หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 8
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 8
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 8
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย
หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะหยุดไม่ได้ยาวนาน เราละไม่ได้ ละความคิด เดินปัญญา แยกรูปแยกนามไม่ได้ ขอให้หยุดอยู่ขณะที่เรากำลังนั่งอยู่นี่แหละ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาว กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ อย่าไปบังคับลมหายใจ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ความรู้ตัว ความรู้สึกรับรู้เวลาลมกระทบปลายจมูก หายใจเข้า นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'สติรู้กาย' หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้
เรามาสร้างผู้รู้ หรือว่ามาเจริญสติเพื่อที่จะรู้เท่าทันใจของเรา รู้ลักษณะใจของเรา การเกิดของใจเป็นอย่างไร การแยกรูปแยกนาม การสังเกตวิเคราะห์ ก็จะเป็นสิ่งที่ตามมา ถ้ากำลังสติของเราต่อเนื่อง
ส่วนมากก็พลั้งเผลอ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ ส่วนใจของเรานั้น ความเกิดความดับของใจนั้นมีอยู่เดิม ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ส่วนรูปธรรมเรามาทำความเข้าใจ สร้างสติให้ชัดเจน แล้วก็สำรวจใจของเราแต่ละวันๆ เราสำรวจใจของเราไม่ทัน เราก็รู้จักควบคุมใจ เขาเรียกว่า 'สมถะภาวนา' ทำให้เกิดความเคยชิน ฝึกให้เกิดความเคยชิน อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ว่าไม่มีเวลา ทุกคนมีเวลาเท่ากันหมด แต่เราขาดการสนใจเท่านั้นเอง
ศรัทธาความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ตรงนี้มีอยู่ เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม ฝักใฝ่ในการทำบุญ ในการให้ทาน ทางด้านสมมติตรงนี้มีกันเต็มเปี่ยม แต่การควบคุมใจ อบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล อันนี้ส่วนรูป อันนี้ส่วนนาม เห็นความเกิดความดับ การแยกการคลาย เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในร่างกายของตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนมองเห็นความเป็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อไม่ใช่ว่าให้เชื่อแบบงมงาย
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผล เหตุผลทางสมมติก็เต็มเปี่ยม เหตุผลทางด้านวิมุตติทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นเหตุผลทางด้านนามธรรม เราจะไปมองด้วยตาเนื้อมองไม่เห็น เราต้องเจริญสติ สร้างความรู้ตัว รู้ตัว รู้กาย แล้วก็รู้ใจ รู้ลักษณะอาการการเกิดการดับ การแยกการคลาย การละ
แต่ละวันเราหมั่นสำรวจใจของเรา ว่าขณะนี้ใจของเราปกติเป็นอย่างไร ใจที่ส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร ใจที่เกิด ใจที่มีกิเลส เราละกิเลสได้ระดับไหน ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราต้องหมั่นวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา สร้างความขยันหมั่นเพียรอยู่ตลอดเวลา สร้างความขยัน ขยันทั้งสมมติ ขยันทั้งวิมุตติ ขยันทำความเข้าใจ
คำว่า 'ศีล' ความปกติ ปกติระดับไหน กาย วาจา กายเราก็ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนนู้นคนนี้ วาจาเราก็ไม่ได้ไปพูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ไม่ได้ไปว่ากล่าวคนโน้นคนนี้ ส่วนใจเราก็ไม่ได้ไปคิดในทางอกุศล ท่านถึงบอกว่า กาย วาจา แล้วก็ใจ ศีล สมาธิ แล้วก็ปัญญา ศีลคือความปกติ ปกติระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ แล้วก็หมั่นปรับสภาพใจของเรา
ใจของเรามีความตระหนี่เหนียวแน่น เราก็พยายามละความตระหนี่เหนียวแน่น ใจของเรามีความโกรธมีความพยาบาท เราก็พยายามให้อภัย อโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี
เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียรให้มีให้เกิดขึ้น หมั่นฝักใฝ่ หมั่นสนใจ หมั่นใคร่ครวญ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ
ถ้าอยากจะรู้ความจริงในชีวิตของเรา รู้จักความหมาย เข้าถึงความหมายนั้นๆ คำว่า 'ปัจจุบันธรรม' เป็นลักษณะอย่างไร ลักษณะของอริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ เอามาจำแนกแจกแจงเป็นลักษณะอย่างไร การแยกรูปแยกนาม เราก็จะเข้าใจคำว่า อัตตา อนัตตา เป็นลักษณะอย่างไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเราเป็นอย่างไร ที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ แต่พวกเราก็มองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพราะว่ายังจำแนกแจกแจงไม่ได้ เหมือนดั่งที่เราสวดเราท่องกันอยู่ทุกวัน
เราอย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด เราพยายามดำเนินชีวิตของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เกื้อหนุนกันหมด เหมือนกับจะขึ้นบนบ้านก็อาศัยบันได บันไดก็มีทั้งลูกบันได มีทั้งราวบันได เหมือนกับการเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งแต่ทานนู่น... ทานวัตถุทาน ทานกิเลส ทานอารมณ์ ทานความยึดมั่นถือมั่น ถึงมีอยู่ในกายของเรา แต่เรายังแยกแยะไม่ได้ เราก็เลยไม่เข้าใจตรงนี้
แต่การทำบุญให้ทานนั้นมีอยู่ มีโอกาส อย่าไปทิ้งบุญ อย่าไปทิ้งในการทำบุญให้ทาน หมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป ไม่มีอะไร มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป ท่านให้ละบาป สร้างบุญ สูงขึ้นไปก็ละหมดทั้งบุญทั้งบาปนั่นแหละ ให้สร้างบุญแต่ไม่ยึดติดในบุญ
เราต้องรู้จักจุดละ จุดปล่อย จุดวาง ถ้าเราแยกแยะไม่ได้ เราก็ไม่รู้จักจุดละ จุดปล่อย จุดวาง ท่านถึงให้เจริญสติบ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ
การเจริญสติเป็นอย่างไร กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร เราต้องพยายามศึกษา เพราะว่าคนเราเกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว ไม่ว่าเด็ก ไม่ว่าผู้ใหญ่ ความตายไม่ได้เลือกกาลเลือกเวลา เราก็จะได้ไปกันทุกคน
แม้แต่องค์หลวงพ่อเองก็ต้องได้ไป ถ้าถึงวาระเวลา อัตภาพร่างกายไม่รู้จะทนทานอยู่ได้สักกี่วันกี่เดือนกี่ปี เพราะว่าโรคภัยไข้เจ็บก็เบียดเบียนอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจให้พร้อม เป็นบุคคลที่เตรียมพร้อม เตรียมพร้อมที่จะอยู่ เตรียมพร้อมที่จะไป อยู่ก็ให้มีความสุข ไปก็ให้มีความสุข ให้มีความสุขทั้งการอยู่การไปอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องเป็นบุคคลที่มีความกังวลอะไร
ทุกชีวิตเกิดมาเท่าไหร่ มีความเกิดก็มีความตาย เพราะว่าเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความไม่เที่ยง ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ ให้รีบตักตวงสร้างบุญสร้างกุศล ให้มีให้เกิดขึ้นในกายในใจของเรา ไม่ว่าบุญทางด้านวัตถุทาน ทางด้านนามธรรม ทางด้านรูปธรรม มีโอกาสทำไปเถอะ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย เราก็มีส่วนแห่งบุญ
บุญเป็นเครื่องนำทาง เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่เราก็ต้องอาศัยอานิสงส์แห่งบุญช่วยเกื้อหนุน
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย
หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะหยุดไม่ได้ยาวนาน เราละไม่ได้ ละความคิด เดินปัญญา แยกรูปแยกนามไม่ได้ ขอให้หยุดอยู่ขณะที่เรากำลังนั่งอยู่นี่แหละ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การสูดลมหายใจยาวผ่อนลมหายใจยาว กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ อย่าไปบังคับลมหายใจ ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ความรู้ตัว ความรู้สึกรับรู้เวลาลมกระทบปลายจมูก หายใจเข้า นั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'สติรู้กาย' หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้
เรามาสร้างผู้รู้ หรือว่ามาเจริญสติเพื่อที่จะรู้เท่าทันใจของเรา รู้ลักษณะใจของเรา การเกิดของใจเป็นอย่างไร การแยกรูปแยกนาม การสังเกตวิเคราะห์ ก็จะเป็นสิ่งที่ตามมา ถ้ากำลังสติของเราต่อเนื่อง
ส่วนมากก็พลั้งเผลอ พลั้งเผลอก็เริ่มใหม่ ส่วนใจของเรานั้น ความเกิดความดับของใจนั้นมีอยู่เดิม ซึ่งเป็นส่วนนามธรรม ส่วนรูปธรรมเรามาทำความเข้าใจ สร้างสติให้ชัดเจน แล้วก็สำรวจใจของเราแต่ละวันๆ เราสำรวจใจของเราไม่ทัน เราก็รู้จักควบคุมใจ เขาเรียกว่า 'สมถะภาวนา' ทำให้เกิดความเคยชิน ฝึกให้เกิดความเคยชิน อย่าไปปิดกั้นตัวเราเองว่าไม่มีโอกาส ว่าไม่มีเวลา ทุกคนมีเวลาเท่ากันหมด แต่เราขาดการสนใจเท่านั้นเอง
ศรัทธาความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ตรงนี้มีอยู่ เชื่อบุญ เชื่อบาป เชื่อกรรม ฝักใฝ่ในการทำบุญ ในการให้ทาน ทางด้านสมมติตรงนี้มีกันเต็มเปี่ยม แต่การควบคุมใจ อบรมใจ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล อันนี้ส่วนรูป อันนี้ส่วนนาม เห็นความเกิดความดับ การแยกการคลาย เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในร่างกายของตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนมองเห็นความเป็นจริง ท่านถึงบอกให้เชื่อไม่ใช่ว่าให้เชื่อแบบงมงาย
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีเหตุมีผล เหตุผลทางสมมติก็เต็มเปี่ยม เหตุผลทางด้านวิมุตติทางด้านจิตใจ ซึ่งเป็นเหตุผลทางด้านนามธรรม เราจะไปมองด้วยตาเนื้อมองไม่เห็น เราต้องเจริญสติ สร้างความรู้ตัว รู้ตัว รู้กาย แล้วก็รู้ใจ รู้ลักษณะอาการการเกิดการดับ การแยกการคลาย การละ
แต่ละวันเราหมั่นสำรวจใจของเรา ว่าขณะนี้ใจของเราปกติเป็นอย่างไร ใจที่ส่งออกไปภายนอกเป็นอย่างไร ใจที่เกิด ใจที่มีกิเลส เราละกิเลสได้ระดับไหน ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด เราต้องหมั่นวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา สร้างความขยันหมั่นเพียรอยู่ตลอดเวลา สร้างความขยัน ขยันทั้งสมมติ ขยันทั้งวิมุตติ ขยันทำความเข้าใจ
คำว่า 'ศีล' ความปกติ ปกติระดับไหน กาย วาจา กายเราก็ไม่ได้ไปสร้างความเดือดร้อนให้คนนู้นคนนี้ วาจาเราก็ไม่ได้ไปพูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ ไม่ได้ไปว่ากล่าวคนโน้นคนนี้ ส่วนใจเราก็ไม่ได้ไปคิดในทางอกุศล ท่านถึงบอกว่า กาย วาจา แล้วก็ใจ ศีล สมาธิ แล้วก็ปัญญา ศีลคือความปกติ ปกติระดับกาย ระดับวาจา ระดับใจ ไล่เรียงลงไปเรื่อยๆ แล้วก็หมั่นปรับสภาพใจของเรา
ใจของเรามีความตระหนี่เหนียวแน่น เราก็พยายามละความตระหนี่เหนียวแน่น ใจของเรามีความโกรธมีความพยาบาท เราก็พยายามให้อภัย อโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี
เรามีความเกียจคร้าน เราก็พยายามสร้างความขยันหมั่นเพียรให้มีให้เกิดขึ้น หมั่นฝักใฝ่ หมั่นสนใจ หมั่นใคร่ครวญ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียรเป็นเลิศ
ถ้าอยากจะรู้ความจริงในชีวิตของเรา รู้จักความหมาย เข้าถึงความหมายนั้นๆ คำว่า 'ปัจจุบันธรรม' เป็นลักษณะอย่างไร ลักษณะของอริยสัจ คือความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบ เอามาจำแนกแจกแจงเป็นลักษณะอย่างไร การแยกรูปแยกนาม เราก็จะเข้าใจคำว่า อัตตา อนัตตา เป็นลักษณะอย่างไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเราเป็นอย่างไร ที่ท่านบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ แต่พวกเราก็มองเห็นเป็นกลุ่มเป็นก้อน เพราะว่ายังจำแนกแจกแจงไม่ได้ เหมือนดั่งที่เราสวดเราท่องกันอยู่ทุกวัน
เราอย่าไปปิดกั้นตัวเราเอง โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด สถานที่เปิด เราพยายามดำเนินชีวิตของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เกื้อหนุนกันหมด เหมือนกับจะขึ้นบนบ้านก็อาศัยบันได บันไดก็มีทั้งลูกบันได มีทั้งราวบันได เหมือนกับการเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ตั้งแต่ทานนู่น... ทานวัตถุทาน ทานกิเลส ทานอารมณ์ ทานความยึดมั่นถือมั่น ถึงมีอยู่ในกายของเรา แต่เรายังแยกแยะไม่ได้ เราก็เลยไม่เข้าใจตรงนี้
แต่การทำบุญให้ทานนั้นมีอยู่ มีโอกาส อย่าไปทิ้งบุญ อย่าไปทิ้งในการทำบุญให้ทาน หมดลมหายใจก็มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป ไม่มีอะไร มีแต่เรื่องบุญกับเรื่องบาป ท่านให้ละบาป สร้างบุญ สูงขึ้นไปก็ละหมดทั้งบุญทั้งบาปนั่นแหละ ให้สร้างบุญแต่ไม่ยึดติดในบุญ
เราต้องรู้จักจุดละ จุดปล่อย จุดวาง ถ้าเราแยกแยะไม่ได้ เราก็ไม่รู้จักจุดละ จุดปล่อย จุดวาง ท่านถึงให้เจริญสติบ่อยๆ จนเป็นอัตโนมัติในการดู ในการรู้ ในการทำความเข้าใจ
การเจริญสติเป็นอย่างไร กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร เราต้องพยายามศึกษา เพราะว่าคนเราเกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด ไม่ตายช้าก็ตายเร็ว ไม่ว่าเด็ก ไม่ว่าผู้ใหญ่ ความตายไม่ได้เลือกกาลเลือกเวลา เราก็จะได้ไปกันทุกคน
แม้แต่องค์หลวงพ่อเองก็ต้องได้ไป ถ้าถึงวาระเวลา อัตภาพร่างกายไม่รู้จะทนทานอยู่ได้สักกี่วันกี่เดือนกี่ปี เพราะว่าโรคภัยไข้เจ็บก็เบียดเบียนอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็ต้องทำความเข้าใจให้พร้อม เป็นบุคคลที่เตรียมพร้อม เตรียมพร้อมที่จะอยู่ เตรียมพร้อมที่จะไป อยู่ก็ให้มีความสุข ไปก็ให้มีความสุข ให้มีความสุขทั้งการอยู่การไปอยู่ตลอดเวลา ไม่ต้องเป็นบุคคลที่มีความกังวลอะไร
ทุกชีวิตเกิดมาเท่าไหร่ มีความเกิดก็มีความตาย เพราะว่าเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความไม่เที่ยง ขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่นี่แหละ ให้รีบตักตวงสร้างบุญสร้างกุศล ให้มีให้เกิดขึ้นในกายในใจของเรา ไม่ว่าบุญทางด้านวัตถุทาน ทางด้านนามธรรม ทางด้านรูปธรรม มีโอกาสทำไปเถอะ ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย เราก็มีส่วนแห่งบุญ
บุญเป็นเครื่องนำทาง เป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่เราก็ต้องอาศัยอานิสงส์แห่งบุญช่วยเกื้อหนุน
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอานะ