หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 21
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 21
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 21
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 เมษายน 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พวกท่านได้พากันสร้างความรู้ตัว น้อมเข้าไปรู้กายของเราแล้วหรือยัง ภาษาธรรมะท่านเรียกว่า 'เจริญสติ' สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน รู้การหายใจเข้า หายใจออก รู้การเคลื่อนไหว จนกระทั่งรู้ความปกติของใจ เห็นการเกิดการดับของใจ เห็นการเกิดการดับของความคิด ของอารมณ์ต่างๆ
แต่เวลานี้กำลังสติหรือว่าปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา พวกเราไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไหร่ เอาตั้งแต่ปัญญาโลก ปัญญาสมมติ ปัญญาโลกีย์ไปนึกไปคิดเอา ความเกิดความคิดนี่แหละปิดกั้นตัวใจเอาไว้ แล้วก็ความยินดียินร้ายสารพัดอย่าง ปิดกั้นตัวใจเอาไว้ ใจเป็นธาตุรู้ แต่เขาก็ทั้งรู้ ทั้งหลง ทั้งเกิด พวกเราถึงคิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่เขาหลงอยู่ในความรู้ คือความเกิดตรงนั้นอยู่
ท่านถึงให้เจริญสติมาสร้างผู้รู้ มาสร้างความรู้ตัวลงที่กายของเรา สร้างความรู้สึกรับรู้อยู่กับสัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องเสียก่อน ก่อนที่จะเอาไปใช้ เอาไปวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล
เราหมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา แต่ละวันตื่นขึ้นมา ใจของเราเป็นอย่างไรบ้าง ความคิดของเราเป็นอย่างไรบ้าง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ วิธีการแนวทางที่จะเข้าไปดับ เข้าไปหยุด เพียงแค่การสร้างความรู้ตัว พวกเราก็ยังทำกันไม่ชำนาญ ก็เลยไปพลาดโอกาส พลาดโอกาสทรัพย์อันใหญ่คือความสงบ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ของใจ
พระพุทธองค์ได้ค้นพบแล้วก็น้อมนำมาประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ หลายร้อยหลายพันปีก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม หลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือเรื่องดับทุกข์ การดับทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ มีกันทุกคน ทุกข์ระดับสมมติ ทุกข์ระดับวิมุตติ เขารวมกันได้อย่างไร เขาอยู่กันยังไง
ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กายของเรา หาเหตุหาผล ชี้เหตุชี้ผล รู้เหตุไม่ทันเราก็รู้จักดับ ใช้สมถะดับ ดับเอาไว้จนกว่าจะรู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ แล้วก็รู้กันรู้แก้ ใจของเราเกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภ ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามละความโกรธ ด้วยการให้อภัยทาน อโหสิกรรม ด้วยการเอาออกจากใจของเรา รู้จักแก้ไขใจของเรา ปรับปรุงใจของเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของเราทุกคน ที่จะต้องแก้ไขตัวเรา
เราทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก ภาษาโลกภาษาธรรม สมมติวิมุตติ อัตตาอนัตตา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา รู้หนทางเดินหรือว่าอริยมรรคในองค์ ๘ สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูก เห็นถูกในหลักธรรม คือใจต้องคลายจากขันธ์ 5 เสียก่อน แยกรูปแยกนามเสียก่อน ท่านถึงเรียกว่า 'สัมมาทิฏฐิ' แล้วก็ตามทำความเข้าใจ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นยังไง ซึ่งมีอยู่ในกายในใจของเรา
กายของเรานี่แหละเป็นสนามรบอันยิ่งใหญ่ ถ้าเราเจริญสติหมั่นพร่ำสอนใจของเราไม่ได้ ก็ไม่มีใครที่จะสอนเราได้หรอก นอกจากตัวของเราเอง บุคคลที่มีบุญมีวาสนา มีกำลังสติปัญญาเพียงพอ ฟังนิดเดียวไปทำตาม
การเจริญสติเป็นอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นอย่างนี้ คำว่า 'ศีล สมาธิ ปัญญา' เป็นลักษณะอย่างนี้ การที่จะสร้างอานิสงส์ สร้างบุญบารมีเป็นอย่างนี้ เขาจะรู้จักฝักใฝ่สนใจ ขวนขวาย เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความรับผิดชอบเพียงพอหรือไม่ มีสัจจะกับตัวเองหรือเปล่า ใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตนหรือไม่ เราก็พยายามไปแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งหมดลมหายใจนั่นแหละ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่ายไม่จำเป็นต้องไปนั่งคุยกันมากมาย พูดคุยกันมากมาย คุยกับใจของเรา เจริญสติเข้าไปคุยกับใจของเรา อบรมพูดจากับใจของเรา อันนั้นมันไม่ใช่ทาง อันนี้ไม่ใช่ทาง จงสร้างทางหาความเป็นกลาง หาความเป็นกลางคือความว่างเป็นเครื่องตัดสิน ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น นั่นแหละคือความเป็นกลาง
อะไรที่จะเป็นบุญ บุญมาก บุญน้อย บุญใกล้ บุญไกล บุญสมมติ บุญวิมุตติ บุคคลมีบุญมีวาสนา มีความพร้อม จะไม่ปล่อยโอกาสทิ้งจะรีบเอาบุญกับตัวตลอดเวลา
ตื่นขึ้นมาเรามีความขยันหมั่นเพียร เพียงแค่สมมติเราก็รู้จักแก้ไข ความเป็นอยู่ของเรา โลกธรรมที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อะไรขาดตกบกพร่อง ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ที่ถ่ายที่เยี่ยว จนกระทั่งล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ
ไม่ใช่ว่าปฏิบัติธรรมไม่รู้จักทำ ทำสมมติก็ยังไม่รู้จัก เพียงแค่สมมติก็ช่วยตัวเราให้ได้ในระดับหนึ่ง ท่านถึงบอกว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน
'ตนเป็นที่พึ่งของตน' คือตัวสตินั่นแหล่ะคือ 'ตน' ตัวแรก ตัวที่ให้สร้างอยู่ทุกวัน ความรู้ตัวนี่แหละ เข้าไปอบรมใจ ไปชี้เหตุชี้ผล แต่เวลานี้ใจของเราทั้งหลงทั้งเกิด กว่าจะขัดเกลากิเลสให้เบาบางลงไปได้ ต้องใช้ความเพียรอันยิ่งยวด ใช้ความเพียรอย่างมากมาย ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ จะไปทำเล่นๆ ไม่ได้เลยสิ่งพวกนี้ ถึงจะยากลำบากก็ต้องอดทนกลั้น รู้จักแก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเรา เป็นเรื่องของเรา เรื่องของเราให้จบแล้วก็จะล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ
ความเป็นอยู่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน สร้างความขยัน ก่อนที่จะนึก ก่อนที่จะคิด ไล่เรียงลงไป อะไรส่วนรูป อะไรส่วนนาม ที่เราพากันสวดทำวัตรทุกเช้าทุกเย็นนั่นแหละ กองรูปกองนามเป็นอย่างไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเราเป็นอย่างไร ท่านถึงบอกว่าไม่เที่ยง ทำไมพวกเราถึงมองเห็นเป็นของเที่ยง ทำไมพวกเราถึงมองเห็นเป็นอัตตา อนัตตา เพราะว่าเรายังแยกแยะไม่ได้
ถ้าแยกได้ ใจคลาย หงายขึ้นมาได้ เราก็จะเข้าใจคำว่า 'อัตตา อนัตตา' เข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์ทันที ว่าหลายร้อยหลายพันปี พระพุทธองค์ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่มีชีวิตท่านก็คงไม่ค้นพบเรื่องการดำเนินชีวิต เรื่องหลักของอริยสัจ วิธีการแนวทาง
เราพยายามทำให้เข้าถึง น้อมนำคำสอนมาไว้ที่ใจของเรา ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้เชื่อด้วยเหตุด้วยผล แล้วก็เจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผลจนเกิดปัญญา ท่านถึงบอกให้เชื่อ มีความเป็นกลาง มีเครื่องตัดสินนั่นแหละ ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกัน
วันนี้ไม่เข้าใจ วันพรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า มันไม่เข้าใจก็ไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ อย่าไปทิ้งบุญเด็ดขาด บุญเป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไป ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลยทาน อย่าไปทิ้งในการทำบุญในการให้ทาน ทาน ทานกิเลส ทานความยึดมั่นถือมั่น แล้วก็ทานอารมณ์ ทานกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมด
ทานแล้วก็ไล่ขึ้นไปถึงศีล สมาธิ มันจะต่อเนื่องกันหมด ถ้าเราแยกรูปแยกนามได้ เราก็จะเข้าใจทุกอย่าง ว่าแต่ละวันๆ เราได้สร้างทำอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ สร้างอะไรบ้างที่เป็นบารมีสำหรับเรา ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง จนกว่าจะหมดลมหายใจ
ทั้งพระเราชีเราก็พากันขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร ประหยัดมัธยัสถ์ รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่าไปเกียจคร้าน งอมืองอเท้า เจริญสติไปด้วย เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติไปด้วย ทำความเข้าใจไปด้วย สักวันหนึ่งเราก็จะเข้าใจในชีวิตของเรา
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกัน
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 เมษายน 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ พวกท่านได้พากันสร้างความรู้ตัว น้อมเข้าไปรู้กายของเราแล้วหรือยัง ภาษาธรรมะท่านเรียกว่า 'เจริญสติ' สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน รู้การหายใจเข้า หายใจออก รู้การเคลื่อนไหว จนกระทั่งรู้ความปกติของใจ เห็นการเกิดการดับของใจ เห็นการเกิดการดับของความคิด ของอารมณ์ต่างๆ
แต่เวลานี้กำลังสติหรือว่าปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา พวกเราไม่ค่อยจะสนใจกันเท่าไหร่ เอาตั้งแต่ปัญญาโลก ปัญญาสมมติ ปัญญาโลกีย์ไปนึกไปคิดเอา ความเกิดความคิดนี่แหละปิดกั้นตัวใจเอาไว้ แล้วก็ความยินดียินร้ายสารพัดอย่าง ปิดกั้นตัวใจเอาไว้ ใจเป็นธาตุรู้ แต่เขาก็ทั้งรู้ ทั้งหลง ทั้งเกิด พวกเราถึงคิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่เขาหลงอยู่ในความรู้ คือความเกิดตรงนั้นอยู่
ท่านถึงให้เจริญสติมาสร้างผู้รู้ มาสร้างความรู้ตัวลงที่กายของเรา สร้างความรู้สึกรับรู้อยู่กับสัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องเสียก่อน ก่อนที่จะเอาไปใช้ เอาไปวิเคราะห์ ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล
เราหมั่นพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา แต่ละวันตื่นขึ้นมา ใจของเราเป็นอย่างไรบ้าง ความคิดของเราเป็นอย่างไรบ้าง เป็นกุศลหรือว่าอกุศล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ วิธีการแนวทางที่จะเข้าไปดับ เข้าไปหยุด เพียงแค่การสร้างความรู้ตัว พวกเราก็ยังทำกันไม่ชำนาญ ก็เลยไปพลาดโอกาส พลาดโอกาสทรัพย์อันใหญ่คือความสงบ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ของใจ
พระพุทธองค์ได้ค้นพบแล้วก็น้อมนำมาประกาศให้ชาวโลกได้รับรู้ หลายร้อยหลายพันปีก็ยังมีอยู่เหมือนเดิม หลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ คือเรื่องดับทุกข์ การดับทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ มีกันทุกคน ทุกข์ระดับสมมติ ทุกข์ระดับวิมุตติ เขารวมกันได้อย่างไร เขาอยู่กันยังไง
ท่านถึงให้เจริญสติลงที่กายของเรา หาเหตุหาผล ชี้เหตุชี้ผล รู้เหตุไม่ทันเราก็รู้จักดับ ใช้สมถะดับ ดับเอาไว้จนกว่าจะรู้เท่ารู้ทัน รู้จักทำความเข้าใจ แล้วก็รู้กันรู้แก้ ใจของเราเกิดความโลภ เราก็พยายามละความโลภ ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามละความโกรธ ด้วยการให้อภัยทาน อโหสิกรรม ด้วยการเอาออกจากใจของเรา รู้จักแก้ไขใจของเรา ปรับปรุงใจของเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของเราทุกคน ที่จะต้องแก้ไขตัวเรา
เราทำความเข้าใจกับภาษาธรรมภาษาโลก ภาษาโลกภาษาธรรม สมมติวิมุตติ อัตตาอนัตตา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเรา รู้หนทางเดินหรือว่าอริยมรรคในองค์ ๘ สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นถูก เห็นถูกในหลักธรรม คือใจต้องคลายจากขันธ์ 5 เสียก่อน แยกรูปแยกนามเสียก่อน ท่านถึงเรียกว่า 'สัมมาทิฏฐิ' แล้วก็ตามทำความเข้าใจ ว่าอะไรควรละ อะไรควรเจริญ กิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นยังไง ซึ่งมีอยู่ในกายในใจของเรา
กายของเรานี่แหละเป็นสนามรบอันยิ่งใหญ่ ถ้าเราเจริญสติหมั่นพร่ำสอนใจของเราไม่ได้ ก็ไม่มีใครที่จะสอนเราได้หรอก นอกจากตัวของเราเอง บุคคลที่มีบุญมีวาสนา มีกำลังสติปัญญาเพียงพอ ฟังนิดเดียวไปทำตาม
การเจริญสติเป็นอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การละกิเลสเป็นอย่างนี้ คำว่า 'ศีล สมาธิ ปัญญา' เป็นลักษณะอย่างนี้ การที่จะสร้างอานิสงส์ สร้างบุญบารมีเป็นอย่างนี้ เขาจะรู้จักฝักใฝ่สนใจ ขวนขวาย เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความรับผิดชอบเพียงพอหรือไม่ มีสัจจะกับตัวเองหรือเปล่า ใจของเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตนหรือไม่ เราก็พยายามไปแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ จนกระทั่งหมดลมหายใจนั่นแหละ ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่ายไม่จำเป็นต้องไปนั่งคุยกันมากมาย พูดคุยกันมากมาย คุยกับใจของเรา เจริญสติเข้าไปคุยกับใจของเรา อบรมพูดจากับใจของเรา อันนั้นมันไม่ใช่ทาง อันนี้ไม่ใช่ทาง จงสร้างทางหาความเป็นกลาง หาความเป็นกลางคือความว่างเป็นเครื่องตัดสิน ไม่เข้าข้างตัวเอง ไม่เข้าข้างคนอื่น นั่นแหละคือความเป็นกลาง
อะไรที่จะเป็นบุญ บุญมาก บุญน้อย บุญใกล้ บุญไกล บุญสมมติ บุญวิมุตติ บุคคลมีบุญมีวาสนา มีความพร้อม จะไม่ปล่อยโอกาสทิ้งจะรีบเอาบุญกับตัวตลอดเวลา
ตื่นขึ้นมาเรามีความขยันหมั่นเพียร เพียงแค่สมมติเราก็รู้จักแก้ไข ความเป็นอยู่ของเรา โลกธรรมที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว อะไรขาดตกบกพร่อง ที่พักที่อาศัย ที่หลับที่นอน ที่อยู่ที่กิน ที่ถ่ายที่เยี่ยว จนกระทั่งล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ
ไม่ใช่ว่าปฏิบัติธรรมไม่รู้จักทำ ทำสมมติก็ยังไม่รู้จัก เพียงแค่สมมติก็ช่วยตัวเราให้ได้ในระดับหนึ่ง ท่านถึงบอกว่า ตนเป็นที่พึ่งของตน
'ตนเป็นที่พึ่งของตน' คือตัวสตินั่นแหล่ะคือ 'ตน' ตัวแรก ตัวที่ให้สร้างอยู่ทุกวัน ความรู้ตัวนี่แหละ เข้าไปอบรมใจ ไปชี้เหตุชี้ผล แต่เวลานี้ใจของเราทั้งหลงทั้งเกิด กว่าจะขัดเกลากิเลสให้เบาบางลงไปได้ ต้องใช้ความเพียรอันยิ่งยวด ใช้ความเพียรอย่างมากมาย ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ จะไปทำเล่นๆ ไม่ได้เลยสิ่งพวกนี้ ถึงจะยากลำบากก็ต้องอดทนกลั้น รู้จักแก้ไขตัวเราปรับปรุงตัวเรา เป็นเรื่องของเรา เรื่องของเราให้จบแล้วก็จะล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ
ความเป็นอยู่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ความเกียจคร้าน สร้างความขยัน ก่อนที่จะนึก ก่อนที่จะคิด ไล่เรียงลงไป อะไรส่วนรูป อะไรส่วนนาม ที่เราพากันสวดทำวัตรทุกเช้าทุกเย็นนั่นแหละ กองรูปกองนามเป็นอย่างไร อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในกายของเราเป็นอย่างไร ท่านถึงบอกว่าไม่เที่ยง ทำไมพวกเราถึงมองเห็นเป็นของเที่ยง ทำไมพวกเราถึงมองเห็นเป็นอัตตา อนัตตา เพราะว่าเรายังแยกแยะไม่ได้
ถ้าแยกได้ ใจคลาย หงายขึ้นมาได้ เราก็จะเข้าใจคำว่า 'อัตตา อนัตตา' เข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์ทันที ว่าหลายร้อยหลายพันปี พระพุทธองค์ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่มีชีวิตท่านก็คงไม่ค้นพบเรื่องการดำเนินชีวิต เรื่องหลักของอริยสัจ วิธีการแนวทาง
เราพยายามทำให้เข้าถึง น้อมนำคำสอนมาไว้ที่ใจของเรา ให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ ไม่ให้เชื่อแบบงมงาย ให้เชื่อด้วยเหตุด้วยผล แล้วก็เจริญสติเข้าไปชี้เหตุชี้ผลจนเกิดปัญญา ท่านถึงบอกให้เชื่อ มีความเป็นกลาง มีเครื่องตัดสินนั่นแหละ ท่านถึงบอกให้เชื่อ ก็ต้องพยายามกัน
วันนี้ไม่เข้าใจ วันพรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า มันไม่เข้าใจก็ไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ อย่าไปทิ้งบุญเด็ดขาด บุญเป็นเข้าพกเข้าห่อติดตามตัวเราไป ไม่ใช่ว่าไปปล่อยปละละเลยทาน อย่าไปทิ้งในการทำบุญในการให้ทาน ทาน ทานกิเลส ทานความยึดมั่นถือมั่น แล้วก็ทานอารมณ์ ทานกิเลสออกจากใจของเราให้มันหมด
ทานแล้วก็ไล่ขึ้นไปถึงศีล สมาธิ มันจะต่อเนื่องกันหมด ถ้าเราแยกรูปแยกนามได้ เราก็จะเข้าใจทุกอย่าง ว่าแต่ละวันๆ เราได้สร้างทำอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์ สร้างอะไรบ้างที่เป็นบารมีสำหรับเรา ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง จนกว่าจะหมดลมหายใจ
ทั้งพระเราชีเราก็พากันขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบ ขยันหมั่นเพียร ประหยัดมัธยัสถ์ รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อย่าไปเกียจคร้าน งอมืองอเท้า เจริญสติไปด้วย เอาการเอางานเป็นการปฏิบัติไปด้วย ทำความเข้าใจไปด้วย สักวันหนึ่งเราก็จะเข้าใจในชีวิตของเรา
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกัน