หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 89 วันที่ 7 ตุลาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 89 วันที่ 7 ตุลาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 89
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 ตุลาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องประนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย วิธีการแนวทาง หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่ชี้แค่กล่าว พวกท่านรู้จักวิธีการแนวทางแล้วก็ไปทำ
ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บเราก็สร้างความรู้ตัว รู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม กับคำว่า‘ปัจจุบันธรรม’ คือทุกขณะลมหายใจเข้า อันนี้เขาเรียกว่าปัจจุบัน แล้วก็หายใจออก เขาเรียกว่าปัจจุบัน รู้ให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง ตรงนี้ก็ทำกันได้ยากอยู่
ส่วนการฝักใฝ่ศรัทธา ความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ฝักใฝ่แสวงหาวิธีการ แนวทาง ด้วยปัญญาของโลกของโลกีย์ ตรงนี้มีอยู่ แต่ไม่ใช่ปัญญาที่จะเข้าไปดับทุกข์ที่ใจของเราได้ นอกจากการเจริญสติ การเจริญภาวนา ตามแนวทางของพระพุทธองค์
แต่ละวันตื่นขึ้นมา เราเจริญสติ รู้จักเอาสติไปใช้ ไปอบรมใจของเรา แก้ไขใจของเรา ใจของเราเป็นอย่างไรบ้าง แต่ละวันๆ ใจของเราส่งออกไปภายนอกสักกี่เรื่อง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เป็นเรื่องอดีตเรื่องอนาคต การปรุงแต่งความคิดของเรานั่นแหละที่เกิดจากใจ และก็อาการของใจซึ่งเรียกว่าอาการของขันธ์ห้า ซึ่งมีกันทุกคน ส่วนรูป ส่วนนาม เราต้องพยายาม หัดสังเกต หัดวิเคราะห์ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม
ความเห็นถูก สัมมาทิฏฐิถึงจะเปิดทาง ถ้ายังแยกแยะไม่ได้ นี้ก็ยังเป็นสัมมาทิฏฐิอยู่ในระดับของสมมติ ยังฝักใฝ่ในการสร้างบุญ สร้างกุศล ฝักใฝ่ในการสร้างบารมี ถึงเรารู้แล้ว เข้าใจแล้ว เราก็ต้องสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างอานิสงส์ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง พยายามสร้างสะสมคุณงามความดี สร้างสะสมบุญกุศล
แต่ละวันๆ จิตใจของเรามีความอ่อนน้อม จิตใจของเรามีความอ่อนโยน จิตใจของเรามีพรหมวิหาร มีความเมตตาหรือไม่ เราก็ต้องรีบแก้ไขใจของเรา ขณะที่ยังมีกำลังกายอยู่ ถ้าหมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญเรื่องบาป
เราพยายามมองเห็นหนทางตามแนวทางของพระพุทธองค์ ละบาป สร้างบุญ สูงขึ้นไปก็สร้างบุญไม่ยึดติดในบุญ อยู่เหนือบุญ เหนือบาป ยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สมมติให้เต็มเปี่ยม อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง
เรารู้จักวิธีการแล้ว แนวทางแล้ว กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร วิธีการแนวทาง เราจงเป็นผู้บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ทำหน้าที่ของเรา ดูเรื่องของเราให้จบ แก้ไขปัญหาของเราให้ได้ ไม่ใช่ว่าสร้างปัญหาให้ตัวเรา แล้วก็สร้างปัญหาให้คนอื่น สร้างปัญหาให้สถานที่
เราพยายามแก้ไข แก้ไขเรา จากหนักก็เป็นเบา จากเบาก็จะเป็นแต่ความโล่งความโปร่ง มีความสุขความสบาย แต่ความสุขความสบายทางกายนั้นมันก็มีอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ความเป็นจริงนั้นเขาก็คือก้อนทุกข์ นั่งนานก็ทุกข์ ไม่ทานก็ทุกข์ สารพัดอย่าง ท่านให้ทำความเข้าใจให้มันถูกต้อง แล้วก็อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ไปอยู่ที่โน่นฉันจะเข้าใจในธรรม ไปอยู่ที่นี่ฉันจะเข้าใจในธรรม อันนั้นมันยังไม่ใช่
เราต้องแก้ไขตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ใจของเราเกิดกิเลส กิเลสหยาบหรือกิเลสละเอียดเราจะแก้ไขอย่างไร แนวทางนั้นมีอยู่ ซึ่งพระพุทธองค์ท่านก็ได้ค้นพบน้อมนำมาเปิดเผยหลักของอัตตา อนัตตา หลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกาย หลักของอริยสัจ วิธีการดำเนินให้เข้าถึงตรงนั้น กิเลสหยาบ กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร
ถ้าเราสร้างสะสมความเกียจคร้านหนึ่งครั้ง สองครั้ง ก็มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น มันก็เป็นดินพอกหางหมู ถ้าเราละความเกียจคร้านสร้างความขยัน สร้างความหมั่นเพียร เราก็ได้สร้างอานิสงส์ให้กับตัวเรา ก็ตัวเรานั่นแหละได้ ไม่มีใครเขาทำให้เราได้หรอกนอกจากตัวของเรา
จะไปอยู่ที่ไหนถ้าเราไม่ขัดเกลากิเลสตัวเอง ถ้าไม่รู้จักแก้ไขตัวเองมันก็ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเรารู้จักแก้ไขตัวเอง อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข ก็พยายามดำเนินกันนะ
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาทำความเข้าใจต่ออย่าพากันปล่อยเวลาทิ้ง
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 7 ตุลาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องประนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย วิธีการแนวทาง หลวงพ่อก็เพียงแค่บอกแค่ชี้แค่กล่าว พวกท่านรู้จักวิธีการแนวทางแล้วก็ไปทำ
ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พอรู้ตัวปุ๊บเราก็สร้างความรู้ตัว รู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง ภาษาธรรมท่านเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม กับคำว่า‘ปัจจุบันธรรม’ คือทุกขณะลมหายใจเข้า อันนี้เขาเรียกว่าปัจจุบัน แล้วก็หายใจออก เขาเรียกว่าปัจจุบัน รู้ให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง ตรงนี้ก็ทำกันได้ยากอยู่
ส่วนการฝักใฝ่ศรัทธา ความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ฝักใฝ่แสวงหาวิธีการ แนวทาง ด้วยปัญญาของโลกของโลกีย์ ตรงนี้มีอยู่ แต่ไม่ใช่ปัญญาที่จะเข้าไปดับทุกข์ที่ใจของเราได้ นอกจากการเจริญสติ การเจริญภาวนา ตามแนวทางของพระพุทธองค์
แต่ละวันตื่นขึ้นมา เราเจริญสติ รู้จักเอาสติไปใช้ ไปอบรมใจของเรา แก้ไขใจของเรา ใจของเราเป็นอย่างไรบ้าง แต่ละวันๆ ใจของเราส่งออกไปภายนอกสักกี่เรื่อง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล เป็นเรื่องอดีตเรื่องอนาคต การปรุงแต่งความคิดของเรานั่นแหละที่เกิดจากใจ และก็อาการของใจซึ่งเรียกว่าอาการของขันธ์ห้า ซึ่งมีกันทุกคน ส่วนรูป ส่วนนาม เราต้องพยายาม หัดสังเกต หัดวิเคราะห์ จนใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าแยกรูปแยกนาม
ความเห็นถูก สัมมาทิฏฐิถึงจะเปิดทาง ถ้ายังแยกแยะไม่ได้ นี้ก็ยังเป็นสัมมาทิฏฐิอยู่ในระดับของสมมติ ยังฝักใฝ่ในการสร้างบุญ สร้างกุศล ฝักใฝ่ในการสร้างบารมี ถึงเรารู้แล้ว เข้าใจแล้ว เราก็ต้องสร้างบุญ สร้างกุศล สร้างอานิสงส์ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง พยายามสร้างสะสมคุณงามความดี สร้างสะสมบุญกุศล
แต่ละวันๆ จิตใจของเรามีความอ่อนน้อม จิตใจของเรามีความอ่อนโยน จิตใจของเรามีพรหมวิหาร มีความเมตตาหรือไม่ เราก็ต้องรีบแก้ไขใจของเรา ขณะที่ยังมีกำลังกายอยู่ ถ้าหมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญเรื่องบาป
เราพยายามมองเห็นหนทางตามแนวทางของพระพุทธองค์ ละบาป สร้างบุญ สูงขึ้นไปก็สร้างบุญไม่ยึดติดในบุญ อยู่เหนือบุญ เหนือบาป ยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สมมติให้เต็มเปี่ยม อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง
เรารู้จักวิธีการแล้ว แนวทางแล้ว กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร พระพุทธองค์ท่านสอนเรื่องอะไร วิธีการแนวทาง เราจงเป็นผู้บอกตัวเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ทำหน้าที่ของเรา ดูเรื่องของเราให้จบ แก้ไขปัญหาของเราให้ได้ ไม่ใช่ว่าสร้างปัญหาให้ตัวเรา แล้วก็สร้างปัญหาให้คนอื่น สร้างปัญหาให้สถานที่
เราพยายามแก้ไข แก้ไขเรา จากหนักก็เป็นเบา จากเบาก็จะเป็นแต่ความโล่งความโปร่ง มีความสุขความสบาย แต่ความสุขความสบายทางกายนั้นมันก็มีอยู่ในระดับหนึ่ง แต่ความเป็นจริงนั้นเขาก็คือก้อนทุกข์ นั่งนานก็ทุกข์ ไม่ทานก็ทุกข์ สารพัดอย่าง ท่านให้ทำความเข้าใจให้มันถูกต้อง แล้วก็อยู่กับสมมติ เคารพสมมติ ไม่ยึดติดสมมติ ไปอยู่ที่โน่นฉันจะเข้าใจในธรรม ไปอยู่ที่นี่ฉันจะเข้าใจในธรรม อันนั้นมันยังไม่ใช่
เราต้องแก้ไขตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา ใจของเราเกิดกิเลส กิเลสหยาบหรือกิเลสละเอียดเราจะแก้ไขอย่างไร แนวทางนั้นมีอยู่ ซึ่งพระพุทธองค์ท่านก็ได้ค้นพบน้อมนำมาเปิดเผยหลักของอัตตา อนัตตา หลักของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกาย หลักของอริยสัจ วิธีการดำเนินให้เข้าถึงตรงนั้น กิเลสหยาบ กิเลสละเอียดเป็นอย่างไร
ถ้าเราสร้างสะสมความเกียจคร้านหนึ่งครั้ง สองครั้ง ก็มากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น มันก็เป็นดินพอกหางหมู ถ้าเราละความเกียจคร้านสร้างความขยัน สร้างความหมั่นเพียร เราก็ได้สร้างอานิสงส์ให้กับตัวเรา ก็ตัวเรานั่นแหละได้ ไม่มีใครเขาทำให้เราได้หรอกนอกจากตัวของเรา
จะไปอยู่ที่ไหนถ้าเราไม่ขัดเกลากิเลสตัวเอง ถ้าไม่รู้จักแก้ไขตัวเองมันก็ไม่เกิดประโยชน์ ถ้าเรารู้จักแก้ไขตัวเอง อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข ก็พยายามดำเนินกันนะ
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาทำความเข้าใจต่ออย่าพากันปล่อยเวลาทิ้ง