หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 6 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 6 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 6
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน อดทนนั่งไปอีกสักนิดนึง แล้วก็สร้างความรู้ตัวให้มีให้เกิดขึ้นให้ต่อเนื่องกัน การสืบต่อการต่อเนื่องการรู้เท่ารู้ทัน ตรงนี้แหละที่ยังขาดความเพียรกัน ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย อย่างอื่นทุกอย่างวางเอาไว้อย่าเพิ่งคิด แม้แต่ความคิดก็หยุดเอาไว้พันธะภาระหน้าที่ทางสมมติเราก็วางเอาไว้ ถึงได้มาทำบุญให้ทานถวายทาน ทีนี้เรามาทานอารมณ์ ทานความนึกคิดชั่วครั้งชั่วคราวก็ได้ ถึงเราสละไม่ได้หมดจากจิตจากใจของเรา
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ อย่าบังคับลมหายใจนะ อย่าบังคับลมหายใจ หลวงพ่อเพียงแค่บอกแค่ชี้วิธีการแนวทางพวกท่านจงพยายามไปสร้างให้มีให้เกิดขึ้น หายใจเข้า-ออก หายใจยาวหายใจสั้น ถ้าความรู้สึกไม่เด่นชัด เราก็สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลมที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน อยู่ที่ปลายจมูกของเรา ไม่ต้องตาม รู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา เหมือนกับนายประตูทวาร คอยสังเกตดูว่ารถคันไหนวิ่งเข้าก็มองเห็นอยู่ ก็รู้อยู่ รถคันไหนวิ่งออกก็รู้อยู่ อันนี้เขาเรียกว่า “สติรู้กาย” ขณะหายใจเข้าเขาเรียกว่า “ปัจจุบัน” ขณะหายใจออกเขาเรียกว่า “ปัจจุบัน”
เพียงแค่สร้างความรู้ตัวตรงนี้ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง จนกว่ากำลังสติของเราจะเข้มแข็งขึ้น ถ้ากำลังความรู้ตัวของเราเข้มแข็งขึ้น ส่วนการเกิดการดับของใจนั้นมีอยู่เดิม การเกิดการดับของขันธ์ห้า ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิด อันนี้ก็มีอยู่เดิม บางคนก็มีมาก บางคนก็มีน้อย เราพยายามสังเกตดู สังเกต รู้เท่ารู้ทัน รู้ไม่ทันเริ่มใหม่ เอาใหม่รู้ไม่ทันเริ่มใหม่
เพียงแค่รักษาความรู้ตัวให้ต่อเนื่องจนกว่าจะรู้ทัน เห็น ลักษณะอาการของใจ ก่อตัวปรุงแต่งเคลื่อนเข้าไปรวมกับอาการของความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด ถ้าเรารู้ทันตรงนั้นปุ๊บ ใจจะดีดออกจากความคิดหรือว่า “แยกรูปแยกนาม” นี่แหละที่ท่านเรียกว่า “สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นถูก” ไม่ใช่ไปนึกเอาไปคิดเอา ต้องเห็น…เห็นอาการร่วม การแยกการคลาย ใจก็จะว่างโล่งโปร่ง ถ้าเขาแยกได้กายก็จะเบา ความรู้ตัวของเราก็จะตามเห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า เป็นเรื่องอะไร เรื่องอดีตเรื่องอนาคต เป็นกลางๆ หรือว่าเป็นกุศลหรือว่าเป็นอกุศล ที่ท่านเรียกว่า “อนิจจัง-ความไม่เที่ยง” เขาเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ส่วนร่างกายของเรานี้เป็นรูปธรรม ความรู้ตัวของเราก็จะต่อเนื่องกันขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นมหาสติ ตามดูการรู้การเห็น เป็นมหาสติ
จากมหาสติก็จะกลายเป็นมหาปัญญาตามค้นคว้า ชี้เหตุชี้ผล รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง รู้เรื่องอนัตตา รู้เรื่องความว่าง จนใจมองเห็นความเป็นจริงว่าไม่มีสาระประโยชน์แก่นสารอะไร ใจของเราก็จะคลายก็จะวาง เกิดความเบื่อหน่าย แต่เราแยกแยะไม่ได้ ตามดูไม่ได้ ใจก็เลยไม่เกิดความเบื่อหน่าย ก็เลยมีตั้งแต่ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยาก ทั้งยึด ทั้งติด แต่เราก็ไม่รู้ แม้แต่การฝึกหัดปฏิบัติ อยากรู้ธรรม อยากเห็นธรรม ความเกิดก็ปิดตัวเองเอาไว้ ถ้าเรามาวิเคราะห์ชี้เหตุชี้ผลจริงๆ นี้ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายามกันนะ พยายามกัน
ให้มองโลกในทางที่ดีคิดดี เลือกเฉพาะส่วนที่ดีๆ อะไรที่ไม่ดีเราก็อย่าเอาเก็บมาคิด ให้เอาเฉพาะสิ่งที่ดีๆ ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ถึงเราปล่อยวางไม่ได้ถึงปล่อยวางได้ ก็สร้างบุญสร้างกุศลให้มีให้เกิดขึ้นให้เต็มเปี่ยม ก็จะมีตั้งแต่ความสุข กายก็จะเป็นบุญ วาจาก็จะเป็นบุญใจก็จะเป็นบุญ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา
ที่ท่านบอกว่า “ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ” ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่กลับคืนสู่ธรรมชาติหมด ถ้าใจไม่มีกิเลส ใจไม่หลง เขาก็จะเข้าสู่ความบริสุทธิ์ คือธรรมชาติที่แท้จริง
ธรรมชาติของโลก ของปัจจุบัน ของโลก โลกธรรมเขาก็เป็นอยู่อย่างนี้ ถึงวาระเวลาเราก็ได้วางหมด ได้ทิ้งหมด ขณะที่ยังมีลมหายใจเราพยายามรีบตักตวงหากำไรในกายก้อนนี้ให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกให้ชัดเจนกันนะ ทำใจให้โล่งสมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กันพยายามพากันศึกษาให้รู้เท่ารู้ทันทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน อดทนนั่งไปอีกสักนิดนึง แล้วก็สร้างความรู้ตัวให้มีให้เกิดขึ้นให้ต่อเนื่องกัน การสืบต่อการต่อเนื่องการรู้เท่ารู้ทัน ตรงนี้แหละที่ยังขาดความเพียรกัน ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย อย่างอื่นทุกอย่างวางเอาไว้อย่าเพิ่งคิด แม้แต่ความคิดก็หยุดเอาไว้พันธะภาระหน้าที่ทางสมมติเราก็วางเอาไว้ ถึงได้มาทำบุญให้ทานถวายทาน ทีนี้เรามาทานอารมณ์ ทานความนึกคิดชั่วครั้งชั่วคราวก็ได้ ถึงเราสละไม่ได้หมดจากจิตจากใจของเรา
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ อย่าบังคับลมหายใจนะ อย่าบังคับลมหายใจ หลวงพ่อเพียงแค่บอกแค่ชี้วิธีการแนวทางพวกท่านจงพยายามไปสร้างให้มีให้เกิดขึ้น หายใจเข้า-ออก หายใจยาวหายใจสั้น ถ้าความรู้สึกไม่เด่นชัด เราก็สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลมที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน อยู่ที่ปลายจมูกของเรา ไม่ต้องตาม รู้อยู่ที่ปลายจมูกของเรา เหมือนกับนายประตูทวาร คอยสังเกตดูว่ารถคันไหนวิ่งเข้าก็มองเห็นอยู่ ก็รู้อยู่ รถคันไหนวิ่งออกก็รู้อยู่ อันนี้เขาเรียกว่า “สติรู้กาย” ขณะหายใจเข้าเขาเรียกว่า “ปัจจุบัน” ขณะหายใจออกเขาเรียกว่า “ปัจจุบัน”
เพียงแค่สร้างความรู้ตัวตรงนี้ให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง จนกว่ากำลังสติของเราจะเข้มแข็งขึ้น ถ้ากำลังความรู้ตัวของเราเข้มแข็งขึ้น ส่วนการเกิดการดับของใจนั้นมีอยู่เดิม การเกิดการดับของขันธ์ห้า ความคิดที่ไม่ได้ตั้งใจคิด อันนี้ก็มีอยู่เดิม บางคนก็มีมาก บางคนก็มีน้อย เราพยายามสังเกตดู สังเกต รู้เท่ารู้ทัน รู้ไม่ทันเริ่มใหม่ เอาใหม่รู้ไม่ทันเริ่มใหม่
เพียงแค่รักษาความรู้ตัวให้ต่อเนื่องจนกว่าจะรู้ทัน เห็น ลักษณะอาการของใจ ก่อตัวปรุงแต่งเคลื่อนเข้าไปรวมกับอาการของความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิด ถ้าเรารู้ทันตรงนั้นปุ๊บ ใจจะดีดออกจากความคิดหรือว่า “แยกรูปแยกนาม” นี่แหละที่ท่านเรียกว่า “สัมมาทิฏฐิ - ความเห็นถูก” ไม่ใช่ไปนึกเอาไปคิดเอา ต้องเห็น…เห็นอาการร่วม การแยกการคลาย ใจก็จะว่างโล่งโปร่ง ถ้าเขาแยกได้กายก็จะเบา ความรู้ตัวของเราก็จะตามเห็นการเกิดการดับของขันธ์ห้า เป็นเรื่องอะไร เรื่องอดีตเรื่องอนาคต เป็นกลางๆ หรือว่าเป็นกุศลหรือว่าเป็นอกุศล ที่ท่านเรียกว่า “อนิจจัง-ความไม่เที่ยง” เขาเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ส่วนร่างกายของเรานี้เป็นรูปธรรม ความรู้ตัวของเราก็จะต่อเนื่องกันขึ้นไปเรื่อยๆ จนเป็นมหาสติ ตามดูการรู้การเห็น เป็นมหาสติ
จากมหาสติก็จะกลายเป็นมหาปัญญาตามค้นคว้า ชี้เหตุชี้ผล รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง รู้เรื่องอนัตตา รู้เรื่องความว่าง จนใจมองเห็นความเป็นจริงว่าไม่มีสาระประโยชน์แก่นสารอะไร ใจของเราก็จะคลายก็จะวาง เกิดความเบื่อหน่าย แต่เราแยกแยะไม่ได้ ตามดูไม่ได้ ใจก็เลยไม่เกิดความเบื่อหน่าย ก็เลยมีตั้งแต่ความทะเยอทะยานอยาก ทั้งอยาก ทั้งยึด ทั้งติด แต่เราก็ไม่รู้ แม้แต่การฝึกหัดปฏิบัติ อยากรู้ธรรม อยากเห็นธรรม ความเกิดก็ปิดตัวเองเอาไว้ ถ้าเรามาวิเคราะห์ชี้เหตุชี้ผลจริงๆ นี้ไม่เหลือวิสัย ก็ต้องพยายามกันนะ พยายามกัน
ให้มองโลกในทางที่ดีคิดดี เลือกเฉพาะส่วนที่ดีๆ อะไรที่ไม่ดีเราก็อย่าเอาเก็บมาคิด ให้เอาเฉพาะสิ่งที่ดีๆ ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ถึงเราปล่อยวางไม่ได้ถึงปล่อยวางได้ ก็สร้างบุญสร้างกุศลให้มีให้เกิดขึ้นให้เต็มเปี่ยม ก็จะมีตั้งแต่ความสุข กายก็จะเป็นบุญ วาจาก็จะเป็นบุญใจก็จะเป็นบุญ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา
ที่ท่านบอกว่า “ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระบ่อยๆ” ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่กลับคืนสู่ธรรมชาติหมด ถ้าใจไม่มีกิเลส ใจไม่หลง เขาก็จะเข้าสู่ความบริสุทธิ์ คือธรรมชาติที่แท้จริง
ธรรมชาติของโลก ของปัจจุบัน ของโลก โลกธรรมเขาก็เป็นอยู่อย่างนี้ ถึงวาระเวลาเราก็ได้วางหมด ได้ทิ้งหมด ขณะที่ยังมีลมหายใจเราพยายามรีบตักตวงหากำไรในกายก้อนนี้ให้ถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกให้ชัดเจนกันนะ ทำใจให้โล่งสมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกัน
พากันไหว้พระพร้อมๆ กันพยายามพากันศึกษาให้รู้เท่ารู้ทันทุกอิริยาบถ