ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 16 วันที่ 26 เมษายน 2557
ชื่อตอน
ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 16 วันที่ 26 เมษายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
ตามความเป็นจริง ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 16
วันที่ 26 เมษายน 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ภาระหน้าที่การงานทางสมมติทางบ้านทางโลก เราก็วางมาแล้ว ทีนี้เรามาหยุดความนึกคิดปรุงแต่ง แล้วก็มาสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่องกันสักนาทีก็ยังดี สักนิดก็ยังดี
ปัญญาทางโลกนั้นมีกันเต็มเปี่ยม ทั้งที่ใจเป็นบุญ แต่ความรู้ตัว เราต้องพยายามสร้างขึ้นมา การหายใจเข้าหายใจออกเป็นลักษณะอย่างนี้ การหายใจที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ความรู้สึกรับรู้อยู่ปัจจุบันเป็นอย่างนี้
คำว่า ‘ปัจจุบัน’ เราต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน ปัจจุบันในหลักธรรม ในทางธรรมของพระพุทธองค์นั้นหมายถึงทุกลมหายใจเข้าหายใจออก เขาเรียกว่า ‘ปัจจุบัน’ ไม่ใช่ว่าไปเอานาทีนี้ชั่วโมงนี้ อันนั้นเป็นปัจจุบันทางโลก
ความรู้สึกรับรู้อยู่ปัจจุบันธรรม เวลาลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ และก็รู้ให้ต่อเนื่อง อย่าไปเกียจคร้านๆ
ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องขึ้นมาแล้วก็ เราก็จะรู้ลักษณะของใจ ใจปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ปรุงแต่ง การก่อตัวของใจเป็นอย่างนี้ การก่อตัวของอาการของขันธ์ห้า เป็นอย่างนี้ เขามีหมด ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเราก็จะไปเห็น เห็นความคิด ความเกิดความดับ เห็นการแยกการคลาย รู้เท่าทัน นี่เขาถึงเรียกว่า ‘ปัญญาสัมมาทิฏฐิ-ปัญญาในหลักธรรมในทางธรรรม’
รู้แล้ว การทำความเข้าใจ ตามดูตามเห็น ความเกิดความดับ มองเห็น เข้าใจในหลักธรรม เข้าใจในอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา เข้าใจในอัตตากับอนัตตา เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ทีนี้การละของเรา การละ การดับ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรทำ ก็จะตามทำความเข้าใจ จนหมดความสงสัยได้หมดทุกเรื่องนั่นแหละ จนละกิเลสได้หมดนั่นแหละ จนดับความเกิดได้หมดนั่นแหละ อยู่กับสมมติ ทำความเข้าใจกับโลกธรรม
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในโลก ให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในโลกธรรม ให้รอบรู้ในดวงใจของตัวเราเอง ว่ามีอะไร ไปยังไงมายังไง ต้องมีความเพียรเป็นเลิศ ความเพียรที่ต่อเนื่อง ความขยันหมั่นเพียร ละความเกียจคร้าน เพิ่มความขยันหมั่นเพียร รู้จักสร้าง รู้จักหา รู้จักทำความเข้าใจ สร้างตบะบารมีให้เต็มเปี่ยมทุกเรื่อง อย่าไปมองข้าม
อย่าไปเห็นแก่ความอยากเล็กๆ น้อยๆ อย่าไปเห็นแก่ความเกียจคร้าน อย่าไปเห็นแก่ตัว ขัดเกลา สละสลัดออกให้มันหมดจากใจของเรา จนเหลือแต่ความว่าง-ความบริสุทธิ์นั่นแหละ
ทีนี้จะเอา จะมี จะเป็น ก็เป็นเรื่องของปัญญาทำหน้าที่ มีความรับผิดชอบอยู่ด้วยปัญญา อยู่บริหารกายบริหารใจ บริหารสมมติด้วยปัญญา อยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ จิตใจของเราเกิดกิเลสเมื่อไหร่เราก็จัดการ ความว่างความบริสุทธิ์ของใจนั่นแหละคือเครื่องอยู่
ความว่าง ใจที่ปราศจากการเกิด ปราศจากกิเลส ใจที่คลายจากขันธ์ห้า ใจที่ไม่มีกิเลส เขาก็ว่าง ความว่างน่ะ เขาเรียกว่า ‘เครื่องอยู่ของใจ’ เขาเรียกว่า ‘วิหารธรรม’ อยู่ด้วยความว่าง ในความว่างนั้นมีความสุขอยู่ ก็ต้องพยายามศึกษาทำความเข้าใจค้นคว้าสร้างให้มีให้เกิดขึ้น ตามความขยันหมั่นเพียรของเรา สักวันหนึ่งก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อกันนะ
วันที่ 26 เมษายน 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ต่อเนื่องให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ภาระหน้าที่การงานทางสมมติทางบ้านทางโลก เราก็วางมาแล้ว ทีนี้เรามาหยุดความนึกคิดปรุงแต่ง แล้วก็มาสร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่องกันสักนาทีก็ยังดี สักนิดก็ยังดี
ปัญญาทางโลกนั้นมีกันเต็มเปี่ยม ทั้งที่ใจเป็นบุญ แต่ความรู้ตัว เราต้องพยายามสร้างขึ้นมา การหายใจเข้าหายใจออกเป็นลักษณะอย่างนี้ การหายใจที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ ความรู้สึกรับรู้อยู่ปัจจุบันเป็นอย่างนี้
คำว่า ‘ปัจจุบัน’ เราต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจน ปัจจุบันในหลักธรรม ในทางธรรมของพระพุทธองค์นั้นหมายถึงทุกลมหายใจเข้าหายใจออก เขาเรียกว่า ‘ปัจจุบัน’ ไม่ใช่ว่าไปเอานาทีนี้ชั่วโมงนี้ อันนั้นเป็นปัจจุบันทางโลก
ความรู้สึกรับรู้อยู่ปัจจุบันธรรม เวลาลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ และก็รู้ให้ต่อเนื่อง อย่าไปเกียจคร้านๆ
ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องขึ้นมาแล้วก็ เราก็จะรู้ลักษณะของใจ ใจปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ปรุงแต่ง การก่อตัวของใจเป็นอย่างนี้ การก่อตัวของอาการของขันธ์ห้า เป็นอย่างนี้ เขามีหมด ถ้าเรามีความรู้ตัวที่ต่อเนื่องเราก็จะไปเห็น เห็นความคิด ความเกิดความดับ เห็นการแยกการคลาย รู้เท่าทัน นี่เขาถึงเรียกว่า ‘ปัญญาสัมมาทิฏฐิ-ปัญญาในหลักธรรมในทางธรรรม’
รู้แล้ว การทำความเข้าใจ ตามดูตามเห็น ความเกิดความดับ มองเห็น เข้าใจในหลักธรรม เข้าใจในอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา เข้าใจในอัตตากับอนัตตา เข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ทีนี้การละของเรา การละ การดับ อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรทำ ก็จะตามทำความเข้าใจ จนหมดความสงสัยได้หมดทุกเรื่องนั่นแหละ จนละกิเลสได้หมดนั่นแหละ จนดับความเกิดได้หมดนั่นแหละ อยู่กับสมมติ ทำความเข้าใจกับโลกธรรม
ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในโลก ให้รอบรู้ในกองสังขาร ให้รอบรู้ในโลกธรรม ให้รอบรู้ในดวงใจของตัวเราเอง ว่ามีอะไร ไปยังไงมายังไง ต้องมีความเพียรเป็นเลิศ ความเพียรที่ต่อเนื่อง ความขยันหมั่นเพียร ละความเกียจคร้าน เพิ่มความขยันหมั่นเพียร รู้จักสร้าง รู้จักหา รู้จักทำความเข้าใจ สร้างตบะบารมีให้เต็มเปี่ยมทุกเรื่อง อย่าไปมองข้าม
อย่าไปเห็นแก่ความอยากเล็กๆ น้อยๆ อย่าไปเห็นแก่ความเกียจคร้าน อย่าไปเห็นแก่ตัว ขัดเกลา สละสลัดออกให้มันหมดจากใจของเรา จนเหลือแต่ความว่าง-ความบริสุทธิ์นั่นแหละ
ทีนี้จะเอา จะมี จะเป็น ก็เป็นเรื่องของปัญญาทำหน้าที่ มีความรับผิดชอบอยู่ด้วยปัญญา อยู่บริหารกายบริหารใจ บริหารสมมติด้วยปัญญา อยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ จิตใจของเราเกิดกิเลสเมื่อไหร่เราก็จัดการ ความว่างความบริสุทธิ์ของใจนั่นแหละคือเครื่องอยู่
ความว่าง ใจที่ปราศจากการเกิด ปราศจากกิเลส ใจที่คลายจากขันธ์ห้า ใจที่ไม่มีกิเลส เขาก็ว่าง ความว่างน่ะ เขาเรียกว่า ‘เครื่องอยู่ของใจ’ เขาเรียกว่า ‘วิหารธรรม’ อยู่ด้วยความว่าง ในความว่างนั้นมีความสุขอยู่ ก็ต้องพยายามศึกษาทำความเข้าใจค้นคว้าสร้างให้มีให้เกิดขึ้น ตามความขยันหมั่นเพียรของเรา สักวันหนึ่งก็คงจะเดินถึงจุดหมายปลายทางกัน
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจเข้าออกให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อกันนะ