หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 84 วันที่ 8 กันยายน 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 84 วันที่ 8 กันยายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 5 (ลำดับที่81-102)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 84
วันที่ 8 กันยายน 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักพักนึง ถึงเราทำไม่ได้ตลอดต่อเนื่องกันทั้งวัน เดินปัญญายังไม่ได้ เราก็รู้จักวิธีการเจริญสติ
นั่งตามสบาย วางกายสบาย กายของเขาก็วางจากภาระหน้าที่ทางบ้านทางช่อง จนกระทั่งเข้ามาถึงวัด ทีนี้เราก็มาหยุดความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากใจของเรา ด้วยการเจริญสติ ด้วยการสร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเราซึ่งเรียกว่า ‘อานาปานสติ’ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ปล่อยลมหายใจออกมายาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวๆ กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น หยุดความคิด หยุดการส่งไปภายนอก ความรู้สึกสัมผัสที่ลมหายใจกระทบปลายจมูกของเรา นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม เราพยายามสร้างขึ้นมา แล้วก็สร้างให้ต่อเนื่องตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่
พอรู้ตัวปุ๊บ เราก็รู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกปั๊บ ถ้ากำลังสติของเรามีเพียงพอ มีต่อเนื่อง เราก็จะรู้เท่าทัน รู้ลักษณะของใจ หรือว่าวิญญาณในขันธ์ห้าของเรา บางคนบางท่านก็เรียกว่า ‘ใจ’ ใจปกติเป็นอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร การก่อตัวของใจเป็นอย่างไร อาการของใจหรือว่าอาการของขันธ์ห้ากับใจ เขาไปรวมกันได้อย่างไร ตรงนี้แหละความหลงเลยทีเดียว ถ้าคลายได้ ถ้าสังเกตทัน ใจจะคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ หรือว่า เริ่มวิปัสสนา ความรู้แจ้งเห็นจริง
ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ท่านให้เห็นตรงนี้ก่อน ใจของเราคลายออก พลิกออกจากขันธ์ห้า ใจของเราก็จะหงาย ใจก็จะว่าง เบา กายก็จะเบา เห็นอัตตา อนัตตา รู้จักสมมติ วิมุตติ เข้าใจถึงคำสอนของพระพุทธองค์ ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี่ตามดู รู้ เห็น การเกิดการดับ ที่เรียกว่าเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกาย ในขันธ์ห้าของเรา เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป บางทีก็เป็นอดีตบ้าง บางทีก็เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง บางทีก็เป็นกลางๆ บ้าง แต่ตัววิญญาณของเราไปรวมเป็นตัวเดียวกัน ไปด้วยกัน ถ้าแยกได้ถึงจะเห็น
ถ้ากำลังสติของเรามีเพียงพอ มีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอ ถึงจะรู้เท่าทัน ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บมันจะได้ปั๊บ จะรู้จะเห็นปุ๊บ เราต้องค่อยเป็นค่อยไป สร้างสะสมกำลังสติ ค่อยสร้างสะสมกำลังปัญญา ค่อยสร้างสะสมตบะ บารมี การละกิเลสของเรามีหรือไม่ ความอ่อนน้อมถ่อมตนมีหรือไม่ สัจจะความจริงใจต่อตัวเรามีหรือไม่ เราต้องหัดวิเคราะห์ ความอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความขยันหมั่นเพียร ทุกสิ่งทุกอย่างเกื้อหนุนกันหมด
เหมือนกับเราขึ้นบนบ้าน ก็ต้องอาศัยบันได บันไดจากขั้นแรกถึงขั้นสุดท้าย จนถึงตัวเรือน การขึ้นถึงตัวเรือนนี่หมายถึง การแยกรูปแยกนาม วิญญาณส่วนหนึ่ง ส่วนอาการของวิญญาณส่วนหนึ่ง ทีนี้เราจะไปปัดกวาดบ้านของเราให้สะอาดอีกหรือไม่ การละกิเลสจะให้ออกจากจิตจากใจของเราหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ขอให้เรารู้ต้นเหตุให้ทัน รู้จักจุดปล่อย รู้จักจุดวาง รู้จักจุดต้นเหตุ
ศาสนาพุทธท่านสอนลงที่เหตุ มีเหตุมีผล เหตุส่วนนามธรรม เหตุส่วนรูปธรรม มีหมด ขอให้เราค้นคว้าให้เห็น ให้ทำความเข้าใจให้ต่อเนื่อง เราก็จะเข้าถึงคำสอนของท่านว่า ท่านสอนสัจจะ ความจริงมีอยู่ มีอยู่ในกายในใจของเรา ก็ต้องพยายามกัน แต่อย่าไปลืมในการทำบุญให้ทาน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนอย่าไปทิ้งบุญ การสร้างตบะ สร้างบารมี การสร้างสะสมคุณงามความดี ทำบุญให้กับตัวเรา ทำบุญให้กับพ่อกับแม่ กับพี่กับน้อง ทำบุญให้กับเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย
แล้วการเจริญสติ การเจริญปัญญา ลักษณะของสติ ที่ชัดเจนเป็นอย่างไร ลักษณะของใจที่ปกติ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร กายของเราทำหน้าที่อย่างไร เราต้องศึกษาให้ละเอียด ขณะที่ยังมีกำลัง ยังมีลมหายใจอยู่ อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขตัวเราใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ อยู่คนเดียวเราก็วิเคราะห์เรา แก้ไขเรา ชี้เหตุชี้ผล อบรมใจของเรา อันนี้ถูก อันนี้ผิด อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ความขยันพมั่นเพียร ระดับของสมมติ เราก็ขยันหมั่นเพียรให้เต็มเปี่ยม เท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวยให้ ก็ต้องพยายาม
สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจน อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้าง ศึกษาทำความเข้าใจต่อนะ หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้กระตุ้นให้ฟังเท่านั้นเอง
วันที่ 8 กันยายน 2557
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักพักนึง ถึงเราทำไม่ได้ตลอดต่อเนื่องกันทั้งวัน เดินปัญญายังไม่ได้ เราก็รู้จักวิธีการเจริญสติ
นั่งตามสบาย วางกายสบาย กายของเขาก็วางจากภาระหน้าที่ทางบ้านทางช่อง จนกระทั่งเข้ามาถึงวัด ทีนี้เราก็มาหยุดความนึกคิดปรุงแต่งที่เกิดจากใจของเรา ด้วยการเจริญสติ ด้วยการสร้างความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเราซึ่งเรียกว่า ‘อานาปานสติ’ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียกไปด้วย
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ปล่อยลมหายใจออกมายาวๆ ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ การสูดลมหายใจยาวๆ กายของเราก็จะสบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น หยุดความคิด หยุดการส่งไปภายนอก ความรู้สึกสัมผัสที่ลมหายใจกระทบปลายจมูกของเรา นั่นแหละเขาเรียกว่า ‘สติรู้กาย’ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่อง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม เราพยายามสร้างขึ้นมา แล้วก็สร้างให้ต่อเนื่องตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่
พอรู้ตัวปุ๊บ เราก็รู้ว่าลมวิ่งเข้าวิ่งออกปั๊บ ถ้ากำลังสติของเรามีเพียงพอ มีต่อเนื่อง เราก็จะรู้เท่าทัน รู้ลักษณะของใจ หรือว่าวิญญาณในขันธ์ห้าของเรา บางคนบางท่านก็เรียกว่า ‘ใจ’ ใจปกติเป็นอย่างไร ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร การก่อตัวของใจเป็นอย่างไร อาการของใจหรือว่าอาการของขันธ์ห้ากับใจ เขาไปรวมกันได้อย่างไร ตรงนี้แหละความหลงเลยทีเดียว ถ้าคลายได้ ถ้าสังเกตทัน ใจจะคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ หรือว่า เริ่มวิปัสสนา ความรู้แจ้งเห็นจริง
ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ท่านให้เห็นตรงนี้ก่อน ใจของเราคลายออก พลิกออกจากขันธ์ห้า ใจของเราก็จะหงาย ใจก็จะว่าง เบา กายก็จะเบา เห็นอัตตา อนัตตา รู้จักสมมติ วิมุตติ เข้าใจถึงคำสอนของพระพุทธองค์ ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมานี่ตามดู รู้ เห็น การเกิดการดับ ที่เรียกว่าเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในกาย ในขันธ์ห้าของเรา เขาเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป บางทีก็เป็นอดีตบ้าง บางทีก็เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง บางทีก็เป็นกลางๆ บ้าง แต่ตัววิญญาณของเราไปรวมเป็นตัวเดียวกัน ไปด้วยกัน ถ้าแยกได้ถึงจะเห็น
ถ้ากำลังสติของเรามีเพียงพอ มีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอ ถึงจะรู้เท่าทัน ไม่ใช่ว่าทำปุ๊บมันจะได้ปั๊บ จะรู้จะเห็นปุ๊บ เราต้องค่อยเป็นค่อยไป สร้างสะสมกำลังสติ ค่อยสร้างสะสมกำลังปัญญา ค่อยสร้างสะสมตบะ บารมี การละกิเลสของเรามีหรือไม่ ความอ่อนน้อมถ่อมตนมีหรือไม่ สัจจะความจริงใจต่อตัวเรามีหรือไม่ เราต้องหัดวิเคราะห์ ความอนุเคราะห์เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความขยันหมั่นเพียร ทุกสิ่งทุกอย่างเกื้อหนุนกันหมด
เหมือนกับเราขึ้นบนบ้าน ก็ต้องอาศัยบันได บันไดจากขั้นแรกถึงขั้นสุดท้าย จนถึงตัวเรือน การขึ้นถึงตัวเรือนนี่หมายถึง การแยกรูปแยกนาม วิญญาณส่วนหนึ่ง ส่วนอาการของวิญญาณส่วนหนึ่ง ทีนี้เราจะไปปัดกวาดบ้านของเราให้สะอาดอีกหรือไม่ การละกิเลสจะให้ออกจากจิตจากใจของเราหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความเพียรของเรา ขอให้เรารู้ต้นเหตุให้ทัน รู้จักจุดปล่อย รู้จักจุดวาง รู้จักจุดต้นเหตุ
ศาสนาพุทธท่านสอนลงที่เหตุ มีเหตุมีผล เหตุส่วนนามธรรม เหตุส่วนรูปธรรม มีหมด ขอให้เราค้นคว้าให้เห็น ให้ทำความเข้าใจให้ต่อเนื่อง เราก็จะเข้าถึงคำสอนของท่านว่า ท่านสอนสัจจะ ความจริงมีอยู่ มีอยู่ในกายในใจของเรา ก็ต้องพยายามกัน แต่อย่าไปลืมในการทำบุญให้ทาน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนอย่าไปทิ้งบุญ การสร้างตบะ สร้างบารมี การสร้างสะสมคุณงามความดี ทำบุญให้กับตัวเรา ทำบุญให้กับพ่อกับแม่ กับพี่กับน้อง ทำบุญให้กับเพื่อนเกิดแก่เจ็บตาย
แล้วการเจริญสติ การเจริญปัญญา ลักษณะของสติ ที่ชัดเจนเป็นอย่างไร ลักษณะของใจที่ปกติ ใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร กายวิเวกเป็นอย่างไร ใจวิเวกเป็นอย่างไร กายของเราทำหน้าที่อย่างไร เราต้องศึกษาให้ละเอียด ขณะที่ยังมีกำลัง ยังมีลมหายใจอยู่ อย่าไปผัดวันประกันพรุ่ง ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขตัวเราใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ อยู่คนเดียวเราก็วิเคราะห์เรา แก้ไขเรา ชี้เหตุชี้ผล อบรมใจของเรา อันนี้ถูก อันนี้ผิด อะไรควรละ อะไรควรเจริญ ความขยันพมั่นเพียร ระดับของสมมติ เราก็ขยันหมั่นเพียรให้เต็มเปี่ยม เท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวยให้ ก็ต้องพยายาม
สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ชัดเจน อยู่หลายคนก็เหมือนกับอยู่คนเดียว อยู่คนเดียวขณะนี้ก็ให้รู้ว่าลมที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้าง ศึกษาทำความเข้าใจต่อนะ หลวงพ่อเพียงแค่เล่าให้กระตุ้นให้ฟังเท่านั้นเอง