หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 18
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 18
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 18
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 21 มีนาคม 2564
มีความสุขกันทุกคน เช้านี้ก็เป็นวันพระ มีโอกาสพวกเราก็ได้มาวัดทำบุญสมาทานศีลกัน ตามความเป็นจริงเราต้องทำความเข้าใจทุกเวลานั่นแหละ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ทำความเข้าใจกับชีวิตของเราทำความเข้าใจกับคำว่า "ศีล" ศีลลักษณะไหน ลักษณะของความปกติ ปกติของกาย ของวาจา ของใจ มีผู้รู้เข้าไปดู เข้าไปรู้ ว่ากายปกติใจปกติ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ใจปกตินั่นแหละก็คือศีล ใจไม่ปกติ ไปอคติ ไปเพ่งโทษหรือว่าพูดจาเพ้อเจ้อ ส่อเสียด นั่นก็เป็นศีล
ทุกเรื่อง ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมา รู้กายแล้วก็รู้ใจของตัวเราเอง ส่วนมากก็คิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่ความเกิด ความคิด เราดับไม่ได้ มันก็ไป ส่งออกไปภายนอกอยู่ตลอดเวลา เราก็เลยไปมั่นหมายเอาความคิดเก่า ปัญญาเก่า ว่าเป็นสติปัญญา แต่ก็เป็นสติปัญญาของโลก ของโลกีย์ สติปัญญาโลกีย์ซึ่งเกิดจากใจ ซึ่งเกิดจากใจที่เกิดจากความหลงอยู่ หลงเกิดอยู่ หลงเกิดในหลายชั้น
ใจนี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เราต้องศึกษาเรื่องภพ เรื่องภพเรื่องชาติ ก็กายของเรานี้แหละภพมนุษย์ มีอะไรบ้างในกายของเรา มีของดีเยอะแยะ ท่านถึงให้มาศึกษามาทำความเข้าใจ รู้จักสร้างบุญให้มีให้เกิดขึ้นที่กายก้อนนี้ให้ได้ แต่พวกเราก็ทำบุญกันอยู่ ศรัทธากันอยู่ แต่ขาดปัญญาที่จะเข้าไปจำแนกแจกแจง ตามแนวทางของพระพุทธองค์ ขาดความเข้าใจเรื่องหลักของอริยสัจ ว่าใจส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างไร ความคิดของเรานั่นแหละส่งออกไปภายนอก ถ้าเราไม่คิด เราจะเอาอะไรคิด ท่านถึงให้มาเจริญผู้รู้หรือว่ามาเจริญสติเอาไปวิเคราะห์ เอาไปสังเกต เอาไปใช้อบรมใจของเรา แล้วก็พยายามสร้างบุญสร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม
ศรัทธาความเชื่อมีอยู่ ความเสียสละ การทำบุญให้ทานมีอยู่ ทานอยู่ในระดับไหน ทานวัตถุทาน ทานกิเลส ทานความยึดมั่นถือมั่น จนกระทั่งทานขันธ์ 5 นั่นแหละ แยกรูปแยกนามได้ ตามดูได้ ถึงจะทานขันธ์ 5 ได้
ขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง เราก็ไปมองเห็นตั้งแต่เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ก็ขันธ์ 5 ก็ร่างกายของเรานี่แหละ ดูรู้ให้ชัดเจน ก็ต้องพยายามกัน อย่าไปทิ้งบุญ ตื่นขึ้นมาก็รีบเอาบุญ ทำใจให้เป็นบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ เราก็จะอยู่กับบุญ
เราอย่าให้กิเลสมาเล่นงานเรา กิเลสเกิดขึ้นที่กาย เกิดขึ้นที่ใจ เรารู้จักแก้ไขด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยเหตุด้วยผล เพราะว่าทุกอย่างมีเหตุมีผลหมด เหตุผลทางด้านรูปธรรม เหตุผลทางด้านนามธรรม เรายังจำแนกแจกแจงไม่ได้ เราก็ไม่เห็นเหตุเห็นผล อาจจะรู้เหตุรู้ผลผลอยู่ในระดับของสมมติ ในระดับวิมุตติหลักธรรมแล้ว ถ้ายังแยกแยะไม่ได้ หาความเป็นกลางไม่เข้าข้างตัวเอง เข้าข้างคนอื่นไม่ได้ เราก็ตัดสินไม่ได้ เราต้องหาเครื่องตัดสิน สร้างเครื่องตัดสิน คือความเป็นกลาง ใจของเราต้องว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจะกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น เป็นเอกเป็นหนึ่ง เป็นกลาง นั่นแหละเป็นเครื่องตัดสิน ไม่เข้าข้างตัวเอง เข้าข้างคนอื่น เราก็จะมองเห็นความผิดความถูก ความผิดความถูกระดับไหน ระดับต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา เวลาสมมติ เวลาโลกธรรม
เราก็ยังประโยชน์ให้เต็มเปี่ยม ไม่งอมืองอเท้า ไม่เกียจคร้าน สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละอยู่ตลอดเวลา ไปที่ไหนเราก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์สูงสุด ประโยชน์ในโลกนี้หรือว่าประโยชน์อยู่ปัจจุบัน กายของเราก็ได้รับความสะดวกสบาย ไม่ได้ลำบาก ถ้าสมมติลำบาก กายก็ลำบาก ความเป็นอยู่ก็ลำบาก เราก็ต้องรู้จักแก้ไขด้วยปัญญา รอบรู้ในดวงใจของเรา รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในหลักของอริยสัจ รอบรู้ในวิญญาณในกายของเรา ถ้าเอาจริงๆ แล้วก็ไม่เหลือวิสัย
แต่คนทั่วไปก็เพียงแค่การเจริญสติก็ยังยากอยู่ รู้การหายใจเข้าหายใจออกให้ต่อเนื่องก็ยังยากอยู่ แต่ส่วนบารมีส่วนอื่นนั้นมีกันอยู่ คำว่า 'ปัจจุบันธรรม' คำว่า 'มหาสติ มหาปัญญา' เป็นอย่างไร นี่ถ้าเรามาสร้างความรู้ตัวจนรู้เท่ารู้ทัน จนใจคลายออก ตามทำความเข้าใจ กำลังสติของเราถึงจะพุ่งแรงเป็นมหาสติ จากมหาสติตามค้นคว้าจนกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญาจนกลายเป็นปัญญารอบรู้ในกองสังขาร จนไม่ได้สร้าง สติ-ปัญญา-สมาธิเขาจะรักษาเราเอง
ช่วงใหม่ๆ เราต้องสร้างขึ้นมา แล้วก็รู้จักชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เพราะทุกอย่างก็ล้วนลงที่เหตุ มีเหตุหมด ไม่ใช่ว่าปฏิบัติแบบหลงงมงาย ปฏิบัติต้องมีศรัทธาแล้วก็ปัญญา ปัญญาต้องแก่กล้าด้วย สติปัญญาต้องแก่กล้าด้วย ถึงจะรู้ความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าเอาตั้งแต่ศรัทธานำหน้า ปัญญาไม่มี มันก็พากันหลงงมงาย มองหาเหตุหาผลไม่เจอ มันก็หลงกันไปอยู่อย่างนั้น แต่ก็ว่าเราไม่หลงนะ
นอกจากบุคคลที่มาเจริญสติแล้ว รู้จักลักษณะของสติปัญญาแล้ว ที่ต่อเนื่องกันถึงจะรู้ว่าสติปัจจุบันของเรานี้มันแทบไม่มีเลย ถ้าเราทำให้ต่อเนื่องถึงจะรู้ว่าสติเรามีบ้าง เจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ ปฏิบัติธรรมไม่รู้จักทำ มันจะเข้าถึงธรรมได้ยังไง เราก็ต้องพยายาม พยายามเอาไม่เหลือวิสัย
ต่อไปก็จะได้ให้คุณหมอพาสมาทานศีล ไหว้พระกันเสียก่อน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ ให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ทำ นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะหยุดไม่ได้เด็ดขาดก็ให้หยุดขณะที่เรากำลังเจริญสติอยู่นี่แหละ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การที่เราสูดลมหายใจยาว แล้วก็ผ่อนลมหายใจยาว กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'สติรู้กาย'
หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ถ้าเราไม่เกิดความเคยชินนี่ก็รู้สึกว่าหายใจอึดอัด แน่นหน้าอกบ้าง สมองตึงเครียดบ้าง ยิ่งไม่เข้าใจเท่าไหร่ เรายิ่งเพิ่มทำความเพียรให้มากขึ้น
เพียรจนรู้ว่า ลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกเป็นอย่างนี้นะ ลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกออกเป็นลักษณะอย่างนี้ เรารู้ให้ต่อเนื่อง ภาษาธรรมท่านเรียกว่า 'รู้กาย' แล้วก็ 'สัมปชัญญะ' มีความรู้ตัวทั่วพร้อม ขณะที่เรามีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่นี้แหละ บางทีใจของเราก็คิดไปโน่นคิดไปนี่ บางทีก็มีความคิดที่ไม่ใช่เกิดจากใจผุดขึ้นมา ความคิดเดิมนั้นมีอยู่ ที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ 5 นั้นมีอยู่ ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเราก็จะเห็น
แต่เวลานี้ความรู้ตัวของเราไม่ค่อยจะมีกันเท่าไหร่ ไม่ค่อยจะฝึกตัวนี้กันเท่าไหร่ ก็เลยไปเอาความคิดเก่า ปัญญาเก่าที่เกิดจากใจบ้าง เกิดจากขันธ์ 5 บ้าง บางทีก็รวมกับส่วนปัญญาบ้าง รวมกันไปทั้งก้อน คิดก็รู้ทำก็รู้ อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยังหลงอยู่ เพราะว่าใจยังเกิด ยังหลง ยังยึดอยู่
เรามาสร้างความรู้ตัว หรือว่ามาเจริญผู้รู้เข้าไปอบรมใจของเรา ภาษาธรรมะท่านเรียกว่า 'ตนเป็นที่พึ่งของตน' ตน 2 ตัว 'ตน' ตัวแรกคือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ 'ตน' ตัวที่ 2 ก็คือตัวใจนั่นแหละ ใจนี้ยังแยกออกไปอีก แยกออก แยกรูปแยกนามอีก ว่าไปหลงขันธ์ 5 ได้ยังไงอีก
ขันธ์ 5 มีเรื่องอะไร ที่ทำวัตรสวดมนต์เช้า ทุกเช้าทุกเย็นไม่ว่าอยู่ที่ไหน ถ้าทำวัตรสวดมนต์แปล เราก็จะรู้ว่ากองสังขาร กองวิญญาณ กองรูป กองนาม มันไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราก็จะเห็นตรงนั้น ถ้าใจรู้จักลักษณะอาการของใจว่าเขาเกิดตรงไหน เรื่องอะไรที่เกิด เขาเกิดตรงไหนเขาก็อยู่ตรงนั้นแหละ ให้รู้ด้วยความรู้สึกตัว รับรู้ เราจะไปคิดหาหนทางว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ นั่นยิ่งห่างไกล เราก็พยายาม
แต่ละวันๆ ตื่นขึ้นมาเราได้ประโยชน์อะไรจากกายก้อนนี้ เราได้บุญอะไรจากใจดวงนี้บ้าง เราสร้างอะไร ใจของเรามีความสุขหรือไม่ เราละกิเลสได้ระดับไหน ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ เราสร้างกุศลอะไรบ้าง อะไรที่จะเป็นประโยชน์ เราพยายามบำเพ็ญ นี่แหละเขาเรียกว่า 'ตบะ' เราพยายามอดทนอดกลั้น ใจจะเกิดความโลภ เราก็พยายามอด เราพยายามละ นี่ก็เรียกว่า 'ตบะ' เหมือนกัน ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธของเรา เราดับตั้งแต่ต้นเหตุ ตั้งแต่เริ่มก่อตัว แล้วก็ไม่ให้ออกทางกาย ทางวาจา ถ้าจะออกทางกาย ทางวาจา เราก็ใช้ปัญญาหลบหลีก หาวิธีแก้ไข ปรับปรุงตัวใจเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งใจของเราก็จะรู้ความเป็นจริงว่า ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ความคิดไม่เที่ยง กิเลสมันมาเล่นงานเรา ใจของเราก็จะได้เบาบางจากกิเลส จนไม่เหลือนั่นแหละ
ใจดวงเดิมที่แท้จริงนั้น จริงๆ นั้นสะอาดบริสุทธิ์ เพราะความไม่รู้ ความหลงเข้าครอบงำ ไม่รู้ว่ากี่ภพกี่ชาติแล้ว แล้วก็มาอยู่ในภพของมนุษย์ ขณะมีกายเนื้ออยู่เขาก็ยังหลงต่อ คือเกิดต่อ บางทีก็ยึดบ้างไม่ยึดบ้าง บางทีก็ยินดีร้าย ผลักไส ดึงเข้ามา สารพัดอย่าง
ถ้ากำลังสติของเรามีมาก เราก็จะเห็น เห็นแล้วก็ทำความเข้าใจ แล้วก็ค่อยละ รู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักภาษาธรรม รู้จักภาษาโลก รู้จักอาการลักษณะหน้าตาอาการ กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหมดทำหน้าที่อย่างไร เราก็จะได้มองเห็นชัดเจน ว่ากิเลสตัวไหนจะมาเล่นงานเรา
กิเลสเกิดขึ้นที่กายเราจะแก้ไขอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่ใจเราจะแก้ไขอย่างไร เหตุมาจากไหน ทุกอย่างล้วนเกิดแต่เหตุ เราพยายามหมั่นวิเคราะห์ เหตุภายนอก เหตุภายใน เหตุสมมติ เหตุวิมุตติ
ศาสนาของพระพุทธองค์เป็นศาสนาที่มีเหตุมีผลที่สุด แต่พวกเราเข้าไม่ถึงเหตุ ไม่เห็นต้นเหตุ มีแต่สร้างเหตุเข้ามาปิดกั้นตัวใจเอาไว้ มันก็เลยหนาขึ้นเป็นทวีคูณ มันก็เลยขัดเกลาเอาออกเหมือนกับสันดอน สันดาน ค่อยขัดเกลาเอาออกก็จะเหลือแต่ความบริสุทธิ์ อย่าไปทิ้งบุญเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็อย่าไปทิ้งบุญ
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา คิดดีก็เป็นบุญ ทำดีก็เป็นบุญ การกระทำของเราให้ถึงพร้อม ไม่ว่าอยู่ที่ไหน โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด บุคคลที่มีบุญจะไม่ปล่อยโอกาสทิ้ง จะไขว่คว้า ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย มันก็ได้เพิ่มบุญบารมีของเราไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหมด มีตั้งแต่จากความอิ่มความเต็ม
เพราะว่าคนเราเกิดมาเท่าไหร่ นำความตายมาตั้งแต่เกิด มีการเกิดการดับ การเกิดการดับ เกิดดับทางกายเนื้อก็มี เกิดดับทางด้านจิตวิญญาณ อันนี้แหละเราเข้าไม่ถึง กายเนื้อนี่ยังไงๆ ถึงเวลาเขาก็ต้องแตกดับ แต่ละวันๆ นี่มีคนตายมารับเอาโลงศพทุกวัน เมื่อวานนี้ก็ 7 โลง 5 โลงบ้าง 7 โลงบ้าง 3 โลงบ้าง 4 โลงบ้าง แต่ละวันนี่ไม่ขาด
นี่แหละความตายมาเยือนทุกคน ถ้าพูดถึงเรื่องความตายแล้วล่ะก็จะพากันไม่ค่อยจะสนใจ มีความกลัวกัน แต่ในหลักธรรมเขาให้ทำความเข้าใจรู้เห็นตามความเป็นจริงถึงวาระเวลาก็ไป ไม่ถึงวาระเวลาเราก็ไม่ได้ไป ถ้าขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่เรารีบตักตวง ยังประโยชน์ ยังบุญให้เกิดขึ้น หากำไรชีวิตของเราให้ได้ในกายก้อนนี้
จากน้อยๆ ไปหามากๆ สักวันหนึ่งก็เต็ม สักวันหนึ่งเราก็มองเห็นหนทางเดิน ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ก็ต้องพยายามกัน อันนี้ก็...แต่ละวันๆ ผ่านเร็วไว เดือนหน้าพฤษภาคมหลวงพ่อก็จะได้พาทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่บนเศียรพระโพธิสัตว์กวนอิม ซึ่งพวกเราญาติโยมได้ร่วมช่วยกันทำ ก็จะได้ทำพิธีถวายมอบให้กับทางสงฆ์ ให้เป็นสมบัติของรวม ให้เป็นสมบัติของส่วนกลาง
เมื่อวานนี้ หลวงพ่อก็ขอขอบใจ ขอบคุณเหล่ามนุษย์เหล่าเทวดาที่มาร่วมกันช่วยกันผูกเหล็ก ทำฐานองค์พระ ก็จะได้เทเร็วๆ นี้แหละ ภายในเทฐานเสร็จเมื่อไหร่ก็จะได้เทองค์พระอีกองค์ องค์แทนพระพุทธองค์ เป็นที่ระลึกนึกถึงคุณของท่าน เป็นที่บูชาของเหล่ามนุษย์ของเหล่าเทวดา คำสอนของท่านก็ยังอยู่ ท่านชี้เหตุชี้ผล สอนเรื่องการดับทุกข์ การทำความเข้าใจ สอนเรื่องหลักของอริยสัจ สอนเรื่องการวิปัสสนาทำอย่างไร หนทางใดที่จะเข้าได้ถึงตรงนั้น ทำอย่างไรถึงจะปรากฏสิ่งนี้
ท่านค้นพบแล้วก็เอามาจำแนกแจกแจง พวกเราพยายามทำตามเถอะ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ อันนี้คือสมมติ อันนี้คือวิมุตติ ทุกเรื่อง ในชีวิตของเรา เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น อย่างน้อยๆ ก็ให้อยู่ในกองบุญเอาไว้ก็ยังดี
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กันพากันไปทำความเข้าใจกันต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 21 มีนาคม 2564
มีความสุขกันทุกคน เช้านี้ก็เป็นวันพระ มีโอกาสพวกเราก็ได้มาวัดทำบุญสมาทานศีลกัน ตามความเป็นจริงเราต้องทำความเข้าใจทุกเวลานั่นแหละ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ทำความเข้าใจกับชีวิตของเราทำความเข้าใจกับคำว่า "ศีล" ศีลลักษณะไหน ลักษณะของความปกติ ปกติของกาย ของวาจา ของใจ มีผู้รู้เข้าไปดู เข้าไปรู้ ว่ากายปกติใจปกติ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ใจปกตินั่นแหละก็คือศีล ใจไม่ปกติ ไปอคติ ไปเพ่งโทษหรือว่าพูดจาเพ้อเจ้อ ส่อเสียด นั่นก็เป็นศีล
ทุกเรื่อง ทุกเรื่องตั้งแต่ตื่นขึ้นมา รู้กายแล้วก็รู้ใจของตัวเราเอง ส่วนมากก็คิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่ความเกิด ความคิด เราดับไม่ได้ มันก็ไป ส่งออกไปภายนอกอยู่ตลอดเวลา เราก็เลยไปมั่นหมายเอาความคิดเก่า ปัญญาเก่า ว่าเป็นสติปัญญา แต่ก็เป็นสติปัญญาของโลก ของโลกีย์ สติปัญญาโลกีย์ซึ่งเกิดจากใจ ซึ่งเกิดจากใจที่เกิดจากความหลงอยู่ หลงเกิดอยู่ หลงเกิดในหลายชั้น
ใจนี่หลงมาตั้งแต่ยังไม่ได้เกิด หลงอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ เราต้องศึกษาเรื่องภพ เรื่องภพเรื่องชาติ ก็กายของเรานี้แหละภพมนุษย์ มีอะไรบ้างในกายของเรา มีของดีเยอะแยะ ท่านถึงให้มาศึกษามาทำความเข้าใจ รู้จักสร้างบุญให้มีให้เกิดขึ้นที่กายก้อนนี้ให้ได้ แต่พวกเราก็ทำบุญกันอยู่ ศรัทธากันอยู่ แต่ขาดปัญญาที่จะเข้าไปจำแนกแจกแจง ตามแนวทางของพระพุทธองค์ ขาดความเข้าใจเรื่องหลักของอริยสัจ ว่าใจส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างไร ความคิดของเรานั่นแหละส่งออกไปภายนอก ถ้าเราไม่คิด เราจะเอาอะไรคิด ท่านถึงให้มาเจริญผู้รู้หรือว่ามาเจริญสติเอาไปวิเคราะห์ เอาไปสังเกต เอาไปใช้อบรมใจของเรา แล้วก็พยายามสร้างบุญสร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม
ศรัทธาความเชื่อมีอยู่ ความเสียสละ การทำบุญให้ทานมีอยู่ ทานอยู่ในระดับไหน ทานวัตถุทาน ทานกิเลส ทานความยึดมั่นถือมั่น จนกระทั่งทานขันธ์ 5 นั่นแหละ แยกรูปแยกนามได้ ตามดูได้ ถึงจะทานขันธ์ 5 ได้
ขันธ์ 5 มีอะไรบ้าง เราก็ไปมองเห็นตั้งแต่เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ก็ขันธ์ 5 ก็ร่างกายของเรานี่แหละ ดูรู้ให้ชัดเจน ก็ต้องพยายามกัน อย่าไปทิ้งบุญ ตื่นขึ้นมาก็รีบเอาบุญ ทำใจให้เป็นบุญ ทำกายให้เป็นบุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ เราก็จะอยู่กับบุญ
เราอย่าให้กิเลสมาเล่นงานเรา กิเลสเกิดขึ้นที่กาย เกิดขึ้นที่ใจ เรารู้จักแก้ไขด้วยสติด้วยปัญญา ด้วยเหตุด้วยผล เพราะว่าทุกอย่างมีเหตุมีผลหมด เหตุผลทางด้านรูปธรรม เหตุผลทางด้านนามธรรม เรายังจำแนกแจกแจงไม่ได้ เราก็ไม่เห็นเหตุเห็นผล อาจจะรู้เหตุรู้ผลผลอยู่ในระดับของสมมติ ในระดับวิมุตติหลักธรรมแล้ว ถ้ายังแยกแยะไม่ได้ หาความเป็นกลางไม่เข้าข้างตัวเอง เข้าข้างคนอื่นไม่ได้ เราก็ตัดสินไม่ได้ เราต้องหาเครื่องตัดสิน สร้างเครื่องตัดสิน คือความเป็นกลาง ใจของเราต้องว่าง ว่างจากการเกิด ว่างจะกิเลส ว่างจากความยึดมั่นถือมั่น เป็นเอกเป็นหนึ่ง เป็นกลาง นั่นแหละเป็นเครื่องตัดสิน ไม่เข้าข้างตัวเอง เข้าข้างคนอื่น เราก็จะมองเห็นความผิดความถูก ความผิดความถูกระดับไหน ระดับต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ไม่ปล่อยวันเวลาทิ้ง เสียดายเวลา เวลาสมมติ เวลาโลกธรรม
เราก็ยังประโยชน์ให้เต็มเปี่ยม ไม่งอมืองอเท้า ไม่เกียจคร้าน สร้างความขยันหมั่นเพียร สร้างความรับผิดชอบ สร้างความเสียสละอยู่ตลอดเวลา ไปที่ไหนเราก็ได้ประโยชน์ทั้งนั้น ประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ใกล้ ประโยชน์ไกล ประโยชน์สูงสุด ประโยชน์ในโลกนี้หรือว่าประโยชน์อยู่ปัจจุบัน กายของเราก็ได้รับความสะดวกสบาย ไม่ได้ลำบาก ถ้าสมมติลำบาก กายก็ลำบาก ความเป็นอยู่ก็ลำบาก เราก็ต้องรู้จักแก้ไขด้วยปัญญา รอบรู้ในดวงใจของเรา รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในหลักของอริยสัจ รอบรู้ในวิญญาณในกายของเรา ถ้าเอาจริงๆ แล้วก็ไม่เหลือวิสัย
แต่คนทั่วไปก็เพียงแค่การเจริญสติก็ยังยากอยู่ รู้การหายใจเข้าหายใจออกให้ต่อเนื่องก็ยังยากอยู่ แต่ส่วนบารมีส่วนอื่นนั้นมีกันอยู่ คำว่า 'ปัจจุบันธรรม' คำว่า 'มหาสติ มหาปัญญา' เป็นอย่างไร นี่ถ้าเรามาสร้างความรู้ตัวจนรู้เท่ารู้ทัน จนใจคลายออก ตามทำความเข้าใจ กำลังสติของเราถึงจะพุ่งแรงเป็นมหาสติ จากมหาสติตามค้นคว้าจนกลายเป็นมหาปัญญา จากมหาปัญญาจนกลายเป็นปัญญารอบรู้ในกองสังขาร จนไม่ได้สร้าง สติ-ปัญญา-สมาธิเขาจะรักษาเราเอง
ช่วงใหม่ๆ เราต้องสร้างขึ้นมา แล้วก็รู้จักชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล เพราะทุกอย่างก็ล้วนลงที่เหตุ มีเหตุหมด ไม่ใช่ว่าปฏิบัติแบบหลงงมงาย ปฏิบัติต้องมีศรัทธาแล้วก็ปัญญา ปัญญาต้องแก่กล้าด้วย สติปัญญาต้องแก่กล้าด้วย ถึงจะรู้ความเป็นจริง ไม่ใช่ว่าเอาตั้งแต่ศรัทธานำหน้า ปัญญาไม่มี มันก็พากันหลงงมงาย มองหาเหตุหาผลไม่เจอ มันก็หลงกันไปอยู่อย่างนั้น แต่ก็ว่าเราไม่หลงนะ
นอกจากบุคคลที่มาเจริญสติแล้ว รู้จักลักษณะของสติปัญญาแล้ว ที่ต่อเนื่องกันถึงจะรู้ว่าสติปัจจุบันของเรานี้มันแทบไม่มีเลย ถ้าเราทำให้ต่อเนื่องถึงจะรู้ว่าสติเรามีบ้าง เจริญสติไม่รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ ปฏิบัติธรรมไม่รู้จักทำ มันจะเข้าถึงธรรมได้ยังไง เราก็ต้องพยายาม พยายามเอาไม่เหลือวิสัย
ต่อไปก็จะได้ให้คุณหมอพาสมาทานศีล ไหว้พระกันเสียก่อน
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ ให้ต่อเนื่องกันสักนิดนึงก็ยังดี ดีกว่าไม่ทำ นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราจะหยุดไม่ได้เด็ดขาดก็ให้หยุดขณะที่เรากำลังเจริญสติอยู่นี่แหละ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย เสียงก็สักแต่ว่าเสียง
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ สัก 2-3 เที่ยว การที่เราสูดลมหายใจยาว แล้วก็ผ่อนลมหายใจยาว กายของเราก็รู้สึกว่าสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็จะสงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกสัมผัสของลมหายใจ ที่วิ่งเข้ากระทบปลายจมูกของเรานั่นแหละที่ท่านเรียกว่า 'สติรู้กาย'
หายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ หายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ถ้าเราไม่เกิดความเคยชินนี่ก็รู้สึกว่าหายใจอึดอัด แน่นหน้าอกบ้าง สมองตึงเครียดบ้าง ยิ่งไม่เข้าใจเท่าไหร่ เรายิ่งเพิ่มทำความเพียรให้มากขึ้น
เพียรจนรู้ว่า ลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกเป็นอย่างนี้นะ ลมวิ่งเข้ากระทบปลายจมูกออกเป็นลักษณะอย่างนี้ เรารู้ให้ต่อเนื่อง ภาษาธรรมท่านเรียกว่า 'รู้กาย' แล้วก็ 'สัมปชัญญะ' มีความรู้ตัวทั่วพร้อม ขณะที่เรามีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่นี้แหละ บางทีใจของเราก็คิดไปโน่นคิดไปนี่ บางทีก็มีความคิดที่ไม่ใช่เกิดจากใจผุดขึ้นมา ความคิดเดิมนั้นมีอยู่ ที่เกิดจากใจ เกิดจากขันธ์ 5 นั้นมีอยู่ ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเราก็จะเห็น
แต่เวลานี้ความรู้ตัวของเราไม่ค่อยจะมีกันเท่าไหร่ ไม่ค่อยจะฝึกตัวนี้กันเท่าไหร่ ก็เลยไปเอาความคิดเก่า ปัญญาเก่าที่เกิดจากใจบ้าง เกิดจากขันธ์ 5 บ้าง บางทีก็รวมกับส่วนปัญญาบ้าง รวมกันไปทั้งก้อน คิดก็รู้ทำก็รู้ อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักธรรมแล้วยังหลงอยู่ เพราะว่าใจยังเกิด ยังหลง ยังยึดอยู่
เรามาสร้างความรู้ตัว หรือว่ามาเจริญผู้รู้เข้าไปอบรมใจของเรา ภาษาธรรมะท่านเรียกว่า 'ตนเป็นที่พึ่งของตน' ตน 2 ตัว 'ตน' ตัวแรกคือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ 'ตน' ตัวที่ 2 ก็คือตัวใจนั่นแหละ ใจนี้ยังแยกออกไปอีก แยกออก แยกรูปแยกนามอีก ว่าไปหลงขันธ์ 5 ได้ยังไงอีก
ขันธ์ 5 มีเรื่องอะไร ที่ทำวัตรสวดมนต์เช้า ทุกเช้าทุกเย็นไม่ว่าอยู่ที่ไหน ถ้าทำวัตรสวดมนต์แปล เราก็จะรู้ว่ากองสังขาร กองวิญญาณ กองรูป กองนาม มันไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราก็จะเห็นตรงนั้น ถ้าใจรู้จักลักษณะอาการของใจว่าเขาเกิดตรงไหน เรื่องอะไรที่เกิด เขาเกิดตรงไหนเขาก็อยู่ตรงนั้นแหละ ให้รู้ด้วยความรู้สึกตัว รับรู้ เราจะไปคิดหาหนทางว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ นั่นยิ่งห่างไกล เราก็พยายาม
แต่ละวันๆ ตื่นขึ้นมาเราได้ประโยชน์อะไรจากกายก้อนนี้ เราได้บุญอะไรจากใจดวงนี้บ้าง เราสร้างอะไร ใจของเรามีความสุขหรือไม่ เราละกิเลสได้ระดับไหน ต้นเหตุ กลางเหตุ ปลายเหตุ เราสร้างกุศลอะไรบ้าง อะไรที่จะเป็นประโยชน์ เราพยายามบำเพ็ญ นี่แหละเขาเรียกว่า 'ตบะ' เราพยายามอดทนอดกลั้น ใจจะเกิดความโลภ เราก็พยายามอด เราพยายามละ นี่ก็เรียกว่า 'ตบะ' เหมือนกัน ใจเกิดความโกรธ เราก็พยายามดับความโกรธของเรา เราดับตั้งแต่ต้นเหตุ ตั้งแต่เริ่มก่อตัว แล้วก็ไม่ให้ออกทางกาย ทางวาจา ถ้าจะออกทางกาย ทางวาจา เราก็ใช้ปัญญาหลบหลีก หาวิธีแก้ไข ปรับปรุงตัวใจเราอยู่ตลอดเวลา สักวันหนึ่งใจของเราก็จะรู้ความเป็นจริงว่า ขันธ์ 5 ไม่เที่ยง ความคิดไม่เที่ยง กิเลสมันมาเล่นงานเรา ใจของเราก็จะได้เบาบางจากกิเลส จนไม่เหลือนั่นแหละ
ใจดวงเดิมที่แท้จริงนั้น จริงๆ นั้นสะอาดบริสุทธิ์ เพราะความไม่รู้ ความหลงเข้าครอบงำ ไม่รู้ว่ากี่ภพกี่ชาติแล้ว แล้วก็มาอยู่ในภพของมนุษย์ ขณะมีกายเนื้ออยู่เขาก็ยังหลงต่อ คือเกิดต่อ บางทีก็ยึดบ้างไม่ยึดบ้าง บางทีก็ยินดีร้าย ผลักไส ดึงเข้ามา สารพัดอย่าง
ถ้ากำลังสติของเรามีมาก เราก็จะเห็น เห็นแล้วก็ทำความเข้าใจ แล้วก็ค่อยละ รู้เท่ารู้ทัน รู้กันรู้แก้ รู้จักทำความเข้าใจ รู้จักภาษาธรรม รู้จักภาษาโลก รู้จักอาการลักษณะหน้าตาอาการ กายทำหน้าที่อย่างไร ทวารทั้งหมดทำหน้าที่อย่างไร เราก็จะได้มองเห็นชัดเจน ว่ากิเลสตัวไหนจะมาเล่นงานเรา
กิเลสเกิดขึ้นที่กายเราจะแก้ไขอย่างไร กิเลสเกิดขึ้นที่ใจเราจะแก้ไขอย่างไร เหตุมาจากไหน ทุกอย่างล้วนเกิดแต่เหตุ เราพยายามหมั่นวิเคราะห์ เหตุภายนอก เหตุภายใน เหตุสมมติ เหตุวิมุตติ
ศาสนาของพระพุทธองค์เป็นศาสนาที่มีเหตุมีผลที่สุด แต่พวกเราเข้าไม่ถึงเหตุ ไม่เห็นต้นเหตุ มีแต่สร้างเหตุเข้ามาปิดกั้นตัวใจเอาไว้ มันก็เลยหนาขึ้นเป็นทวีคูณ มันก็เลยขัดเกลาเอาออกเหมือนกับสันดอน สันดาน ค่อยขัดเกลาเอาออกก็จะเหลือแต่ความบริสุทธิ์ อย่าไปทิ้งบุญเด็ดขาด ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็อย่าไปทิ้งบุญ
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา คิดดีก็เป็นบุญ ทำดีก็เป็นบุญ การกระทำของเราให้ถึงพร้อม ไม่ว่าอยู่ที่ไหน โอกาสเปิด กาลเวลาเปิด บุคคลที่มีบุญจะไม่ปล่อยโอกาสทิ้ง จะไขว่คว้า ทำมากก็เป็นของเรา ทำน้อยก็เป็นของเรา เห็นคนอื่นทำเราก็พลอยอนุโมทนาสาธุด้วย มันก็ได้เพิ่มบุญบารมีของเราไปเรื่อยๆ ไม่มีวันหมด มีตั้งแต่จากความอิ่มความเต็ม
เพราะว่าคนเราเกิดมาเท่าไหร่ นำความตายมาตั้งแต่เกิด มีการเกิดการดับ การเกิดการดับ เกิดดับทางกายเนื้อก็มี เกิดดับทางด้านจิตวิญญาณ อันนี้แหละเราเข้าไม่ถึง กายเนื้อนี่ยังไงๆ ถึงเวลาเขาก็ต้องแตกดับ แต่ละวันๆ นี่มีคนตายมารับเอาโลงศพทุกวัน เมื่อวานนี้ก็ 7 โลง 5 โลงบ้าง 7 โลงบ้าง 3 โลงบ้าง 4 โลงบ้าง แต่ละวันนี่ไม่ขาด
นี่แหละความตายมาเยือนทุกคน ถ้าพูดถึงเรื่องความตายแล้วล่ะก็จะพากันไม่ค่อยจะสนใจ มีความกลัวกัน แต่ในหลักธรรมเขาให้ทำความเข้าใจรู้เห็นตามความเป็นจริงถึงวาระเวลาก็ไป ไม่ถึงวาระเวลาเราก็ไม่ได้ไป ถ้าขณะที่ยังมีลมหายใจอยู่เรารีบตักตวง ยังประโยชน์ ยังบุญให้เกิดขึ้น หากำไรชีวิตของเราให้ได้ในกายก้อนนี้
จากน้อยๆ ไปหามากๆ สักวันหนึ่งก็เต็ม สักวันหนึ่งเราก็มองเห็นหนทางเดิน ไม่ถึงช้าก็ต้องถึงเร็ว ก็ต้องพยายามกัน อันนี้ก็...แต่ละวันๆ ผ่านเร็วไว เดือนหน้าพฤษภาคมหลวงพ่อก็จะได้พาทำพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่บนเศียรพระโพธิสัตว์กวนอิม ซึ่งพวกเราญาติโยมได้ร่วมช่วยกันทำ ก็จะได้ทำพิธีถวายมอบให้กับทางสงฆ์ ให้เป็นสมบัติของรวม ให้เป็นสมบัติของส่วนกลาง
เมื่อวานนี้ หลวงพ่อก็ขอขอบใจ ขอบคุณเหล่ามนุษย์เหล่าเทวดาที่มาร่วมกันช่วยกันผูกเหล็ก ทำฐานองค์พระ ก็จะได้เทเร็วๆ นี้แหละ ภายในเทฐานเสร็จเมื่อไหร่ก็จะได้เทองค์พระอีกองค์ องค์แทนพระพุทธองค์ เป็นที่ระลึกนึกถึงคุณของท่าน เป็นที่บูชาของเหล่ามนุษย์ของเหล่าเทวดา คำสอนของท่านก็ยังอยู่ ท่านชี้เหตุชี้ผล สอนเรื่องการดับทุกข์ การทำความเข้าใจ สอนเรื่องหลักของอริยสัจ สอนเรื่องการวิปัสสนาทำอย่างไร หนทางใดที่จะเข้าได้ถึงตรงนั้น ทำอย่างไรถึงจะปรากฏสิ่งนี้
ท่านค้นพบแล้วก็เอามาจำแนกแจกแจง พวกเราพยายามทำตามเถอะ การเจริญสติเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ อันนี้คือสมมติ อันนี้คือวิมุตติ ทุกเรื่อง ในชีวิตของเรา เราต้องทำความเข้าใจให้ได้ ใช้ตัวเองให้เป็น อย่างน้อยๆ ก็ให้อยู่ในกองบุญเอาไว้ก็ยังดี
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กันพากันไปทำความเข้าใจกันต่อให้รู้ทุกอิริยาบถ