หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 66 วันที่ 19 กรกฎาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 66 วันที่ 19 กรกฎาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 66
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา ให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง
ทุกสิ่งทุกอย่างหยุดเอาไว้เสียก่อน วางภาระหน้าที่ทางสมมติ ทางบ้านทางช่อง ทางการทางงานต่างๆ เราก็วางมาแล้วทีนี้เราก็มาหยุดเรื่องความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว มาเจริญสติ มาสร้างความรู้ตัว สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออก กระทบปลายจมูกของเรา ซึ่งเราก็หายใจอยู่ทุกวันนั่นแหละ ตั้งแต่ตื่น ตั้งแต่เกิด แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัว ก็เลยไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ว่าการหายใจเข้าหายใจออกเป็นอย่างไร หายใจที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างไร ส่วนมากก็มีตั้งแต่ใจมันเกิด มันคิด คิดก็รู้ ทำก็รู้
ความคิด ความเกิดนั่นแหละคือ ความหลง ความหลงแต่ตัวเราก็ว่าเราไม่หลง เราอาจจะไม่หลงอยู่ในระดับของสมมติแต่ในหลักธรรมแล้วยังหลงอยู่ เพราะว่าการเกิดของใจ ยังมีอยู่ การเกิดของใจยังมี ยังมีเพียงพอ เขาก็ยังมีความโลภความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก ความยินดี ยินร้าย ปิดกั้นตัวเขาเอาไว้อยู่ ถ้าเราไม่ได้มาสร้างความรู้ตัวเข้าไปรู้เท่า รู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ เราก็จะไม่ค่อยจะรู้เรื่องนี้เท่าไหร่ แต่การทำบุญ ศรัทธาการทำบุญ ตรงนี้มีอยู่ ความเสียสละ พรหมวิหารต่างๆ ก็อาจจะมีอยู่
แต่เราต้องรู้รายละเอียด ทุกอย่างในกายของเรา รู้เรื่องความเกิด ความดับ รู้เรื่องอนิจจัง ความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ในกายของเรา เราอาจจะได้ยินแต่ชื่อของเขา แต่เรายังไม่เห็น ยังไม่เห็นลักษณะอาการ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่ได้เกิดส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ เขารวมกันอยู่ แต่เรามองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน เราไม่ได้มองเห็นเป็นกอง เป็นขันธ์ เหมือนกับในหลักธรรมที่พระพุทธองค์ท่านได้ชี้แนะเอาไว้
ความจริงในกายของเราก็มีอยู่ การสร้างอานิสงส์ สร้างตบะ สร้างบารมี แต่วันละๆ เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เรามีความอดทน อดกลั้น เรามีสัจจะกับตัวเองหรือไม่ ใจของเราเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง เราละได้ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ
ในหลักธรรมท่านให้ชี้ลงที่เหตุ เหตุทางสมมติก็มีอยู่ เหตุทางด้านวิมุตติ หรือว่าทางด้านจิตใจนั้นก็มีอยู่ อันนี้เป็นส่วนนามธรรม อันนี้เป็นส่วนรูปธรรม ถ้าความรู้ตัวของเราไม่ต่อเนื่อง ก็ยากที่จะเข้าถึงตรงนั้น บางครั้ง บางคราว ความรู้ตัวของเราก็มีอยู่ อาจจะมีอยู่เป็นกระท่อนกระแท่น เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ให้เห็นจริงๆ เราอาจจะใช้การใช้งานได้เป็นบางครั้งบางคราว อย่างเวลาเราเกิดความโกรธ เราก็รู้จักควบคุมได้เป็นบางครั้ง
ใจ.. การเกิดของใจ แต่ละวันตื่นขึ้นมา เขาเกิดอยู่แล้วแหละ ไม่เกิดมากก็เกิดน้อย เกิดจากใจโดยตรง เกิดจากอาการของขันธ์ห้ากับใจรวมกัน เเล้วก็รวมกันไปทั้งปัญญาด้วย ก็เลยรู้ว่าเราคิดเราทำอยู่แค่นั้น คิดทำอาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติ ก็ต้องพยายาม พยายามอย่าไปทิ้ง
เราวิเคราะห์บ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ แก้ไขบ่อยๆ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ขณะที่ยังมีกำลัง ขณะที่ยังมีลมหายใจ หมดลมหายใจ ก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาปเท่านั้นแหละ อะไรที่จะเป็นบุญเราก็พยายามสร้างพยายามทำขึ้นมา อะไรที่จะเป็นบาปหรือว่าอกุศล เราก็พยายามละ ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ สิ่งพวกนี้แหละเป็นอานิสงส์ เป็นตบะบารมีให้กับพวกเรา
พยายาม อีกสักหน่อยทุกคนก็ได้พลัดพรากจากกันหมด ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ได้พลัดพรากกันตอนตายเพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง มีกันทุกคน ให้รีบทำ รีบสร้างขึ้นมา ทำมาก ทำน้อย ก็ขอให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ก็ต้องพยายาม ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ตื่นขึ้นมาก็ให้อยู่กับบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำใจให้เป็นบุญ ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เราก็จะได้เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระ พระก็คือใจของเรานั่นแหละ ทำใจของเราให้มีความสุข ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็อย่าไปทิ้ง พยายาม
เอาล่ะ ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาทำความเข้าใจ ให้รู้เรื่องชีวิตของเรา
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา ให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยง
ทุกสิ่งทุกอย่างหยุดเอาไว้เสียก่อน วางภาระหน้าที่ทางสมมติ ทางบ้านทางช่อง ทางการทางงานต่างๆ เราก็วางมาแล้วทีนี้เราก็มาหยุดเรื่องความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว มาเจริญสติ มาสร้างความรู้ตัว สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออก กระทบปลายจมูกของเรา ซึ่งเราก็หายใจอยู่ทุกวันนั่นแหละ ตั้งแต่ตื่น ตั้งแต่เกิด แต่เราขาดการสร้างความรู้ตัว ก็เลยไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ว่าการหายใจเข้าหายใจออกเป็นอย่างไร หายใจที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างไร ส่วนมากก็มีตั้งแต่ใจมันเกิด มันคิด คิดก็รู้ ทำก็รู้
ความคิด ความเกิดนั่นแหละคือ ความหลง ความหลงแต่ตัวเราก็ว่าเราไม่หลง เราอาจจะไม่หลงอยู่ในระดับของสมมติแต่ในหลักธรรมแล้วยังหลงอยู่ เพราะว่าการเกิดของใจ ยังมีอยู่ การเกิดของใจยังมี ยังมีเพียงพอ เขาก็ยังมีความโลภความโกรธ ความทะเยอทะยานอยาก ความยินดี ยินร้าย ปิดกั้นตัวเขาเอาไว้อยู่ ถ้าเราไม่ได้มาสร้างความรู้ตัวเข้าไปรู้เท่า รู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ เราก็จะไม่ค่อยจะรู้เรื่องนี้เท่าไหร่ แต่การทำบุญ ศรัทธาการทำบุญ ตรงนี้มีอยู่ ความเสียสละ พรหมวิหารต่างๆ ก็อาจจะมีอยู่
แต่เราต้องรู้รายละเอียด ทุกอย่างในกายของเรา รู้เรื่องความเกิด ความดับ รู้เรื่องอนิจจัง ความไม่เที่ยง อนิจจัง ทุกขังอนัตตา ในกายของเรา เราอาจจะได้ยินแต่ชื่อของเขา แต่เรายังไม่เห็น ยังไม่เห็นลักษณะอาการ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่ได้เกิดส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นลักษณะอย่างนี้ เขารวมกันอยู่ แต่เรามองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน เราไม่ได้มองเห็นเป็นกอง เป็นขันธ์ เหมือนกับในหลักธรรมที่พระพุทธองค์ท่านได้ชี้แนะเอาไว้
ความจริงในกายของเราก็มีอยู่ การสร้างอานิสงส์ สร้างตบะ สร้างบารมี แต่วันละๆ เรามีความขยันหมั่นเพียร เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เรามีความอดทน อดกลั้น เรามีสัจจะกับตัวเองหรือไม่ ใจของเราเกิดกิเลสสักกี่ครั้ง เราละได้ตั้งแต่ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ
ในหลักธรรมท่านให้ชี้ลงที่เหตุ เหตุทางสมมติก็มีอยู่ เหตุทางด้านวิมุตติ หรือว่าทางด้านจิตใจนั้นก็มีอยู่ อันนี้เป็นส่วนนามธรรม อันนี้เป็นส่วนรูปธรรม ถ้าความรู้ตัวของเราไม่ต่อเนื่อง ก็ยากที่จะเข้าถึงตรงนั้น บางครั้ง บางคราว ความรู้ตัวของเราก็มีอยู่ อาจจะมีอยู่เป็นกระท่อนกระแท่น เอาไปใช้การใช้งานไม่ได้ ให้เห็นจริงๆ เราอาจจะใช้การใช้งานได้เป็นบางครั้งบางคราว อย่างเวลาเราเกิดความโกรธ เราก็รู้จักควบคุมได้เป็นบางครั้ง
ใจ.. การเกิดของใจ แต่ละวันตื่นขึ้นมา เขาเกิดอยู่แล้วแหละ ไม่เกิดมากก็เกิดน้อย เกิดจากใจโดยตรง เกิดจากอาการของขันธ์ห้ากับใจรวมกัน เเล้วก็รวมกันไปทั้งปัญญาด้วย ก็เลยรู้ว่าเราคิดเราทำอยู่แค่นั้น คิดทำอาจจะถูกอยู่ในระดับของสมมติ ก็ต้องพยายาม พยายามอย่าไปทิ้ง
เราวิเคราะห์บ่อยๆ ทำความเข้าใจบ่อยๆ แก้ไขบ่อยๆ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ขณะที่ยังมีกำลัง ขณะที่ยังมีลมหายใจ หมดลมหายใจ ก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาปเท่านั้นแหละ อะไรที่จะเป็นบุญเราก็พยายามสร้างพยายามทำขึ้นมา อะไรที่จะเป็นบาปหรือว่าอกุศล เราก็พยายามละ ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ สิ่งพวกนี้แหละเป็นอานิสงส์ เป็นตบะบารมีให้กับพวกเรา
พยายาม อีกสักหน่อยทุกคนก็ได้พลัดพรากจากกันหมด ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ได้พลัดพรากกันตอนตายเพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง มีกันทุกคน ให้รีบทำ รีบสร้างขึ้นมา ทำมาก ทำน้อย ก็ขอให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ ก็ต้องพยายาม ไม่ว่าอยู่ที่ไหน ตื่นขึ้นมาก็ให้อยู่กับบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำใจให้เป็นบุญ ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เราก็จะได้เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระ พระก็คือใจของเรานั่นแหละ ทำใจของเราให้มีความสุข ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็อย่าไปทิ้ง พยายาม
เอาล่ะ ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปศึกษาทำความเข้าใจ ให้รู้เรื่องชีวิตของเรา