
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 107
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 107
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2562 ลำดับที่ 107
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 ตุลาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกของเราให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ นั่งตามสบาย วางใจให้สบาย แล้วก็วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา การหายใจเข้าหายใจออกเป็นอย่างไร หายใจปกติหรือไม่ หายใจยาวหายใจสั้น เวลาสัมผัสของลมหายใจกระทบปลายจมูกของเรา เราก็มีความรู้สึกรับรู้ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน จนกว่าความรู้ตัวของเราจะต่อเนื่องเชื่อมโยง
ส่วนการเกิดของใจนั้นมีอยู่เดิม การเกิดของขันธ์ห้าของความคิดก็มีอยู่เดิม เขาเกิดเกิดดับๆ บางทีก็เป็นกลางๆ บางทีก็เป็นอกุศล เราก็พยายามสร้างความรู้ตัวให้รู้เท่ารู้ทัน รู้ไม่ทันการเกิดของใจ การเกิดของขันธ์ห้า หรือว่าความคิดเก่าของเรานั่นแหละ ให้หยุดให้ดับเอาไว้ ด้วยการสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนออกมายาวๆ หรือว่าการสร้างความรู้ตัวให้แรงๆ สูดลมหายใจยาวๆ กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากใจส่งไปภายนอกเขาก็จะกลับมาอยู่กับลมหายใจ แล้วเขาก็จะเกิดใหม่อีก เขาเกิดๆ ดับๆ อยู่นั่นแหละ เพราะว่าความเคยชิน
ความหลง ความหลง หลงเกิดขึ้นลงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ แล้วก็มาสร้างขันธ์ห้า ที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ แต่รวมกันอยู่ในก้อนเดียว แต่เราต้องจำแนกแจกแจงด้วยปัญญา รู้ด้วยปัญญา ซึ่งปัญญาก็เป็นปัญญาของพระพุทธเจ้าองค์ที่ค้นพบ ตามแนวทางของหลักอริยสัจ หรือว่าตามแนวทางอริยมรรคในองค์แปด ความเห็นถูกเป็นข้อแรกคือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก
เห็นถูกในหลักธรรม คือใจต้องคลายจากขันธ์ห้า ถ้าคลายจากขันธ์ห้า หงายขึ้นมาหรือว่าแยกรูปแยกนามนั่นแหละจะเห็นถูก เห็นถูกแล้วยังไม่พอ ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี้ ตามเห็นการเกิดการดับของความคิด ซึ่งมีอยู่ในขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในขันธ์ห้า ถ้าเป็นเรื่องอดีตเขาเรียกว่า ‘กองของสัญญา’ เห็นความเกิดความดับนั่นแหละเขาเรียกว่า ‘เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ในกายของเรา
ทุกเรื่องเราต้องตามดู รู้ เห็นตามความเป็นจริง ให้ใจรับรู้แล้วค่อยเอามาพิจารณา เห็นเสียก่อนค่อยพิจารณา รู้ไม่ทันเราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ กำลังสติไม่มีพอที่จะเอาไปใช้ได้เราก็สร้างขึ้นมาจนกำลังสติของเราเอาไปใช้การใช้งานได้ จนเป็นมหาสติ มหาปัญญา รู้จักปรับสภาพใจของเราให้ใจของเราอยู่ในความอ่อนโยน ให้ใจของเราอยู่ในความอ่อนน้อม อ่อนโยน มีสัจจะกับตัวเราเอง รู้จักแก้ไขตัวเรา รู้จักสังเกตตัวเรา เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละหรือไม่
ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เราก็ต้องหัดวิเคราะห์ ไม่ใช่ไปปล่อยปละละเลย ยิ่งฝึกหัดเท่าไหร่ยิ่งเห็นกิเลสเยอะ ถ้ากำลังสติของเรามีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจะเห็นเยอะ เห็นทั้งตัวหยาบตัวละเอียด แต่ส่วนมากก็หยาบๆ มันก็เกิดขึ้น มันก็เห็นได้ชัดเจน แต่นานๆ ทีมันถึงจะเกิด
แต่ความเกิดความดับของใจของขันธ์ห้านี่มันเกิดอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นไม่รู้ไปสักกี่เรื่องเรารู้ไม่ทันตั้งแต่ต้นเหตุ แล้วก็ไปดับเอาตั้งแต่กลางเหตุหรือปลายเหตุ หรือไม่ดับ หรือไปส่งเสริมไปด้วยกันเลย ส่วนมากก็ไปด้วยกันเลย ถึงเราอาจจะเห็นถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยังผิดอยู่ เพราะใจยังไม่ได้คลาย ใจยังไม่ได้หงาย ถึงใจจะสงบอยู่ ก็โดนสมมติเข้าครอบงำอยู่
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผล แล้วก็ให้เชื่อด้วยเหตุ เหตุผลของหลักการปฏิบัติ ให้มี ให้เกิดขึ้น ให้รู้แจ้งเห็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่ออริยสัจเป็นอย่างนี้นะ ใจส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างนี้ ใจโดนขันธ์ห้าหลอกเป็นอย่างนี้ ใจมันเกิดกิเลสเป็นอย่างนี้ ถ้าใจคลายจากขันธ์ห้าได้ก็คลายความหลงได้ ทำอย่างไรใจของเราจะเบาบางจากกิเลส เราก็พยายามขัดเกลา ใจเกิดความโลภเราก็ละความโลภด้วยการให้ ด้วยการช่วยเหลือ ด้วยการอนุเคราะห์ ให้ทั้งวัตถุทานให้เกิดประโยชน์ ให้ทั้งอภัยทาน อโหสิกรรม ใจเกิดลังเลสงสัยกังวลฟุ้งซานเราก็รู้จักใช้สมถะเข้าไปดับ มองคนอื่นในทางที่ดีคิดดีเลือกเอาเฉพาะส่วนที่ดีๆ มาใช้ ส่วนไหนที่ไม่ดีเอาเก็บมาคิด ก็ความไม่ดีของเรานั่นแหละมันไปคิดว่าคนนู้นไม่ดีคนนี้ไม่ดี มลทินของเรานั่นแหละ มีแต่เรื่องของเรา เอาเรื่องของคนอื่นมาเป็นเรื่องของเรา
เรามาแก้ไขเราปรับปรุงตัวเรา ความเกิดนิดๆ หน่อยๆ ความอยากนิดๆ หน่อยๆ เราก็ไม่ให้มีเกิดขึ้นที่ใจ เดี๋ยวนี้ใจของเรา ความเกิดเข้าครอบงำ ความหลงเข้าครอบงำ ความยึดความติดเข้าครอบงำ ขันธ์ห้า เข้าครอบงำ เยอะแยะจัง ถ้าไม่รู้จักแก้ไข มันก็ยากนะ หลวงพ่อก็เพียงแค่ย้ำ ในการเจริญสติ
คำว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ ตื่นขึ้นมากำลังสติของเราอย่างไรถึงจะเป็นมหาสติ ตราบใดที่เราไม่ได้สร้าง ก็เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าไม่ได้ เราจะเดินปัญญาไม่ได้เด็ดขาด มีตั้งแต่ปัญญานึกคิดเอาวิปัสสนึกทั้งนั้น เรามารู้ด้วยเห็นด้วย ตามดู ชี้เหตุชี้ผล จนกำลังสติปัญญา ปัญญาฝ่ายทำความเข้าใจ ฝ่ายละ ฝ่ายดับ ฝ่ายเกิด อะไรที่เกิดก่อนเกิดหลัง อะไรเป็นหลักสำคัญก่อนสำคัญหลัง เรามาเรียบเรียง
แต่ละวันๆ ตื่นขึ้นจนกระทั่งเรานอนหลับ นอนหลับตื่นขึ้นเราก็เอาใหม่ วิเคราะห์ตัวเรา แก้ไขเราเรื่องของเราให้มันจบ อย่าเอาเรื่องของคนอื่นมาทับถมดวงใจตัวเอง ส่วนมากกว่าก็คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ ไม่ได้เล่าเรื่องคนอื่นแล้วท้องมันอืด ถ้าได้เล่าเรื่องคนอื่นเรารู้สึกว่ามันโล่ง มันโปร่ง มีกิเลสขึ้นว่าอย่างงั้น เราก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะ วันนี้เจริญธรรมกันเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 ตุลาคม 2562
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกของเราให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ นั่งตามสบาย วางใจให้สบาย แล้วก็วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา การหายใจเข้าหายใจออกเป็นอย่างไร หายใจปกติหรือไม่ หายใจยาวหายใจสั้น เวลาสัมผัสของลมหายใจกระทบปลายจมูกของเรา เราก็มีความรู้สึกรับรู้ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน จนกว่าความรู้ตัวของเราจะต่อเนื่องเชื่อมโยง
ส่วนการเกิดของใจนั้นมีอยู่เดิม การเกิดของขันธ์ห้าของความคิดก็มีอยู่เดิม เขาเกิดเกิดดับๆ บางทีก็เป็นกลางๆ บางทีก็เป็นอกุศล เราก็พยายามสร้างความรู้ตัวให้รู้เท่ารู้ทัน รู้ไม่ทันการเกิดของใจ การเกิดของขันธ์ห้า หรือว่าความคิดเก่าของเรานั่นแหละ ให้หยุดให้ดับเอาไว้ ด้วยการสูดลมหายใจยาวๆ ผ่อนออกมายาวๆ หรือว่าการสร้างความรู้ตัวให้แรงๆ สูดลมหายใจยาวๆ กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากใจส่งไปภายนอกเขาก็จะกลับมาอยู่กับลมหายใจ แล้วเขาก็จะเกิดใหม่อีก เขาเกิดๆ ดับๆ อยู่นั่นแหละ เพราะว่าความเคยชิน
ความหลง ความหลง หลงเกิดขึ้นลงมาเกิดอยู่ในภพมนุษย์ แล้วก็มาสร้างขันธ์ห้า ที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ แต่รวมกันอยู่ในก้อนเดียว แต่เราต้องจำแนกแจกแจงด้วยปัญญา รู้ด้วยปัญญา ซึ่งปัญญาก็เป็นปัญญาของพระพุทธเจ้าองค์ที่ค้นพบ ตามแนวทางของหลักอริยสัจ หรือว่าตามแนวทางอริยมรรคในองค์แปด ความเห็นถูกเป็นข้อแรกคือสัมมาทิฏฐิ ความเห็นถูก
เห็นถูกในหลักธรรม คือใจต้องคลายจากขันธ์ห้า ถ้าคลายจากขันธ์ห้า หงายขึ้นมาหรือว่าแยกรูปแยกนามนั่นแหละจะเห็นถูก เห็นถูกแล้วยังไม่พอ ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี้ ตามเห็นการเกิดการดับของความคิด ซึ่งมีอยู่ในขันธ์ใดขันธ์หนึ่งในขันธ์ห้า ถ้าเป็นเรื่องอดีตเขาเรียกว่า ‘กองของสัญญา’ เห็นความเกิดความดับนั่นแหละเขาเรียกว่า ‘เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ในกายของเรา
ทุกเรื่องเราต้องตามดู รู้ เห็นตามความเป็นจริง ให้ใจรับรู้แล้วค่อยเอามาพิจารณา เห็นเสียก่อนค่อยพิจารณา รู้ไม่ทันเราก็รู้จักหยุด รู้จักดับ กำลังสติไม่มีพอที่จะเอาไปใช้ได้เราก็สร้างขึ้นมาจนกำลังสติของเราเอาไปใช้การใช้งานได้ จนเป็นมหาสติ มหาปัญญา รู้จักปรับสภาพใจของเราให้ใจของเราอยู่ในความอ่อนโยน ให้ใจของเราอยู่ในความอ่อนน้อม อ่อนโยน มีสัจจะกับตัวเราเอง รู้จักแก้ไขตัวเรา รู้จักสังเกตตัวเรา เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละหรือไม่
ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา เราก็ต้องหัดวิเคราะห์ ไม่ใช่ไปปล่อยปละละเลย ยิ่งฝึกหัดเท่าไหร่ยิ่งเห็นกิเลสเยอะ ถ้ากำลังสติของเรามีมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจะเห็นเยอะ เห็นทั้งตัวหยาบตัวละเอียด แต่ส่วนมากก็หยาบๆ มันก็เกิดขึ้น มันก็เห็นได้ชัดเจน แต่นานๆ ทีมันถึงจะเกิด
แต่ความเกิดความดับของใจของขันธ์ห้านี่มันเกิดอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นไม่รู้ไปสักกี่เรื่องเรารู้ไม่ทันตั้งแต่ต้นเหตุ แล้วก็ไปดับเอาตั้งแต่กลางเหตุหรือปลายเหตุ หรือไม่ดับ หรือไปส่งเสริมไปด้วยกันเลย ส่วนมากก็ไปด้วยกันเลย ถึงเราอาจจะเห็นถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยังผิดอยู่ เพราะใจยังไม่ได้คลาย ใจยังไม่ได้หงาย ถึงใจจะสงบอยู่ ก็โดนสมมติเข้าครอบงำอยู่
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผล แล้วก็ให้เชื่อด้วยเหตุ เหตุผลของหลักการปฏิบัติ ให้มี ให้เกิดขึ้น ให้รู้แจ้งเห็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่ออริยสัจเป็นอย่างนี้นะ ใจส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างนี้ ใจโดนขันธ์ห้าหลอกเป็นอย่างนี้ ใจมันเกิดกิเลสเป็นอย่างนี้ ถ้าใจคลายจากขันธ์ห้าได้ก็คลายความหลงได้ ทำอย่างไรใจของเราจะเบาบางจากกิเลส เราก็พยายามขัดเกลา ใจเกิดความโลภเราก็ละความโลภด้วยการให้ ด้วยการช่วยเหลือ ด้วยการอนุเคราะห์ ให้ทั้งวัตถุทานให้เกิดประโยชน์ ให้ทั้งอภัยทาน อโหสิกรรม ใจเกิดลังเลสงสัยกังวลฟุ้งซานเราก็รู้จักใช้สมถะเข้าไปดับ มองคนอื่นในทางที่ดีคิดดีเลือกเอาเฉพาะส่วนที่ดีๆ มาใช้ ส่วนไหนที่ไม่ดีเอาเก็บมาคิด ก็ความไม่ดีของเรานั่นแหละมันไปคิดว่าคนนู้นไม่ดีคนนี้ไม่ดี มลทินของเรานั่นแหละ มีแต่เรื่องของเรา เอาเรื่องของคนอื่นมาเป็นเรื่องของเรา
เรามาแก้ไขเราปรับปรุงตัวเรา ความเกิดนิดๆ หน่อยๆ ความอยากนิดๆ หน่อยๆ เราก็ไม่ให้มีเกิดขึ้นที่ใจ เดี๋ยวนี้ใจของเรา ความเกิดเข้าครอบงำ ความหลงเข้าครอบงำ ความยึดความติดเข้าครอบงำ ขันธ์ห้า เข้าครอบงำ เยอะแยะจัง ถ้าไม่รู้จักแก้ไข มันก็ยากนะ หลวงพ่อก็เพียงแค่ย้ำ ในการเจริญสติ
คำว่า ‘ปัจจุบันธรรม’ ตื่นขึ้นมากำลังสติของเราอย่างไรถึงจะเป็นมหาสติ ตราบใดที่เราไม่ได้สร้าง ก็เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าไม่ได้ เราจะเดินปัญญาไม่ได้เด็ดขาด มีตั้งแต่ปัญญานึกคิดเอาวิปัสสนึกทั้งนั้น เรามารู้ด้วยเห็นด้วย ตามดู ชี้เหตุชี้ผล จนกำลังสติปัญญา ปัญญาฝ่ายทำความเข้าใจ ฝ่ายละ ฝ่ายดับ ฝ่ายเกิด อะไรที่เกิดก่อนเกิดหลัง อะไรเป็นหลักสำคัญก่อนสำคัญหลัง เรามาเรียบเรียง
แต่ละวันๆ ตื่นขึ้นจนกระทั่งเรานอนหลับ นอนหลับตื่นขึ้นเราก็เอาใหม่ วิเคราะห์ตัวเรา แก้ไขเราเรื่องของเราให้มันจบ อย่าเอาเรื่องของคนอื่นมาทับถมดวงใจตัวเอง ส่วนมากกว่าก็คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ ไม่ได้เล่าเรื่องคนอื่นแล้วท้องมันอืด ถ้าได้เล่าเรื่องคนอื่นเรารู้สึกว่ามันโล่ง มันโปร่ง มีกิเลสขึ้นว่าอย่างงั้น เราก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะ วันนี้เจริญธรรมกันเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ