หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 36
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 36
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 36
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พวกเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง เพียงแค่สร้าง เพียงแค่เจริญ ให้มีให้เกิดให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็ยังพากันทำกันได้ยากอยู่ ส่วนศรัทธา ความเชื่อ เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม หมั่นสร้างบุญในระดับของสมมตินั้นมีอยู่ แต่การเจริญสติที่ต่อเนื่อง ตรงนี้สำคัญ ไม่ค่อยจะทำกันได้เท่าไหร่ นานๆ ทีถึงจะได้มาสำรวจกายสำรวจใจของตัวเอง ระลึกได้เมื่อไหร่ก็ให้รีบดู
เราอย่าพากันประมาท เพราะว่าความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มีกันทุกคน มีกันทุกวัน โรคภัยไข้เจ็บก็เบียดเบียนกันทุกวัน เราต้องเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา อยู่ก็มีความสุข ไปก็มีความสุข เป็นบุคคลที่ไม่ปล่อยปละละเลย ไม่ปล่อยประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า มีโอกาสให้เรารีบตักตวง สร้างบุญสร้างกุศล สร้างคุณงามความดีในกายก้อนนี้ให้ได้ ขณะที่ยังมีลมหายใจ
สูงขึ้นไปก็รู้จักการเจริญสติ สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบันที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่เข้าไปรวมกับขันธ์ห้า ซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกัน เป็นลักษณะอย่างนี้ จนเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า 'แยกรูปแยกนาม' ในภาษาธรรม แล้วก็จะเข้าสู่หนทางอันที่ถูกต้อง คือ ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูก เห็นถูก เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกรูปแยกนาม รู้เรื่องวิญญาณในขันธ์ห้า รู้ว่าขันธ์ห้าเป็นกองไหน ๆ รู้เรื่องหลักของอริยสัจ แล้วว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราก็จะรู้เรื่องวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาภูมิ การละกิเลสหยาบ การละกิเลสละเอียด จนรู้จักทรงความว่าง ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น จนดับความเกิดของใจได้
แต่พวกเราเข้าไม่ถึง ก็ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ อย่าพากันประมาท หมั่นทำบุญหมั่นให้ทาน ทานนี้เป็นพื้นฐานอันยิ่งใหญ่ในการที่จะปล่อยวาง ทำใจของเราให้สะอาด ให้บริสุทธิ์ได้ อย่าพากันประมาท ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ก็รู้จักรักษาตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา จงเป็นผู้สอนตนเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น อยู่กับหมู่อยู่กับคณะก็รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา รู้จักอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน อย่าเห็นแก่ความเกียจคร้าน อย่าเห็นแก่ตัว จงเป็นคนขยัน จงเป็นคนมีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ ไปอยู่ที่ไหนก็จะมีความสุข สุขในโลกนี้ สุขอยู่ปัจจุบัน สุขในโลกหน้า โลกหน้าค่อยว่ากัน หมดลมหายใจก็ไปถึงเอง เราเอาปัจจุบันให้ดี ทำหน้าที่ของเราให้ดี
อย่าพากันประมาท ดูกาย ดูใจ ถ้าดูใจได้ทุกเวลา ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิต นั่นแหละได้ยิ่งดีใหญ่ แต่กำลังสติของเราทำหน้าที่ไม่ได้เต็มเปี่ยม เพราะว่าเราไม่ได้สร้างให้ต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ได้ไปค้นคว้า แล้วก็ใจของเรายังไม่ได้คลายจากขันธ์ห้า เราละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียดไม่ได้ ก็ขอให้น้อมใจอยู่ในกองบุญ หมั่นทำบุญ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย เราก็มีส่วนแห่งบุญ
อย่าพากันประมาท อีกสักหน่อยพวกเราทุกคนก็ต้องได้พลัดพรากจากกันหมด ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง องค์หลวงพ่อก็เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าพญามัจจุราชนี่มาเยือน มาเยือนตั้งหลายปีแล้วแหละ หลวงพ่อก็ประคับประคอง ประคับประคองร่างกายก้อนนี้เพื่อที่จะยังประโยชน์ให้กับสมมติ หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกายของหลวงพ่อ ทั้งกระบังลมก็เป็นอัมพฤกษ์ข้างหนึ่ง ระบบการหายใจก็ลำบากอยู่ หลวงพ่อถึงไม่ค่อยจะได้ลงมาทำวัตรสวดมนต์ เพราะว่าการทำวัตรสวดมนต์นี้บางทีหัวใจของหลวงพ่อจะเต้นไม่ทันเลยทีเดียว หลวงพ่อก็ต้องประคับประคองมาหลายปี ก็ให้เราทุกคนจงช่วยกัน พากันมาทำวัตรสวดมนต์ ให้ทุกคนอย่าพากันเกียจคร้าน
สมัยก่อนหลวงพ่อก็พาทำ พาทำหนักทั้งเช้าทั้งเย็น ทุกวันนี้หลวงพ่อก็ต้องประคับประคองอัตภาพร่างกาย ขันธ์ของหลวงพ่อ เพื่อที่จะยังประโยชน์ให้จนถึงที่สิ้นสุดนั่นแหละ ก็อย่าพากันเกียจคร้าน อย่าพากันเห็นแก่ตัว จงพากันขยัน มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน หมั่นเอาใจใส่ อะไรควรทำ อะไรควรละ ในวัดของเรามีอะไรบ้าง ตั้งแต่ปากทางจนกระทั่งถึงก้นครัว มองซ้าย มองขวา มองบน มองล่าง มองกลางใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเรา จะเอาตั้งแต่ความสุข ความสนุก ความสบาย อันอื่นฉันไม่สนใจ ไม่ใช่! เราต้องช่วยกันดูแล ดูแลสมมติในสิ่งที่เราอาศัยอยู่ ถ้าสมมติลำบากการปฏิบัติใจก็ไปยากไปลำบาก หลวงพ่อถึงพยายามทำสมมติให้กับทุกคนให้อยู่ดีมีความสุข ตั้งแต่ถนนหนทาง ทางเดิน ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่ถ่ายที่เยี่ยว ธรรมชาติของต้นไม้ ทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
กว่าจะเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์น่าอาศัยมาได้ ต้องอาศัยกาลอาศัยเวลา อาศัยกำลังของทุกคนช่วยกันทำ เป็นสมบัติของทุกคน เป็นสมบัติของส่วนกลาง เป็นสมบัติของโลก เรามาอาศัยสถานที่อยู่ ทำอย่างไรเราถึงจะทำให้สถานที่ของเราน่าอยู่น่าอาศัย ไม่ใช่ว่าจะเอาตั้งแต่ความสะดวกสบาย เอาตั้งแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ อย่างนั้นก็ใช้การไม่ได้ เราก็ต้องพยายามช่วยกัน ห้องน้ำห้องส้วมก็ช่วยกันดูแล ตรงไหนไม่ดี ตรงไหนไม่สะอาดเราก็ช่วยกันทำ น้ำไม่มีก็เปิดใส่ ดูแลตรงไหนมันสกปรกเราก็ช่วยกันทำ พวกเรานั่นแหละก็จะได้อยู่ดีมีความสุข คนอื่นมาก็จะอยู่ดีมีความสุข ได้รับอานิสงส์แห่งการกระทำของเรา ไม่ใช่ว่าจะหดหัวอยู่ในตั้งแต่กระดอง อะไรข้างนอกจะเป็นอย่างไรก็ช่าง อย่างนั้นคิดผิด! การปฏิบัติ การฝึกหัด เราต้องให้รอบ รอบทั้งสมมติ รอบทั้งวิมุตติ รอบทั้งโลก รอบทั้งธรรม ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ว่าจะให้ตั้งแต่คนอื่นเขาบอก เขาพร่ำเขาสอน เราจงสอนตัวเอง แก้ไขตัวเอง สร้างความขยันหมั่นเพียร
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาตั้งนาน เอามาเปิดเผย หลักของอริยสัจเป็นอย่างนี้ การดำเนินอริยมรรคในองค์ 8 เป็นอย่างนี้ สัมมาทิฏฐิข้อแรกเป็นอย่างนี้ การละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียด นิวรณธรรม มลทิน ที่เกิดขึ้นกับใจของเราเป็นอย่างนี้ ท่านบัญญัติเอาไว้ เปิดเผยเอาไว้หมด โอวาทปาติโมกข์ ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ ทำใจให้หลุดพ้น มีหมด มีหมดทุกอย่าง พวกเราค้นคว้าลงที่กายที่ใจของเรา ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา แล้วท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย มีศรัทธาแล้วก็ให้มีปัญญาด้วย ถึงจะเกิดประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล รู้เห็นตามความเป็นจริง เราก็จะมองเห็นหนทางเดินของเรา ว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิด ถึงเราละไม่ได้หมด เราก็พยายามทำ พยายามดำเนิน เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไป
เราไม่หลุดพ้นวันนี้ วันนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่หลุดพ้นจริงๆ สิ่งที่พวกเราทำก็จะไปต่อเอาภพหน้า เพราะว่าตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ ยังวนเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอยู่ ความเกิด ขณะนี้เราได้เกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ มีอัตภาพ มีขันธ์ห้า มีร่างกาย เรามาครองร่างกายก้อนนี้อยู่ เราก็บริหารร่างกายของเราให้ดี ส่วนความเกิดทางด้านจิตวิญญาณ เราดู เจริญสติเข้าไปดูให้ลึกลงไปอีก ทำไมเขาถึงเกิด ทำไมเขาถึงหลง หลงอะไร หลงความคิด หลงอารมณ์ แล้วก็เป็นทาสกิเลสอีก หลายสิ่งหลายอย่าง
จิตวิญญาณเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เหมือนกัน เขาเกิดมานาน เขาก็หาทางหลบหลีก หาทางที่จะหลีกเลี่ยง ขันธ์ห้าเขาก็เกิดมานานอยู่ด้วยกัน เราก็ต้องเจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล จนเห็นเหตุเห็นผล เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่าง เขาถึงจะยอม ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ ก็ต้องพยายามกัน หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปทำให้มี ให้ปรากฏขึ้นในกายในใจของเรา ก็จะไม่เข้าใจ ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 3 พฤษภาคม 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่ พวกเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยัง เพียงแค่สร้าง เพียงแค่เจริญ ให้มีให้เกิดให้ต่อเนื่อง ตรงนี้ก็ยังพากันทำกันได้ยากอยู่ ส่วนศรัทธา ความเชื่อ เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม หมั่นสร้างบุญในระดับของสมมตินั้นมีอยู่ แต่การเจริญสติที่ต่อเนื่อง ตรงนี้สำคัญ ไม่ค่อยจะทำกันได้เท่าไหร่ นานๆ ทีถึงจะได้มาสำรวจกายสำรวจใจของตัวเอง ระลึกได้เมื่อไหร่ก็ให้รีบดู
เราอย่าพากันประมาท เพราะว่าความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มีกันทุกคน มีกันทุกวัน โรคภัยไข้เจ็บก็เบียดเบียนกันทุกวัน เราต้องเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา อยู่ก็มีความสุข ไปก็มีความสุข เป็นบุคคลที่ไม่ปล่อยปละละเลย ไม่ปล่อยประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า มีโอกาสให้เรารีบตักตวง สร้างบุญสร้างกุศล สร้างคุณงามความดีในกายก้อนนี้ให้ได้ ขณะที่ยังมีลมหายใจ
สูงขึ้นไปก็รู้จักการเจริญสติ สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบันที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างนี้ ใจที่ส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่เข้าไปรวมกับขันธ์ห้า ซึ่งเป็นนามธรรมด้วยกัน เป็นลักษณะอย่างนี้ จนเห็นใจคลายออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า 'แยกรูปแยกนาม' ในภาษาธรรม แล้วก็จะเข้าสู่หนทางอันที่ถูกต้อง คือ ‘สัมมาทิฏฐิ’ ความเห็นถูก เห็นถูก เห็นการเกิดการดับ เห็นการแยกรูปแยกนาม รู้เรื่องวิญญาณในขันธ์ห้า รู้ว่าขันธ์ห้าเป็นกองไหน ๆ รู้เรื่องหลักของอริยสัจ แล้วว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน เราก็จะรู้เรื่องวิปัสสนาญาณ วิปัสสนาภูมิ การละกิเลสหยาบ การละกิเลสละเอียด จนรู้จักทรงความว่าง ความบริสุทธิ์ ความหลุดพ้น จนดับความเกิดของใจได้
แต่พวกเราเข้าไม่ถึง ก็ให้อยู่ในกองบุญกองกุศลเอาไว้ อย่าพากันประมาท หมั่นทำบุญหมั่นให้ทาน ทานนี้เป็นพื้นฐานอันยิ่งใหญ่ในการที่จะปล่อยวาง ทำใจของเราให้สะอาด ให้บริสุทธิ์ได้ อย่าพากันประมาท ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ก็รู้จักรักษาตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา จงเป็นผู้สอนตนเองให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น อยู่กับหมู่อยู่กับคณะก็รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา รู้จักอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน อย่าเห็นแก่ความเกียจคร้าน อย่าเห็นแก่ตัว จงเป็นคนขยัน จงเป็นคนมีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ ไปอยู่ที่ไหนก็จะมีความสุข สุขในโลกนี้ สุขอยู่ปัจจุบัน สุขในโลกหน้า โลกหน้าค่อยว่ากัน หมดลมหายใจก็ไปถึงเอง เราเอาปัจจุบันให้ดี ทำหน้าที่ของเราให้ดี
อย่าพากันประมาท ดูกาย ดูใจ ถ้าดูใจได้ทุกเวลา ทุกขณะลมหายใจเข้าออก ทุกขณะจิต นั่นแหละได้ยิ่งดีใหญ่ แต่กำลังสติของเราทำหน้าที่ไม่ได้เต็มเปี่ยม เพราะว่าเราไม่ได้สร้างให้ต่อเนื่อง แล้วก็ไม่ได้ไปค้นคว้า แล้วก็ใจของเรายังไม่ได้คลายจากขันธ์ห้า เราละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียดไม่ได้ ก็ขอให้น้อมใจอยู่ในกองบุญ หมั่นทำบุญ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย เราก็มีส่วนแห่งบุญ
อย่าพากันประมาท อีกสักหน่อยพวกเราทุกคนก็ต้องได้พลัดพรากจากกันหมด ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง องค์หลวงพ่อก็เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าพญามัจจุราชนี่มาเยือน มาเยือนตั้งหลายปีแล้วแหละ หลวงพ่อก็ประคับประคอง ประคับประคองร่างกายก้อนนี้เพื่อที่จะยังประโยชน์ให้กับสมมติ หลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในร่างกายของหลวงพ่อ ทั้งกระบังลมก็เป็นอัมพฤกษ์ข้างหนึ่ง ระบบการหายใจก็ลำบากอยู่ หลวงพ่อถึงไม่ค่อยจะได้ลงมาทำวัตรสวดมนต์ เพราะว่าการทำวัตรสวดมนต์นี้บางทีหัวใจของหลวงพ่อจะเต้นไม่ทันเลยทีเดียว หลวงพ่อก็ต้องประคับประคองมาหลายปี ก็ให้เราทุกคนจงช่วยกัน พากันมาทำวัตรสวดมนต์ ให้ทุกคนอย่าพากันเกียจคร้าน
สมัยก่อนหลวงพ่อก็พาทำ พาทำหนักทั้งเช้าทั้งเย็น ทุกวันนี้หลวงพ่อก็ต้องประคับประคองอัตภาพร่างกาย ขันธ์ของหลวงพ่อ เพื่อที่จะยังประโยชน์ให้จนถึงที่สิ้นสุดนั่นแหละ ก็อย่าพากันเกียจคร้าน อย่าพากันเห็นแก่ตัว จงพากันขยัน มีความรับผิดชอบ มีความเสียสละ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน หมั่นเอาใจใส่ อะไรควรทำ อะไรควรละ ในวัดของเรามีอะไรบ้าง ตั้งแต่ปากทางจนกระทั่งถึงก้นครัว มองซ้าย มองขวา มองบน มองล่าง มองกลางใจของเราอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าไม่ใช่หน้าที่ของเรา จะเอาตั้งแต่ความสุข ความสนุก ความสบาย อันอื่นฉันไม่สนใจ ไม่ใช่! เราต้องช่วยกันดูแล ดูแลสมมติในสิ่งที่เราอาศัยอยู่ ถ้าสมมติลำบากการปฏิบัติใจก็ไปยากไปลำบาก หลวงพ่อถึงพยายามทำสมมติให้กับทุกคนให้อยู่ดีมีความสุข ตั้งแต่ถนนหนทาง ทางเดิน ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่ถ่ายที่เยี่ยว ธรรมชาติของต้นไม้ ทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้
กว่าจะเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์น่าอาศัยมาได้ ต้องอาศัยกาลอาศัยเวลา อาศัยกำลังของทุกคนช่วยกันทำ เป็นสมบัติของทุกคน เป็นสมบัติของส่วนกลาง เป็นสมบัติของโลก เรามาอาศัยสถานที่อยู่ ทำอย่างไรเราถึงจะทำให้สถานที่ของเราน่าอยู่น่าอาศัย ไม่ใช่ว่าจะเอาตั้งแต่ความสะดวกสบาย เอาตั้งแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำ อย่างนั้นก็ใช้การไม่ได้ เราก็ต้องพยายามช่วยกัน ห้องน้ำห้องส้วมก็ช่วยกันดูแล ตรงไหนไม่ดี ตรงไหนไม่สะอาดเราก็ช่วยกันทำ น้ำไม่มีก็เปิดใส่ ดูแลตรงไหนมันสกปรกเราก็ช่วยกันทำ พวกเรานั่นแหละก็จะได้อยู่ดีมีความสุข คนอื่นมาก็จะอยู่ดีมีความสุข ได้รับอานิสงส์แห่งการกระทำของเรา ไม่ใช่ว่าจะหดหัวอยู่ในตั้งแต่กระดอง อะไรข้างนอกจะเป็นอย่างไรก็ช่าง อย่างนั้นคิดผิด! การปฏิบัติ การฝึกหัด เราต้องให้รอบ รอบทั้งสมมติ รอบทั้งวิมุตติ รอบทั้งโลก รอบทั้งธรรม ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ใช่ว่าจะให้ตั้งแต่คนอื่นเขาบอก เขาพร่ำเขาสอน เราจงสอนตัวเอง แก้ไขตัวเอง สร้างความขยันหมั่นเพียร
แนวทางนั้นพระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบมาตั้งนาน เอามาเปิดเผย หลักของอริยสัจเป็นอย่างนี้ การดำเนินอริยมรรคในองค์ 8 เป็นอย่างนี้ สัมมาทิฏฐิข้อแรกเป็นอย่างนี้ การละกิเลสหยาบ กิเลสละเอียด นิวรณธรรม มลทิน ที่เกิดขึ้นกับใจของเราเป็นอย่างนี้ ท่านบัญญัติเอาไว้ เปิดเผยเอาไว้หมด โอวาทปาติโมกข์ ทำใจให้สะอาด ทำใจให้บริสุทธิ์ ทำใจให้หลุดพ้น มีหมด มีหมดทุกอย่าง พวกเราค้นคว้าลงที่กายที่ใจของเรา ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา แล้วท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย มีศรัทธาแล้วก็ให้มีปัญญาด้วย ถึงจะเกิดประโยชน์อย่างมากมายมหาศาล รู้เห็นตามความเป็นจริง เราก็จะมองเห็นหนทางเดินของเรา ว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่กลับมาเกิด ถึงเราละไม่ได้หมด เราก็พยายามทำ พยายามดำเนิน เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไป
เราไม่หลุดพ้นวันนี้ วันนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่หลุดพ้นจริงๆ สิ่งที่พวกเราทำก็จะไปต่อเอาภพหน้า เพราะว่าตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ ยังวนเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอยู่ ความเกิด ขณะนี้เราได้เกิดมาอยู่ในภพมนุษย์ มีอัตภาพ มีขันธ์ห้า มีร่างกาย เรามาครองร่างกายก้อนนี้อยู่ เราก็บริหารร่างกายของเราให้ดี ส่วนความเกิดทางด้านจิตวิญญาณ เราดู เจริญสติเข้าไปดูให้ลึกลงไปอีก ทำไมเขาถึงเกิด ทำไมเขาถึงหลง หลงอะไร หลงความคิด หลงอารมณ์ แล้วก็เป็นทาสกิเลสอีก หลายสิ่งหลายอย่าง
จิตวิญญาณเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่าย ๆ เหมือนกัน เขาเกิดมานาน เขาก็หาทางหลบหลีก หาทางที่จะหลีกเลี่ยง ขันธ์ห้าเขาก็เกิดมานานอยู่ด้วยกัน เราก็ต้องเจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผล จนเห็นเหตุเห็นผล เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งทุกอย่าง เขาถึงจะยอม ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ ก็ต้องพยายามกัน หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปทำให้มี ให้ปรากฏขึ้นในกายในใจของเรา ก็จะไม่เข้าใจ ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจ