หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 83 วันที่ 6 กันยายน 2557
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้_หลวงพ่อกล้วย ลำดับที่ 83 วันที่ 6 กันยายน 2557
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ชุดที่ 5 (ลำดับที่81-102)
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ลำดับที่ 83
วันที่ 6 กันยายน 2557
เจริญธรรมญาติโยมทุกคนทุกท่าน ขอให้ญาติโยมจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเรา ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก ‘รู้’ มีความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเรา เสียงก็สักแต่ว่าเสียง
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา ชัดเจน เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้แหละ เวลาลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่
ความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เชื่อมโยง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ เพียงแค่สร้าง แล้วก็ทำให้ต่อเนื่อง ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ อย่าไปเกียจคร้าน จนกว่าจะรู้เท่าทันใจของเรา รู้ลักษณะใจของเรา ใจที่ปกติเป็นอย่างไร เวลาใจปรุงแต่งความคิด ส่งออกไปภายนอก เขาเริ่มก่อตัวอย่างไร บางทีก็มีความคิดที่แทรกเข้ามา แล้วใจของเราเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ตรงนี้แหละ เขาเรียกว่า ‘อวิชชา’ ความไม่รู้ ความไม่รู้ เราต้องมาสร้าง เจริญสติ ใจของเรานั้นเป็นธาตุรู้ แต่เขายังเกิดอยู่ คิดก็รู้ ทำก็รู้ นั่นแหละเขายังหลง เพียงแค่การเกิดนั่นเขาก็หลง หลงเกิด เขาหลงมานานแล้ว เขาหลงมาเกิดอยู่ในกายเนื้อ มาสร้างกายเนื้อ มาสร้างขันธ์ห้า เข้ามาปกปิดตัวเขาเอาไว้ เราต้องใช้ปัญญา แนวทางของพระพุทธองค์ เข้าไปวิเคราะห์ด้วยการเจริญสติเข้าไปสังเกต
แต่เวลานี้กำลังสติ หรือว่าความรู้ตัว รู้กายของเรามีไม่เพียงพอ เพราะว่าความคิดเก่า ปัญญาเก่า ของเก่านั่นเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็หาเหตุหาผลที่จะมาปิดบังอำพรางตัวเอง ท่านถึงให้เจริญสติ แล้วก็เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน เข้าไปแก้ไข ใจของเราเกิดความทะเยอทะยานอยาก เราก็พยายามดับ หยุดความอยากด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการคลาย
ใจของเราเกิดความโกรธ เราก็พยายามให้อภัย อโหสิกรรม ให้อภัยทาน ทำในสิ่งตรงกันข้าม กำลังสติของเรามีเพียงพอหรือไม่ ศรัทธานั้นมีกันทุกคน ฝักใฝ่ในการทำบุญ ในการให้ทาน พรหมวิหารก็มีกันทุกคน จะมีมากมีน้อย อันนั้นเป็นการเอาไปใช้อยู่ในระดับของสมมติ
ในระดับของวิมุตติเราต้องเจริญสติเข้าไปจนรู้เท่าทัน ใจคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ เพียงแค่แยกได้คลายได้ อันนั้นเป็นแค่เริ่มต้น เราต้องตามทำความเข้าใจ เห็นการเกิดการดับของความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘ขันธ์ห้า’ เป็นเรื่องอะไร เป็นกุศลหรือว่าอกุศล หรือว่าเป็นกลาง ๆ เขาเกิดยังไง เขาตั้งอยู่ยังไง เขาดับไปได้ยังไง จนถึงหลักของ ‘อนัตตา’ ความว่างเปล่า แต่ละเรื่องๆ เราต้องวิเคราะห์ พิจารณาใจของเราให้ละเอียด รู้จักใจของตัวเรา รู้ฐานใจของเรา
ปฏิบัติธรรม ไม่รู้ใจ ก็ไม่รู้จะว่ายังไง ธรรม อะไรคือ ‘ธรรม’ อะไรคือ ‘อธรรม’ อะไรคือ ‘กุศล’ เราก็ต้องหัดวิเคราะห์ ทำเอาบำเพ็ญเอา ค่อยแก้ไข ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ทั้งสมมติในสิ่งที่เราไปยุ่งเกี่ยว ภาระหน้าที่ต่างๆ ยังสมมติให้เกิดประโยชน์ ทั้งสองอย่างก็เอื้ออำนวยกัน ทั้งใจ ทั้งสมมติวิมุตติ ก็ต้องพยายามศึกษาเอา ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ต้องพยายาม สักวันนึงเราก็คงจะเข้าใจในชีวิตของเรา ไม่เข้าใจเร็ว ก็ต้องเข้าใจช้า ตราบใดที่เรายังเดินอยู่ สักวันก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือ การกระทำ เราต้องพยายามทำกันให้ได้ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็พยายามทำ ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ทุกคนก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด ทุกคนก็มีวิญญาณเหมือนกันหมด อย่าไปโต้ไปเถียงกัน ธรรมะมีไว้ให้ศึกษามีไว้ให้ทำความเข้าใจ อะไรคือธรรม อะไรคือโลก ตัวใจนั่นแหละคือธรรม แต่เวลานี้ใจของเรายังเกิดอยู่ ยังโลกอยู่ ต้องคลายใจของเราให้ตกกระแสธรรม แล้วละกิเลสออกให้หมด กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด
ภาษาธรรมะ ภาษาโลก ภาษาธรรม สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง แยกรูป รส กลิ่น เสียงออกจากใจของเรา มีสติปัญญาคอยอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมา อยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ กิเลสตัวไหนมันยังเกิดอยู่ เราก็พยายามละ พยายามดับ การพูดนี่ง่าย แต่การลงมือต้องอาศัยกาล อาศัยเวลา อาศัยความเพียร อาศัยความดำเนินที่ถูกต้องว่าลักษณะของใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ทำไมขันธ์ห้าถึงมาปรุงแต่งใจ เพียงแค่นิวรณธรรมเป็นลักษณะอย่างไร สติเราพลั้งเผลอได้ยังไง เราเกียจคร้าน ความเกียจคร้านครอบงำที่สติปัญญาของเรา หรือว่าใจของเราเกิดความเกียจคร้าน ต้องจำแนกแจกแจงให้ชัดเจนทุกเรื่อง
เราละกิเลสได้ระดับไหน กิเลสหยาบกิเลสละเอียด กิเลสเกิดขึ้นที่กาย หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ ใจส่งเสริมกิเลส ใจส่งออกไปภายนอก ลักษณะเข้าหลักของธรรม เขาว่าสัจจะ ความจริงเป็นอย่างไร อริยสัจที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเป็นลักษณะอย่างไร เราต้องทำให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ให้เห็นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ
ถ้าเราเข้าใจวิธีการแล้ว แนวทางแล้ว การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ความอยากเป็นอย่างนี้ ความกลัวเป็นอย่างนี้ เราละได้ในระดับไหน ระดับต้น ระดับกลาง ระดับปลาย หรือว่าปล่อย ส่งเสริมไปเลย เราก็ต้องพยายามดู
เราจะเอาอะไรมาใช้ วิชา ปัญญาของเราเข้มแข็งหรือไม่ ไม่จำเป็นไม่ต้องไปพูดมากเลย เอาการงานเป็นการปฏิบัติ ทำงานไปด้วย ใจรับรู้ไปด้วย มีความสุข ละความเกียจคร้านไปด้วย อะไรขาดตกบกพร่อง สมมติขาดตกบกพร่อง เราก็ช่วยกันทำ ไม่ว่าหนัก ไม่ว่าเบา เราก็ช่วยกันทำ
สมัยก่อนสามสิบปี ไม่น่าอยู่อย่างนี้หรอก ที่เดิน ที่นั่ง ที่อยู่ ที่ถ่าย ที่เยี่ยว ทุกอย่างก็ช่วยกันทำ ช่วยเหลือกันมา จากน้อยๆ จากคนรุ่นก่อนเขาทำมา พวกท่านได้เดินสะดวกสบาย จากถนนหนทาง จากทะเล จากปากทางเข้ามา เดิมไม่น่าอยู่ไม่น่าเข้า ความสะอาด ความเป็นระเบียบ กว่าจะดำเนินมาได้ ต้นไม้ ที่พักที่อาศัยต่างๆ อันนี้แหละเขาเรียกว่า ‘สมมติ’ ยังสมมติให้เกิดความบริบูรณ์ จากรุ่นต่อรุ่น จากสมัยก่อนก็ช่วยกันมา พวกเราก็มาสร้างเสริมเติมแต่งต่อให้สมบูรณ์แบบ
เรามาก็มีความสุข ไม่ใช่ว่ามีตั้งแต่ความเกียจคร้าน มาแล้วก็มีแต่ความเกียจคร้าน งอมืองอเท้า ทำอะไรก็ไม่เป็น หนักตัวเอง หนักคนอื่น เราก็ต้องพยายามแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา เพียงแค่ระดับของสมมติ เราก็ต้องขยันหมั่นเพียร ก็จะส่งผลถึงทางด้านจิตใจ ก็พลอยสะดวกสบายไปด้วย
ไปอยู่ที่ไหน อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์อย่างไร ที่นี่ก็ลึกลงไป ก็ดู รู้ใจของเรา การเกิดการดับ เห็นลักษณะของใจ ไม่ใช่ว่าใจวิ่งส่งออกไปภายนอกอย่างเดียว ต้องพยายามให้ใจ ปรับปรุงสภาพใจของเรา อบรมใจของเราได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จากน้อยๆ ไปหามากๆ อาศัยกาล อาศัยเวลา อาศัยความเพียร
ทุกอย่างต้องประกอบกันเข้า จนถึงวาระเวลา ก็ต้องได้วางหมด แต่เราต้องให้รู้จุดปล่อย จุดวางภายในของเราให้ได้ วางขณะที่พูด วางขณะที่คิด วางขณะที่ทำการทำงานนี่แหละ ใจของเราวางจากขันธ์ห้า ที่นี่เราจะละกิเลสได้หรือไม่ ก็ต้องจัดการด้วยสติ ด้วยปัญญาของเรา ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอานะ
วันที่ 6 กันยายน 2557
เจริญธรรมญาติโยมทุกคนทุกท่าน ขอให้ญาติโยมจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเรา ที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราให้ชัดเจน นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย ไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วย น้อมสำเหนียก ‘รู้’ มีความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจของเรา เสียงก็สักแต่ว่าเสียง
ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ แล้วก็ผ่อนลมหายใจออกมายาวๆ กายของเราก็สบายขึ้นเยอะ ใจของเราก็สงบตั้งมั่นขึ้น ความรู้สึกรับรู้ สัมผัสของลมหายใจที่กระทบปลายจมูกของเรา ชัดเจน เราพยายามสร้างความรู้ตัวตรงนี้แหละ เวลาลมหายใจเข้าก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ลมหายใจออกก็มีความรู้สึกรับรู้อยู่ ตั้งแต่ตื่นขึ้น ตั้งแต่ยังไม่ลุกจากที่
ความรู้ตัวของเราต่อเนื่อง เชื่อมโยง เขาเรียกว่า ‘สัมปชัญญะ’ เพียงแค่สร้าง แล้วก็ทำให้ต่อเนื่อง ความรู้สึกพลั้งเผลอเริ่มใหม่ อย่าไปเกียจคร้าน จนกว่าจะรู้เท่าทันใจของเรา รู้ลักษณะใจของเรา ใจที่ปกติเป็นอย่างไร เวลาใจปรุงแต่งความคิด ส่งออกไปภายนอก เขาเริ่มก่อตัวอย่างไร บางทีก็มีความคิดที่แทรกเข้ามา แล้วใจของเราเคลื่อนเข้าไปรวมได้อย่างไร ตรงนี้แหละ เขาเรียกว่า ‘อวิชชา’ ความไม่รู้ ความไม่รู้ เราต้องมาสร้าง เจริญสติ ใจของเรานั้นเป็นธาตุรู้ แต่เขายังเกิดอยู่ คิดก็รู้ ทำก็รู้ นั่นแหละเขายังหลง เพียงแค่การเกิดนั่นเขาก็หลง หลงเกิด เขาหลงมานานแล้ว เขาหลงมาเกิดอยู่ในกายเนื้อ มาสร้างกายเนื้อ มาสร้างขันธ์ห้า เข้ามาปกปิดตัวเขาเอาไว้ เราต้องใช้ปัญญา แนวทางของพระพุทธองค์ เข้าไปวิเคราะห์ด้วยการเจริญสติเข้าไปสังเกต
แต่เวลานี้กำลังสติ หรือว่าความรู้ตัว รู้กายของเรามีไม่เพียงพอ เพราะว่าความคิดเก่า ปัญญาเก่า ของเก่านั่นเขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เขาก็หาเหตุหาผลที่จะมาปิดบังอำพรางตัวเอง ท่านถึงให้เจริญสติ แล้วก็เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน เข้าไปแก้ไข ใจของเราเกิดความทะเยอทะยานอยาก เราก็พยายามดับ หยุดความอยากด้วยการให้ ด้วยการเอาออก ด้วยการคลาย
ใจของเราเกิดความโกรธ เราก็พยายามให้อภัย อโหสิกรรม ให้อภัยทาน ทำในสิ่งตรงกันข้าม กำลังสติของเรามีเพียงพอหรือไม่ ศรัทธานั้นมีกันทุกคน ฝักใฝ่ในการทำบุญ ในการให้ทาน พรหมวิหารก็มีกันทุกคน จะมีมากมีน้อย อันนั้นเป็นการเอาไปใช้อยู่ในระดับของสมมติ
ในระดับของวิมุตติเราต้องเจริญสติเข้าไปจนรู้เท่าทัน ใจคลายออกจากความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘แยกรูปแยกนาม’ เพียงแค่แยกได้คลายได้ อันนั้นเป็นแค่เริ่มต้น เราต้องตามทำความเข้าใจ เห็นการเกิดการดับของความคิด ซึ่งเรียกว่า ‘ขันธ์ห้า’ เป็นเรื่องอะไร เป็นกุศลหรือว่าอกุศล หรือว่าเป็นกลาง ๆ เขาเกิดยังไง เขาตั้งอยู่ยังไง เขาดับไปได้ยังไง จนถึงหลักของ ‘อนัตตา’ ความว่างเปล่า แต่ละเรื่องๆ เราต้องวิเคราะห์ พิจารณาใจของเราให้ละเอียด รู้จักใจของตัวเรา รู้ฐานใจของเรา
ปฏิบัติธรรม ไม่รู้ใจ ก็ไม่รู้จะว่ายังไง ธรรม อะไรคือ ‘ธรรม’ อะไรคือ ‘อธรรม’ อะไรคือ ‘กุศล’ เราก็ต้องหัดวิเคราะห์ ทำเอาบำเพ็ญเอา ค่อยแก้ไข ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แก้ไขใหม่ ปรับปรุงตัวเราใหม่ ทั้งสมมติในสิ่งที่เราไปยุ่งเกี่ยว ภาระหน้าที่ต่างๆ ยังสมมติให้เกิดประโยชน์ ทั้งสองอย่างก็เอื้ออำนวยกัน ทั้งใจ ทั้งสมมติวิมุตติ ก็ต้องพยายามศึกษาเอา ได้บ้างไม่ได้บ้างก็ต้องพยายาม สักวันนึงเราก็คงจะเข้าใจในชีวิตของเรา ไม่เข้าใจเร็ว ก็ต้องเข้าใจช้า ตราบใดที่เรายังเดินอยู่ สักวันก็คงจะถึงจุดหมายปลายทางกัน
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ทุกคนมีกันเต็มเปี่ยม แต่การลงมือ การกระทำ เราต้องพยายามทำกันให้ได้ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ก็พยายามทำ ไม่ว่าพระ ว่าโยม ว่าชี ทุกคนก็มีขันธ์ห้าเหมือนกันหมด ทุกคนก็มีวิญญาณเหมือนกันหมด อย่าไปโต้ไปเถียงกัน ธรรมะมีไว้ให้ศึกษามีไว้ให้ทำความเข้าใจ อะไรคือธรรม อะไรคือโลก ตัวใจนั่นแหละคือธรรม แต่เวลานี้ใจของเรายังเกิดอยู่ ยังโลกอยู่ ต้องคลายใจของเราให้ตกกระแสธรรม แล้วละกิเลสออกให้หมด กิเลสหยาบ กิเลสละเอียด
ภาษาธรรมะ ภาษาโลก ภาษาธรรม สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง แยกรูป รส กลิ่น เสียงออกจากใจของเรา มีสติปัญญาคอยอบรมใจของเราอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่ตื่นขึ้นมา อยู่ด้วยปัญญาล้วนๆ กิเลสตัวไหนมันยังเกิดอยู่ เราก็พยายามละ พยายามดับ การพูดนี่ง่าย แต่การลงมือต้องอาศัยกาล อาศัยเวลา อาศัยความเพียร อาศัยความดำเนินที่ถูกต้องว่าลักษณะของใจที่ไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร ใจที่ไม่เกิดเป็นอย่างไร ทำไมขันธ์ห้าถึงมาปรุงแต่งใจ เพียงแค่นิวรณธรรมเป็นลักษณะอย่างไร สติเราพลั้งเผลอได้ยังไง เราเกียจคร้าน ความเกียจคร้านครอบงำที่สติปัญญาของเรา หรือว่าใจของเราเกิดความเกียจคร้าน ต้องจำแนกแจกแจงให้ชัดเจนทุกเรื่อง
เราละกิเลสได้ระดับไหน กิเลสหยาบกิเลสละเอียด กิเลสเกิดขึ้นที่กาย หรือว่าเกิดขึ้นที่ใจ ใจส่งเสริมกิเลส ใจส่งออกไปภายนอก ลักษณะเข้าหลักของธรรม เขาว่าสัจจะ ความจริงเป็นอย่างไร อริยสัจที่พระพุทธองค์ท่านได้ค้นพบเป็นลักษณะอย่างไร เราต้องทำให้ปรากฏขึ้นที่ใจของเรา ให้เห็นที่ใจของเรา ท่านถึงบอกให้เชื่อ
ถ้าเราเข้าใจวิธีการแล้ว แนวทางแล้ว การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นอย่างนี้ กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ความอยากเป็นอย่างนี้ ความกลัวเป็นอย่างนี้ เราละได้ในระดับไหน ระดับต้น ระดับกลาง ระดับปลาย หรือว่าปล่อย ส่งเสริมไปเลย เราก็ต้องพยายามดู
เราจะเอาอะไรมาใช้ วิชา ปัญญาของเราเข้มแข็งหรือไม่ ไม่จำเป็นไม่ต้องไปพูดมากเลย เอาการงานเป็นการปฏิบัติ ทำงานไปด้วย ใจรับรู้ไปด้วย มีความสุข ละความเกียจคร้านไปด้วย อะไรขาดตกบกพร่อง สมมติขาดตกบกพร่อง เราก็ช่วยกันทำ ไม่ว่าหนัก ไม่ว่าเบา เราก็ช่วยกันทำ
สมัยก่อนสามสิบปี ไม่น่าอยู่อย่างนี้หรอก ที่เดิน ที่นั่ง ที่อยู่ ที่ถ่าย ที่เยี่ยว ทุกอย่างก็ช่วยกันทำ ช่วยเหลือกันมา จากน้อยๆ จากคนรุ่นก่อนเขาทำมา พวกท่านได้เดินสะดวกสบาย จากถนนหนทาง จากทะเล จากปากทางเข้ามา เดิมไม่น่าอยู่ไม่น่าเข้า ความสะอาด ความเป็นระเบียบ กว่าจะดำเนินมาได้ ต้นไม้ ที่พักที่อาศัยต่างๆ อันนี้แหละเขาเรียกว่า ‘สมมติ’ ยังสมมติให้เกิดความบริบูรณ์ จากรุ่นต่อรุ่น จากสมัยก่อนก็ช่วยกันมา พวกเราก็มาสร้างเสริมเติมแต่งต่อให้สมบูรณ์แบบ
เรามาก็มีความสุข ไม่ใช่ว่ามีตั้งแต่ความเกียจคร้าน มาแล้วก็มีแต่ความเกียจคร้าน งอมืองอเท้า ทำอะไรก็ไม่เป็น หนักตัวเอง หนักคนอื่น เราก็ต้องพยายามแก้ไขตัวเรา ปรับปรุงตัวเรา เพียงแค่ระดับของสมมติ เราก็ต้องขยันหมั่นเพียร ก็จะส่งผลถึงทางด้านจิตใจ ก็พลอยสะดวกสบายไปด้วย
ไปอยู่ที่ไหน อยู่คนเดียวก็มีความสุข อยู่หลายคนก็มีความสุข ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์อย่างไร ที่นี่ก็ลึกลงไป ก็ดู รู้ใจของเรา การเกิดการดับ เห็นลักษณะของใจ ไม่ใช่ว่าใจวิ่งส่งออกไปภายนอกอย่างเดียว ต้องพยายามให้ใจ ปรับปรุงสภาพใจของเรา อบรมใจของเราได้บ้าง ไม่ได้บ้าง จากน้อยๆ ไปหามากๆ อาศัยกาล อาศัยเวลา อาศัยความเพียร
ทุกอย่างต้องประกอบกันเข้า จนถึงวาระเวลา ก็ต้องได้วางหมด แต่เราต้องให้รู้จุดปล่อย จุดวางภายในของเราให้ได้ วางขณะที่พูด วางขณะที่คิด วางขณะที่ทำการทำงานนี่แหละ ใจของเราวางจากขันธ์ห้า ที่นี่เราจะละกิเลสได้หรือไม่ ก็ต้องจัดการด้วยสติ ด้วยปัญญาของเรา ก็ต้องพยายามกัน
เอาล่ะวันนี้ขอเจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อ ทำความเข้าใจกันเอานะ