หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 13 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 13 วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 13
พระธรรมเทศนา โดยพระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ เราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง เราได้เจริญสติให้มีให้เกิดขึ้นที่กายของเราแล้วหรือยัง
ส่วนใจที่ปรารถนาอยากจะได้บุญ ปรารถนาอยากจะรู้ธรรมตรงนั้นมีอยู่เดิม ความเกิดของใจก็มีอยู่เดิม ความเกิดของขันธ์ห้าก็มีอยู่เดิม เรามาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ให้ต่อเนื่อง ให้รู้เท่ารู้ทัน รู้ลักษณะการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจเกิดกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ กิเลสที่เกิดขึ้นที่ใจของเรา เราละได้หรือไม่ เป็นกิเลสที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง สารพัดอย่าง ที่จะเกิดขึ้นที่ใจของเรา
เพราะว่าการเกิดของใจก็เป็นกิเลสอันละเอียด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด จิตใจของคนเรานี้หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ อันนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ให้ต้องไปนั้นไปพูดถึงเขา เอาอยู่ปัจจุบัน ดูรู้ใจอยู่ในกายของเราให้ได้ นี้ว่าใจของเราที่อาศัยอยู่ในกายมาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง ท่านให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์เข้าไปสังเกตจนใจคลายออกจากความคิดซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกัน อันนี้ส่วนนามธรรม อันนี้ส่วนรูป เราก็จะรู้ชัดเจน ถ้าเราจำแนกแจกแจงไม่ได้ ถ้าเราเจริญสติไม่ต่อเนื่องไม่เชื่อมโยง เอาสติปัญญาไปใช้ไม่ได้เขาก็รวมกันไป เขาก็ยังหลงอยู่ แต่ก็ยังหลงอยู่ในบุญ ฝักใฝ่ในบุญ หมั่นสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างอานิสงส์
แต่ละวันตื่นขึ้นมาเราต้องสำรวจกายสำรวจใจของเรา เรามีความรับผิดชอบเต็มเปี่ยมหรือไม่ เรามีความเสียสละเต็มเปี่ยมหรือไม่ ใจของเรามีความปกติหรือไม่ เราต้องดูว่าคำสอนของพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร คำว่าสมมติ ลักษณะของสมมติ วิมุตติ เป็นลักษณะอย่างไร อัตตา อนัตตาเป็นลักษณะอย่างไร การเกิดของใจ ใจส่งไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างไร ใจรวมกับขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างไร แต่เวลานี้เราไปเหมากันหมด เพราะว่าเราไม่ได้เจริญสติให้ต่อเนื่อง หรือเราอาจจะไปนึกไปคิดเอาด้วยปัญญาที่เกิดจากตัวใจหรือเกิดจากอาการของขันธ์ห้า อันนี้ก็เป็นปัญญาโลกีย์ ไม่ใช่ปัญญาที่จะเข้าไปละทุกข์ได้ดับทุกข์ได้
ถ้าเราเจริญสติให้ต่อเนื่องเอาไปใช้การใช้งาน ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน อะไรเป็นกุศลหรือว่าอกุศล เราก็จะมองเห็นชัดเจนว่าใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่ว่าง ในความว่างนั้นมีใจหรือว่ามีจิตวิญญาณรับรู้อยู่ แต่เราก็รู้อยู่ รู้ หลงทั้งที่รู้ๆ นั่นแหละ เพราะว่าเราไม่ได้เจริญสติเข้าไปแยกใจคลายใจออกจากขันธ์ห้าให้ได้เสียก่อน
ในชีวิตของเราเราพยายามรีบตักตวง ตักตวงสร้างบุญสร้างคุณงามความดีให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเราให้ได้ บอกตัวเองให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น บุญสมมติเราก็ทำ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมีความเสียสละ มีความเอื้อเฟื้อฝักใฝ่ในบุญ ฝักใฝ่ในการให้ทาน มีจิตใจที่อ่อนน้อม
แต่การเจริญสติเข้าไปเห็นเหตุเห็นผล รู้ลักษณะหน้าตาอาการของใจ ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าเรียกว่า แยกรูปแยกนามหรือว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกในหลักธรรม แยกได้ยังไม่พอ เราก็ต้องตามเห็นการเกิดการดับ รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายในขันธ์ห้าของเรา แล้วก็ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในโลกธรรม ให้รอบรู้ในปัจจัยสี่ อะไรที่จะเป็นบุญ อันนี้สมมตินะ อันนี้วิมุตตินะ
แต่เวลานี้กำลังสติของเราอาจจะมีบ้างเป็นครั้งเป็นคราวเอาไปใช้การใช้งานยังไม่ได้ต่อเนื่องยังไม่เชื่อมโยง ท่านอย่าเพิ่งให้เอาความคิดปัญญาโลกีย์เข้ามาโต้แย้ง ให้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ ให้มี ให้เกิด ให้รู้ ให้เห็น ประจักษ์เกิดขึ้นที่ใจของเราให้ได้เสียก่อน ท่านถึงบอกให้เชื่อ
แต่ละวันตื่นขึ้นมา เวลาแต่ละเวลาทุกลมหายใจเข้าออกทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออกนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ปัจจุบันธรรม ช่วงใหม่ๆ ก็มีการพลั้งเผลอ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ เริ่มอยู่บ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการเห็น ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ส่วนสมมติเราก็พยายามยังสมมติให้เกิดประโยชน์ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็ลึกลงมาที่กายของเรานี้แหละ ก้อนสมมติ ถ้าใจของเรายังไม่ได้คลาย ใจของเราก็มาหลงมายึดมาติด อันนี้ละเอียดอ่อน นอกจากบุคคลที่มีความเพียร มีสติมีปัญญาที่แหลมคม แล้วก็หมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์กายของเราใจของเราจริงๆ คำว่าภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างไร ศีลสมมติเป็นอย่างไร ศีลวิมุตติเป็นอย่างไร ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลพระปาติโมกข์ อันนี้ความหมายของศีลก็เพื่อที่จะละกิเลส ละกิเลสหยาบ ละกิเลสละเอียด ละกิเลสจนใจของเราไม่มีอะไร ตัวใจนั่นแหละคือตัวศีล คือ ความปกติ ปกติที่ปราศจากกิเลส เราก็ต้องพยายามหมั่นสังเกต หมั่นอบรมตัวเรา
ถ้าเราอบรมตัวเราไม่ได้ใช้ตัวเองไม่เป็นก็ไม่รู้ว่าใครจะอบรมให้ ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ‘ตน’ ตัวแรกก็ตัวสติที่เราสร้างขึ้นมา ‘ตน’ ตัวที่สองก็คือตัวใจ แต่เวลานี้ใจทั้งเกิดด้วย ทั้งหลงด้วย ทั้งยึดด้วย กว่าจะมาแกะมาแยกแยะชี้เหตุชี้ผลได้ก็ต้องใช้ความเพียรอย่างมหาศาลเลยทีเดียว เราก็ต้องพยายามอย่าไปทิ้ง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน สักวันนึงเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางจนได้ ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว วันนี้มี พรุ่งนี้มี เดือนนี้มี เดือนหน้ามี ภพนี้มี ภพหน้ามี พ่อแม่พี่น้องมี เราจงพยายามศึกษาให้ละเอียด ก็ต้องพยายามกัน
ส่วนการเจริญภาวนาอย่าไปเลือกกาลเลือกเวลา ตื่นขึ้นมาเราก็รีบวิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจของเรา กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไรเราก็พยายามรีบดับรีบแก้ ใจเกิดความโลภ ละความโลภ ละความโลภด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการคลาย ใจเกิดความโกรธ ด้วยการดับความโกรธ ด้วยการให้อภัยอโหสิกรรม ทำในสิ่งตรงกันข้าม ทุกเรื่องเป็นการฝึกหัดปฏิบัติตัวเราหมด เอาทุกเวลาทุกลมหายใจคือการปฏิบัติ หายใจเข้าเป็นอย่างไร หายใจออกเป็นอย่างไร ใจที่ปกติเป็นอย่างไร หมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ หมั่นสำรวจอยู่บ่อยๆ อันนี้ลักษณะของสติที่รู้ตัวที่ต่อเนื่อง จำแนกแจกแจงให้ได้อย่าเอาไปปนเปกัน
เหมือนกับเชือกเส้นใหญ่ๆ เรามองเห็นก็เป็นเส้นเดียวแต่เราพิจารณาให้ลึกลงไปก็มีเกลียวของใครเกลียวของมัน มีอยู่ห้าเกลียว เกลียวนอกเกลียวใน กายของเราก็เหมือนกันมีอยู่ห้าขันธ์ ที่ท่านว่าขันธ์เป็นขันธ์เป็นกอง กองวิญญาณ กองรูป กองนาม กองสังขาร กองสารพัดอย่างมีอยู่ห้ากอง มีวิญญาณสร้างขึ้นมาแล้วก็ครอบครอง แล้วก็มายึด เราต้องแยกแยะให้รู้ให้เห็นว่าเป็นกองไหนๆ แต่เขาก็อยู่รวมกัน
หมดลมหายใจนั่นแหละทุกสิ่งทุกอย่างถึงจะได้พลัดพรากจากกัน ขณะที่มียังลมหายใจอยู่เราก็ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสีย เราก็จะไม่ได้หลง ไม่ทุกข์ ไม่ยึด ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอาให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนา โดยพระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนให้ต่อเนื่อง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ เราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง เราได้เจริญสติให้มีให้เกิดขึ้นที่กายของเราแล้วหรือยัง
ส่วนใจที่ปรารถนาอยากจะได้บุญ ปรารถนาอยากจะรู้ธรรมตรงนั้นมีอยู่เดิม ความเกิดของใจก็มีอยู่เดิม ความเกิดของขันธ์ห้าก็มีอยู่เดิม เรามาสร้างความรู้ตัวตัวใหม่ให้ต่อเนื่อง ให้รู้เท่ารู้ทัน รู้ลักษณะการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจเกิดกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ กิเลสที่เกิดขึ้นที่ใจของเรา เราละได้หรือไม่ เป็นกิเลสที่หยาบบ้าง ละเอียดบ้าง สารพัดอย่าง ที่จะเกิดขึ้นที่ใจของเรา
เพราะว่าการเกิดของใจก็เป็นกิเลสอันละเอียด ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด จิตใจของคนเรานี้หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ อันนั้นพระพุทธองค์ยังไม่ให้ต้องไปนั้นไปพูดถึงเขา เอาอยู่ปัจจุบัน ดูรู้ใจอยู่ในกายของเราให้ได้ นี้ว่าใจของเราที่อาศัยอยู่ในกายมาสร้างขันธ์ห้าปิดกั้นตัวเอง ท่านให้เจริญสติเข้าไปวิเคราะห์เข้าไปสังเกตจนใจคลายออกจากความคิดซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกัน อันนี้ส่วนนามธรรม อันนี้ส่วนรูป เราก็จะรู้ชัดเจน ถ้าเราจำแนกแจกแจงไม่ได้ ถ้าเราเจริญสติไม่ต่อเนื่องไม่เชื่อมโยง เอาสติปัญญาไปใช้ไม่ได้เขาก็รวมกันไป เขาก็ยังหลงอยู่ แต่ก็ยังหลงอยู่ในบุญ ฝักใฝ่ในบุญ หมั่นสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างอานิสงส์
แต่ละวันตื่นขึ้นมาเราต้องสำรวจกายสำรวจใจของเรา เรามีความรับผิดชอบเต็มเปี่ยมหรือไม่ เรามีความเสียสละเต็มเปี่ยมหรือไม่ ใจของเรามีความปกติหรือไม่ เราต้องดูว่าคำสอนของพระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร คำว่าสมมติ ลักษณะของสมมติ วิมุตติ เป็นลักษณะอย่างไร อัตตา อนัตตาเป็นลักษณะอย่างไร การเกิดของใจ ใจส่งไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างไร ใจรวมกับขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างไร แต่เวลานี้เราไปเหมากันหมด เพราะว่าเราไม่ได้เจริญสติให้ต่อเนื่อง หรือเราอาจจะไปนึกไปคิดเอาด้วยปัญญาที่เกิดจากตัวใจหรือเกิดจากอาการของขันธ์ห้า อันนี้ก็เป็นปัญญาโลกีย์ ไม่ใช่ปัญญาที่จะเข้าไปละทุกข์ได้ดับทุกข์ได้
ถ้าเราเจริญสติให้ต่อเนื่องเอาไปใช้การใช้งาน ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน อะไรเป็นกุศลหรือว่าอกุศล เราก็จะมองเห็นชัดเจนว่าใจที่ปราศจากกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างนี้ ใจที่ว่าง ในความว่างนั้นมีใจหรือว่ามีจิตวิญญาณรับรู้อยู่ แต่เราก็รู้อยู่ รู้ หลงทั้งที่รู้ๆ นั่นแหละ เพราะว่าเราไม่ได้เจริญสติเข้าไปแยกใจคลายใจออกจากขันธ์ห้าให้ได้เสียก่อน
ในชีวิตของเราเราพยายามรีบตักตวง ตักตวงสร้างบุญสร้างคุณงามความดีให้มีให้เกิดขึ้นที่ใจของเราให้ได้ บอกตัวเองให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น บุญสมมติเราก็ทำ ตั้งแต่ตื่นขึ้นมีความเสียสละ มีความเอื้อเฟื้อฝักใฝ่ในบุญ ฝักใฝ่ในการให้ทาน มีจิตใจที่อ่อนน้อม
แต่การเจริญสติเข้าไปเห็นเหตุเห็นผล รู้ลักษณะหน้าตาอาการของใจ ใจที่คลายออกจากขันธ์ห้าเรียกว่า แยกรูปแยกนามหรือว่าสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูกในหลักธรรม แยกได้ยังไม่พอ เราก็ต้องตามเห็นการเกิดการดับ รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกายในขันธ์ห้าของเรา แล้วก็ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในโลกธรรม ให้รอบรู้ในปัจจัยสี่ อะไรที่จะเป็นบุญ อันนี้สมมตินะ อันนี้วิมุตตินะ
แต่เวลานี้กำลังสติของเราอาจจะมีบ้างเป็นครั้งเป็นคราวเอาไปใช้การใช้งานยังไม่ได้ต่อเนื่องยังไม่เชื่อมโยง ท่านอย่าเพิ่งให้เอาความคิดปัญญาโลกีย์เข้ามาโต้แย้ง ให้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ ให้มี ให้เกิด ให้รู้ ให้เห็น ประจักษ์เกิดขึ้นที่ใจของเราให้ได้เสียก่อน ท่านถึงบอกให้เชื่อ
แต่ละวันตื่นขึ้นมา เวลาแต่ละเวลาทุกลมหายใจเข้าออกทุกขณะจิต ทุกขณะลมหายใจเข้าออกนั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ปัจจุบันธรรม ช่วงใหม่ๆ ก็มีการพลั้งเผลอ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ เริ่มอยู่บ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการเห็น ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ส่วนสมมติเราก็พยายามยังสมมติให้เกิดประโยชน์ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ก็ลึกลงมาที่กายของเรานี้แหละ ก้อนสมมติ ถ้าใจของเรายังไม่ได้คลาย ใจของเราก็มาหลงมายึดมาติด อันนี้ละเอียดอ่อน นอกจากบุคคลที่มีความเพียร มีสติมีปัญญาที่แหลมคม แล้วก็หมั่นสังเกตหมั่นวิเคราะห์กายของเราใจของเราจริงๆ คำว่าภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างไร ศีลสมมติเป็นอย่างไร ศีลวิมุตติเป็นอย่างไร ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลพระปาติโมกข์ อันนี้ความหมายของศีลก็เพื่อที่จะละกิเลส ละกิเลสหยาบ ละกิเลสละเอียด ละกิเลสจนใจของเราไม่มีอะไร ตัวใจนั่นแหละคือตัวศีล คือ ความปกติ ปกติที่ปราศจากกิเลส เราก็ต้องพยายามหมั่นสังเกต หมั่นอบรมตัวเรา
ถ้าเราอบรมตัวเราไม่ได้ใช้ตัวเองไม่เป็นก็ไม่รู้ว่าใครจะอบรมให้ ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ‘ตน’ ตัวแรกก็ตัวสติที่เราสร้างขึ้นมา ‘ตน’ ตัวที่สองก็คือตัวใจ แต่เวลานี้ใจทั้งเกิดด้วย ทั้งหลงด้วย ทั้งยึดด้วย กว่าจะมาแกะมาแยกแยะชี้เหตุชี้ผลได้ก็ต้องใช้ความเพียรอย่างมหาศาลเลยทีเดียว เราก็ต้องพยายามอย่าไปทิ้ง ไม่ว่าอยู่ที่ไหน สักวันนึงเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางจนได้ ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว วันนี้มี พรุ่งนี้มี เดือนนี้มี เดือนหน้ามี ภพนี้มี ภพหน้ามี พ่อแม่พี่น้องมี เราจงพยายามศึกษาให้ละเอียด ก็ต้องพยายามกัน
ส่วนการเจริญภาวนาอย่าไปเลือกกาลเลือกเวลา ตื่นขึ้นมาเราก็รีบวิเคราะห์กายวิเคราะห์ใจของเรา กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไรเราก็พยายามรีบดับรีบแก้ ใจเกิดความโลภ ละความโลภ ละความโลภด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการคลาย ใจเกิดความโกรธ ด้วยการดับความโกรธ ด้วยการให้อภัยอโหสิกรรม ทำในสิ่งตรงกันข้าม ทุกเรื่องเป็นการฝึกหัดปฏิบัติตัวเราหมด เอาทุกเวลาทุกลมหายใจคือการปฏิบัติ หายใจเข้าเป็นอย่างไร หายใจออกเป็นอย่างไร ใจที่ปกติเป็นอย่างไร หมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ หมั่นสำรวจอยู่บ่อยๆ อันนี้ลักษณะของสติที่รู้ตัวที่ต่อเนื่อง จำแนกแจกแจงให้ได้อย่าเอาไปปนเปกัน
เหมือนกับเชือกเส้นใหญ่ๆ เรามองเห็นก็เป็นเส้นเดียวแต่เราพิจารณาให้ลึกลงไปก็มีเกลียวของใครเกลียวของมัน มีอยู่ห้าเกลียว เกลียวนอกเกลียวใน กายของเราก็เหมือนกันมีอยู่ห้าขันธ์ ที่ท่านว่าขันธ์เป็นขันธ์เป็นกอง กองวิญญาณ กองรูป กองนาม กองสังขาร กองสารพัดอย่างมีอยู่ห้ากอง มีวิญญาณสร้างขึ้นมาแล้วก็ครอบครอง แล้วก็มายึด เราต้องแยกแยะให้รู้ให้เห็นว่าเป็นกองไหนๆ แต่เขาก็อยู่รวมกัน
หมดลมหายใจนั่นแหละทุกสิ่งทุกอย่างถึงจะได้พลัดพรากจากกัน ขณะที่มียังลมหายใจอยู่เราก็ทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสีย เราก็จะไม่ได้หลง ไม่ทุกข์ ไม่ยึด ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะ สร้างความรู้ตัวให้ชัดเจนให้ต่อเนื่องกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำนะ
ไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอาให้รู้ทุกอิริยาบถ