หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 42 วันที่ 20 พฤษภาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 42 วันที่ 20 พฤษภาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 42
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ เรารู้จักการเจริญสติ รู้จักเอาสติปัญญาไปอบรมใจของเราแล้วหรือยัง เพียงแค่การสร้าง การทำให้มีให้เกิด ตรงนี้ก็ยังยากลำบาก ส่วนที่จะเอาสติปัญญาไปใช้ ชี้เหตุชี้ผลจนใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่า แยกรูปแยกนาม อันนั้นอย่าเพิ่งไปกล่าวถึงเลย เพียงแค่การสร้างการเจริญสติให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็พยายามทำให้ได้กันเสียก่อน แล้วก็พยายามสร้างตบะสร้างบารมี
แต่ละวันๆ เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เรามีการกระทำที่ถึงพร้อมหรือไม่ หรือมีตั้งแต่ความทะเยอทะยานอยาก อยากได้โน่นอยากได้นี่ อยากได้บุญ อยากได้ธรรม มีตั้งแต่ความอยากเกิดอยู่ตลอดเวลา
ความอยากนั่นแหละ คือกิเลส ความเกิดนั่นแหละ คือกิเลส เราต้องมาเจริญสติของเรา แล้วก็ให้รู้เท่ารู้ทันจนเห็นเหตุเห็นผล จนใจคลายออกว่า ลักษณะของใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ลักษณะของอาการของขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างนี้ ที่ท่านบอกว่าเป็นกอง เป็นขันธ์ เป็นก้อน เป็นกลุ่มเป็นก้อนกันได้อย่างไร
พวกเรายังจำแนกแจกแจงไม่ได้ ก็เลยเกิดอยู่ตลอดเวลา ความเกิดของใจ ความเกิดของขันธ์ห้า บางทีก็เป็นกุศลบ้างบางทีก็เป็นอกุศลบ้าง สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามองข้าม ในกายของเรา ก็เลยไม่เข้าถึงทรัพย์อันใหญ่ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ปิดกั้นเอาไว้ มากขึ้นๆๆ จนเป็นดินพอกหางหมู ยากที่จะขัดเกลาเอาออกได้
ในชีวิตประจำวันของเราแต่ละวันๆ เราหมั่นสำรวจดูสิ เราจะได้รู้ได้เห็น ความอยากของใจเป็นอย่างไร อยากในรูปในรส ในกลิ่น ในเสียง อยากในอาหาร การอยู่ การกิน ความเกิด สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถ้าพวกเราเสียสละไม่ได้ มันก็ค่อยหมักหมมไปเรื่อยๆ หมักหมมไปเรื่อยๆ มากขึ้นๆๆ ถ้าคนเรารู้จักจัดสรรแบ่งสรรปันส่วนก็จะไม่ให้ความอยากความโลกพวกนี้เกิดขึ้นมาได้เลย
อย่างเช่น เราเห็นอาหารอย่างนี้ มันอยาก ใจอยากจะได้ว่าเอาเยอะๆ มันก็รีบตักตวง รีบกอบโกย ไม่ได้ไปมอง ไปคิดว่าคนรอบข้างเป็นยังไง คนอยู่ข้างๆ เป็นอย่างไร หมู่คณะเพื่อนฝูงเป็นอย่างไร ขอให้กูได้เอา ได้อยู่อย่างเดียว ความโลภก็ค่อยสะสมจากน้อยๆ ไปหามากๆ แทนที่จะเป็นผู้ขัดเกลาเอาออกนั่นแหละ
ความโลภนั่นแหละคือเปรต ก็ค่อยสะสมขึ้นมาเรื่อยๆๆๆ ให้เห็นอะไรก็ไม่รู้จักแบ่งปัน มีตั้งแต่จะกอบจะโกย บางทีก็เอาไปทิ้งก็มี นี่แหละ ถ้าคนมีสติมีปัญญา สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเกิดความอยาก ละความอยากด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการคลาย ไม่ไปยึดไปติด ไม่โลภ ถ้าจะเอา ก็รู้จักกับประมาณในการขบฉันของตัวเรา รู้จักแก้ไขรู้จักปรับปรุงเพียงแค่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้แหละ ไม่รู้จักแก้ไข มันจะไม่ได้ทรัพย์ที่สูงได้อย่างไร ใจจะปล่อยจะวางได้อย่างไร เราก็ต้องรู้จักแก้ไข
แต่ละวันเรามีความขยัน เรามีความเสียสละ การกระทำของเราให้ถึงพร้อม ถ้าเราเอาตั้งแต่ความเกียจคร้าน งอมืองอเท้า หนักไม่เอาเบาไม่สู้ มีตั้งแต่ความโลภเข้าครอบงำ ความโกธรเข้าครอบงำ มันก็จะหมักหมมไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ หนักตัวเอง หนักคนอื่น หนักสถานที่ หนักหมู่ หนักคณะ หนักทุกอย่าง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แล้วก็ไปแบกภาระตัวเอง แล้วก็หนักให้คนนู้นคนนี้ เห็นแล้วก็น่าสงสารน้อ ก็พยายามแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ (มันก็) สิ่งพวกนี้จะติดตามใจของเราไปเรื่อยๆ หมักหมม ข้ามภพข้ามชาติไปเรื่อยๆ เห็นแล้วก็น่าสงสาร ถ้ามีอยู่ที่บุคคลใดแล้วก็พยายามรีบแก้ไข
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ไม่ว่าผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เฒ่าผู้แก่นี่แหละ สะสมมาตั้งแต่น้อยๆ ถ้าคนเราขัดเกลาเอาออกตั้งแต่น้อยๆอายุมากขึ้นๆ มันก็ไม่มีความโลภความอยากอะไร ถ้าไม่เอาออกขัดเกลาเอาออก อายุมากขึ้นเท่าไหร่ กายไม่ต้องการอาหาร กายไม่ต้องการสิ่งโน้นสิ่งนี้ แต่ใจมันมีแต่ความอยาก อยากจะได้ อยากจะเอา อยากจะมี อยากจะเป็น มันก็เลยเอาออกยาก นี่แหละเราพูดกันตามความเป็นจริงตรงนี้ ก็ต้องพยายามแก้ไข แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา
ขณะที่ยังมีกำลัง ขณะที่ยังมีลมหายใจ รีบตักตวง รีบสร้างบุญ แทนที่เราจะได้บุญกับสร้างสะสมกิเลส กับสร้างสะสมบาปโดยไม่รู้ตัว ยิ่งอาหารเยอะเท่าไหร่ เราก็ต้องดูต้องแก้ไขของเรา ถ้าจะเอาก็ต้องเอาให้รู้จักพอดีพองาม รู้จักแบ่งสันปันส่วน ไม่ใช่ว่าไปกอบไปโกย คนอื่นจะไม่ได้อยู่ได้กิน ช่างมัน (เราก็ต้อง) ยิ่งมีเยอะเท่าไหร่เรายิ่งเห็นใจของเราได้ชัดเจน รีบแก้ไขเสียแต่ละวันๆ เวลาอาหารเยอะๆ เวลาคนเยอะๆ บางทีบางครั้งก็ได้ยินข่าวทราบข่าว คนที่จะอยู่จะกิน แม้คนที่จะอยู่รับประทานก็ไม่มี บางทีก็กอบโกยกันเอาไปหมด เห็นแล้วก็น่าละอายนะ น่าละอาย พยายามแก้ไขเสีย
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ไม่ว่าฆราวาสญาติโยม ไม่ว่าอยู่ที่ไหน อยู่บ้าน อยู่ที่ไหนก็พยายามทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้แบ่งปัน เป็นผู้วิเคราะห์พิจารณา แบ่งสรรปันส่วน มองบนมองล่าง มองกลางใจของตัวเราให้รู้จักพอดีพองาม เขาถึงว่ารู้จักแบ่งสันปันส่วน รู้จักพิจารณา รู้จักปฏิสังขาโย อย่าให้กิเลสมันเล่นงาน ไม่มีใครอยากจะให้กิเลสเล่นงานหรอก เพราะว่าความไม่รู้ ความหลง กิเลสนี่มันก็ตัวสำคัญ ก็พยายามแก้ไข
วันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ เรารู้จักการเจริญสติ รู้จักเอาสติปัญญาไปอบรมใจของเราแล้วหรือยัง เพียงแค่การสร้าง การทำให้มีให้เกิด ตรงนี้ก็ยังยากลำบาก ส่วนที่จะเอาสติปัญญาไปใช้ ชี้เหตุชี้ผลจนใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่า แยกรูปแยกนาม อันนั้นอย่าเพิ่งไปกล่าวถึงเลย เพียงแค่การสร้างการเจริญสติให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็พยายามทำให้ได้กันเสียก่อน แล้วก็พยายามสร้างตบะสร้างบารมี
แต่ละวันๆ เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เรามีการกระทำที่ถึงพร้อมหรือไม่ หรือมีตั้งแต่ความทะเยอทะยานอยาก อยากได้โน่นอยากได้นี่ อยากได้บุญ อยากได้ธรรม มีตั้งแต่ความอยากเกิดอยู่ตลอดเวลา
ความอยากนั่นแหละ คือกิเลส ความเกิดนั่นแหละ คือกิเลส เราต้องมาเจริญสติของเรา แล้วก็ให้รู้เท่ารู้ทันจนเห็นเหตุเห็นผล จนใจคลายออกว่า ลักษณะของใจที่ปกติเป็นอย่างนี้ ลักษณะของอาการของขันธ์ห้าเป็นลักษณะอย่างนี้ ที่ท่านบอกว่าเป็นกอง เป็นขันธ์ เป็นก้อน เป็นกลุ่มเป็นก้อนกันได้อย่างไร
พวกเรายังจำแนกแจกแจงไม่ได้ ก็เลยเกิดอยู่ตลอดเวลา ความเกิดของใจ ความเกิดของขันธ์ห้า บางทีก็เป็นกุศลบ้างบางทีก็เป็นอกุศลบ้าง สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามองข้าม ในกายของเรา ก็เลยไม่เข้าถึงทรัพย์อันใหญ่ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ก็ปิดกั้นเอาไว้ มากขึ้นๆๆ จนเป็นดินพอกหางหมู ยากที่จะขัดเกลาเอาออกได้
ในชีวิตประจำวันของเราแต่ละวันๆ เราหมั่นสำรวจดูสิ เราจะได้รู้ได้เห็น ความอยากของใจเป็นอย่างไร อยากในรูปในรส ในกลิ่น ในเสียง อยากในอาหาร การอยู่ การกิน ความเกิด สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถ้าพวกเราเสียสละไม่ได้ มันก็ค่อยหมักหมมไปเรื่อยๆ หมักหมมไปเรื่อยๆ มากขึ้นๆๆ ถ้าคนเรารู้จักจัดสรรแบ่งสรรปันส่วนก็จะไม่ให้ความอยากความโลกพวกนี้เกิดขึ้นมาได้เลย
อย่างเช่น เราเห็นอาหารอย่างนี้ มันอยาก ใจอยากจะได้ว่าเอาเยอะๆ มันก็รีบตักตวง รีบกอบโกย ไม่ได้ไปมอง ไปคิดว่าคนรอบข้างเป็นยังไง คนอยู่ข้างๆ เป็นอย่างไร หมู่คณะเพื่อนฝูงเป็นอย่างไร ขอให้กูได้เอา ได้อยู่อย่างเดียว ความโลภก็ค่อยสะสมจากน้อยๆ ไปหามากๆ แทนที่จะเป็นผู้ขัดเกลาเอาออกนั่นแหละ
ความโลภนั่นแหละคือเปรต ก็ค่อยสะสมขึ้นมาเรื่อยๆๆๆ ให้เห็นอะไรก็ไม่รู้จักแบ่งปัน มีตั้งแต่จะกอบจะโกย บางทีก็เอาไปทิ้งก็มี นี่แหละ ถ้าคนมีสติมีปัญญา สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเกิดความอยาก ละความอยากด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการคลาย ไม่ไปยึดไปติด ไม่โลภ ถ้าจะเอา ก็รู้จักกับประมาณในการขบฉันของตัวเรา รู้จักแก้ไขรู้จักปรับปรุงเพียงแค่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ พวกนี้แหละ ไม่รู้จักแก้ไข มันจะไม่ได้ทรัพย์ที่สูงได้อย่างไร ใจจะปล่อยจะวางได้อย่างไร เราก็ต้องรู้จักแก้ไข
แต่ละวันเรามีความขยัน เรามีความเสียสละ การกระทำของเราให้ถึงพร้อม ถ้าเราเอาตั้งแต่ความเกียจคร้าน งอมืองอเท้า หนักไม่เอาเบาไม่สู้ มีตั้งแต่ความโลภเข้าครอบงำ ความโกธรเข้าครอบงำ มันก็จะหมักหมมไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ หนักตัวเอง หนักคนอื่น หนักสถานที่ หนักหมู่ หนักคณะ หนักทุกอย่าง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้แล้วก็ไปแบกภาระตัวเอง แล้วก็หนักให้คนนู้นคนนี้ เห็นแล้วก็น่าสงสารน้อ ก็พยายามแก้ไข ถ้าแก้ไขไม่ได้ (มันก็) สิ่งพวกนี้จะติดตามใจของเราไปเรื่อยๆ หมักหมม ข้ามภพข้ามชาติไปเรื่อยๆ เห็นแล้วก็น่าสงสาร ถ้ามีอยู่ที่บุคคลใดแล้วก็พยายามรีบแก้ไข
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ไม่ว่าผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้เฒ่าผู้แก่นี่แหละ สะสมมาตั้งแต่น้อยๆ ถ้าคนเราขัดเกลาเอาออกตั้งแต่น้อยๆอายุมากขึ้นๆ มันก็ไม่มีความโลภความอยากอะไร ถ้าไม่เอาออกขัดเกลาเอาออก อายุมากขึ้นเท่าไหร่ กายไม่ต้องการอาหาร กายไม่ต้องการสิ่งโน้นสิ่งนี้ แต่ใจมันมีแต่ความอยาก อยากจะได้ อยากจะเอา อยากจะมี อยากจะเป็น มันก็เลยเอาออกยาก นี่แหละเราพูดกันตามความเป็นจริงตรงนี้ ก็ต้องพยายามแก้ไข แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา
ขณะที่ยังมีกำลัง ขณะที่ยังมีลมหายใจ รีบตักตวง รีบสร้างบุญ แทนที่เราจะได้บุญกับสร้างสะสมกิเลส กับสร้างสะสมบาปโดยไม่รู้ตัว ยิ่งอาหารเยอะเท่าไหร่ เราก็ต้องดูต้องแก้ไขของเรา ถ้าจะเอาก็ต้องเอาให้รู้จักพอดีพองาม รู้จักแบ่งสันปันส่วน ไม่ใช่ว่าไปกอบไปโกย คนอื่นจะไม่ได้อยู่ได้กิน ช่างมัน (เราก็ต้อง) ยิ่งมีเยอะเท่าไหร่เรายิ่งเห็นใจของเราได้ชัดเจน รีบแก้ไขเสียแต่ละวันๆ เวลาอาหารเยอะๆ เวลาคนเยอะๆ บางทีบางครั้งก็ได้ยินข่าวทราบข่าว คนที่จะอยู่จะกิน แม้คนที่จะอยู่รับประทานก็ไม่มี บางทีก็กอบโกยกันเอาไปหมด เห็นแล้วก็น่าละอายนะ น่าละอาย พยายามแก้ไขเสีย
ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ไม่ว่าฆราวาสญาติโยม ไม่ว่าอยู่ที่ไหน อยู่บ้าน อยู่ที่ไหนก็พยายามทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เป็นผู้เสียสละ เป็นผู้แบ่งปัน เป็นผู้วิเคราะห์พิจารณา แบ่งสรรปันส่วน มองบนมองล่าง มองกลางใจของตัวเราให้รู้จักพอดีพองาม เขาถึงว่ารู้จักแบ่งสันปันส่วน รู้จักพิจารณา รู้จักปฏิสังขาโย อย่าให้กิเลสมันเล่นงาน ไม่มีใครอยากจะให้กิเลสเล่นงานหรอก เพราะว่าความไม่รู้ ความหลง กิเลสนี่มันก็ตัวสำคัญ ก็พยายามแก้ไข
วันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ