หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 77 วันที่ 10 สิงหาคม 2563 (1/2)

หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 77 วันที่ 10 สิงหาคม 2563 (1/2)
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ผู้บรรยาย
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 77 วันที่ 10 สิงหาคม 2563 (1/2)
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 77
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 10 สิงหาคม 2563 (1 / 2)

มีความสุขกันทุกคน พระเราชีเราก่อนที่จะขบจะฉัน ก็รู้จักพิจารณาปฏิสังขาโย แยกความอยากกับความหิวด้วย กายหิว หรือว่าใจเกิดความอยาก หรือว่าปกติ เราอย่าไปให้ผ่านเลยไปทุกเวลา เวลาจะคบจะฉันนี่แหละสำคัญ ความอยาก กายหิว ใจจะเกิดความอยาก อันนู้นก็อร่อย อันนี้ก็อร่อย จะเอาเยอะๆ มันกลัวไม่อิ่มบอกว่างั้น

เราก็ต้องรู้จักกะประมาณในการขบกันของเรา มองซ้าย มองขวา มองบน มองล่าง มองกลางใจของเรา ถ้าเรารู้ไม่ทันตรงนี้ใจจะเกิดความอยาก จากครั้งหนึ่ง สองครั้ง ก็มากขึ้นๆ จนเอาไม่อยู่ก็เลยเป็นทาสของกิเลสโดยไม่รู้ตัว

เราพยายามดู ถ้าใจเกิดความอยากก็รู้จักควบคุม รู้จักหยุด รู้จักดับ ดับไม่ได้ก็นั่งดูจนมันจบของมัน แล้วค่อยเอา ถ้ามันอยากอะไรเราไม่เอา ให้ผ่านเลยไป ผ่านเลยไปแล้วมันยังยินดี ยังอาลัยอาวรณ์อยู่หรือไม่ เราก็ต้องดู พยายามแก้ไขตรงนี้ ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลย จะเอาตั้งแต่ธรรมปฏิบัติตั้งแต่ธรรม สติไม่รู้ใจ ใจเป็นตัวบงการขันธ์ห้า เป็นตัวบงการมันจะพลาดไป จะเอาตั้งแต่เวลาจะตั้งใจฝึก ความตั้งใจน่ะมันก็เกิดเสียแล้ว เราต้องตั้งสติเข้าไปฝึก เข้าไปดู เข้าไปรู้ให้ทันจนกว่าจะเห็นการเกิด การร่วม การยินดียินร้าย ใจส่งออกไปภายนอก ตรงนี้ต้องมีกำลังสติเพียงพอถึงจะเอามันอยู่ ไม่ใช่ว่าฉันจะทำตามอำเภอใจ ตามอำนาจกิเลสของตัวเอง ไม่ให้ใจเกิด กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราต้องดับ ต้องละ ถ้าเราไม่แก้ไขตัวเราแล้ว ไม่มีใครจะแก้ไขให้เราได้

เราต้องเป็นบุคคลที่ขยันในการสังเกต ในการวิเคราะห์ ในการทำความเข้าใจ ทุกอย่างล้วนแต่เป็นธรรม ธรรมดำ ธรรมขาว มีกิเลส ไม่มีกิเลส เป็นกุศล หรืออกุศล เรามีความขยันหมั่นเพียรถูกที่ถูกทางหรือไม่ ทั้งโลกทั้งธรรม ทั้งสมมติทั้งวิมุตติ ไม่ใช่ว่าปล่อยเลยตามเลย ตามอำเภอใจ ตามอำนาจกิเลสของตัวเอง

ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาอะไรที่จะเป็นประโยชน์ ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน รีบรู้จักขวนขวาย รู้จักทำให้มี ให้เกิด เพียงแต่ในระดับสมมติ ก็พยายามทำให้ดีเถอะ ถ้าความเกียจคร้านเข้าครอบยำเราก็แย่ ไปอยู่ที่ไหนก็แย่ ตัวเราก็แย่ จัดการกับชีวิตของเราไม่ได้มีตั้งแต่จะตกอับ เราก็ต้องพยายามแก้ไข

ใหม่ๆ ก็เป็นการฝืน เป็นการทวนกระแสกิเลส ใหม่ๆ มันทวนกระแสกิเลสตลอด จนเราละกิเลสได้หมด ดับความเกิดได้นั่นแหละ ถึงจะเป็นธรรมชาติที่สุด ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ก็มีเหมือนกันหมด มีเหมือนกันหมด เราจะควบคุมใจ ชี้เหตุชี้ผลให้ใจของเรายอมรับความเป็นจริงได้หรือไม่เราก็พยายามเอา

แนวทางนั้นมีอยู่ พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาหลายร้อยหลายพันปี ก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม การเกิดของใจก็มีอยู่เหมือนเดิม การเกิดของขันธ์ห้าก็มีอยู่เหมือนเดิม แต่เรารู้ รู้ทัน แต่เราไม่รู้จักแยก จักสังเกต จักวิเคราะห์ เพราะว่ากำลังสติไม่มี เพราะว่าใจเป็นธาตุรู้ ผู้รู้ อะไรเกิด ใจเกิดก็รู้อะไรเกิดก็รู้ ความเกิดนั้นเขาก็ปิดกั้นตัวเขาเอาไว้ เกิดแล้วก็ยังไม่พอ แล้วก็ยังไปยึดติด แล้วก็เป็นธาตุของกิเลสอีก เป็นธาตุของอารมณ์อีก

ถ้าเรามาสร้างผู้รู้หรือว่ามาเจริญสติให้เข้มแข็งขึ้นมา แล้วก็ไปอบรมใจ ปรับปรุงตัวใจตัวเรา ใจมีความแข็งกร้าว เราก็ละความแข็งกร้าว ใจมีความกระด้าง เราก็ละความแข็งกระด้าง ใจมีความทิฐิ มีมานะ เราก็พยายามดับ พยายามละ ปรับสภาพจิตของเรา ให้อยู่ในความอ่อนโยนให้อยู่ในความอ่อนน้อม ให้อยู่ในความกตัญญู ให้อยู่ในความเป็นระเบียบ ระเบียบภายในนั้นเรายังเข้าไม่ถึง เพียงแค่ระเบียบภายนอก สมมติเราก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี อย่าไปเกียจคร้าน


ทุกคนที่เข้ามาในวัด เรื่องขยะนี่สำคัญ เรื่องขยะนี่สำคัญ สำคัญกันทั่วโลก พยายามช่วยกันไม่ทิ้งระเกะระกะ ทิ้งเป็นที่เป็นทาง แล้วก็รู้จักเก็บช่วยกัน คนที่มาอยู่ในวัดก็รู้จักช่วยกัน มีก็แต่อยากจะให้คนอื่นเขามาช่วย เรื่องแค่นี้ทำไม่ได้มันจะไปได้อะไร ทรัพย์มันสูง ความเสียสละ ใครเห็นตรงไหนก็ช่วยกัน ทั้งพระทั้งชี ไม่ใช่ว่าทิ้งกันเกลื่อน แค่สมมติเล็กๆ น้อยๆ นี้แหละมันกลายเป็นปัญหาอันใหญ่ ที่ทิ้งก็มีให้ แล้วเก็บมารวมกัน คนเก็บขยะเขาถึงเวลาเขาก็มาเก็บ บางครั้งก็นานๆ เขาถึงมาเก็บ แต่ก็มีที่ไว้ขยะ โรงเก็บขยะอยู่ที่หลังศาลารวมเทพ ไม่รู้รวมเทพหรือรวมมารก็ไม่รู้ แย่งกัน ตีกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน เราต้องพยายามทำใจของเราให้เป็นพระ ละกิเลสขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ อย่าไปเกี่ยงงอนกัน ถือออกจากกุฏิของเรามารวมไว้ตรงใกล้ๆ ก็ได้

พระเราก็เหมือนกัน เป็นพระตั้งแต่ในรูปในนาม ในรูปแต่ใจของเรามีแต่กิเลส มันก็ใช้การไม่ได้ต้องรู้จักจุดหมายของการบวช ความหมายของการบวชและจุดหมายอยู่ที่ไหน ความขยันของเรามีหรือเปล่า ความรับผิดชอบของเรามีหรือไม่ การกระทำของเราถึงด้วยรึเปล่า มันต้องเพียบพร้อมหมดทุกอย่าง ให้เป็นคนที่บอกตัวเองได้ใช้ตัวเองเป็น ไม่จำเป็นต้องให้คนอื่นเขาบอก มีความละอาย ให้มีความกล้าหาญ มีหิริโอตัปปะ

ตั้งแต่ความคิด ตั้งแต่การเกิด อันนี้ส่วนรูป อันนี้ส่วนนาม แล้วตามดูรู้ให้หมด กิเลสเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เกิดขึ้นที่ใจหรือเกิดขึ้นที่กาย หรือเหตุจากภายนอกทำให้เกิด เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องศึกษากัน ไม่ใช่ว่าจะไปปล่อยปละละเลย เพียงแค่ระดับสมมติเราก็ทำให้ดี สิ่งที่เราอยู่อาศัย ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ถ้าพวกนี้ไม่สมบูรณ์การฝึกหัดปฏิบัติมันก็ลำบาก ถ้าไม่รู้จักการเจริญสติก็หนักเข้าไปอีก ใจยิ่งเกิดห่างไกลธรรมเข้าไปอีก ตัวใจนั่นแหละคือตัวธรรม เราก็ต้องพยายามกัน

ตื่นขึ้นมาเราก็รีบสำรวจ เราขาดตกบกพร่องอะไร เราก็ต้องทำให้มันดี ความเสียสละ การกระทำความเป็นระเบียบ นี่แหละคือข้อวัตรของตัวเรา อันนี้ก็ไม่สนใจ ขอให้อยู่ดีมีความสุข ใครจะเป็นยังไงก็ช่าง ยิ่งอยู่ร่วมกัน รวมกันนั่นแหละ ยิ่งเป็นคนขยัน มีความเสียสละ รู้จักรับผิดชอบอย่าไปเกี่ยงงอนกัน เราก็ออกจากบ้านก็เพื่อที่จะมาหาความสุข กลับมาทะเลาะเบาะแว้งกันมันก็ไม่ดี แทนที่จะช่วยกันทุกเรื่อง

มันก็ไม่ไปโทษใครหรอก ก็โทษหลวงพ่อนี่แหละ ว่าหลวงพ่อนี่แหละ ถ้าหลวงพ่อไม่อยู่ ไม่พาทำพาสร้าง มันก็ไม่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้หรอก มาอยู่องค์เดียว 5-6 ปี มาทำความเข้าใจ ถึงมีหมู่มีคณะช่วยกันทำขึ้นมา พัฒนาขึ้นมา ถ้าหลวงพ่อไม่พาทำสมมติมันก็ไม่เป็นอย่างนี้หรอก อันนี้มันเป็นแค่เพียงปลายเหตุแล้ว เรามาช่วยกันแก้ไข ช่วยกัน อนุเคราะห์กัน ช่วยเหลือกัน

เอาแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำมันก็ประโยชน์มันก็หายไป ทุกเวลาทุกลมหายใจเข้าออกมีค่ามากมาย เราก็พยายามทำ ประโยชน์ภายนอกเราก็ไม่ปล่อยทิ้ง เราก็ยังประโยชน์ให้กับทุกคน ให้กับสถานที่ ให้กับตัวเราด้วย คนอื่นมาก็พลอยได้รับประโยชน์นั้นด้วย ถ้าเกียจคร้าน ครั้งหนึ่ง สองครั้ง ก็ครอบงำเป็นไปเรื่อยๆ มันก็เป็นดินพอกหางหมู มันก็เอาออกไม่ได้ เราก็จัดการกับตัวเราเสีย ก่อนที่จะพูดเราควบคุมได้ไหม ก่อนที่จะคิดเราควบคุมได้หรือไม่ พูดออกไปแล้วเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ พูดเวลานี้เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์

เราต้องศึกษาให้ละเอียด ศึกษาให้รู้ความจริงแล้วก็ทำให้ได้ ไปอยู่ที่ไหนก็จะมีแต่ความสุข อยู่คนเดียวเราก็มีความสุข อยู่หลายคนแล้วก็มีความสุข อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็ทำ เราก็สร้างขึ้นมา อยู่หลายคนแล้วก็มีการเกี่ยงงอนกัน มีอะไรก็ให้ช่วยกัน ความเป็นระเบียบเรียบร้อยให้เราทำให้เป็นปกติ ไม่ใช่ว่า เออไปแกล้งทำไปนู่น ไปนี่ ทำเป็นกิจวัตรประจำวัน เป็นปกติทำการทำงานก็เหมือนกัน มีความขยัน มีความรับผิดชอบ ไม่อย่างนั้นสมมติก็จะลำบาก

ปัญญาของแต่ละบุคคลก็ไม่เหมือนกัน บางคนก็สร้างมาดี บางคนก็ยังไม่มีความพร้อม ก็ให้อยู่ด้วยกันด้วยความสมัครสมานสามัคคีกัน

ให้พิจารณาตัวเรา พิจารณาใจเราอยู่ตลอดเวลา ถึงจะเป็นบุคคลที่เข้ามาศึกษาได้จริงๆ ถ้าเอาแต่ความเกียจคร้านละก็เป็นวิบากของกรรม

เอา…ตั้งใจรับพรกัน

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง