หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 14 วันที่ 15 มกราคม 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 14 วันที่ 15 มกราคม 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 14
วันที่ 15 มกราคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกัน ให้เชื่อมโยง เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก พวกเราก็ขาดการสนใจกันมากเลยทีเดียว หายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด บางทีก็หายใจอึดอัด บางทีสมองก็ตึง บางทีกายก็เครียด เราพยายามหัดสังเกตบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ ไม่เข้าใจเราก็ยิ่งเพิ่มความเพียรให้เป็นทวีคูณ
นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ลองดูสิ การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ อันนี้เป็นแค่เพียงอุบายเท่านั้นนะ เป็นแค่เพียงอุบาย สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ใจของเราจะคิดวอกแวกไปที่อื่นเขาก็จะหยุดนิ่ง
ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ เวลาลมหายใจเข้ากระทบปลายจมูกของเรา รู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราก็พอ เวลาลมหายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก ความรู้สึกก็จะต่อเนื่อง ถ้าต่อเนื่องเค้าเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม’ พยายามฝึก
ถ้าพลั้งเผลอเราก็เริ่มต้นใหม่ พลั้งเผลอเราก็เริ่มต้นใหม่ ถ้าเราฝึกให้เกิดความเคยชิน สติของเราก็จะตั้งมั่นขึ้น เราก็จะรู้ รู้ตัว อันนี้ยังไม่ได้รู้ใจนะ รู้ตัวเฉยๆ รู้กายเฉยๆ แล้วก็จะรู้ว่าแต่ก่อนนั้นสติตัวนี้เราไม่มีเลย นี่แหละความขยันหมั่นเพียร ให้ฝึกตรงนี้ ให้เกิดความเคยชิน แล้วก็ให้ต่อเนื่อง ถ้าความรู้ตัวต่อเนื่องแล้ว เราก็จะเห็น เราก็จะรู้ลักษณะของใจ
ใจที่ปกติ ก็จะเห็นเป็นสองส่วน ‘สติ’ กับ ‘ใจ’ ใจจะก่อตัว ใจจะเกิด เราก็จะรู้เท่าทัน ส่วนมากเขาเกิดไปแล้ว เราถึงรู้ว่าเราคิด เราไม่เห็นต้นเหตุของการเกิดของใจ เห็นสองส่วน ‘กำลังสติ’ กับ ‘ใจ’ สองส่วน ถ้ากำลังสติของเราเชื่อมโยงต่อเนื่อง จะเห็นอีกส่วนนึง คือ ความคิดที่จะผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด เขาเรียกว่า ‘อาการของใจ’ ซึ่งเป็นนามธรรม ตัววิญญาณ ตัวใจก็เป็นนาม ตัวความคิดก็เป็นนามธรรม เขาเกิดอยู่แล้ว เขามีอยู่แล้ว เขาหลงมาตั้งนาน นี่แหละ ถ้าสังเกตทัน ใจของเราก็จะคลายออก สังเกตไม่ทัน เราก็หยุด ควบคุมใจของเรา
การควบคุมใจนี่แหละจะอึดอัด ช่วงใหม่ๆ จะอึดอัด ควบคุมจนถึงที่สิ้นสุด จนกว่าเขาจะคลายออก จากความคิด คลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า สังเกตเห็น แยกรูปแยกนามได้ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา ความอึดอัดก็จะหายไป อึดอัดถึงที่สิ้นสุดน่ะเขาถึงจะหาย เราก็จะเห็น การเกิด การดับ ของความคิด มองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์
ตามทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล ให้ใจมองเห็นความเป็นจริง ทุกเรื่อง ทั้งทางด้านรูปธรรม ทั้งทางด้านนามธรรม จนใจเกิดความเบื่อหน่ายนั้นแหละ เบื่อหน่ายในความคิด เบื่อหน่ายในอารมณ์ มองเห็นความเป็นจริงว่าไม่มีสาระแก่นสารอะไร อยากจะหลบ อยากจะหลีก มันหลบมันหลีกไม่ได้ก็ถึงจะอยู่อุเบกขา กิเลสเกิดขึ้นที่ใจเมื่อไหร่ก็ใช้สติปัญญาเป็นตัวละ ตัวละ ตัวดับ ออกให้มันหมดจด
ในหลักธรรม ความอยากไปอยากมา อยากมีอยากเป็น ไม่อยากไปไม่อยากมา ท่านให้ละ ให้คลายให้หมด จะเอา จะมี จะเป็น ก็เป็นเรื่องของปัญญา ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง จะเอามากเอาน้อย ทำมากทำน้อย ก็ขยันด้วยสติด้วยปัญญา ยังสมมติให้เกิดประโยชน์จนเต็มเปี่ยม แต่คนเราจะไปมองเฉพาะในภาพรวม กับมองทางด้านนอกอย่างเดียว ไม่เข้าไปแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ สาเหตุ สาเหตุของนามธรรมเสียก่อน คือ ตัวจิต ตัววิญญาณ
การพูดง่าย แต่การวิเคราะห์ การสังเกต นี่เราต้องขัดเกลาตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา ใจของเราเกิดความอยาก เกิดกิเลส กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด สติของเราพลั้งเผลอได้อย่างไร ความเกียจคร้านเข้าครอบงำได้อย่างไร ความเสียสละของเรามีหรือไม่
แม้แต่ความคิด อารมณ์ต่าง ๆ เราต้องวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล จัดระบบระเบียบ จัดระบบระเบียบของกาย กายของเราเป็นอย่างไรบ้าง ใจของเราเป็นอย่างไรบ้าง วาจาของเรา อะไรควรพูด อะไรควรคิด ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล การกระทำด้วยสติด้วยปัญญา ความเสียสละต้องเต็มเปี่ยม อาศัยกาล อาศัยเวลา เข้าต่อเนื่อง พยายาม ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ถ้าบอกตัวเองไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น ไปที่ไหนก็ไม่มีประโยชน์
จงสอนตัวเอง พร่ำสอนตัวเอง อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอน ไม่มีประโยชน์ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็พยายามดับ บุคคลที่จะเอานั้นอยู่คนเดียวก็สอนตัวเองได้ รู้ไม่ทันก็รู้จักหยุดควบคุมเอาไว้เสียก่อน บุคลลที่ไม่เอานั้น ไปปฏิบัติธรรมที่ไหน ฝึกหัดปฏิบัติคร่ำเคร่งมากมาย พูดจนปากเปียกปากแฉะมันก็ไม่เอา เพราะว่ามันเข้าไม่ถึงใจ
ปฏิบัติธรรมมีแต่ความอยาก อยากจะได้ธรรม มันก็เลยปิดกั้นเอาไว้ เพียงแค่อยากจะได้ธรรม อยากจะรู้ธรรม ท่านไม่ให้มีความอยากแม้แต่นิดเดียวที่เกิดขึ้นที่ใจเลย ทุกเรื่อง อยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง อยากในอาหาร แต่ความต้องการของกายนั้นมีอยู่ แต่ให้เป็นความต้องการของสติปัญญา จะเอามากเอาน้อย สติปัญญาในทางธรรมเป็นลักษณะอย่างนี้ สติปัญญาในทางโลกเป็นลักษณะอย่างนี้
ถ้าใจของเราแยกรูปแยกนาม คลายได้ ใจของเราก็ตกกระแสธรรม ปัญญาโลกก็จะเป็นปัญญาธรรม เพียงแค่แยกได้ คลายได้ เพียงแค่เริ่มต้น การตามทำความเข้าใจละกิเลสนี่ต้องอีกมากมาย เราก็ต้องจัดการ
ทุกคนก็ละอยู่ ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็เป็นการละ เป็นการสร้างสะสมบุญบารมีอยู่ระดับของโลกียะ ก็เป็นสิ่งที่ดี
ทั้งโลกทั้งธรรมก็อยู่ด้วยกัน ธรรมกับโลกก็อยู่ด้วยกัน สมมติกับวิมุตติก็อยู่ด้วยกัน วิญญาณก็มาอาศัยกายอยู่ เขามาสร้างกายห่อหุ้มตัวเองเอาไว้ แล้วเขาก็ยังหนีไปเที่ยวอีก ถ้ากายแตกดับ เขาก็ไปสู่สภาวะ ไปตามแรงเหวี่ยงของกรรม ถ้าตราบใดที่เรายังไม่ทำความเข้าใจกับกรรม กรรม ก็คือการกระทำ ตัววิญญาณเข้าไปหลง เข้าไปเกิด เข้าไปยึด ถ้าจะเป็นกรรม ก็ให้เป็นกุศลกรรม ให้กรรมดี ถ้าสูงขึ้นไปก็สร้างแต่กรรมดี ไม่ยึด ไม่ติด อยู่เหนือกรรม อยู่เหนือบุญเหนือบาป ดับความเกิด
มองเห็นการเดินทางว่าจะไปไหนมาไหน จะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายามนะ พยายาม
พยายามทำคุณงามความดี สร้างอานิสงส์ให้มี ให้เกิดขึ้นมากมาย มีโอกาสทำให้เต็มเปี่ยม ทำให้เต็มที่ เท่าที่โอกาสอำนวยให้
หลวงพ่อก็จะเป็นแค่เพียงสะพาน พาทำ พาสร้าง ได้สร้างอานิสงส์ใหญ่ให้ฝากเอาไว้กับทุกคน ก็เหลือเวลาอีกไม่มากหรอก เหลือเวลาอีกไม่มาก ก็จะพยายามสร้างประโยชน์ สร้างคุณงามความดีให้กับพี่กับน้อง ให้ได้ฝากเอาไว้ในสมมติ ให้ทุกคนได้มีความสุขกัน
วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันนะ
วันที่ 15 มกราคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกัน ให้เชื่อมโยง เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก พวกเราก็ขาดการสนใจกันมากเลยทีเดียว หายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด บางทีก็หายใจอึดอัด บางทีสมองก็ตึง บางทีกายก็เครียด เราพยายามหัดสังเกตบ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ ไม่เข้าใจเราก็ยิ่งเพิ่มความเพียรให้เป็นทวีคูณ
นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียก ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ลองดูสิ การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ อันนี้เป็นแค่เพียงอุบายเท่านั้นนะ เป็นแค่เพียงอุบาย สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ใจของเราจะคิดวอกแวกไปที่อื่นเขาก็จะหยุดนิ่ง
ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ เวลาลมหายใจเข้ากระทบปลายจมูกของเรา รู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราก็พอ เวลาลมหายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก ความรู้สึกก็จะต่อเนื่อง ถ้าต่อเนื่องเค้าเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม’ พยายามฝึก
ถ้าพลั้งเผลอเราก็เริ่มต้นใหม่ พลั้งเผลอเราก็เริ่มต้นใหม่ ถ้าเราฝึกให้เกิดความเคยชิน สติของเราก็จะตั้งมั่นขึ้น เราก็จะรู้ รู้ตัว อันนี้ยังไม่ได้รู้ใจนะ รู้ตัวเฉยๆ รู้กายเฉยๆ แล้วก็จะรู้ว่าแต่ก่อนนั้นสติตัวนี้เราไม่มีเลย นี่แหละความขยันหมั่นเพียร ให้ฝึกตรงนี้ ให้เกิดความเคยชิน แล้วก็ให้ต่อเนื่อง ถ้าความรู้ตัวต่อเนื่องแล้ว เราก็จะเห็น เราก็จะรู้ลักษณะของใจ
ใจที่ปกติ ก็จะเห็นเป็นสองส่วน ‘สติ’ กับ ‘ใจ’ ใจจะก่อตัว ใจจะเกิด เราก็จะรู้เท่าทัน ส่วนมากเขาเกิดไปแล้ว เราถึงรู้ว่าเราคิด เราไม่เห็นต้นเหตุของการเกิดของใจ เห็นสองส่วน ‘กำลังสติ’ กับ ‘ใจ’ สองส่วน ถ้ากำลังสติของเราเชื่อมโยงต่อเนื่อง จะเห็นอีกส่วนนึง คือ ความคิดที่จะผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจ ที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด เขาเรียกว่า ‘อาการของใจ’ ซึ่งเป็นนามธรรม ตัววิญญาณ ตัวใจก็เป็นนาม ตัวความคิดก็เป็นนามธรรม เขาเกิดอยู่แล้ว เขามีอยู่แล้ว เขาหลงมาตั้งนาน นี่แหละ ถ้าสังเกตทัน ใจของเราก็จะคลายออก สังเกตไม่ทัน เราก็หยุด ควบคุมใจของเรา
การควบคุมใจนี่แหละจะอึดอัด ช่วงใหม่ๆ จะอึดอัด ควบคุมจนถึงที่สิ้นสุด จนกว่าเขาจะคลายออก จากความคิด คลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า สังเกตเห็น แยกรูปแยกนามได้ ใจก็จะว่าง กายก็จะเบา ความอึดอัดก็จะหายไป อึดอัดถึงที่สิ้นสุดน่ะเขาถึงจะหาย เราก็จะเห็น การเกิด การดับ ของความคิด มองเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์
ตามทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล ให้ใจมองเห็นความเป็นจริง ทุกเรื่อง ทั้งทางด้านรูปธรรม ทั้งทางด้านนามธรรม จนใจเกิดความเบื่อหน่ายนั้นแหละ เบื่อหน่ายในความคิด เบื่อหน่ายในอารมณ์ มองเห็นความเป็นจริงว่าไม่มีสาระแก่นสารอะไร อยากจะหลบ อยากจะหลีก มันหลบมันหลีกไม่ได้ก็ถึงจะอยู่อุเบกขา กิเลสเกิดขึ้นที่ใจเมื่อไหร่ก็ใช้สติปัญญาเป็นตัวละ ตัวละ ตัวดับ ออกให้มันหมดจด
ในหลักธรรม ความอยากไปอยากมา อยากมีอยากเป็น ไม่อยากไปไม่อยากมา ท่านให้ละ ให้คลายให้หมด จะเอา จะมี จะเป็น ก็เป็นเรื่องของปัญญา ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง จะเอามากเอาน้อย ทำมากทำน้อย ก็ขยันด้วยสติด้วยปัญญา ยังสมมติให้เกิดประโยชน์จนเต็มเปี่ยม แต่คนเราจะไปมองเฉพาะในภาพรวม กับมองทางด้านนอกอย่างเดียว ไม่เข้าไปแก้ไขตั้งแต่ต้นเหตุ สาเหตุ สาเหตุของนามธรรมเสียก่อน คือ ตัวจิต ตัววิญญาณ
การพูดง่าย แต่การวิเคราะห์ การสังเกต นี่เราต้องขัดเกลาตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา ใจของเราเกิดความอยาก เกิดกิเลส กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด สติของเราพลั้งเผลอได้อย่างไร ความเกียจคร้านเข้าครอบงำได้อย่างไร ความเสียสละของเรามีหรือไม่
แม้แต่ความคิด อารมณ์ต่าง ๆ เราต้องวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล จัดระบบระเบียบ จัดระบบระเบียบของกาย กายของเราเป็นอย่างไรบ้าง ใจของเราเป็นอย่างไรบ้าง วาจาของเรา อะไรควรพูด อะไรควรคิด ประโยชน์ใกล้ประโยชน์ไกล การกระทำด้วยสติด้วยปัญญา ความเสียสละต้องเต็มเปี่ยม อาศัยกาล อาศัยเวลา เข้าต่อเนื่อง พยายาม ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ถ้าบอกตัวเองไม่ได้ ใช้ตัวเองไม่เป็น ไปที่ไหนก็ไม่มีประโยชน์
จงสอนตัวเอง พร่ำสอนตัวเอง อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอน ไม่มีประโยชน์ รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็พยายามดับ บุคคลที่จะเอานั้นอยู่คนเดียวก็สอนตัวเองได้ รู้ไม่ทันก็รู้จักหยุดควบคุมเอาไว้เสียก่อน บุคลลที่ไม่เอานั้น ไปปฏิบัติธรรมที่ไหน ฝึกหัดปฏิบัติคร่ำเคร่งมากมาย พูดจนปากเปียกปากแฉะมันก็ไม่เอา เพราะว่ามันเข้าไม่ถึงใจ
ปฏิบัติธรรมมีแต่ความอยาก อยากจะได้ธรรม มันก็เลยปิดกั้นเอาไว้ เพียงแค่อยากจะได้ธรรม อยากจะรู้ธรรม ท่านไม่ให้มีความอยากแม้แต่นิดเดียวที่เกิดขึ้นที่ใจเลย ทุกเรื่อง อยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง อยากในอาหาร แต่ความต้องการของกายนั้นมีอยู่ แต่ให้เป็นความต้องการของสติปัญญา จะเอามากเอาน้อย สติปัญญาในทางธรรมเป็นลักษณะอย่างนี้ สติปัญญาในทางโลกเป็นลักษณะอย่างนี้
ถ้าใจของเราแยกรูปแยกนาม คลายได้ ใจของเราก็ตกกระแสธรรม ปัญญาโลกก็จะเป็นปัญญาธรรม เพียงแค่แยกได้ คลายได้ เพียงแค่เริ่มต้น การตามทำความเข้าใจละกิเลสนี่ต้องอีกมากมาย เราก็ต้องจัดการ
ทุกคนก็ละอยู่ ได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็เป็นการละ เป็นการสร้างสะสมบุญบารมีอยู่ระดับของโลกียะ ก็เป็นสิ่งที่ดี
ทั้งโลกทั้งธรรมก็อยู่ด้วยกัน ธรรมกับโลกก็อยู่ด้วยกัน สมมติกับวิมุตติก็อยู่ด้วยกัน วิญญาณก็มาอาศัยกายอยู่ เขามาสร้างกายห่อหุ้มตัวเองเอาไว้ แล้วเขาก็ยังหนีไปเที่ยวอีก ถ้ากายแตกดับ เขาก็ไปสู่สภาวะ ไปตามแรงเหวี่ยงของกรรม ถ้าตราบใดที่เรายังไม่ทำความเข้าใจกับกรรม กรรม ก็คือการกระทำ ตัววิญญาณเข้าไปหลง เข้าไปเกิด เข้าไปยึด ถ้าจะเป็นกรรม ก็ให้เป็นกุศลกรรม ให้กรรมดี ถ้าสูงขึ้นไปก็สร้างแต่กรรมดี ไม่ยึด ไม่ติด อยู่เหนือกรรม อยู่เหนือบุญเหนือบาป ดับความเกิด
มองเห็นการเดินทางว่าจะไปไหนมาไหน จะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิดกัน ก็ต้องพยายามนะ พยายาม
พยายามทำคุณงามความดี สร้างอานิสงส์ให้มี ให้เกิดขึ้นมากมาย มีโอกาสทำให้เต็มเปี่ยม ทำให้เต็มที่ เท่าที่โอกาสอำนวยให้
หลวงพ่อก็จะเป็นแค่เพียงสะพาน พาทำ พาสร้าง ได้สร้างอานิสงส์ใหญ่ให้ฝากเอาไว้กับทุกคน ก็เหลือเวลาอีกไม่มากหรอก เหลือเวลาอีกไม่มาก ก็จะพยายามสร้างประโยชน์ สร้างคุณงามความดีให้กับพี่กับน้อง ให้ได้ฝากเอาไว้ในสมมติ ให้ทุกคนได้มีความสุขกัน
วันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันนะ