขัดเกลาจะคร่ำเคร่งถึงขนาดไหน ถ้าเราทำความเข้าใจไม่ถูกต้องก็ยากที่จะเข้าถึง เราจงพยายามทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน
กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ กายวิเวกจากสิ่งต่างๆ จากพันธะภาระที่เราเคยทำอยู่ ใจวิเวกจากความคิด จากอารมณ์ จากกิเลส เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ การเจริญสติที่ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ จะลุก จะก้าว จะเดิน มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ใจยังนิ่งอยู่ เรารู้จักวิธีการรู้จักแนวทางแล้ว ก็ต้องพยายามพากันไปทำไปสร้างให้มีให้เกิดขึ้น ไม่ใช่ว่าฟังแล้วก็ผ่านๆ ไป มันก็ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเราไปเริ่มไปทำ จากการเจริญสติ จากหนึ่งครั้งสองครั้งสามครั้ง ต่อกันไปเป็นนาที 2 นาที 3 นาที ความสืบต่อ ความต่อเนื่อง เราก็จะรู้ทันทีว่าแต่ก่อนนั้นเป็นแค่เพียงสติปัญญาของโลกียะ ไม่ใช่สติปัญญาที่จะเข้าไปทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล เพียงแค่การเจริญสติก็ทำให้ได้ก่อนเถอะ ส่วนอานิสงส์บารมีส่วนอื่นนั้นทุกคนก็มีกันอยู่ ก็ต้องพยายามกันนะ
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่องให้ชัดเจนกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ