หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 4
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 4
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2564 ลำดับที่ 4
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 16 มกราคม 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนแล้วก็ให้ต่อเนื่อง
ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยังถ้ายังก็เริ่มเสียนะ หลวงพ่อก็เป็นแค่เพียง แค่บอกแค่กล่าว แค่ย้ำแค่เตือน พวกเรารู้จักวิธีการแนวทางก็พากันทำ ทำให้ต่อเนื่อง หมั่นวิเคราะห์ หมั่นสร้างความรู้ตัว รู้ตัว รู้การหายใจเข้าออก อันนี้เขาเรียกว่า 'รู้กาย'
ทุกเรื่อง ทุกเรื่องในชีวิตของเรา รู้กาย รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ความปกติ ลึกลงไปเราก็จะรู้ใจของเรา หรือว่ารู้วิญญาณในกายของเรา หรือว่าใจของเรา
ใจของเราเกิดส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร ใจของเราไปหลงยึดติดในขันธ์ 5 ได้อย่างไร ใจของเราเกิดกิเลสได้อย่างไร เราพยายามหมั่นสำรวจ หมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ หมั่นแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ว่าอะไรขาดตกบกพร่อง
เพียงแค่ระดับสมมติ ระดับสมมติเราก็ต้องพยายามวิเคราะห์ เราขาดตกบกพร่องอะไร เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เรามีความอดทนหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าจะเอาแต่ธรรม มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำมันจะไปได้อะไร
พระเกียจคร้าน ชีเกียจคร้าน ฆราวาสเกียจคร้าน ไม่ดีทั้งนั้น ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยัน ขยันหมั่นเพียร รู้จักวิเคราะห์ อะไรดี อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรเป็นกุศลหรือว่าอกุศล หมั่นอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลานั่นแหละ จนเป็นอัตโนมัติในการดูในการรู้ เพียงแค่ขั้นพื้นฐานก็ทำให้ได้เสียก่อน
ศรัทธา ความเชื่อ ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ความเสียสละในการทำบุญ ในการให้ทาน มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป มีหิริโอตัปปะ เรารู้จักแก้ไขตัวเรา
แต่การเจริญสติรู้จักลักษณะของคำว่า 'สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน' ตรงนี้แหละไม่ค่อยจะทำกันเท่าไหร่ ปล่อยเลยตามเลย กว่าจะระลึกได้ที วันหนึ่งมีกี่นาที วันหนึ่งมีกี่ชั่วโมง สติรู้กาย สติรู้ใจของเราต่อเนื่องกันสัก 5 นาที 10 นาที อันนี้ก็ทั้งยากลำบาก ถ้าไม่ใช่เป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ ขยันหมั่นเพียรเจริญสติ รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ ไปวิเคราะห์ ไปอบรมใจของเรา
รู้ไม่ทันการเกิดของใจก็รู้จักดับ รู้จักควบคุมอารมณ์ ควบคุมกาย ควบคุมวาจา แล้วก็ควบคุมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักวิธีการแนวทางแล้ว ฟังนิดเดียว การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ การสังเกตเป็นอย่างนี้นะ รู้ไม่ทัน เราก็รู้จักดับรู้จักหยุดเอาไว้
ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างนี้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง แยกรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจของเรา ทวารทั้ง 6 เขาก็ทำหน้าที่ของเขา ใจเกิดกิเลสเรารู้จักดับ รู้จักแก้ไขหรือไม่ ใจเกิดความโลภ เกิดความโกรธ เราก็รู้จักดับ รู้จักให้อภัย รู้จักอโหสิกรรม รู้จักการให้ การคลาย การเอาออก หมั่นปรับปรุงแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนไม่มีอะไรที่จะมาให้เราแก้ไขได้นั่นแหละ จนใจของเราไม่มีกิเลสนั่นแหละ จนถึงความบริสุทธิ์ ความสะอาด ความหลุดพ้น อันนี้เป็นผลบั้นปลาย
เราต้องดูที่ต้นเหตุ ต้องเข้าไปถึงต้นเหตุ ทำไมเราถึงลำบาก ทำไมเราถึงขาดตกบกพร่อง ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความรับผิดชอบ การกระทำของเรามีความถึงพร้อมหรือเปล่า เราต้องพยายามหมั่นดูแล หมั่นแก้ไข หมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ เป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ถ้าความเกียจคร้านเข้าครอบงำครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้ง ก็หมักหมมเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าใจของเราเกิดกิเลสมันก็ค่อยสะสมไปเรื่อยๆ
ถ้าเราหมั่นเอาออก หมั่นคลาย ใจเกิดความโลภ ละความโลภ ใจเกิดความโกรธ ละความโกรธ ด้วยการให้อภัยทาน อโหสิกรรม ทำในสิ่งตรงกันข้ามกับกิเลส สักวันหนึ่งเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทาง
เพียงแค่ชั่วโมงเดียว สติของเราต่อเนื่องกันได้หรือไม่ วันหนึ่งมีเท่าไหร่ สติเราพลั้งเผลอไปเท่าไหร่ จากวันเป็นเดือนเป็นปี จนเราทำจนเป็นปกติวิสัยของเรา นั่นแหละ บุคคลเช่นนี้แหละจะมองเห็นหนทางเดิน
ถ้าใจของเราคลายออกจากขันธ์ 5 หรือว่าแยกรูปแยกนามได้เมื่อไหร่ ความเห็นถูกถึงจะปรากฏเปิดทางให้ ใจของเราส่งออกไปภายนอกรวมกับขันธ์ 5 ซึ่งภาษาธรรมท่านเรียกว่า สมุทัยนิโรธ การดับ การละ เป็นอย่างไร การแก้ไขเป็นอย่างไร การปรับปรุงใจของเราตลอดเวลา
อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ไม่จำเป็นต้องไปพูดคุยอะไรกันมากหรอก เพียงแค่รู้จักวิธีการแนวทางแล้ว กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกจากกิเลส วิเวกจากอารมณ์เป็นอย่างนี้ กายวิเวกจากพันธะภาระต่างๆ
ถ้าเราเข้าใจแล้ว เราก็เอาการงานนั่นแหละเป็นการปฏิบัติ ทำงานไปด้วย ใจรับรู้ไปด้วย ละความเกียจคร้านไปด้วย ละนิวรณ์ไปด้วย เพียงแค่ขั้นพื้นฐานก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี ไม่ต้องไปหวังผลอะไรมากมาย
จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อย่าไปโทษคนอื่น ส่วนมากก็ไปมองแต่คนอื่น คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ มีแต่เรื่องของคนอื่น เรื่องของเราเอาเรื่องของเราให้มันจบ ทำหน้าที่ของเราให้มันจบ
สมมติของเรา อะไรขาดตกบกพร่องก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี สมมติของเรามีเพียบพร้อม อยู่ในวัด สถานที่ของเราก็ไม่ได้ลำบาก การทำความเพียรก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ที่พักที่อยู่ที่อาศัยที่หลับที่นอน ตรงนี้ก็มีเพียบพร้อม ปัจจัย 4 ก็ไม่ได้ลำบาก ก็ให้เร่งทำความเพียร สร้างความขยันหมั่นเพียรทั้งภายนอกทั้งภายใน สักวันหนึ่งเราก็คงจะเข้าใจในชีวิตของเรา
ไม่เข้าใจวันนี้ วันพรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่เข้าใจจริงๆ ก็ไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่ยังเกิดอยู่ ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ เขาก็ต้องเกิด
เราพยายามชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ทำความเข้าใจภาษาโลก ภาษาธรรม รู้จักจำแนกแจกแจง วิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะอึดอัดสารพัดอย่าง
ถ้าเราเข้าใจแล้ว อะไรก็เป็นธรรมชาติหมด กายก็เป็นธรรมชาติ ใจก็เป็นธรรมชาติ มองโลกในทางที่ดี คิดดี มองโลกในทางกุศล อะไรเป็นอกุศลเราก็พยายามละเสีย อะไรเป็นกุศลเราพยายามเจริญ เราก็ต้องพยายามกันนะ อย่าพากันประมาท
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย เราพยายามหมั่นวิเคราะห์อบรมใจของเรา สร้างพรหมวิหาร สร้างความเมตตา สร้างความกตัญญูกตเวที สร้างความเสียสละ พวกนี้เป็นบารมีของเราทั้งนั้นแหละไม่ใช่ของคนอื่น
หายใจก็หายใจเอา เราไม่ได้ให้คนอื่นมาช่วยหายใจให้ หายใจก็ของเรา เราพยายามหัดสังเกต หัดวิเคราะห์ ความขยันหมั่นเพียรเราก็ต้องสร้างขึ้นมา ถ้าความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้ง ก็มากขึ้นๆ
ถ้าคนจะรู้ธรรม เข้าใจในธรรม ฟังนิดเดียว ไม่ต้องไปถามอะไรมากมาย เราก็รู้จักแก้ไข รู้ไม่ทันเราก็เริ่มใหม่ รู้ไม่ทันก็เริ่มใหม่ วันทั้งวันทั้งเดือนทั้งปี ไม่จำเป็นต้องพูดต้องคุยอะไรกันมากมาย ก็ต้องพยายามกัน
ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ล้มแล้วลุกขึ้นมา แก้ไขใหม่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้มีกันทุกคน ไม่ได้เลือกชั้น ไม่ได้เลือกวรรณะ ถึงวันเวลาก็เกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด เมื่อวานนี้ก็มารับ เพียงแค่วันเดียวมารับเอาโลงศพตั้ง 6 โลง เมื่อวาน วันละ 2 วันละ 3 วันละ 4 วันละ 5 วันละ 6
มีโอกาส พวกเราก็จะได้ไปเหมือนกันถ้าถึงเวลา ถ้าไม่ถึงเวลาแล้วก็ เรามีโอกาสได้ช่วยเหลือพี่น้องของเรา ก็มาสร้างบุญสร้างบารมี ฝากเอาไว้ในใจของเรา ฝากเอาไว้ให้กับสมมติ ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กันพากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 16 มกราคม 2564
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนแล้วก็ให้ต่อเนื่อง
ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาเราได้สร้างความรู้ตัวแล้วหรือยังถ้ายังก็เริ่มเสียนะ หลวงพ่อก็เป็นแค่เพียง แค่บอกแค่กล่าว แค่ย้ำแค่เตือน พวกเรารู้จักวิธีการแนวทางก็พากันทำ ทำให้ต่อเนื่อง หมั่นวิเคราะห์ หมั่นสร้างความรู้ตัว รู้ตัว รู้การหายใจเข้าออก อันนี้เขาเรียกว่า 'รู้กาย'
ทุกเรื่อง ทุกเรื่องในชีวิตของเรา รู้กาย รู้ลมหายใจเข้าออก รู้ความปกติ ลึกลงไปเราก็จะรู้ใจของเรา หรือว่ารู้วิญญาณในกายของเรา หรือว่าใจของเรา
ใจของเราเกิดส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร ใจของเราไปหลงยึดติดในขันธ์ 5 ได้อย่างไร ใจของเราเกิดกิเลสได้อย่างไร เราพยายามหมั่นสำรวจ หมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ หมั่นแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ว่าอะไรขาดตกบกพร่อง
เพียงแค่ระดับสมมติ ระดับสมมติเราก็ต้องพยายามวิเคราะห์ เราขาดตกบกพร่องอะไร เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เรามีความอดทนหรือเปล่า ไม่ใช่ว่าจะเอาแต่ธรรม มีแต่ความเกียจคร้านเข้าครอบงำมันจะไปได้อะไร
พระเกียจคร้าน ชีเกียจคร้าน ฆราวาสเกียจคร้าน ไม่ดีทั้งนั้น ก็ต้องเป็นบุคคลที่มีความขยัน ขยันหมั่นเพียร รู้จักวิเคราะห์ อะไรดี อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรเป็นกุศลหรือว่าอกุศล หมั่นอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลานั่นแหละ จนเป็นอัตโนมัติในการดูในการรู้ เพียงแค่ขั้นพื้นฐานก็ทำให้ได้เสียก่อน
ศรัทธา ความเชื่อ ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ความเสียสละในการทำบุญ ในการให้ทาน มีความละอาย เกรงกลัวต่อบาป มีหิริโอตัปปะ เรารู้จักแก้ไขตัวเรา
แต่การเจริญสติรู้จักลักษณะของคำว่า 'สติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน' ตรงนี้แหละไม่ค่อยจะทำกันเท่าไหร่ ปล่อยเลยตามเลย กว่าจะระลึกได้ที วันหนึ่งมีกี่นาที วันหนึ่งมีกี่ชั่วโมง สติรู้กาย สติรู้ใจของเราต่อเนื่องกันสัก 5 นาที 10 นาที อันนี้ก็ทั้งยากลำบาก ถ้าไม่ใช่เป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรจริงๆ ขยันหมั่นเพียรเจริญสติ รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ ไปวิเคราะห์ ไปอบรมใจของเรา
รู้ไม่ทันการเกิดของใจก็รู้จักดับ รู้จักควบคุมอารมณ์ ควบคุมกาย ควบคุมวาจา แล้วก็ควบคุมใจของเราอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรารู้จักวิธีการแนวทางแล้ว ฟังนิดเดียว การเจริญสติเป็นอย่างนี้นะ การสังเกตเป็นอย่างนี้นะ รู้ไม่ทัน เราก็รู้จักดับรู้จักหยุดเอาไว้
ภาษาธรรมภาษาโลกเป็นอย่างนี้ สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง แยกรูปรสกลิ่นเสียงออกจากใจของเรา ทวารทั้ง 6 เขาก็ทำหน้าที่ของเขา ใจเกิดกิเลสเรารู้จักดับ รู้จักแก้ไขหรือไม่ ใจเกิดความโลภ เกิดความโกรธ เราก็รู้จักดับ รู้จักให้อภัย รู้จักอโหสิกรรม รู้จักการให้ การคลาย การเอาออก หมั่นปรับปรุงแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา จนไม่มีอะไรที่จะมาให้เราแก้ไขได้นั่นแหละ จนใจของเราไม่มีกิเลสนั่นแหละ จนถึงความบริสุทธิ์ ความสะอาด ความหลุดพ้น อันนี้เป็นผลบั้นปลาย
เราต้องดูที่ต้นเหตุ ต้องเข้าไปถึงต้นเหตุ ทำไมเราถึงลำบาก ทำไมเราถึงขาดตกบกพร่อง ความขยันหมั่นเพียรของเรามีเพียงพอหรือไม่ ความรับผิดชอบ การกระทำของเรามีความถึงพร้อมหรือเปล่า เราต้องพยายามหมั่นดูแล หมั่นแก้ไข หมั่นสังเกต หมั่นวิเคราะห์ เป็นบุคคลที่ขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ ถ้าความเกียจคร้านเข้าครอบงำครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้ง ก็หมักหมมเข้าไปเรื่อยๆ ถ้าใจของเราเกิดกิเลสมันก็ค่อยสะสมไปเรื่อยๆ
ถ้าเราหมั่นเอาออก หมั่นคลาย ใจเกิดความโลภ ละความโลภ ใจเกิดความโกรธ ละความโกรธ ด้วยการให้อภัยทาน อโหสิกรรม ทำในสิ่งตรงกันข้ามกับกิเลส สักวันหนึ่งเราก็คงจะถึงจุดหมายปลายทาง
เพียงแค่ชั่วโมงเดียว สติของเราต่อเนื่องกันได้หรือไม่ วันหนึ่งมีเท่าไหร่ สติเราพลั้งเผลอไปเท่าไหร่ จากวันเป็นเดือนเป็นปี จนเราทำจนเป็นปกติวิสัยของเรา นั่นแหละ บุคคลเช่นนี้แหละจะมองเห็นหนทางเดิน
ถ้าใจของเราคลายออกจากขันธ์ 5 หรือว่าแยกรูปแยกนามได้เมื่อไหร่ ความเห็นถูกถึงจะปรากฏเปิดทางให้ ใจของเราส่งออกไปภายนอกรวมกับขันธ์ 5 ซึ่งภาษาธรรมท่านเรียกว่า สมุทัยนิโรธ การดับ การละ เป็นอย่างไร การแก้ไขเป็นอย่างไร การปรับปรุงใจของเราตลอดเวลา
อย่าพากันผัดวันประกันพรุ่ง อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน ไม่จำเป็นต้องไปพูดคุยอะไรกันมากหรอก เพียงแค่รู้จักวิธีการแนวทางแล้ว กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกจากกิเลส วิเวกจากอารมณ์เป็นอย่างนี้ กายวิเวกจากพันธะภาระต่างๆ
ถ้าเราเข้าใจแล้ว เราก็เอาการงานนั่นแหละเป็นการปฏิบัติ ทำงานไปด้วย ใจรับรู้ไปด้วย ละความเกียจคร้านไปด้วย ละนิวรณ์ไปด้วย เพียงแค่ขั้นพื้นฐานก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี ไม่ต้องไปหวังผลอะไรมากมาย
จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา อย่าไปโทษคนอื่น ส่วนมากก็ไปมองแต่คนอื่น คนโน้นเป็นอย่างนั้น คนนั้นเป็นอย่างนี้ มีแต่เรื่องของคนอื่น เรื่องของเราเอาเรื่องของเราให้มันจบ ทำหน้าที่ของเราให้มันจบ
สมมติของเรา อะไรขาดตกบกพร่องก็ทำหน้าที่ของเราให้ดี สมมติของเรามีเพียบพร้อม อยู่ในวัด สถานที่ของเราก็ไม่ได้ลำบาก การทำความเพียรก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ที่พักที่อยู่ที่อาศัยที่หลับที่นอน ตรงนี้ก็มีเพียบพร้อม ปัจจัย 4 ก็ไม่ได้ลำบาก ก็ให้เร่งทำความเพียร สร้างความขยันหมั่นเพียรทั้งภายนอกทั้งภายใน สักวันหนึ่งเราก็คงจะเข้าใจในชีวิตของเรา
ไม่เข้าใจวันนี้ วันพรุ่งนี้ เดือนนี้ เดือนหน้า ไม่เข้าใจจริงๆ ก็ไปต่อเอาภพหน้า ตราบใดที่ยังเกิดอยู่ ตราบใดที่ใจยังเกิดอยู่ เขาก็ต้องเกิด
เราพยายามชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล ทำความเข้าใจภาษาโลก ภาษาธรรม รู้จักจำแนกแจกแจง วิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา ช่วงใหม่ๆ ก็อาจจะอึดอัดสารพัดอย่าง
ถ้าเราเข้าใจแล้ว อะไรก็เป็นธรรมชาติหมด กายก็เป็นธรรมชาติ ใจก็เป็นธรรมชาติ มองโลกในทางที่ดี คิดดี มองโลกในทางกุศล อะไรเป็นอกุศลเราก็พยายามละเสีย อะไรเป็นกุศลเราพยายามเจริญ เราก็ต้องพยายามกันนะ อย่าพากันประมาท
ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย เราพยายามหมั่นวิเคราะห์อบรมใจของเรา สร้างพรหมวิหาร สร้างความเมตตา สร้างความกตัญญูกตเวที สร้างความเสียสละ พวกนี้เป็นบารมีของเราทั้งนั้นแหละไม่ใช่ของคนอื่น
หายใจก็หายใจเอา เราไม่ได้ให้คนอื่นมาช่วยหายใจให้ หายใจก็ของเรา เราพยายามหัดสังเกต หัดวิเคราะห์ ความขยันหมั่นเพียรเราก็ต้องสร้างขึ้นมา ถ้าความเกียจคร้านเข้าครอบงำ ครั้งหนึ่ง สองครั้ง สามครั้ง ก็มากขึ้นๆ
ถ้าคนจะรู้ธรรม เข้าใจในธรรม ฟังนิดเดียว ไม่ต้องไปถามอะไรมากมาย เราก็รู้จักแก้ไข รู้ไม่ทันเราก็เริ่มใหม่ รู้ไม่ทันก็เริ่มใหม่ วันทั้งวันทั้งเดือนทั้งปี ไม่จำเป็นต้องพูดต้องคุยอะไรกันมากมาย ก็ต้องพยายามกัน
ผิดพลาดแก้ไขใหม่ ล้มแล้วลุกขึ้นมา แก้ไขใหม่ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้มีกันทุกคน ไม่ได้เลือกชั้น ไม่ได้เลือกวรรณะ ถึงวันเวลาก็เกิดมาเท่าไหร่ก็ตายหมด เมื่อวานนี้ก็มารับ เพียงแค่วันเดียวมารับเอาโลงศพตั้ง 6 โลง เมื่อวาน วันละ 2 วันละ 3 วันละ 4 วันละ 5 วันละ 6
มีโอกาส พวกเราก็จะได้ไปเหมือนกันถ้าถึงเวลา ถ้าไม่ถึงเวลาแล้วก็ เรามีโอกาสได้ช่วยเหลือพี่น้องของเรา ก็มาสร้างบุญสร้างบารมี ฝากเอาไว้ในใจของเรา ฝากเอาไว้ให้กับสมมติ ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะวันนี้ก็ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กันพากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจ