ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 5 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557
ชื่อตอน
ตามความเป็นจริง_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 5 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
ตามความเป็นจริง ชุดที่ 1 (ลำดับที่ 1-20)
ถอดความฉบับเต็ม
ตามความเป็นจริง ลำดับที่ 5
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรูสัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจน
เพียงแค่เราทำความเข้าใจ ลักษณะของความรู้สึกรับรู้ของการหายใจเข้าออกให้ต่อเนื่อง ตรงนี้เราก็รู้อยู่เป็นบางครั้งบางคราว แต่เรารู้ไม่ต่อเนื่อง แล้วก็รู้ไม่ชำนาญ ฟังไปด้วย นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก พวกเราก็ขาดการทำความเข้าใจ ทั้งที่หายใจมาตั้งแต่เกิด
เรื่องศรัทธานั้นมีกันเต็มเปี่ยม ความเสียสละ ผ่านกาลผ่านเวลา ความรับผิดชอบผิดถูกชั่วดี จนกระทั่งร่างกายของเราอายุถึงขนาดนี้ ก็มีมากันทุกคน จะมีมากมีน้อย ก็มีกันหมดทุกคน
การทำบุญให้ทาน ก็พากันฝักใฝ่อยู่ แต่การทำความเข้าใจกับการเจริญหรือว่าการสร้างความรู้ตัว เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ความรู้ตัวอยู่ปัจจุบันธรรม คือทุกขณะลมหายใจเข้าหายใจออก
ช่วงใหม่ๆ นี่ก็อาจจะอึดอัด อาจจะพลั้งเผลอ เพราะว่าความเคยชินเก่าๆ เขาครอบงำเอาไว้ หรือว่าสมมติครอบงำเอาไว้ ถ้าเรามาศึกษาให้ละเอียดตั้งแต่ตื่นขึ้นมา หายใจอย่างไร เราถึงจะรู้ให้ต่อเนื่อง เราเผลอได้อย่างไร
ส่วนความคิดที่เกิดจากตัวจิตวิญญาณนั้นเค้ามีอยู่แล้ว เขาเกิดอยู่แล้ว ความคิดที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจนั้นเขาก็มีอยู่แล้วเพราะว่าขันธ์ห้ามีกันทุกคน อันนั้นเอาไว้ทีหลัง
ถ้าความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เราก็จะเห็นว่าใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ก่อตัว ใจที่เกิดส่งไปภายนอกเป็นอย่างไร ความหมายอะไรที่เกิด เราต้องให้เข้าถึงความหมาย เรารู้จักแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา เราก็จะเข้าใจในชีวิตของเราด้วยปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา เกิดจากการทำความเข้าใจจนเป็นอัตโนมัติ จนไม่ได้สร้าง โน่นแหละ จนปัญญาอัตโนมัติ
ปัญญาก่อนที่จะเป็นอัตโนมัติได้ ใจของเราต้องคลายออกจากขันธ์ห้า ตามทำความเข้าใจกับความคิด กับอารมณ์ ถึงเราไม่รู้เท่าทันตรงนี้ เราก็ควบคุมใจของเราได้ บังคับใจของเราได้ แต่ปัญญาไม่รอบรู้ในกองสังขาร ไม่รอบรู้ในความคิด แต่ก็ดับทุกข์ได้เหมือนกัน แต่ปัญญาไม่เต็มรอบ ต้องให้เต็มรอบทั้งสมมติ ทั้งวิมุตติ จนหมดเรื่องราวที่จะแก้ไขปรับปรุงได้ จนอยู่อุเบกขาวางเฉยรับรู้ อะไรผิดถูกชั่วดีอย่างไร มีตั้งแต่ปัญญาเข้าไปทำหน้าที่แทนทุกเรื่อง
การได้ยินได้ฟังได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นธรรม เราได้ฟังธรรมตลอดเวลา ถ้าใจของเราเป็นธรรม ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ลิ้นกระทบรส กายสัมผัส มีสติรู้ใจของเรา
เราจะทำอะไร เราก็ทำด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา ยังประโยชน์ให้เกิดให้เต็มที่ ทรัพย์ภายในก็เต็มเปี่ยมทรัพย์ภายนอกเราก็ยังประโยชน์ให้เต็มที่ ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาเรื่องเพียงแค่เรื่องกายหายใจเข้าออกก็รู้ให้เท่าทัน รู้ให้ชัดเจน สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อันนี้เป็นแค่เพียงอุบาย ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง หายใจละเอียดเป็นอย่างไร หายใจหยาบเป็นอย่างไร
การหายใจเข้า หายใจออก อันนี้เขาเรียกว่า ‘รู้กาย’ ลึกลงไปก็ ‘รู้ใจ’ ใจมันจะก่อตัวปุ๊บ สติก็จะรู้เท่าทัน ก็จะเห็น เราก็รู้จักแก้ไขปรับปรุงตัวเรา นี่แหละจากเรื่องน้อยๆ นี่แหละ มันก็จะไปเห็นเยอะๆ เยอะๆ จนเห็นจนเต็มรอบ จนไม่ได้สร้าง จนเหลือตั้งแต่ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญาเขาจะรักษาเราเอง ยืนเดินนั่งนอนก็ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อนะ อันนี้เพียงแค่ย้ำแค่เตือนเท่านั้นเอง
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรูสัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจน
เพียงแค่เราทำความเข้าใจ ลักษณะของความรู้สึกรับรู้ของการหายใจเข้าออกให้ต่อเนื่อง ตรงนี้เราก็รู้อยู่เป็นบางครั้งบางคราว แต่เรารู้ไม่ต่อเนื่อง แล้วก็รู้ไม่ชำนาญ ฟังไปด้วย นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ เพียงแค่เรื่องการหายใจเข้าออก พวกเราก็ขาดการทำความเข้าใจ ทั้งที่หายใจมาตั้งแต่เกิด
เรื่องศรัทธานั้นมีกันเต็มเปี่ยม ความเสียสละ ผ่านกาลผ่านเวลา ความรับผิดชอบผิดถูกชั่วดี จนกระทั่งร่างกายของเราอายุถึงขนาดนี้ ก็มีมากันทุกคน จะมีมากมีน้อย ก็มีกันหมดทุกคน
การทำบุญให้ทาน ก็พากันฝักใฝ่อยู่ แต่การทำความเข้าใจกับการเจริญหรือว่าการสร้างความรู้ตัว เราพยายามฝึกให้เกิดความเคยชิน ความรู้ตัวอยู่ปัจจุบันธรรม คือทุกขณะลมหายใจเข้าหายใจออก
ช่วงใหม่ๆ นี่ก็อาจจะอึดอัด อาจจะพลั้งเผลอ เพราะว่าความเคยชินเก่าๆ เขาครอบงำเอาไว้ หรือว่าสมมติครอบงำเอาไว้ ถ้าเรามาศึกษาให้ละเอียดตั้งแต่ตื่นขึ้นมา หายใจอย่างไร เราถึงจะรู้ให้ต่อเนื่อง เราเผลอได้อย่างไร
ส่วนความคิดที่เกิดจากตัวจิตวิญญาณนั้นเค้ามีอยู่แล้ว เขาเกิดอยู่แล้ว ความคิดที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งใจนั้นเขาก็มีอยู่แล้วเพราะว่าขันธ์ห้ามีกันทุกคน อันนั้นเอาไว้ทีหลัง
ถ้าความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เราก็จะเห็นว่าใจที่ปกติเป็นอย่างไร ใจที่ก่อตัว ใจที่เกิดส่งไปภายนอกเป็นอย่างไร ความหมายอะไรที่เกิด เราต้องให้เข้าถึงความหมาย เรารู้จักแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา เราก็จะเข้าใจในชีวิตของเราด้วยปัญญาที่เกิดจากการเจริญภาวนา เกิดจากการทำความเข้าใจจนเป็นอัตโนมัติ จนไม่ได้สร้าง โน่นแหละ จนปัญญาอัตโนมัติ
ปัญญาก่อนที่จะเป็นอัตโนมัติได้ ใจของเราต้องคลายออกจากขันธ์ห้า ตามทำความเข้าใจกับความคิด กับอารมณ์ ถึงเราไม่รู้เท่าทันตรงนี้ เราก็ควบคุมใจของเราได้ บังคับใจของเราได้ แต่ปัญญาไม่รอบรู้ในกองสังขาร ไม่รอบรู้ในความคิด แต่ก็ดับทุกข์ได้เหมือนกัน แต่ปัญญาไม่เต็มรอบ ต้องให้เต็มรอบทั้งสมมติ ทั้งวิมุตติ จนหมดเรื่องราวที่จะแก้ไขปรับปรุงได้ จนอยู่อุเบกขาวางเฉยรับรู้ อะไรผิดถูกชั่วดีอย่างไร มีตั้งแต่ปัญญาเข้าไปทำหน้าที่แทนทุกเรื่อง
การได้ยินได้ฟังได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม ทุกสิ่งทุกอย่างก็ล้วนแต่เป็นธรรม เราได้ฟังธรรมตลอดเวลา ถ้าใจของเราเป็นธรรม ตากระทบรูป หูกระทบเสียง ลิ้นกระทบรส กายสัมผัส มีสติรู้ใจของเรา
เราจะทำอะไร เราก็ทำด้วยเหตุด้วยผล ด้วยสติด้วยปัญญา ยังประโยชน์ให้เกิดให้เต็มที่ ทรัพย์ภายในก็เต็มเปี่ยมทรัพย์ภายนอกเราก็ยังประโยชน์ให้เต็มที่ ก็ต้องพยายามกันนะ
เอาเรื่องเพียงแค่เรื่องกายหายใจเข้าออกก็รู้ให้เท่าทัน รู้ให้ชัดเจน สูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ อันนี้เป็นแค่เพียงอุบาย ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง หายใจละเอียดเป็นอย่างไร หายใจหยาบเป็นอย่างไร
การหายใจเข้า หายใจออก อันนี้เขาเรียกว่า ‘รู้กาย’ ลึกลงไปก็ ‘รู้ใจ’ ใจมันจะก่อตัวปุ๊บ สติก็จะรู้เท่าทัน ก็จะเห็น เราก็รู้จักแก้ไขปรับปรุงตัวเรา นี่แหละจากเรื่องน้อยๆ นี่แหละ มันก็จะไปเห็นเยอะๆ เยอะๆ จนเห็นจนเต็มรอบ จนไม่ได้สร้าง จนเหลือตั้งแต่ปัญญา สติ สมาธิ ปัญญาเขาจะรักษาเราเอง ยืนเดินนั่งนอนก็ให้เป็นแค่เพียงอิริยาบถ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปศึกษาทำความเข้าใจต่อนะ อันนี้เพียงแค่ย้ำแค่เตือนเท่านั้นเอง