หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 19 วันที่ 19 มีนาคม 2563
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 19 วันที่ 19 มีนาคม 2563
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2563 ลำดับที่ 19
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มีนาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดนึงก็ยังดี ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาพวกเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะหยุดไม่ได้ ดับไม่ได้เด็ดขาด ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆอย่าบังคับลมหายใจ ปล่อยลมหายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น
ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเรา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย สติรู้ตัว’ เวลาหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ฝึกให้เกิดความชำนาญ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่
เพียงแค่การเจริญสติอันนี้ก็ยังทำได้ยากถ้าเราไม่มีความเพียร ถ้าเราสร้างความรู้ตัวได้ต่อเนื่องลึกลงไป เราก็จะรู้เท่ารู้ทัน รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ อาการของใจ อาการของขันธ์ห้าซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา ความคิดเก่าของเรานั่นแหละ เขาเกิดๆ ดับๆ ส่วนนามธรรม ส่วนร่างกายของเรานี้ก็เป็นก้อนรูปธรรม เราพยายามเจริญสติเข้าไปอบรมใจของเรา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล
รู้จักแก้ไขรู้จักปรับปรุงแต่ละวันๆ ใจของเราเกิดส่งออกไปภายนอกสักกี่ครั้ง ขันธ์ห้าผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราสักกี่เรื่อง ใจของเราเกิดกิเลส กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ใจของเราส่งออกไปภายนอก เกิดความกังวล เกิดความฟุ้งซ่าน ใจของเราเป็นกุศลหรือว่าอกุศล เราพยายามสำรวจแล้วก็เร่งแก้ไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเจริญสติแล้วไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ก็ได้แค่ฝึก
อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา น้อมใจของเราให้อยู่ในกองบุญกองกุศล อยู่ตลอดเวลา อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย สมมติอะไรเราติดขัด เราขาดตกบกพร่องตรงไหน เราก็รู้จักแก้ไข แก้ไขแล้วก็ปรับปรุง แล้วก็เริ่มใหม่ ผิดพลาดพลั้งเผลอก็เริ่มใหม่อยู่ตลอดเวลา ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย
อันนี้คือลักษณะของความคิด อารมณ์ต่างๆ ความเกิดความดับต่างๆ เราต้องทำความเข้าใจท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในวิญญาณในกายของเรา ให้รอบรู้ในโลกธรรม ให้รอบรู้ในปัจจัยสี่ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างไร เราต้องศึกษาให้ละเอียด ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาคิดเอา
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งถึงเวลานี้ แล้วก็เดี๋ยวนี้ว่า ใจของเรายังปกติดีอยู่หรือไม่ ถ้าเรามีสติรู้เท่า รู้ทัน เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า ‘อัตตา อนัตตา’ ‘สมมติ วิมุตติ’ ‘อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ในกายของเรา ทีนี้เราจะละกิเลสกิเลสหยาบ กิเลสละเอียด มันก็จะเข้าสู่การเป็นขั้นเป็นตอน ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้เมื่อไหร่ ท่านถึงจะเรียกว่า ‘สัมมาทิฐิความเห็นถูก’ ที่ยังแยกยังคลายไม่ได้ ท่านถึงเรียกว่าเป็น‘มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด’ แต่ก็ยังอยู่ในกองบุญกองกุศล ยังอยู่ในคุณงามความดี แต่เราก็ต้องพยายาม
พยายามทำความเข้าใจให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ทำประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านประโยชน์สมมติ ประโยชน์วิมุตติ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ศึกษาให้ละเอียดพยายามรีบตักตวง สร้างกำไรในกายก้อนนี้ให้ได้ ขณะที่ยังมีลมหายใจ ถ้าหมดลมหายใจ ก็จะมีแต่เรื่องบุญ กับเรื่องบาป ถ้าเราศึกษาให้ละเอียด เราก็พยายามละบาปสร้างบุญ แต่ไม่ยึดติดในบุญ ก่อนที่จะเข้าถึง ทำความเข้าใจตรงนี้ได้
เราต้องเข้าใจการแยก การคลาย พระพุทธองค์ที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ แต่พวกเรามองเห็นเป็นก้อน มองเห็นเป็นก้อน พระพุทธองค์มองเห็นในโลกนี้มีแต่ความว่างเปล่า แต่พวกเรามองเห็นมีแต่อัตตาตัวตน มันก็ต้องให้รู้ด้วยปัญญา รู้เห็นด้วยปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนาถึงจะมองเห็นเหมือนกับพระพุทธองค์มองเห็น เราก็ต้องพยายาม ไม่เหลือวิสัย ทำความเข้าใจบ่อยๆ
ดำเนินต้นให้ถูกก็จะส่งถึงปลาย ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหมั่นสร้างตบะบารมีให้มี ให้เกิดขึ้น ความขยันมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความเสียสละความอดทน สัจจะ ความจริงใจต่อเรา ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบต่อตัวเองและคนอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น รู้จักแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญูกตเวที ความเสียสละ สิ่งพวกนี้ล้วนแต่เป็นตบะ ไม่จำเป็นต้องว่ามีทรัพย์สินเงินเทองเยอะๆ ถึงจะได้บุญเยอะ อันนั้นยังไม่ใช่
เราก็พยายามน้อมกายน้อมใจของเราเข้ามา แต่ละวันตื่นขึ้นมาความเกียจคร้านเข้าครอบงำหรือไม่ ถ้ามีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราก็พยายามละความเกียจคร้าน มีความขยัน มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ
ญาติโยมที่พากันมาวัด นี่ก็คณะจากกรุงเทพ จากยงชัย ที่ให้บริวารมาเป็นจิตอาสา มาช่วย มาช่วยการ ช่วยงาน หลวงพ่อก็ขอฝากขอบคุณ ผู้บริหารและเจ้านายด้วย ให้บริวารได้มาสร้างบุญสร้างตบะ สร้างบารมี ได้ทำบุญให้กับลูกน้อง ให้ทำบุญกับตัวเรา แก้ไขตัวเรา แล้วมาปรับปรุงตัวเรา ว่าเราขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง ได้มาทำกิจกรรม กิจกรรมในส่วนรวม มีโอกาสเราก็ได้มา
ทั้งส่วนรวม ส่วนตัว เป็นการขัดเกลากิเลส เป็นการละกิเลส มาถึงบ้าน มาถึงวัด ก็ขอให้มีความสุข ทำบ้านให้เป็นวัด ทำวัดให้เป็นบ้าน ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระอยู่บ่อยๆ อันนี้คือสติปัญญาของเรา อันนี้คือใจ ลึกลงไปก็จะได้สังเกตใจคลายออกจากขันธ์ห้า แยกรูปแยกนาม ถึงวาระเวลาเราก็ต้องเข้าใจตรงนี้ ถ้าไม่ถึงวาระเวลาเราก็ต้องสร้างบารมี
เหมือนกับเราปลูกผลหมากรากไม้ เราจะเร่งให้ออกดอกออกผล ให้สุก ให้ทาน ให้กิน วันเดียวก็ไม่ได้ เราต้องมั่นดูแล ให้น้ำ ให้ฝุ่น ให้ปุ๋ย ถ้าถึงเวลาเขาเติบโต พัฒนาไปเรื่อยๆ ถึงเวลาเขาออกดอกออกผล เราไม่อยากจะได้ดอกได้ผล เราก็ได้ เหมือนกับการปฏิบัติใจของเรา เรามีความเสียสละ เรามีความมีความฝักใฝ่ มีความสนใจ มีการกระทำ การกระทำของเราให้ถึงพร้อมค่อยสร้างสะสมบุญบารมีของเราไปเรื่อยๆ วันนี้ก็จะเป็นพรุ่งนี้ วันพรุ่งนี้ก็จะมาเป็นวันนี้เดือนหน้าก็จะมาเป็นวันนี้ ก็จะค่อยพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ
ทั้งสติ ทั้งปัญญา ทั้งใจของเรา ก็จะค่อยแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อะไรคือความหลง หลงในที่นี้ หลงในส่วนรูป หลงในส่วนนาม ถ้าเราแยกแยะภายในได้ มันก็ปล่อยวางภายนอกได้ เราละกิเลสได้ เราไม่อยากจะได้ความบริสุทธิ์เราก็ได้ นี่แหละการประพฤติ การปฏิบัติ
การศึกษา การค้นคว้า กายของเรานี่แหละคือตำราใบใหญ่ กายของเรานี่แหละคือ สนามรบที่แท้จริง เรารบ เราชนะตัวเรา แก้ไขตัวเรา เราชนะกิเลสได้ เราก็ชนะทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าจะไปยอมแพ้ให้ตั้งแต่กิเลส กิเลสหน้าตาอาการเขาเป็นอย่างไร เขาเริ่มเกิดอย่างไร แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีน้อยก็เลยเอาไปใช้การใช้งานยังได้ไม่เพียงพอ เพียงแค่ฝึกกับการสร้าง กับการทำให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็ยาก ก็ยากถ้าเราไม่มีความเพียร
ตราบใดที่ใจยังไม่ได้คลายจากขันธ์ห้า กำลังสติของเราจะพลั้งเผลอ ถ้าใจคลายออกหงายขึ้นได้เมื่อไหร่ สติของเราตามค้นคว้า ใจรับรู้ เราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปภาษาธรรมท่านเรียกว่า ‘ปฏิจจสมุปบาท’ ความเกิด ความดับ รู้ด้วย เห็นด้วย ตามดูได้ด้วย แล้วก็ค่อยพิจารณา แล้วก็ค่อยแก้ไข ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ใจของเราก็จะยอมรับความเป็นจริงไม่ใช่ว่าทำปุ๊บจะได้ปั๊บ เราก็คอยสร้างสะสมไปเรื่อยๆ แก้ไขไปเรื่อยๆ ปรับปรุงไปเรื่อยๆ
ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สมมติ ประโยชน์วิมุตติ ทุกคนเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่างแต่เราก็ต้องทำความเข้าใจ เรายังอยู่กับสมมติ เคารพสมมติ เรายังอยู่กับสังคม เราก็เคารพสังคม ทำหน้าที่ของเราให้ดี ทำประโยชน์ในระดับของสมมติ ส่งผลถึงวิมุตติ สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน ทั้งพระ ทั้งฆราวาสญาติโยม ทั้งชี ก็พยายามช่วยกัน ช่วยกันทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่จะเป็นประโยชน์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน ไม่เห็นแก่ความตระหนี่เหนียวแน่น เราขัดเกลาเอาออก สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน
ขอให้ทุกคนจงสร้างความรู้ตัวให้ชัดเจน อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 19 มีนาคม 2563
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยงกันสักนิดนึงก็ยังดี ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาพวกเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะหยุดไม่ได้ ดับไม่ได้เด็ดขาด ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆอย่าบังคับลมหายใจ ปล่อยลมหายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น
ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเรา นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า ‘สติรู้กาย สติรู้ตัว’ เวลาหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ฝึกให้เกิดความชำนาญ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่ ความรู้สึกพลั้งเผลอเราก็เริ่มใหม่
เพียงแค่การเจริญสติอันนี้ก็ยังทำได้ยากถ้าเราไม่มีความเพียร ถ้าเราสร้างความรู้ตัวได้ต่อเนื่องลึกลงไป เราก็จะรู้เท่ารู้ทัน รู้ลักษณะของใจ ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ อาการของใจ อาการของขันธ์ห้าซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา ความคิดเก่าของเรานั่นแหละ เขาเกิดๆ ดับๆ ส่วนนามธรรม ส่วนร่างกายของเรานี้ก็เป็นก้อนรูปธรรม เราพยายามเจริญสติเข้าไปอบรมใจของเรา ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล
รู้จักแก้ไขรู้จักปรับปรุงแต่ละวันๆ ใจของเราเกิดส่งออกไปภายนอกสักกี่ครั้ง ขันธ์ห้าผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจของเราสักกี่เรื่อง ใจของเราเกิดกิเลส กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด ใจของเราส่งออกไปภายนอก เกิดความกังวล เกิดความฟุ้งซ่าน ใจของเราเป็นกุศลหรือว่าอกุศล เราพยายามสำรวจแล้วก็เร่งแก้ไข ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าเจริญสติแล้วไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ก็ได้แค่ฝึก
อบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลา น้อมใจของเราให้อยู่ในกองบุญกองกุศล อยู่ตลอดเวลา อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย สมมติอะไรเราติดขัด เราขาดตกบกพร่องตรงไหน เราก็รู้จักแก้ไข แก้ไขแล้วก็ปรับปรุง แล้วก็เริ่มใหม่ ผิดพลาดพลั้งเผลอก็เริ่มใหม่อยู่ตลอดเวลา ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย
อันนี้คือลักษณะของความคิด อารมณ์ต่างๆ ความเกิดความดับต่างๆ เราต้องทำความเข้าใจท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในวิญญาณในกายของเรา ให้รอบรู้ในโลกธรรม ให้รอบรู้ในปัจจัยสี่ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว กายของเราทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างไร วิญญาณในกายทำหน้าที่อย่างไร เราต้องศึกษาให้ละเอียด ไม่ใช่ว่าไปนึกเอาคิดเอา
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งถึงเวลานี้ แล้วก็เดี๋ยวนี้ว่า ใจของเรายังปกติดีอยู่หรือไม่ ถ้าเรามีสติรู้เท่า รู้ทัน เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกการคลาย เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า ‘อัตตา อนัตตา’ ‘สมมติ วิมุตติ’ ‘อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา’ ในกายของเรา ทีนี้เราจะละกิเลสกิเลสหยาบ กิเลสละเอียด มันก็จะเข้าสู่การเป็นขั้นเป็นตอน ถ้าใจคลายออกจากขันธ์ห้าได้เมื่อไหร่ ท่านถึงจะเรียกว่า ‘สัมมาทิฐิความเห็นถูก’ ที่ยังแยกยังคลายไม่ได้ ท่านถึงเรียกว่าเป็น‘มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด’ แต่ก็ยังอยู่ในกองบุญกองกุศล ยังอยู่ในคุณงามความดี แต่เราก็ต้องพยายาม
พยายามทำความเข้าใจให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น ทำประโยชน์ ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านประโยชน์สมมติ ประโยชน์วิมุตติ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า ศึกษาให้ละเอียดพยายามรีบตักตวง สร้างกำไรในกายก้อนนี้ให้ได้ ขณะที่ยังมีลมหายใจ ถ้าหมดลมหายใจ ก็จะมีแต่เรื่องบุญ กับเรื่องบาป ถ้าเราศึกษาให้ละเอียด เราก็พยายามละบาปสร้างบุญ แต่ไม่ยึดติดในบุญ ก่อนที่จะเข้าถึง ทำความเข้าใจตรงนี้ได้
เราต้องเข้าใจการแยก การคลาย พระพุทธองค์ที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ แต่พวกเรามองเห็นเป็นก้อน มองเห็นเป็นก้อน พระพุทธองค์มองเห็นในโลกนี้มีแต่ความว่างเปล่า แต่พวกเรามองเห็นมีแต่อัตตาตัวตน มันก็ต้องให้รู้ด้วยปัญญา รู้เห็นด้วยปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนาถึงจะมองเห็นเหมือนกับพระพุทธองค์มองเห็น เราก็ต้องพยายาม ไม่เหลือวิสัย ทำความเข้าใจบ่อยๆ
ดำเนินต้นให้ถูกก็จะส่งถึงปลาย ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหมั่นสร้างตบะบารมีให้มี ให้เกิดขึ้น ความขยันมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความเสียสละความอดทน สัจจะ ความจริงใจต่อเรา ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบต่อตัวเองและคนอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบคนอื่น รู้จักแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความกตัญญูกตเวที ความเสียสละ สิ่งพวกนี้ล้วนแต่เป็นตบะ ไม่จำเป็นต้องว่ามีทรัพย์สินเงินเทองเยอะๆ ถึงจะได้บุญเยอะ อันนั้นยังไม่ใช่
เราก็พยายามน้อมกายน้อมใจของเราเข้ามา แต่ละวันตื่นขึ้นมาความเกียจคร้านเข้าครอบงำหรือไม่ ถ้ามีความเกียจคร้านเข้าครอบงำ เราก็พยายามละความเกียจคร้าน มีความขยัน มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ
ญาติโยมที่พากันมาวัด นี่ก็คณะจากกรุงเทพ จากยงชัย ที่ให้บริวารมาเป็นจิตอาสา มาช่วย มาช่วยการ ช่วยงาน หลวงพ่อก็ขอฝากขอบคุณ ผู้บริหารและเจ้านายด้วย ให้บริวารได้มาสร้างบุญสร้างตบะ สร้างบารมี ได้ทำบุญให้กับลูกน้อง ให้ทำบุญกับตัวเรา แก้ไขตัวเรา แล้วมาปรับปรุงตัวเรา ว่าเราขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง ได้มาทำกิจกรรม กิจกรรมในส่วนรวม มีโอกาสเราก็ได้มา
ทั้งส่วนรวม ส่วนตัว เป็นการขัดเกลากิเลส เป็นการละกิเลส มาถึงบ้าน มาถึงวัด ก็ขอให้มีความสุข ทำบ้านให้เป็นวัด ทำวัดให้เป็นบ้าน ทำกายให้เป็นวัด ทำใจให้เป็นพระ เจริญสติเข้าไปเยี่ยมพระอยู่บ่อยๆ อันนี้คือสติปัญญาของเรา อันนี้คือใจ ลึกลงไปก็จะได้สังเกตใจคลายออกจากขันธ์ห้า แยกรูปแยกนาม ถึงวาระเวลาเราก็ต้องเข้าใจตรงนี้ ถ้าไม่ถึงวาระเวลาเราก็ต้องสร้างบารมี
เหมือนกับเราปลูกผลหมากรากไม้ เราจะเร่งให้ออกดอกออกผล ให้สุก ให้ทาน ให้กิน วันเดียวก็ไม่ได้ เราต้องมั่นดูแล ให้น้ำ ให้ฝุ่น ให้ปุ๋ย ถ้าถึงเวลาเขาเติบโต พัฒนาไปเรื่อยๆ ถึงเวลาเขาออกดอกออกผล เราไม่อยากจะได้ดอกได้ผล เราก็ได้ เหมือนกับการปฏิบัติใจของเรา เรามีความเสียสละ เรามีความมีความฝักใฝ่ มีความสนใจ มีการกระทำ การกระทำของเราให้ถึงพร้อมค่อยสร้างสะสมบุญบารมีของเราไปเรื่อยๆ วันนี้ก็จะเป็นพรุ่งนี้ วันพรุ่งนี้ก็จะมาเป็นวันนี้เดือนหน้าก็จะมาเป็นวันนี้ ก็จะค่อยพัฒนาขึ้นไปเรื่อยๆ
ทั้งสติ ทั้งปัญญา ทั้งใจของเรา ก็จะค่อยแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อะไรคือความหลง หลงในที่นี้ หลงในส่วนรูป หลงในส่วนนาม ถ้าเราแยกแยะภายในได้ มันก็ปล่อยวางภายนอกได้ เราละกิเลสได้ เราไม่อยากจะได้ความบริสุทธิ์เราก็ได้ นี่แหละการประพฤติ การปฏิบัติ
การศึกษา การค้นคว้า กายของเรานี่แหละคือตำราใบใหญ่ กายของเรานี่แหละคือ สนามรบที่แท้จริง เรารบ เราชนะตัวเรา แก้ไขตัวเรา เราชนะกิเลสได้ เราก็ชนะทุกอย่าง ไม่ใช่ว่าจะไปยอมแพ้ให้ตั้งแต่กิเลส กิเลสหน้าตาอาการเขาเป็นอย่างไร เขาเริ่มเกิดอย่างไร แต่เวลานี้กำลังสติของเรามีน้อยก็เลยเอาไปใช้การใช้งานยังได้ไม่เพียงพอ เพียงแค่ฝึกกับการสร้าง กับการทำให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็ยาก ก็ยากถ้าเราไม่มีความเพียร
ตราบใดที่ใจยังไม่ได้คลายจากขันธ์ห้า กำลังสติของเราจะพลั้งเผลอ ถ้าใจคลายออกหงายขึ้นได้เมื่อไหร่ สติของเราตามค้นคว้า ใจรับรู้ เราก็จะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปภาษาธรรมท่านเรียกว่า ‘ปฏิจจสมุปบาท’ ความเกิด ความดับ รู้ด้วย เห็นด้วย ตามดูได้ด้วย แล้วก็ค่อยพิจารณา แล้วก็ค่อยแก้ไข ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ใจของเราก็จะยอมรับความเป็นจริงไม่ใช่ว่าทำปุ๊บจะได้ปั๊บ เราก็คอยสร้างสะสมไปเรื่อยๆ แก้ไขไปเรื่อยๆ ปรับปรุงไปเรื่อยๆ
ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์สมมติ ประโยชน์วิมุตติ ทุกคนเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่างแต่เราก็ต้องทำความเข้าใจ เรายังอยู่กับสมมติ เคารพสมมติ เรายังอยู่กับสังคม เราก็เคารพสังคม ทำหน้าที่ของเราให้ดี ทำประโยชน์ในระดับของสมมติ ส่งผลถึงวิมุตติ สักวันหนึ่งก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน ทั้งพระ ทั้งฆราวาสญาติโยม ทั้งชี ก็พยายามช่วยกัน ช่วยกันทุกสิ่งทุกอย่าง อะไรที่จะเป็นประโยชน์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่กิน ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน ไม่เห็นแก่ความตระหนี่เหนียวแน่น เราขัดเกลาเอาออก สักวันหนึ่งเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน
ขอให้ทุกคนจงสร้างความรู้ตัวให้ชัดเจน อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจ