หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 70 วันที่ 1 สิงหาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 70 วันที่ 1 สิงหาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 70
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่าน้อมเข้าไปดู เข้าไปรู้
การหายใจเข้าหายใจออก หายใจละเอียด หายใจหยาบ หายใจยาว หายใจสั้น อันนี้เป็นการรู้ตัวส่วนหนึ่งของร่างกายของเรา เรารู้ให้ต่อเนื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเลยทีเดียว จนกระทั่งถึงเวลาทุกลมหายใจเข้าออก จนเป็นอัตโนมัติในการดูในการรู้ อันนี้เราก็ปล่อยปละละเลยไปเสีย
เวลาดูทีก็บางครั้งก็อึดอัด บางครั้งก็แน่น บางครั้งก็สมองก็ตึง ใจก็แน่น เราพยายามหัดสังเกต หัดสังเกตจากความรู้สึก เพียงแค่การเจริญสติ ตรงนี้ก็ยังยากอยู่ ส่วนใจนั้นก็เป็นบุญเป็นกุศลอยู่ อยากได้บุญ อยากได้กุศล อยากสร้างประโยชน์ อยากทำนู่นทำนี่ ความเกิดของใจนั่นแหละ คือตัวปิดกั้นของความสงบ ตัวความหลง ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด
เรามาเจริญสติ มาสร้างผู้รู้ ใจนั้นเป็นธาตุรู้ ทั้งรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด สารพัดอย่าง เรามาสร้างความรู้ตัว จนรู้จักควบคุมใจของเราได้ ควบคุมอารมณ์ที่เกิดจากใจได้ จนสังเกตจนใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้
ส่วนความคิด ขันธ์ห้าของเรา ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองรูปคือร่างกายของเรา กองนามคือกองของความคิด ซึ่งมีอยู่สี่ส่วน แล้วก็รวมกับร่างกายอีกเป็นห้าส่วน เขาเรียกว่า 'ขันธ์ห้า' เราก็รู้อยู่ตั้งแต่ชื่อของเขา เวลาทำบุญให้ทาน หรือว่าเวลาไหว้พระสวดมนต์ต่างๆ เราก็ยกขันธ์ห้าไปบูชา อันนั้นเป็นรูปแบบ ขันธ์ห้าที่แท้จริงก็คือร่างกายของเรา
เราพยายามสร้างผู้รู้ หรือว่ามาสร้างสติ ถ้าสังเกตใจของเราคลายออกจากขันธ์ ห้าได้เมื่อไหร่ กำลังสติของเราจะตามค้นคว้า ก็จะรู้เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาในกายของเรา รู้เรื่องอัตตาอนัตตา รู้เรื่องสมมติวิมุตติ รู้เรื่องหลักของอริยสัจตามความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ แล้วเราก็ตามทำความเข้าใจ
ถึงเจริญสติ ถึงจะแยกแยะได้ ถ้าเราไม่ตามทำความเข้าใจ เขาก็กลับคืนสู่สภาพเดิม เหมือนเดิม เราจะรู้อยู่ระดับหนึ่งคือระดับของสมมติ คือถูกต้องระดับของสมมติ แต่ยังไม่ถูกต้องถึงจุดหมาย คือใจยังไม่ได้คลาย ยังแยกรูปแยกนามไม่ได้ มีเรื่องเดียวนี่แหละ ที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเข้าถึง ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว บางคนก็ห่างไกลไปเลยก็มี บางคนก็ไม่สนใจเลยก็มี นี่แหละก็เลยห่างไกลธรรม
ใจนั่นแหละคือตัวธรรม แต่บางครั้งก็เป็นอกุศลบ้าง บางครั้งก็เป็นกุศลบ้าง จะไปพูดเรื่องอื่นก็ไม่ได้ ในชีวิตของมนุษย์มีอยู่เท่านี้แหละ ต้องทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ ละจากกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด แล้วก็ดับความเกิด นอกนั้นก็ยังอยู่ในวงของการสร้างบารมี การให้ทาน การทำบุญ
แต่ละวันตื่นขึ้นมา เรามีความขยันหมั่นเพียรหรือไม่ เรามีความเสียสละ มีความอดทน มีความกตัญญู มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปหรือไม่ เราก็ต้องดูให้เห็นต้นเหตุ แล้วก็รู้จักแก้ไข ใจของเราเป็นยังไง เราก็พยายามรีบปรับสภาพใจของเรา
ใจของเรามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้างด้วยทิฐิ ด้วยมานะ ด้วยกิเลส เราก็พยายามขัดเกลา น้อมใจของเราให้อยู่ในความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้อยู่ในความกตัญญูกตเวที
มีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน เราอย่าไปสร้างสะสมความเกียจคร้านให้เกาะกินใจ เกาะกินกายของเรา เราพยายามขัดเกลาออกทีละเล็กละน้อย เราสร้างความขยันขึ้นมา ความขยันก็จะติดตัวเราจากน้อยๆ ขึ้นไปหามากๆ ละความเกียจคร้านออกไป ถ้าเราสะสมความเกียจคร้าน สะสมความอยาก วันละเล็กละน้อยมันก็มากขึ้นๆๆ จนปิดดวงใจของเราจนมิด
ทั้งความเกิดของใจ เกิดบ่อยๆ กำลังของกิเลสก็มากขึ้น ถ้าเราไปปรุงแต่งเพิ่ม เสริม เพิ่มเข้าไปอีก เหมือนกับเพิ่มอาหารให้กิเลส ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่รู้ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่เข้าใจ
ต้นเหตุเกิดขึ้นที่ไหน ท่านให้ชี้ลงที่เหตุ ดับลงที่เหตุ ใจของเราก่อตัวปุ๊บ เราก็พยายามควบคุมตั้งแต่ต้นเหตุ ควบคุมไม่ได้ต้นเหตุ เราก็อย่าให้ออกมาทางกาย ทางวาจา มันมีเป็นชั้นๆ ของใครของมันอยู่ แต่มันก็ยากนะถ้าไม่ใช่บุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ มีการสังเกต มีการวิเคราะห์ มีการขัดเกลากิเลส
กิเลสเกิดขึ้นที่กายใจส่งเสริมหรือไม่ หรือเกิดขึ้นที่ใจ จากภายนอกทำให้เกิด เกิดขึ้นจากภายใน กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งเก้าทำหน้าที่อย่างไรเคยสังเกตไหม ร่างกายของเรามีรูทวารอยู่กี่รู ตาก็สองรู หูสองรู จมูกก็สองรูปากก็หนึ่งรู ข้างล่างก็สองรู รวมกันเรียกว่าเป็นเก้า เขาเรียกว่า ‘ทวารเก้า’ เขาทำหน้าที่อย่างไร เขาทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว แต่ใจของเราล่ะ มันเกิดความยินดีไหมยินร้ายไหม ตากระทบรูป เห็นรูปสวยๆมันอยากได้ไหม เห็นรูปไม่ดีไม่สวยมันผลักไสหรือไม่ มันเป็นกลางหรือเปล่า
แต่เรายังแยกแยะไม่ได้ ว่าอันนี้คือใจ อันนี้คือปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา แต่ยังไม่ได้เป็นปัญญาหรอก เพราะว่าสติก็ยังขาดกระท่อนกระแท่น ถ้าเราสร้างสติให้ต่อเนื่องจนแยกได้ ตามดูได้ จนเป็นอัตโนมัติได้ นั่นเขาถึงจะเรียกว่าปัญญา
แต่เวลานี้สติก็ขาด แยกก็ไม่ได้ เราก็มองเห็นถูกอยู่ระดับของสมมติ ถูกระดับของโลกีย์ อะไรที่จะเป็นบุญเป็นกุศลเราก็ทำเสีย เราก็ทำความเข้าใจลักษณะอาการหน้าตา เขาเป็นเริ่มต้นยังไง เราต้องแยกแยะให้ได้
ที่ว่าเราพากันทำวัตรสวดมนต์ ทุกเช้าทุกเย็น ที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองโน่นกองนี่ ไม่มีตัวไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง ถ้าเราเห็นความเกิดความดับ เราก็ท่องไปด้วย น้อมดูใจของเราไปด้วย เราก็จะได้ทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลกทำความเข้าใจกับศีลสมมติ ศีลวิมุตติ
เรารู้จักตัว 'ศีล' คือตัวใจ ตัวความปกติ แต่เวลานี้เรารู้ในภาพรวม รวมกันไปทั้งก้อน ทั้งใจ ทั้งสติปัญญา ทั้งขันธ์ห้าปรุงแต่งรวมกันไปเป็นก้อน ในหลักธรรมท่านให้แยกแยะ สติที่เราสร้างมาเป็นอย่างนี้ สติตามค้นคว้าดูทุกเรื่อง จนกลายเป็นมหาสติ จากมหาสติค้นคว้าทุกเรื่องจนเป็นปัญญา จนเป็นอัตโนมัติในการดูในการรู้
ใจเกิดความยินดียินร้าย ภาษาธรรม สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร ทุกอย่างล้วนลงไตรลักษณ์หมด ลงอนิจจังทุกขังอนัตตาหมด แต่สมมติของเราก็ยังอยู่ คือร่างกายของเราก็ยังอยู่ เราก็ต้องทำความเข้าใจให้ละเอียดแล้วก็ปล่อยวางด้วยปัญญา
เราเกิดมาอยู่ในภพของมนุษย์ เรามาอาศัยภพของมนุษย์นี้อยู่ ส่วนการเกิดของใจ โน่น...เราไปแยก ไปคลาย ไปดับไปดับไม่ให้เกิด ให้เกิดด้วยสติ เกิดด้วยปัญญา บริหารกายบริหารใจด้วยปัญญา ประโยชน์มาก ประโยชน์น้อยประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน จนกว่าจะถึงนิพพาน คือการเกิดไม่มี เกิดอยู่แค่อยู่ในภพมนุษย์ กายเนื้อแตกดับ การเกิดของใจไม่มีต่อ เขาก็เลยเรียกว่า 'นิพพาน'
นิพพานคือการไม่เกิด กายเนื้อแตกดับแต่การเกิดไม่มี เรามาดับความเกิดขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ
ตั้งแต่เช้ามาใจเกิดสักกี่เที่ยวไม่รู้เรื่อง ทุกอย่างในชีวิตเราต้องดูใจ แยกใจออกให้รับรู้เป็นหลัก ถ้าใจของเราเกิด เราก็รู้จักดับ การขบการฉัน การรับประทานข้าวปลาอาหารก็เหมือนกัน แยกแยะดูว่าความหิวหรือความอยาก เพียงแค่ความอยากกับความหิวก็ยังแยกแยะไม่ได้ ยังดับไม่ได้ ทรัพย์ตัวใหญ่ที่ละเอียด ทรัพย์ตัวใหญ่ที่สูงที่สุด คือความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น มันจะไปได้อย่างไร
เราก็พยายามเอา แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ไม่ได้ทำด้วยความทะเยอทะยานอยาก ทั้งความอยาก ความไม่อยาก ทั้งไม่หวังแต่การกระทำ ความรับผิดชอบด้วยสติด้วยปัญญาของเราก็มี กายเขาทำหน้าที่อย่างนี้ ตาทำหน้าที่ดู เราก็ห้ามไม่ได้ หูทำหน้าที่ฟัง เราก็ห้ามไม่ได้ ทุกอย่างเขาก็ล้วนแต่ทำหน้าที่ของเขา เพียงแค่เรามีสติปัญญาเข้าไปแยกแยะ ชี้เหตุชี้ผลเห็นเหตุเห็นผล ส่วนรูปส่วนนามให้ชัดเจน แล้วก็สนุก มีความสุขอยู่กับการสร้างบุญสร้างกุศลให้เต็มเปี่ยม ขณะที่ยังมีลมหายใจ
รีบตักตวงหากำไรในชีวิตก้อนนี้ให้ได้ขณะที่ยังมีลมหายใจ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีเวลา ไม่มีวาสนา ทุกคนก็มีบุญ มีบารมี มีวาสนา แต่การเจริญสติปัญญา ชี้เหตุชี้ผลจนใจคลายออกจากสิ่งต่างๆ นี้แหละสำคัญ ซึ่งท่านเรียกว่า 'คลายความหลง' หรือว่าถ้าแยกได้เมื่อไหร่ สัมมาทิฏฐิความเห็นถูก เราอาจจะเห็นถูกอยู่ระดับของสมมติ ต้องให้เห็นถูกระดับของวิมุตติด้วย แล้วก็ตามดูได้ จนมีเครื่องตัดสินภายในกายของเราคือความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตนเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น มองเห็นความเป็นกลางภายใน แต่เป็นความเป็นกลางที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา ละกิเลสให้มันหมด แต่ความเป็นกลางระดับของสมมติก็มีอยู่ แต่ต้องให้สูงขึ้นไปกว่านั้นอีก
นอกจากบุคคลที่ขยันหมั่นเพียร ถึงจะขยันหมั่นเพียร ถ้าขยันหมั่นเพียรไม่ถูกทางไม่ถูกที่ มันก็ยิ่งห่างไกลเข้าไปอีก ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาละวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจ ศึกษาต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 1 สิงหาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่อง ซึ่งเรียกว่าน้อมเข้าไปดู เข้าไปรู้
การหายใจเข้าหายใจออก หายใจละเอียด หายใจหยาบ หายใจยาว หายใจสั้น อันนี้เป็นการรู้ตัวส่วนหนึ่งของร่างกายของเรา เรารู้ให้ต่อเนื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมาเลยทีเดียว จนกระทั่งถึงเวลาทุกลมหายใจเข้าออก จนเป็นอัตโนมัติในการดูในการรู้ อันนี้เราก็ปล่อยปละละเลยไปเสีย
เวลาดูทีก็บางครั้งก็อึดอัด บางครั้งก็แน่น บางครั้งก็สมองก็ตึง ใจก็แน่น เราพยายามหัดสังเกต หัดสังเกตจากความรู้สึก เพียงแค่การเจริญสติ ตรงนี้ก็ยังยากอยู่ ส่วนใจนั้นก็เป็นบุญเป็นกุศลอยู่ อยากได้บุญ อยากได้กุศล อยากสร้างประโยชน์ อยากทำนู่นทำนี่ ความเกิดของใจนั่นแหละ คือตัวปิดกั้นของความสงบ ตัวความหลง ถ้าไม่หลงก็ไม่เกิด
เรามาเจริญสติ มาสร้างผู้รู้ ใจนั้นเป็นธาตุรู้ ทั้งรู้ ทั้งเกิด ทั้งหลง ทั้งยึด สารพัดอย่าง เรามาสร้างความรู้ตัว จนรู้จักควบคุมใจของเราได้ ควบคุมอารมณ์ที่เกิดจากใจได้ จนสังเกตจนใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้
ส่วนความคิด ขันธ์ห้าของเรา ที่ท่านว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองรูปคือร่างกายของเรา กองนามคือกองของความคิด ซึ่งมีอยู่สี่ส่วน แล้วก็รวมกับร่างกายอีกเป็นห้าส่วน เขาเรียกว่า 'ขันธ์ห้า' เราก็รู้อยู่ตั้งแต่ชื่อของเขา เวลาทำบุญให้ทาน หรือว่าเวลาไหว้พระสวดมนต์ต่างๆ เราก็ยกขันธ์ห้าไปบูชา อันนั้นเป็นรูปแบบ ขันธ์ห้าที่แท้จริงก็คือร่างกายของเรา
เราพยายามสร้างผู้รู้ หรือว่ามาสร้างสติ ถ้าสังเกตใจของเราคลายออกจากขันธ์ ห้าได้เมื่อไหร่ กำลังสติของเราจะตามค้นคว้า ก็จะรู้เรื่องอนิจจังทุกขังอนัตตาในกายของเรา รู้เรื่องอัตตาอนัตตา รู้เรื่องสมมติวิมุตติ รู้เรื่องหลักของอริยสัจตามความจริงอันประเสริฐ ที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ แล้วเราก็ตามทำความเข้าใจ
ถึงเจริญสติ ถึงจะแยกแยะได้ ถ้าเราไม่ตามทำความเข้าใจ เขาก็กลับคืนสู่สภาพเดิม เหมือนเดิม เราจะรู้อยู่ระดับหนึ่งคือระดับของสมมติ คือถูกต้องระดับของสมมติ แต่ยังไม่ถูกต้องถึงจุดหมาย คือใจยังไม่ได้คลาย ยังแยกรูปแยกนามไม่ได้ มีเรื่องเดียวนี่แหละ ที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเข้าถึง ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว บางคนก็ห่างไกลไปเลยก็มี บางคนก็ไม่สนใจเลยก็มี นี่แหละก็เลยห่างไกลธรรม
ใจนั่นแหละคือตัวธรรม แต่บางครั้งก็เป็นอกุศลบ้าง บางครั้งก็เป็นกุศลบ้าง จะไปพูดเรื่องอื่นก็ไม่ได้ ในชีวิตของมนุษย์มีอยู่เท่านี้แหละ ต้องทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ ละจากกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด แล้วก็ดับความเกิด นอกนั้นก็ยังอยู่ในวงของการสร้างบารมี การให้ทาน การทำบุญ
แต่ละวันตื่นขึ้นมา เรามีความขยันหมั่นเพียรหรือไม่ เรามีความเสียสละ มีความอดทน มีความกตัญญู มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปหรือไม่ เราก็ต้องดูให้เห็นต้นเหตุ แล้วก็รู้จักแก้ไข ใจของเราเป็นยังไง เราก็พยายามรีบปรับสภาพใจของเรา
ใจของเรามีความแข็งกร้าวแข็งกระด้างด้วยทิฐิ ด้วยมานะ ด้วยกิเลส เราก็พยายามขัดเกลา น้อมใจของเราให้อยู่ในความอ่อนน้อมถ่อมตน ให้อยู่ในความกตัญญูกตเวที
มีความเกียจคร้าน เราก็พยายามละความเกียจคร้าน เราอย่าไปสร้างสะสมความเกียจคร้านให้เกาะกินใจ เกาะกินกายของเรา เราพยายามขัดเกลาออกทีละเล็กละน้อย เราสร้างความขยันขึ้นมา ความขยันก็จะติดตัวเราจากน้อยๆ ขึ้นไปหามากๆ ละความเกียจคร้านออกไป ถ้าเราสะสมความเกียจคร้าน สะสมความอยาก วันละเล็กละน้อยมันก็มากขึ้นๆๆ จนปิดดวงใจของเราจนมิด
ทั้งความเกิดของใจ เกิดบ่อยๆ กำลังของกิเลสก็มากขึ้น ถ้าเราไปปรุงแต่งเพิ่ม เสริม เพิ่มเข้าไปอีก เหมือนกับเพิ่มอาหารให้กิเลส ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่รู้ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะไม่เข้าใจ
ต้นเหตุเกิดขึ้นที่ไหน ท่านให้ชี้ลงที่เหตุ ดับลงที่เหตุ ใจของเราก่อตัวปุ๊บ เราก็พยายามควบคุมตั้งแต่ต้นเหตุ ควบคุมไม่ได้ต้นเหตุ เราก็อย่าให้ออกมาทางกาย ทางวาจา มันมีเป็นชั้นๆ ของใครของมันอยู่ แต่มันก็ยากนะถ้าไม่ใช่บุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ มีการสังเกต มีการวิเคราะห์ มีการขัดเกลากิเลส
กิเลสเกิดขึ้นที่กายใจส่งเสริมหรือไม่ หรือเกิดขึ้นที่ใจ จากภายนอกทำให้เกิด เกิดขึ้นจากภายใน กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งเก้าทำหน้าที่อย่างไรเคยสังเกตไหม ร่างกายของเรามีรูทวารอยู่กี่รู ตาก็สองรู หูสองรู จมูกก็สองรูปากก็หนึ่งรู ข้างล่างก็สองรู รวมกันเรียกว่าเป็นเก้า เขาเรียกว่า ‘ทวารเก้า’ เขาทำหน้าที่อย่างไร เขาทำหน้าที่ของเขาอยู่แล้ว แต่ใจของเราล่ะ มันเกิดความยินดีไหมยินร้ายไหม ตากระทบรูป เห็นรูปสวยๆมันอยากได้ไหม เห็นรูปไม่ดีไม่สวยมันผลักไสหรือไม่ มันเป็นกลางหรือเปล่า
แต่เรายังแยกแยะไม่ได้ ว่าอันนี้คือใจ อันนี้คือปัญญาที่เราสร้างขึ้นมา แต่ยังไม่ได้เป็นปัญญาหรอก เพราะว่าสติก็ยังขาดกระท่อนกระแท่น ถ้าเราสร้างสติให้ต่อเนื่องจนแยกได้ ตามดูได้ จนเป็นอัตโนมัติได้ นั่นเขาถึงจะเรียกว่าปัญญา
แต่เวลานี้สติก็ขาด แยกก็ไม่ได้ เราก็มองเห็นถูกอยู่ระดับของสมมติ ถูกระดับของโลกีย์ อะไรที่จะเป็นบุญเป็นกุศลเราก็ทำเสีย เราก็ทำความเข้าใจลักษณะอาการหน้าตา เขาเป็นเริ่มต้นยังไง เราต้องแยกแยะให้ได้
ที่ว่าเราพากันทำวัตรสวดมนต์ ทุกเช้าทุกเย็น ที่ว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองโน่นกองนี่ ไม่มีตัวไม่มีตัวตน ไม่เที่ยง ถ้าเราเห็นความเกิดความดับ เราก็ท่องไปด้วย น้อมดูใจของเราไปด้วย เราก็จะได้ทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลกทำความเข้าใจกับศีลสมมติ ศีลวิมุตติ
เรารู้จักตัว 'ศีล' คือตัวใจ ตัวความปกติ แต่เวลานี้เรารู้ในภาพรวม รวมกันไปทั้งก้อน ทั้งใจ ทั้งสติปัญญา ทั้งขันธ์ห้าปรุงแต่งรวมกันไปเป็นก้อน ในหลักธรรมท่านให้แยกแยะ สติที่เราสร้างมาเป็นอย่างนี้ สติตามค้นคว้าดูทุกเรื่อง จนกลายเป็นมหาสติ จากมหาสติค้นคว้าทุกเรื่องจนเป็นปัญญา จนเป็นอัตโนมัติในการดูในการรู้
ใจเกิดความยินดียินร้าย ภาษาธรรม สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟังเป็นอย่างไร ทุกอย่างล้วนลงไตรลักษณ์หมด ลงอนิจจังทุกขังอนัตตาหมด แต่สมมติของเราก็ยังอยู่ คือร่างกายของเราก็ยังอยู่ เราก็ต้องทำความเข้าใจให้ละเอียดแล้วก็ปล่อยวางด้วยปัญญา
เราเกิดมาอยู่ในภพของมนุษย์ เรามาอาศัยภพของมนุษย์นี้อยู่ ส่วนการเกิดของใจ โน่น...เราไปแยก ไปคลาย ไปดับไปดับไม่ให้เกิด ให้เกิดด้วยสติ เกิดด้วยปัญญา บริหารกายบริหารใจด้วยปัญญา ประโยชน์มาก ประโยชน์น้อยประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน จนกว่าจะถึงนิพพาน คือการเกิดไม่มี เกิดอยู่แค่อยู่ในภพมนุษย์ กายเนื้อแตกดับ การเกิดของใจไม่มีต่อ เขาก็เลยเรียกว่า 'นิพพาน'
นิพพานคือการไม่เกิด กายเนื้อแตกดับแต่การเกิดไม่มี เรามาดับความเกิดขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ
ตั้งแต่เช้ามาใจเกิดสักกี่เที่ยวไม่รู้เรื่อง ทุกอย่างในชีวิตเราต้องดูใจ แยกใจออกให้รับรู้เป็นหลัก ถ้าใจของเราเกิด เราก็รู้จักดับ การขบการฉัน การรับประทานข้าวปลาอาหารก็เหมือนกัน แยกแยะดูว่าความหิวหรือความอยาก เพียงแค่ความอยากกับความหิวก็ยังแยกแยะไม่ได้ ยังดับไม่ได้ ทรัพย์ตัวใหญ่ที่ละเอียด ทรัพย์ตัวใหญ่ที่สูงที่สุด คือความบริสุทธิ์ความหลุดพ้น มันจะไปได้อย่างไร
เราก็พยายามเอา แต่ก็ไม่เหลือวิสัย ไม่ได้ทำด้วยความทะเยอทะยานอยาก ทั้งความอยาก ความไม่อยาก ทั้งไม่หวังแต่การกระทำ ความรับผิดชอบด้วยสติด้วยปัญญาของเราก็มี กายเขาทำหน้าที่อย่างนี้ ตาทำหน้าที่ดู เราก็ห้ามไม่ได้ หูทำหน้าที่ฟัง เราก็ห้ามไม่ได้ ทุกอย่างเขาก็ล้วนแต่ทำหน้าที่ของเขา เพียงแค่เรามีสติปัญญาเข้าไปแยกแยะ ชี้เหตุชี้ผลเห็นเหตุเห็นผล ส่วนรูปส่วนนามให้ชัดเจน แล้วก็สนุก มีความสุขอยู่กับการสร้างบุญสร้างกุศลให้เต็มเปี่ยม ขณะที่ยังมีลมหายใจ
รีบตักตวงหากำไรในชีวิตก้อนนี้ให้ได้ขณะที่ยังมีลมหายใจ อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีเวลา ไม่มีวาสนา ทุกคนก็มีบุญ มีบารมี มีวาสนา แต่การเจริญสติปัญญา ชี้เหตุชี้ผลจนใจคลายออกจากสิ่งต่างๆ นี้แหละสำคัญ ซึ่งท่านเรียกว่า 'คลายความหลง' หรือว่าถ้าแยกได้เมื่อไหร่ สัมมาทิฏฐิความเห็นถูก เราอาจจะเห็นถูกอยู่ระดับของสมมติ ต้องให้เห็นถูกระดับของวิมุตติด้วย แล้วก็ตามดูได้ จนมีเครื่องตัดสินภายในกายของเราคือความเป็นกลาง ไม่เข้าข้างตนเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น มองเห็นความเป็นกลางภายใน แต่เป็นความเป็นกลางที่เกิดจากการเจริญวิปัสสนา ละกิเลสให้มันหมด แต่ความเป็นกลางระดับของสมมติก็มีอยู่ แต่ต้องให้สูงขึ้นไปกว่านั้นอีก
นอกจากบุคคลที่ขยันหมั่นเพียร ถึงจะขยันหมั่นเพียร ถ้าขยันหมั่นเพียรไม่ถูกทางไม่ถูกที่ มันก็ยิ่งห่างไกลเข้าไปอีก ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาละวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปทำความเข้าใจ ศึกษาต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ