หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 75 วันที่ 8 สิงหาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 75 วันที่ 8 สิงหาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 75
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 8 สิงหาคม 2563
ขอให้ญาติโยมทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเรา ให้ชัดเจน แล้วก็ให้ต่อเนื่อง การวางภาระหน้าที่ทางสมมติ ทางบ้านทางครอบครัวต่างๆ เราก็วางมาแล้ว ที่นี้เรามาหยุดความคิด ถึงเราวางความคิด เราไม่รู้ไม่เห็นความคิด ซึ่งมันมีอยู่ เรารู้อยู่แต่เราไม่เห็น เราไม่เห็นอาการ ไม่เห็นลักษณะของใจ เราก็พยายามมาสร้างผู้รู้ หรือว่าเรียกว่า‘เจริญสติ’ ตั้งแต่ตื่นขึ้น สำรวจใจของเรา รู้ไม่ทันก็รู้จักหยุดเอาไว้ ทำความเข้าใจบ่อยๆ
ส่วนอานิสงส์บารมีส่วนอื่นนั้นก็มีอยู่ ศรัทธาความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยตรงนี้ก็มีอยู่ การทำบุญให้ทานก็มีอยู่ บางครั้งบางคราว การควบคุมใจควบคุมอารมณ์ก็มีอยู่ แต่กำลังสติของเรา รู้ไม่ทันการเกิดของใจ การเกิดของความคิด เพราะว่าเราไม่ได้เจริญให้มี ให้เข้มแข็ง แล้วก็ให้ต่อเนื่อง เราพยายาม
ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะอึดอัด ทั้งฝืนทั้งอึดอัด ทั้งตึงเครียดสารพัดอย่าง กว่าจะแก้ไขชีวิตของเราได้การเกิดการดับของใจเป็นอย่างไร การเกิดการดับของความคิดเป็นอย่างไร อุปนิสัยของใจของเราเป็นอย่างไร เรามีความเกียจคร้าน หรือว่าเรามีความขยัน ความขยันระดับไหน ระดับสมมติระดับการวิเคราะห์พิจารณา จนเห็นหน้าตาอาการ รู้เท่า รู้ทันแยกแยะได้ รู้จักทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผลได้ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราต้องพยายามให้รอด ให้รอบรู้ในภายในกายของเรา
ส่วนภาระหน้าที่ทางสมมติ อะไรเราติดขัดเราก็พยายามแก้ไข แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เป็นเรื่องของตัวเราเอง อย่าไปโยนความผิดให้คนนู้น โยนความผิดให้คนนี้ ความผิดอยู่ที่เรา แก้ไขที่เรา ปรับปรุงตัวเรา มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดีแล้วการกระทำของเราให้ถึงพร้อม เราทำได้เท่าไหร่ก็เป็นอานิสงส์ของเรา
ในทางสมมติเราติดขัดตรงไหน ที่พักของเราไม่ดีเราก็ทำให้ดี ข้าวปลาอาหาร ครอบครัว ครัวเรือน โรงครัว ที่หลับที่นอนที่อยู่ที่กิน อันนี้เรายังอาศัยสมมติตรงนี้อยู่ เพราะว่ากายของเราก็ยังเป็นก้อนสมมติ ถ้าเรามีตั้งแต่ความเกียจคร้าน หนักไม่เอา เบาไม่สู้ มันก็ได้ตั้งแต่ไปพึ่งที่โน้นบ้าง พึ่งที่นี่บ้าง ไม่เคยพึ่งตัวเอง แก้ไขตัวเองให้เข้มแข็ง เราพยายาม ถึงเราไม่มีมาก เราก็พยายามไม่ให้สมมติของเราลำบาก น้อมเข้ามาในกองบุญกองกุศล เราก็ขยันหมั่นเพียร มีความเสียสละ อานิสงส์ผลบุญผลทานก็จะย้อนกลับมาหาเราในวันใดก็วันหนึ่ง ถ้าใจของเราน้อมเข้ามา
เราละความเกียจคร้านสร้างความขยัน ทำนู่นทำนี่ เราก็นั่นแหละได้รับเอง ถึงเราไม่อยาก จะได้เราก็ได้ เพราะการกระทำของเรามี เราทำบ่อยๆ ทำด้วยใจที่มีความสุข ไม่ได้ทำด้วยใจเป็นทุกข์อันโน้นมันยังขาดอันนี้ก็ยังขาด ยังลำบากอยู่ ที่พักก็ยังลำบาก ที่อยู่ที่กินก็ยังลำบาก ภาระหน้าที่ทางสมมติเราเอาไปใช้กับสมมติ ข้าวของเงินทองต่างๆ ก็ยังลำบาก พวกเราก็ยังอุตส่าห์เจียดเข้ามาทำบุญ นั่นแหละเป็นพื้นฐานของเราได้เป็นอย่างดี
ความตระหนี่เหนียวแน่น แล้วก็พยายามละออกไป ความโลภความโกรธ เราก็พยายามละพยายามให้อภัย อโหสิกรรม ความเกียจคร้านก็ขัดเกลาออกไป ถ้าเราสะสมความเกียจคร้านครั้งหนึ่งแล้วก็ สองครั้ง สามครั้ง ก็เป็นดินพอกหางหมู
เราจงเป็นคนขยัน ขยันทั้งสมมติขยันทั้งวิมุตติ ถ้าเป็นคนเกียจคร้านไปอยู่ที่ไหนก็ตกต่ำ อยู่คนเดียวก็ตกต่ำ อยู่หลายคนก็ตกต่ำ เราพยายามแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา อย่าไปงอมืองอเท้า ที่พักไม่สะอาดเราก็ทำให้สะอาด ทางโรงครัวไม่เรียบร้อยเราก็ช่วยกันทำ ก็จะได้มาอยู่ในระดับนี้ ทางสมมติก็ต้องอาศัยกาล อาศัยเวลา อาศัยอานิสงส์แห่งบุญ ของแต่ละรุ่นแต่ละรุ่นผ่านมา เราก็ช่วยกันมาสานต่อ มาทำความเข้าใจต่อ เราอยู่ก็มีความสุข คนอื่นมาอยู่ก็จะได้มีความสุข ไม่ใช่ว่าจะมาตั้งท่าจะเห็นแก่ตัว สลัด สละความเห็นแก่ตัวออกให้มันหมด
เรามาในทางนี้แล้ว เราก็พยายามมองโลกให้กว้าง มีความรับผิดชอบให้สูง จนไม่มีอะไรที่จะให้เราได้แก้ไขนั่นแหละ ดูแลรักษากายของเราไป จนกว่าวันที่เขาจะหมดอายุขัยคือแตกดับ เพราะว่าทุกคนเกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว เพราะว่าเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง
ร่างกายของคนเรานี้ก็เป็นก้อนทุกข์ เดี๋ยวก็หนาวเดี๋ยวก็ร้อนเดี๋ยวก็หิว แล้วก็มาทำความเข้าใจกับสิ่งพวกนี้เสีย ถึงเวลาไป เราก็มีความสุข อยู่ก็มีความสุข ไปก็มีความสุข ทุกคนเกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่รู้ว่าจะตายช้าหรือตายเร็ว ขณะที่วิบากกรรมยังอยู่ ยังมีลมหายใจอยู่ เราก็ยังประโยชน์ให้เต็มเปี่ยม ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สมมติ ประโยชน์วิมุตติประโยชน์ให้สูงสุด
หมั่นแก้ไขปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่รู้จักแก้ไขปรับปรุงตัวเรา ไม่รู้จักทำความเข้าใจกับตัวเรา เสียดายเวลา เสียดายโอกาส ทุกลมหายใจนี่มีค่ามากมายมหาศาล อย่าไปมองข้าม เพียงแค่การเจริญสติให้รู้ใจ รู้กายของเรานี่ก็ยังยากอยู่ ก็ต้องมีความเพียร ถ้าเราไม่มีกำลังสติที่จะไปทำความเข้าใจกับเราได้ มันก็ยากที่จะเข้าใจอีก เจริญสติ เราก็ต้องรู้จักเอาไปใช้เอาไปวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เห็นการเกิดการดับ การแยกการคลาย อะไรส่วนรูปอะไรส่วนนาม ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เป็นเรื่องของเรานะ ไม่ใช่เรื่องของทุกคน
คำสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมานาน เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะทำความเข้าใจให้เห็นถูกให้ตรงหรือไม่ ละกิเลสออกจากใจของเราหรือไม่ หลวงพ่อถึงไม่อยากจะไปบังคับใครทั้งนั้น เพราะว่าทุกคนก็อยากมีความอิสระ อยากให้รู้จักแก้ไขตัวเอง ความขยันของเรามีไหม ความรับผิดชอบของเรามีหรือเปล่า ความเสียสละของเรามีหรือไม่ ระดับไหน รู้จักระวังคำพูดคำจา ระวังความคิด เขาเกิดยังไง จนไม่มีอะไรที่จะมาเกิดให้เราเข้าไปแก้ไข
จงมีความเพียร ความเพียรนี้มีได้ทุกอิริยาบถ ยืนเดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย จำแนกแจกแจงให้ออกว่า อันนี้ส่วนสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมานะ อันนี้ส่วนใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่เกิดส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างไร เราทำให้มันยาก ก็ยาก
ถ้าเราสนใจวิเคราะห์พิจารณา ถ้าใจของเราคลายออกเมื่อไหร่ นั่นแหละใจถึงจะตกกระแสธรรมตกกระแสธรรมก็ยังไม่พอ เหมือนกับเราขึ้นบนบ้าน ขึ้นบันไดถึงตัวบ้าน บนบ้านของเราก็ยังมีความสกปรกรกรุงรัง ทั้งใหญ่ทั้งน้อย เราก็หมั่นปัดกวาดออก การที่ใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าความเห็นถูกเพียงแค่เริ่มต้น ซึ่งท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฐิ’ ความเห็นถูก
เห็นถูกแล้วก็ตามดู รู้เห็น อะไรคืออริยสัจ ความเกิดของใจเป็นอะไร อริยสัจคือความจริงอันประเสริฐ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายเป็นอย่างไร เราก็จะเข้าใจภาษาธรรมภาษาโลก เราจะละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียดออกจากใจของเราได้หรือไม่ เราก็จะดูรู้เห็นทันที เราก็พยายามหมั่นสร้างบุญสร้างกุศลอยู่ แต่กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ ก็เลยไม่บรรลุถึงเป้าหมายก็ต้องพยายาม ไม่บรรลุวันนี้ ก็พรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า เดือนต่อไป ไม่ถึงเวลาจริงๆ ก็จะไปต่อเอาภพหน้า
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 8 สิงหาคม 2563
ขอให้ญาติโยมทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเรา ให้ชัดเจน แล้วก็ให้ต่อเนื่อง การวางภาระหน้าที่ทางสมมติ ทางบ้านทางครอบครัวต่างๆ เราก็วางมาแล้ว ที่นี้เรามาหยุดความคิด ถึงเราวางความคิด เราไม่รู้ไม่เห็นความคิด ซึ่งมันมีอยู่ เรารู้อยู่แต่เราไม่เห็น เราไม่เห็นอาการ ไม่เห็นลักษณะของใจ เราก็พยายามมาสร้างผู้รู้ หรือว่าเรียกว่า‘เจริญสติ’ ตั้งแต่ตื่นขึ้น สำรวจใจของเรา รู้ไม่ทันก็รู้จักหยุดเอาไว้ ทำความเข้าใจบ่อยๆ
ส่วนอานิสงส์บารมีส่วนอื่นนั้นก็มีอยู่ ศรัทธาความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยตรงนี้ก็มีอยู่ การทำบุญให้ทานก็มีอยู่ บางครั้งบางคราว การควบคุมใจควบคุมอารมณ์ก็มีอยู่ แต่กำลังสติของเรา รู้ไม่ทันการเกิดของใจ การเกิดของความคิด เพราะว่าเราไม่ได้เจริญให้มี ให้เข้มแข็ง แล้วก็ให้ต่อเนื่อง เราพยายาม
ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะอึดอัด ทั้งฝืนทั้งอึดอัด ทั้งตึงเครียดสารพัดอย่าง กว่าจะแก้ไขชีวิตของเราได้การเกิดการดับของใจเป็นอย่างไร การเกิดการดับของความคิดเป็นอย่างไร อุปนิสัยของใจของเราเป็นอย่างไร เรามีความเกียจคร้าน หรือว่าเรามีความขยัน ความขยันระดับไหน ระดับสมมติระดับการวิเคราะห์พิจารณา จนเห็นหน้าตาอาการ รู้เท่า รู้ทันแยกแยะได้ รู้จักทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผลได้ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราต้องพยายามให้รอด ให้รอบรู้ในภายในกายของเรา
ส่วนภาระหน้าที่ทางสมมติ อะไรเราติดขัดเราก็พยายามแก้ไข แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของเรา ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เป็นเรื่องของตัวเราเอง อย่าไปโยนความผิดให้คนนู้น โยนความผิดให้คนนี้ ความผิดอยู่ที่เรา แก้ไขที่เรา ปรับปรุงตัวเรา มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดีแล้วการกระทำของเราให้ถึงพร้อม เราทำได้เท่าไหร่ก็เป็นอานิสงส์ของเรา
ในทางสมมติเราติดขัดตรงไหน ที่พักของเราไม่ดีเราก็ทำให้ดี ข้าวปลาอาหาร ครอบครัว ครัวเรือน โรงครัว ที่หลับที่นอนที่อยู่ที่กิน อันนี้เรายังอาศัยสมมติตรงนี้อยู่ เพราะว่ากายของเราก็ยังเป็นก้อนสมมติ ถ้าเรามีตั้งแต่ความเกียจคร้าน หนักไม่เอา เบาไม่สู้ มันก็ได้ตั้งแต่ไปพึ่งที่โน้นบ้าง พึ่งที่นี่บ้าง ไม่เคยพึ่งตัวเอง แก้ไขตัวเองให้เข้มแข็ง เราพยายาม ถึงเราไม่มีมาก เราก็พยายามไม่ให้สมมติของเราลำบาก น้อมเข้ามาในกองบุญกองกุศล เราก็ขยันหมั่นเพียร มีความเสียสละ อานิสงส์ผลบุญผลทานก็จะย้อนกลับมาหาเราในวันใดก็วันหนึ่ง ถ้าใจของเราน้อมเข้ามา
เราละความเกียจคร้านสร้างความขยัน ทำนู่นทำนี่ เราก็นั่นแหละได้รับเอง ถึงเราไม่อยาก จะได้เราก็ได้ เพราะการกระทำของเรามี เราทำบ่อยๆ ทำด้วยใจที่มีความสุข ไม่ได้ทำด้วยใจเป็นทุกข์อันโน้นมันยังขาดอันนี้ก็ยังขาด ยังลำบากอยู่ ที่พักก็ยังลำบาก ที่อยู่ที่กินก็ยังลำบาก ภาระหน้าที่ทางสมมติเราเอาไปใช้กับสมมติ ข้าวของเงินทองต่างๆ ก็ยังลำบาก พวกเราก็ยังอุตส่าห์เจียดเข้ามาทำบุญ นั่นแหละเป็นพื้นฐานของเราได้เป็นอย่างดี
ความตระหนี่เหนียวแน่น แล้วก็พยายามละออกไป ความโลภความโกรธ เราก็พยายามละพยายามให้อภัย อโหสิกรรม ความเกียจคร้านก็ขัดเกลาออกไป ถ้าเราสะสมความเกียจคร้านครั้งหนึ่งแล้วก็ สองครั้ง สามครั้ง ก็เป็นดินพอกหางหมู
เราจงเป็นคนขยัน ขยันทั้งสมมติขยันทั้งวิมุตติ ถ้าเป็นคนเกียจคร้านไปอยู่ที่ไหนก็ตกต่ำ อยู่คนเดียวก็ตกต่ำ อยู่หลายคนก็ตกต่ำ เราพยายามแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา อย่าไปงอมืองอเท้า ที่พักไม่สะอาดเราก็ทำให้สะอาด ทางโรงครัวไม่เรียบร้อยเราก็ช่วยกันทำ ก็จะได้มาอยู่ในระดับนี้ ทางสมมติก็ต้องอาศัยกาล อาศัยเวลา อาศัยอานิสงส์แห่งบุญ ของแต่ละรุ่นแต่ละรุ่นผ่านมา เราก็ช่วยกันมาสานต่อ มาทำความเข้าใจต่อ เราอยู่ก็มีความสุข คนอื่นมาอยู่ก็จะได้มีความสุข ไม่ใช่ว่าจะมาตั้งท่าจะเห็นแก่ตัว สลัด สละความเห็นแก่ตัวออกให้มันหมด
เรามาในทางนี้แล้ว เราก็พยายามมองโลกให้กว้าง มีความรับผิดชอบให้สูง จนไม่มีอะไรที่จะให้เราได้แก้ไขนั่นแหละ ดูแลรักษากายของเราไป จนกว่าวันที่เขาจะหมดอายุขัยคือแตกดับ เพราะว่าทุกคนเกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว เพราะว่าเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง
ร่างกายของคนเรานี้ก็เป็นก้อนทุกข์ เดี๋ยวก็หนาวเดี๋ยวก็ร้อนเดี๋ยวก็หิว แล้วก็มาทำความเข้าใจกับสิ่งพวกนี้เสีย ถึงเวลาไป เราก็มีความสุข อยู่ก็มีความสุข ไปก็มีความสุข ทุกคนเกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่รู้ว่าจะตายช้าหรือตายเร็ว ขณะที่วิบากกรรมยังอยู่ ยังมีลมหายใจอยู่ เราก็ยังประโยชน์ให้เต็มเปี่ยม ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สมมติ ประโยชน์วิมุตติประโยชน์ให้สูงสุด
หมั่นแก้ไขปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่รู้จักแก้ไขปรับปรุงตัวเรา ไม่รู้จักทำความเข้าใจกับตัวเรา เสียดายเวลา เสียดายโอกาส ทุกลมหายใจนี่มีค่ามากมายมหาศาล อย่าไปมองข้าม เพียงแค่การเจริญสติให้รู้ใจ รู้กายของเรานี่ก็ยังยากอยู่ ก็ต้องมีความเพียร ถ้าเราไม่มีกำลังสติที่จะไปทำความเข้าใจกับเราได้ มันก็ยากที่จะเข้าใจอีก เจริญสติ เราก็ต้องรู้จักเอาไปใช้เอาไปวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เห็นการเกิดการดับ การแยกการคลาย อะไรส่วนรูปอะไรส่วนนาม ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ เป็นเรื่องของเรานะ ไม่ใช่เรื่องของทุกคน
คำสอนของพระพุทธองค์นั้นมีมานาน เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะทำความเข้าใจให้เห็นถูกให้ตรงหรือไม่ ละกิเลสออกจากใจของเราหรือไม่ หลวงพ่อถึงไม่อยากจะไปบังคับใครทั้งนั้น เพราะว่าทุกคนก็อยากมีความอิสระ อยากให้รู้จักแก้ไขตัวเอง ความขยันของเรามีไหม ความรับผิดชอบของเรามีหรือเปล่า ความเสียสละของเรามีหรือไม่ ระดับไหน รู้จักระวังคำพูดคำจา ระวังความคิด เขาเกิดยังไง จนไม่มีอะไรที่จะมาเกิดให้เราเข้าไปแก้ไข
จงมีความเพียร ความเพียรนี้มีได้ทุกอิริยาบถ ยืนเดิน นั่ง นอน กิน อยู่ ขับถ่าย จำแนกแจกแจงให้ออกว่า อันนี้ส่วนสติปัญญาที่เราสร้างขึ้นมานะ อันนี้ส่วนใจ ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่เกิดส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างไร เราทำให้มันยาก ก็ยาก
ถ้าเราสนใจวิเคราะห์พิจารณา ถ้าใจของเราคลายออกเมื่อไหร่ นั่นแหละใจถึงจะตกกระแสธรรมตกกระแสธรรมก็ยังไม่พอ เหมือนกับเราขึ้นบนบ้าน ขึ้นบันไดถึงตัวบ้าน บนบ้านของเราก็ยังมีความสกปรกรกรุงรัง ทั้งใหญ่ทั้งน้อย เราก็หมั่นปัดกวาดออก การที่ใจคลายออกจากขันธ์ห้าหรือว่าความเห็นถูกเพียงแค่เริ่มต้น ซึ่งท่านเรียกว่า ‘สัมมาทิฐิ’ ความเห็นถูก
เห็นถูกแล้วก็ตามดู รู้เห็น อะไรคืออริยสัจ ความเกิดของใจเป็นอะไร อริยสัจคือความจริงอันประเสริฐ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายเป็นอย่างไร เราก็จะเข้าใจภาษาธรรมภาษาโลก เราจะละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียดออกจากใจของเราได้หรือไม่ เราก็จะดูรู้เห็นทันที เราก็พยายามหมั่นสร้างบุญสร้างกุศลอยู่ แต่กำลังสติของเรามีไม่เพียงพอ ก็เลยไม่บรรลุถึงเป้าหมายก็ต้องพยายาม ไม่บรรลุวันนี้ ก็พรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า เดือนต่อไป ไม่ถึงเวลาจริงๆ ก็จะไปต่อเอาภพหน้า
เอาล่ะ วันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ