หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 84
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 84
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 84
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2556
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน เราต้องพยายามทำความเข้าใจกับชีวิตของเรา เราต้องให้รู้ความหมายของการเจริญสติ ให้รู้ลักษณะของใจ รู้ลักษณะการเกิดการดับของใจ รู้อุบาย รู้วิธี รู้แนวทางในการพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราก็รีบสำรวจเรา ว่าเราขาดตกบกพร่องอะไร เราจะเสริมอะไร ทำไมใจของเราถึงเกิด ทำไมใจของเราถึงเป็นทุกข์ ทำไมกายของเราถึงเป็นทุกข์ ที่ท่านเรียกว่าก้อนทุกข์มันเป็นอย่างไร เราต้องพยายามศึกษา ทำความเข้าใจกันให้ต่อเนื่อง อย่าไปปล่อยปละละเลย ได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็พยายามทำ ใจทุกดวงนั้นมีบุญ ถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และก็มีโอกาสได้สร้างบุญสร้างกุศลกันอยู่ตลอดเวลา แต่ความเกิด ความเกิดกับความหลง ถ้าไม่เกิดก็ไม่หลง หลงเกิด คือการส่งใจออกไปภายนอก ลักษณะของใจที่สงบ ลักษณะของใจที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ลักษณะของใจที่ปราศจากกิเลส แต่ส่วนมากเราจะไปเหมารวมกัน คิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่ขาดการสังเกต ขาดการวิเคราะห์
มาสร้างตัวรู้ตัวใหม่ หรือว่ามาสร้างความรู้ตัว รู้กาย เรียกว่ามาสร้างสติเข้าไปควบคุมใจ เวลาใจเกิดความโลภ ความโกรธ ความอยาก เราก็พยายามหยุด ระงับ ยับยั้ง ดับ มีสติเข้าไปควบคุมใจ เห็นเป็นสองส่วน คือส่วนสมองกับส่วนกลางใจ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องบ่อยๆ จนทุกขณะลมหายใจเข้าออก เขาเรียกว่าทุกขณะลมหายใจเข้าออก เขาเรียกว่าสติสัมปชัญญะ เราก็จะเห็นการเกิดของความคิดกับใจ จะเคลื่อนเข้าไปรวมกัน ถ้ารู้เท่าทันตรงนั้นปุ๊บ ใจจะคลายออก นี่แหละความหลง หลงขันธ์ห้า หลงความคิดก็อยู่ตรงนี้ เวลาเขาคลายออก เขาเรียกว่าแยก เขาเรียกว่าแยก แยกรูปแยกนาม หงายจากของที่คว่ำขึ้นมา ใจก็เลยว่าง กายก็เลยเบา
น้อยคนที่จะสังเกตเห็นถ้าไม่มีความเพียรจริงๆ ส่วนมากก็ใจกับอาการของใจรวมกันไปแล้ว ส่งออกไปภายนอกแล้วเราถึงรู้ แล้วก็ทำตามความคิด ทำตามอารมณ์ ทำตามความทะเยอทะยานอยาก อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักของวิมุตติแล้ว ใจยังหลงยังเกิด ยังคลายไม่ได้ ถึงควบคุมได้ก็เพียงแค่ความสงบ เราต้องรู้ว่าใจของเราสงบด้วยสาเหตุอย่างไร ใจของเราสงบด้วยการควบคุมเอาไว้ ด้วยการข่ม หรือการรู้เห็นความเป็นจริง หรือใจที่คลายออกจากความยึดมั่นถือมั่น ละกิเลส ใจที่ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความอยาก ใจที่ไม่มีความเกิด สงบโดยการปล่อยการวาง โดยที่ไม่อยู่ใต้อำนาจของอะไร นี่เขาเรียกว่าสงบด้วยปัญญา สงบ เข้าถึงธรรมชาติที่แท้จริง
แต่ส่วนมากก็ได้เพียงแค่ควบคุม กับการทำบุญกับการให้ทานต่างๆ อันนี้ก็เป็นอานิสงส์เป็นบุญ อยู่ระดับของสมมติของโลกีย์ ถ้าเราศึกษาให้ละเอียดจริงๆ เราก็จะลึกลงไปเรื่อยๆ จนไม่เหลืออะไร ในความเหลืออยู่ คือความว่าง ในความว่างคือดวงวิญญาณในกายเนื้อของเรา ในขันธ์ห้าของเรา พยายามศึกษาดูให้ดีๆ ถ้าเราไม่สังเกตวิเคราะห์ให้เห็นตามความเป็นจริงทุกเรื่องนี่ก็ยากที่เขาจะปล่อย ยากที่เขาจะวางได้นะ แต่ก็ไม่เหลือวิสัย พยายามทำเอา อยู่คนเดียวเราก็รู้เรา อยู่หลายคนเราก็รู้เรา ไม่จำเป็นต้องไปเที่ยวหาที่ไหนเลย เน้นสติลงที่ใจที่กายของเรา อันนี้คือเรื่องสมมติ วิมุตติ สมมติกับวิมุตติเขาก็อยู่ด้วยกันนั่นแหละ ใจกับกายเขาก็อยู่ด้วยกัน แต่เราต้องมาสร้างความรู้ตัว หรือว่าเจริญสติตัวใหม่เข้าไปให้เร็วให้ไว ให้ต่อเนื่อง รู้ไม่ทันต้นเหตุ ก็รู้จักระงับยับยั้ง รู้จักดับ ถ้าแยกแยะได้
ถ้าขาดการตามดู รู้เห็นตามความเป็นจริงทุกเรื่องอีก เขาก็กลับคืนสู่สภาพเดิม ถ้าเราตามดูทุกเรื่องได้ ไม่ให้ปล่อยโอกาสทิ้ง ปล่อยเวลาของกิเลสมาเล่นงานเรา กำลังสติของเราจะค้นคว้าหาทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล ให้ใจมองเห็นความเป็นจริง จนใจยอมรับความเป็นจริงได้หมด ดับ ละความเกิดที่ใจ ละกิเลสที่ใจได้หมด วางใจให้เป็นอิสระ เมื่อนั้นแหละกำลังสติที่เราสร้างมาถึงจะได้เป็นมหาสติ มหาสติ มหาปัญญา คือมากจนเป็นอัตโนมัติ จนเอาไปใช้การใช้งาน ทำหน้าที่แทนใจได้
อะไรผิดถูกชั่วดี สติปัญญาเข้าไปแก้ไขให้ใจรับรู้ ไม่ให้ใจเกิด อันนี้เรื่องของกาย เรื่องของใจ อันนี้ภาษาธรรมภาษาโลก สมมติวิมุตติ เขาแจง เขาแยกแยะกันอยู่ กายของเราทำไมถึงเป็นกองเป็นขันธ์ กายของเราทำไมถึงเป็นก้อนของกรรม ก้อนของกิเลส ที่ท่านเรียกว่าสมมติเป็นลักษณะอย่างนี้ วิมุตติเป็นลักษณะอย่างนี้ รอบรู้ในความคิด รอบรู้ในอารมณ์ รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในโลกธรรมที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว มันก็ไม่เหลือวิสัย ถ้าเราฝักใฝ่ ถ้าเราสนใจ ถ้าเราไม่สนใจก็ยิ่งห่างไกล ก็ต้องพยายามนะ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อนะ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 2 กรกฎาคม 2556
ขอให้ญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของเราให้ชัดเจน เราต้องพยายามทำความเข้าใจกับชีวิตของเรา เราต้องให้รู้ความหมายของการเจริญสติ ให้รู้ลักษณะของใจ รู้ลักษณะการเกิดการดับของใจ รู้อุบาย รู้วิธี รู้แนวทางในการพร่ำสอนใจของเราอยู่ตลอดเวลา เป็นเรื่องของตัวเราเอง ไม่ใช่เรื่องของคนอื่น
ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา เราก็รีบสำรวจเรา ว่าเราขาดตกบกพร่องอะไร เราจะเสริมอะไร ทำไมใจของเราถึงเกิด ทำไมใจของเราถึงเป็นทุกข์ ทำไมกายของเราถึงเป็นทุกข์ ที่ท่านเรียกว่าก้อนทุกข์มันเป็นอย่างไร เราต้องพยายามศึกษา ทำความเข้าใจกันให้ต่อเนื่อง อย่าไปปล่อยปละละเลย ได้บ้าง ไม่ได้บ้างก็พยายามทำ ใจทุกดวงนั้นมีบุญ ถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และก็มีโอกาสได้สร้างบุญสร้างกุศลกันอยู่ตลอดเวลา แต่ความเกิด ความเกิดกับความหลง ถ้าไม่เกิดก็ไม่หลง หลงเกิด คือการส่งใจออกไปภายนอก ลักษณะของใจที่สงบ ลักษณะของใจที่ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น ลักษณะของใจที่ปราศจากกิเลส แต่ส่วนมากเราจะไปเหมารวมกัน คิดก็รู้ ทำก็รู้ แต่ขาดการสังเกต ขาดการวิเคราะห์
มาสร้างตัวรู้ตัวใหม่ หรือว่ามาสร้างความรู้ตัว รู้กาย เรียกว่ามาสร้างสติเข้าไปควบคุมใจ เวลาใจเกิดความโลภ ความโกรธ ความอยาก เราก็พยายามหยุด ระงับ ยับยั้ง ดับ มีสติเข้าไปควบคุมใจ เห็นเป็นสองส่วน คือส่วนสมองกับส่วนกลางใจ ถ้าเรารู้ให้ต่อเนื่องบ่อยๆ จนทุกขณะลมหายใจเข้าออก เขาเรียกว่าทุกขณะลมหายใจเข้าออก เขาเรียกว่าสติสัมปชัญญะ เราก็จะเห็นการเกิดของความคิดกับใจ จะเคลื่อนเข้าไปรวมกัน ถ้ารู้เท่าทันตรงนั้นปุ๊บ ใจจะคลายออก นี่แหละความหลง หลงขันธ์ห้า หลงความคิดก็อยู่ตรงนี้ เวลาเขาคลายออก เขาเรียกว่าแยก เขาเรียกว่าแยก แยกรูปแยกนาม หงายจากของที่คว่ำขึ้นมา ใจก็เลยว่าง กายก็เลยเบา
น้อยคนที่จะสังเกตเห็นถ้าไม่มีความเพียรจริงๆ ส่วนมากก็ใจกับอาการของใจรวมกันไปแล้ว ส่งออกไปภายนอกแล้วเราถึงรู้ แล้วก็ทำตามความคิด ทำตามอารมณ์ ทำตามความทะเยอทะยานอยาก อาจจะถูกอยู่ระดับของสมมติ แต่ในหลักของวิมุตติแล้ว ใจยังหลงยังเกิด ยังคลายไม่ได้ ถึงควบคุมได้ก็เพียงแค่ความสงบ เราต้องรู้ว่าใจของเราสงบด้วยสาเหตุอย่างไร ใจของเราสงบด้วยการควบคุมเอาไว้ ด้วยการข่ม หรือการรู้เห็นความเป็นจริง หรือใจที่คลายออกจากความยึดมั่นถือมั่น ละกิเลส ใจที่ไม่มีความโลภ ความโกรธ ความอยาก ใจที่ไม่มีความเกิด สงบโดยการปล่อยการวาง โดยที่ไม่อยู่ใต้อำนาจของอะไร นี่เขาเรียกว่าสงบด้วยปัญญา สงบ เข้าถึงธรรมชาติที่แท้จริง
แต่ส่วนมากก็ได้เพียงแค่ควบคุม กับการทำบุญกับการให้ทานต่างๆ อันนี้ก็เป็นอานิสงส์เป็นบุญ อยู่ระดับของสมมติของโลกีย์ ถ้าเราศึกษาให้ละเอียดจริงๆ เราก็จะลึกลงไปเรื่อยๆ จนไม่เหลืออะไร ในความเหลืออยู่ คือความว่าง ในความว่างคือดวงวิญญาณในกายเนื้อของเรา ในขันธ์ห้าของเรา พยายามศึกษาดูให้ดีๆ ถ้าเราไม่สังเกตวิเคราะห์ให้เห็นตามความเป็นจริงทุกเรื่องนี่ก็ยากที่เขาจะปล่อย ยากที่เขาจะวางได้นะ แต่ก็ไม่เหลือวิสัย พยายามทำเอา อยู่คนเดียวเราก็รู้เรา อยู่หลายคนเราก็รู้เรา ไม่จำเป็นต้องไปเที่ยวหาที่ไหนเลย เน้นสติลงที่ใจที่กายของเรา อันนี้คือเรื่องสมมติ วิมุตติ สมมติกับวิมุตติเขาก็อยู่ด้วยกันนั่นแหละ ใจกับกายเขาก็อยู่ด้วยกัน แต่เราต้องมาสร้างความรู้ตัว หรือว่าเจริญสติตัวใหม่เข้าไปให้เร็วให้ไว ให้ต่อเนื่อง รู้ไม่ทันต้นเหตุ ก็รู้จักระงับยับยั้ง รู้จักดับ ถ้าแยกแยะได้
ถ้าขาดการตามดู รู้เห็นตามความเป็นจริงทุกเรื่องอีก เขาก็กลับคืนสู่สภาพเดิม ถ้าเราตามดูทุกเรื่องได้ ไม่ให้ปล่อยโอกาสทิ้ง ปล่อยเวลาของกิเลสมาเล่นงานเรา กำลังสติของเราจะค้นคว้าหาทำความเข้าใจ ชี้เหตุชี้ผล ให้ใจมองเห็นความเป็นจริง จนใจยอมรับความเป็นจริงได้หมด ดับ ละความเกิดที่ใจ ละกิเลสที่ใจได้หมด วางใจให้เป็นอิสระ เมื่อนั้นแหละกำลังสติที่เราสร้างมาถึงจะได้เป็นมหาสติ มหาสติ มหาปัญญา คือมากจนเป็นอัตโนมัติ จนเอาไปใช้การใช้งาน ทำหน้าที่แทนใจได้
อะไรผิดถูกชั่วดี สติปัญญาเข้าไปแก้ไขให้ใจรับรู้ ไม่ให้ใจเกิด อันนี้เรื่องของกาย เรื่องของใจ อันนี้ภาษาธรรมภาษาโลก สมมติวิมุตติ เขาแจง เขาแยกแยะกันอยู่ กายของเราทำไมถึงเป็นกองเป็นขันธ์ กายของเราทำไมถึงเป็นก้อนของกรรม ก้อนของกิเลส ที่ท่านเรียกว่าสมมติเป็นลักษณะอย่างนี้ วิมุตติเป็นลักษณะอย่างนี้ รอบรู้ในความคิด รอบรู้ในอารมณ์ รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในโลกธรรมที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว มันก็ไม่เหลือวิสัย ถ้าเราฝักใฝ่ ถ้าเราสนใจ ถ้าเราไม่สนใจก็ยิ่งห่างไกล ก็ต้องพยายามนะ
สร้างความรู้สึกรับรู้การหายใจให้ชัดเจน ให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน ค่อยไปสร้างสานต่อนะ