ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 19 วันที่ 24 มีนาคม 2557
ชื่อตอน
ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 19 วันที่ 24 มีนาคม 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
ตามความเป็นจริง ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 19
วันที่ 24 มีนาคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องประนมมือ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้
วางภาระหน้าที่สมมติเราก็วางมาแล้ว ถึงได้น้อมกายเขาเข้ามาในวัด ทีนี้เราก็มาหยุดความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากตัวใจ เกิดจากตัววิญญาณของเรา มาทำความเข้าใจกับความรู้ตัวให้ชัดเจน ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ
การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ หรือว่าผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เราอย่าไปเพ่ง เราอย่าไปจ้อง ลองสูดลมหายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา มีความรู้สึกรับรู้อยู่เวลาลมหายใจเข้าหายใจออก นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’
ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘รู้อยู่ปัจจุบันธรรม’ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง ที่เชื่อมโยง ลึกลงไปถ้ากำลังสติความรู้ตัวตรงนี้ต่อเนื่อง เขาก็จะรู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ รู้ลักษณะของความคิด รู้ลักษณะของอารมณ์ต่างๆ ก็จะเดินปัญญาเข้าสู่วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริง
ถ้าเราไม่เห็นตรงนี้ เราก็พยายามสร้างอานิสงส์สร้างบารมีไป อยู่ในคุณงามความดี อยู่ในกองบุญอยู่ในกองกุศลถ้าถึงเวลาก็คงจะเข้าใจ
เราจะไปรีบไปเร่งไม่ได้ เพราะว่าวิบากกรรมของทุกคนนั้นมีอยู่ แต่ขอให้เป็นวิบากกรรมที่กุศลกรรมในทางที่ดี คิดดีทำดี การกระทำของเราก็ต้องถึงพร้อม ถึงเวลาเราย่อมจะเข้าใจ เหมือนกับเราปลูกผลไม้ ปลูกต้นไม้สักต้น เราจะไปเร่งต้องเอาดอกวันนี้ เอาผลวันนี้ มันเป็นไปไม่ได้ การปฏิบัติใจก็เหมือนกัน เราจะให้ใจของเราสงบวันนี้ สะอาดวันนี้ มันก็เป็นไปไม่ได้
เราก็ค่อยฝึกค่อยฝน ความเสียสละของเรามีหรือไม่ ความรับผิดชอบของเรามีหรือไม่ การละความตระหนี่เหนียวแน่นการศึกษา การค้นคว้า การทำความเข้าใจ การสังเกต การวิเคราะห์ อะไรผิด อะไรถูก อะไรเป็นกุศลหรือว่าอกุศล เขาก็จะค่อยพัฒนาไปเรื่อยๆ
สักวันหนึ่ง กำลังสติปัญญาของเราเต็มเปี่ยม อานิสงส์บุญของเราเต็มเปี่ยม เราไม่อยากจะได้ เราก็ได้ เราไม่อยากจะได้ความสงบ เราก็ได้ความสงบ เราไม่อยากจะได้ความบริสุทธิ์ เราก็ได้ ถ้าถึงเวลา
อย่าไปทิ้งบุญ พยายามน้อมใจ น้อมกายของเรา โอกาสเปิดให้ สถานที่เปิดให้ กาลเวลาเปิดให้ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา เราจะเอาบุญตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ความขยันหมั่นเพียรของเรามี ความรับผิดชอบของเรามี จะทำนู่นทำนี่ มีตั้งแต่อานิสงส์บุญทั้งนั้นเลย เราก็ต้องพยายามกัน ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี มีอะไรเราก็ช่วยกันทำ มีความสมัครสมานสามัคคี เคยสร้างบุญร่วมกันนั่นแหละถึงได้มาอยู่ร่วมกัน ถ้าไม่เคยทำบุญร่วมกันมาก่อน ไม่ได้มาอยู่ร่วมกัน
พวกเราเคยได้สร้างบุญกันมาก่อนถึงได้มาอยู่ร่วมกัน อีกสักหน่อยก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เพราะว่าเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริงของชีวิต ขณะที่ยังมีลมหายใจ ขณะที่ยังร่วมกันอยู่ อะไรที่จะเป็นบุญ อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็รีบทำ อะไรที่ไม่ดีเราก็พยายามรีบแก้ไขเสีย
อย่าไปโทษคนอื่น จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ความผิดพลาดเราก็แก้ไขใหม่ได้ แก้ไขไม่ได้เราก็อุเบกขา ทำใหม่ สักวันเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยงกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กันค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อกันนะ
วันที่ 24 มีนาคม 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องประนมมือ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้
วางภาระหน้าที่สมมติเราก็วางมาแล้ว ถึงได้น้อมกายเขาเข้ามาในวัด ทีนี้เราก็มาหยุดความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากตัวใจ เกิดจากตัววิญญาณของเรา มาทำความเข้าใจกับความรู้ตัวให้ชัดเจน ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ
การสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ หรือว่าผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เราอย่าไปเพ่ง เราอย่าไปจ้อง ลองสูดลมหายใจให้เป็นธรรมชาติที่สุด สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา มีความรู้สึกรับรู้อยู่เวลาลมหายใจเข้าหายใจออก นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’
ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘รู้อยู่ปัจจุบันธรรม’ พยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง ที่เชื่อมโยง ลึกลงไปถ้ากำลังสติความรู้ตัวตรงนี้ต่อเนื่อง เขาก็จะรู้เท่าทันการเกิดของใจ รู้ลักษณะของใจ รู้ลักษณะของความคิด รู้ลักษณะของอารมณ์ต่างๆ ก็จะเดินปัญญาเข้าสู่วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริง
ถ้าเราไม่เห็นตรงนี้ เราก็พยายามสร้างอานิสงส์สร้างบารมีไป อยู่ในคุณงามความดี อยู่ในกองบุญอยู่ในกองกุศลถ้าถึงเวลาก็คงจะเข้าใจ
เราจะไปรีบไปเร่งไม่ได้ เพราะว่าวิบากกรรมของทุกคนนั้นมีอยู่ แต่ขอให้เป็นวิบากกรรมที่กุศลกรรมในทางที่ดี คิดดีทำดี การกระทำของเราก็ต้องถึงพร้อม ถึงเวลาเราย่อมจะเข้าใจ เหมือนกับเราปลูกผลไม้ ปลูกต้นไม้สักต้น เราจะไปเร่งต้องเอาดอกวันนี้ เอาผลวันนี้ มันเป็นไปไม่ได้ การปฏิบัติใจก็เหมือนกัน เราจะให้ใจของเราสงบวันนี้ สะอาดวันนี้ มันก็เป็นไปไม่ได้
เราก็ค่อยฝึกค่อยฝน ความเสียสละของเรามีหรือไม่ ความรับผิดชอบของเรามีหรือไม่ การละความตระหนี่เหนียวแน่นการศึกษา การค้นคว้า การทำความเข้าใจ การสังเกต การวิเคราะห์ อะไรผิด อะไรถูก อะไรเป็นกุศลหรือว่าอกุศล เขาก็จะค่อยพัฒนาไปเรื่อยๆ
สักวันหนึ่ง กำลังสติปัญญาของเราเต็มเปี่ยม อานิสงส์บุญของเราเต็มเปี่ยม เราไม่อยากจะได้ เราก็ได้ เราไม่อยากจะได้ความสงบ เราก็ได้ความสงบ เราไม่อยากจะได้ความบริสุทธิ์ เราก็ได้ ถ้าถึงเวลา
อย่าไปทิ้งบุญ พยายามน้อมใจ น้อมกายของเรา โอกาสเปิดให้ สถานที่เปิดให้ กาลเวลาเปิดให้ เราก็จะอยู่กับบุญตลอดเวลา เราจะเอาบุญตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ความขยันหมั่นเพียรของเรามี ความรับผิดชอบของเรามี จะทำนู่นทำนี่ มีตั้งแต่อานิสงส์บุญทั้งนั้นเลย เราก็ต้องพยายามกัน ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชี มีอะไรเราก็ช่วยกันทำ มีความสมัครสมานสามัคคี เคยสร้างบุญร่วมกันนั่นแหละถึงได้มาอยู่ร่วมกัน ถ้าไม่เคยทำบุญร่วมกันมาก่อน ไม่ได้มาอยู่ร่วมกัน
พวกเราเคยได้สร้างบุญกันมาก่อนถึงได้มาอยู่ร่วมกัน อีกสักหน่อยก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตาย เพราะว่าเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริงของชีวิต ขณะที่ยังมีลมหายใจ ขณะที่ยังร่วมกันอยู่ อะไรที่จะเป็นบุญ อะไรที่จะเป็นประโยชน์เราก็รีบทำ อะไรที่ไม่ดีเราก็พยายามรีบแก้ไขเสีย
อย่าไปโทษคนอื่น จงโทษตัวเรา แก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเราอยู่ตลอดเวลา ความผิดพลาดเราก็แก้ไขใหม่ได้ แก้ไขไม่ได้เราก็อุเบกขา ทำใหม่ สักวันเราก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยงกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กันค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อกันนะ