ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 51 วันที่ 6 กรกฎาคม 2557
ชื่อตอน
ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 51 วันที่ 6 กรกฎาคม 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
ตามความเป็นจริง ชุดที่ 3 (ลำดับที่ 41-60)
ถอดความฉบับเต็ม
ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 51
วันที่ 6 กรกฎาคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบายวางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก
สำเหนียกนี่หมายถึงน้อม ฟังก็สักแต่ว่าฟัง ว่าหลวงพ่อพูดอะไร หลวงพ่อบอกอะไร อย่างหลวงพ่อบอกว่า ‘ให้สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ’ เราก็สูดดมหายใจเข้าไปยาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ
สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ อันนี้แหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เวลาหายใจเข้าหายใจออก มีการสำเหนียก การน้อม บางคนบางท่านก็ไม่สนใจ ไปสนใจเรื่องอื่น เพียงแค่การเจริญสติ บอกวิธีการเจริญสติยังไม่สนใจ จะไปรู้ได้อย่างไร จะไปเอาได้อย่างไร
เรารู้จักวิธี รู้จักแนวทางแล้ว เราก็พยายามไปสร้างไปทำ การสืบต่อ การต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การควบคุมใจ ใจจะเกิด ใจปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจเป็นลักษณะอย่างนี้ ทำไมใจถึงเกิด ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่คลายออกจากความคิด ออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า ‘รอบรู้ในกองสังขาร’ เป็นอย่างไร คำว่า ‘ขันธ์ห้า’ ของพระพุทธองค์ ซึ่งมีวิญญาณเข้ามาครอบครอง เข้ามาสร้าง เขาเป็นลักษณะอย่างไร มีอยู่ในกายในใจของเราหมด
เว้นเสียแต่ว่าเราจะเจริญสติเข้าไปสนใจ เข้าไปวิเคราะห์สืบต่อให้ต่อเนื่อง เห็นเหตุเห็นผล ตามดู รู้เหตุรู้ผล รู้จนใจของเรายอมรับความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อัตตาเป็นอย่างนี้ อนัตตาเป็นอย่างนี้ การละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ นิวรณธรรมต่างๆ ที่มาเป็นเครื่องกางกั้นใจของเรา ความกังวล ความฟุ้งซ่านความลังเลต่างๆ มีหมด เว้นเสียแต่ว่าเราจะทำหรือไม่
เพียงแค่จัดระบบระเบียบของสมมติให้อยู่ดีมีความสุขไม่ได้ลำบาก เราก็ยังทำกันยากอยู่ เราต้องฝักใฝ่ แต่ก็ไม่เหลือวิสัย อยากได้บุญ อยากทำบุญ ตรงนี้มีกันอยู่เต็มเปี่ยม แต่ความอยากนั้นก็ปิดกั้นเอาไว้ แต่ก็เป็นสิ่งที่ดี ในส่วนลึกๆ เราก็ต้องทำด้วยสติ ทำด้วยปัญญา เห็นเหตุเห็นผล
อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ทุกอิริยาบถยืนเดินนั่งนอนกินอยู่ขับถ่าย อบรมใจ หมั่นพร่ำสอนใจของตัวเรา แก้ไขใจของเรา คุยกับใจของเราตลอดเวลา สติเป็นเพื่อนใจ ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง สติปัญญาชี้เหตุชี้ผล ตามดู เห็นเหตุเห็นผลจนใจยอมรับความเป็นจริงได้ หมดความสงสัย หมดความลังเล ขัดเกลากิเลสให้ถึงจุดหมายปลายทางได้ ถึงอยู่ดีมีความสุข รอเวลาธาตุขันธ์แตกดับ ถ้ายังไม่ถึงเวลา ก็ไม่ได้ไป
อย่าพากันมัวเมาเล่นอยู่ทำไม เราต้องแก้ไข ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี ถ้าสอนตัวเราไม่ ได้ อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอน ไม่มีประโยชน์ แนวทางนั้นมีมาตั้งนาน พระพุทธองค์ท่านได้ชี้เหตุชี้ผลให้ดูมาตั้งนาน การละกิเลสเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบเป็นอย่างนี้ กิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสร้างบารมี ความเสียสละของเรามีเต็มเปี่ยมหรือไม่ เสียสละอยู่ในระดับไหน ทั้งภายนอกทั้งภายใน ก็ต้องพยายามกันนะ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนกัน อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันสักพักสักระยะหนึ่ง ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักหน่อยก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกัน ได้บ้างไม่ได้บ้างก็อย่าไปทิ้ง
วันที่ 6 กรกฎาคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบายวางกายให้สบาย แล้วก็วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก
สำเหนียกนี่หมายถึงน้อม ฟังก็สักแต่ว่าฟัง ว่าหลวงพ่อพูดอะไร หลวงพ่อบอกอะไร อย่างหลวงพ่อบอกว่า ‘ให้สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ’ เราก็สูดดมหายใจเข้าไปยาวๆ อย่าไปบังคับลมหายใจ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ
สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเรา เรามีความรู้สึกรับรู้อยู่ อันนี้แหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ เวลาหายใจเข้าหายใจออก มีการสำเหนียก การน้อม บางคนบางท่านก็ไม่สนใจ ไปสนใจเรื่องอื่น เพียงแค่การเจริญสติ บอกวิธีการเจริญสติยังไม่สนใจ จะไปรู้ได้อย่างไร จะไปเอาได้อย่างไร
เรารู้จักวิธี รู้จักแนวทางแล้ว เราก็พยายามไปสร้างไปทำ การสืบต่อ การต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ การควบคุมใจ ใจจะเกิด ใจปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ ความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจเป็นลักษณะอย่างนี้ ทำไมใจถึงเกิด ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่คลายออกจากความคิด ออกจากขันธ์ห้า ซึ่งเรียกว่า ‘รอบรู้ในกองสังขาร’ เป็นอย่างไร คำว่า ‘ขันธ์ห้า’ ของพระพุทธองค์ ซึ่งมีวิญญาณเข้ามาครอบครอง เข้ามาสร้าง เขาเป็นลักษณะอย่างไร มีอยู่ในกายในใจของเราหมด
เว้นเสียแต่ว่าเราจะเจริญสติเข้าไปสนใจ เข้าไปวิเคราะห์สืบต่อให้ต่อเนื่อง เห็นเหตุเห็นผล ตามดู รู้เหตุรู้ผล รู้จนใจของเรายอมรับความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ว่า อัตตาเป็นอย่างนี้ อนัตตาเป็นอย่างนี้ การละกิเลสหยาบกิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ นิวรณธรรมต่างๆ ที่มาเป็นเครื่องกางกั้นใจของเรา ความกังวล ความฟุ้งซ่านความลังเลต่างๆ มีหมด เว้นเสียแต่ว่าเราจะทำหรือไม่
เพียงแค่จัดระบบระเบียบของสมมติให้อยู่ดีมีความสุขไม่ได้ลำบาก เราก็ยังทำกันยากอยู่ เราต้องฝักใฝ่ แต่ก็ไม่เหลือวิสัย อยากได้บุญ อยากทำบุญ ตรงนี้มีกันอยู่เต็มเปี่ยม แต่ความอยากนั้นก็ปิดกั้นเอาไว้ แต่ก็เป็นสิ่งที่ดี ในส่วนลึกๆ เราก็ต้องทำด้วยสติ ทำด้วยปัญญา เห็นเหตุเห็นผล
อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ทุกอิริยาบถยืนเดินนั่งนอนกินอยู่ขับถ่าย อบรมใจ หมั่นพร่ำสอนใจของตัวเรา แก้ไขใจของเรา คุยกับใจของเราตลอดเวลา สติเป็นเพื่อนใจ ทำไมใจถึงเกิด ทำไมใจถึงหลง สติปัญญาชี้เหตุชี้ผล ตามดู เห็นเหตุเห็นผลจนใจยอมรับความเป็นจริงได้ หมดความสงสัย หมดความลังเล ขัดเกลากิเลสให้ถึงจุดหมายปลายทางได้ ถึงอยู่ดีมีความสุข รอเวลาธาตุขันธ์แตกดับ ถ้ายังไม่ถึงเวลา ก็ไม่ได้ไป
อย่าพากันมัวเมาเล่นอยู่ทำไม เราต้องแก้ไข ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี ถ้าสอนตัวเราไม่ ได้ อย่าไปเที่ยวให้คนอื่นเขาสอน ไม่มีประโยชน์ แนวทางนั้นมีมาตั้งนาน พระพุทธองค์ท่านได้ชี้เหตุชี้ผลให้ดูมาตั้งนาน การละกิเลสเป็นอย่างนี้ กิเลสหยาบเป็นอย่างนี้ กิเลสละเอียดเป็นอย่างนี้ เอาใจเขามาใส่ใจเรา เอาใจเราไปใส่ใจเขา มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสร้างบารมี ความเสียสละของเรามีเต็มเปี่ยมหรือไม่ เสียสละอยู่ในระดับไหน ทั้งภายนอกทั้งภายใน ก็ต้องพยายามกันนะ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนกัน อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ ก็ให้รู้ว่าลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันสักพักสักระยะหนึ่ง ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันสักหน่อยก็ยังดี ดีกว่าไม่ได้ทำ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกัน ได้บ้างไม่ได้บ้างก็อย่าไปทิ้ง