หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 28
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 28
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2556 ลำดับที่ 28
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 12 มีนาคม 2556
ขอญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาเราได้สร้างความรู้ตรวจแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ เราละไม่ได้ เราแยกไม่ได้ ก็ขอให้เรารู้จักคำว่าเจริญสติ ความรู้ตัวอยู่ปัจจุบันแล้วก็รู้ให้ต่อเนื่อง ระลึกได้เมื่อไรให้เรารีบทำ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง
การเจริญสติเป็นลักษณะอย่างนี้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นลักษณะอย่างนี้ ต่อไปก็การควบคุมจิต ควบคุมอารมณ์ จนกว่าจะรู้ลักษณะของจิตหรือว่ารู้ลักษณะวิญญาณในกายของเรา ว่าวิญญาณที่เกิดเป็นอย่างไร วิญญาณที่ปกติเป็นอย่างไร บางคนบางท่านก็พูดหลายสิ่งหลายอย่าง บางทีก็เรียกว่าใจ บางทีเขาเรียกว่าวิญญาณ แล้วแต่จะพูดแล้วแต่จะคิด ใจก็คือความเป็นกลางนั่นล่ะ วิญญาณก็อยู่ที่ใจนั่นแหละ ใจกับวิญญาณ ถ้าวิญญาณไม่เกิดเขาก็นิ่ง นิ่งอยู่ที่กลางใจ วิญญาณไม่มีกิเลสเขาก็นิ่ง
เราพยายามสร้างตัวรู้ให้ต่อเนื่อง เราก็จะรู้เท่าทัน รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็รู้จักควบคุมเขาเรียกว่า สมถะ ขณะที่วิญญาณเกิดนั่นแหละ บางทีความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดแทรกเข้ามา เขาเรียกว่า อาการของขันธ์ห้าซึ่งมีกันทุกคน จะมีมากมีน้อยมีกันทุกคน ใจทุกคนก็ฝักใฝ่ในบุญ ในการทำบุญ ในการให้ทาน ในการฝักใฝ่ในการสนใจ แต่การสนใจด้วยความอยากที่เกิดจากตัวใจนั้นเขายังเกิดอยู่ เราต้องมาดับความเกิด แล้วก็สังเกตวิเคราะห์จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากอาการของขันธ์ห้าได้ เราก็จะรู้ลักษณะของความว่าง ว่างจากขันธ์ห้า
แต่ตัวใจยังเกิดความยินดียินร้าย ยังเกิดกิเลสอยู่ เราก็มาจัดการสติที่เราสร้างขึ้นมา แล้วก็มาควบคุมใจของเรา มาดับ มาหยุด มาละที่ใจของเรา แล้วก็ทำในสิ่งตรงกันข้าม อย่างเช่น ใจเกิดความโกรธเราก็ดับความโกรธ เราก็ให้อภัยทาน ใจเกิดความโลภ เราก็ดับความโลภ เราก็เอาออก เราก็คลาย เราก็เป็นผู้ให้ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจของเรามีความแข็งกระด้าง เราก็พยายามปรับสภาพใจของเราให้มีความอ่อนโยนอ่อนน้อม มีความเสียสละ หนุนกำลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทนทุกเรื่อง
ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนแรกคือตัวสติ ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมา ตนที่สองคือตัวใจ ใจที่คลายออกจากความคิด ใจที่ไม่หลงความคิด ใจที่ไม่เกิดกิเลส ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ต้องพยายามทำกัน รู้ลักษณะข้องใจ รู้ฐานของใจให้ชัดเจน สักวันหนึ่งเราก็จะมองเห็นหนทางเดินว่า การเกิดเป็นทุกข์เราก็จะไม่เกิด เพียงแค่ตัววิญญาณเกิด หรือขันธ์ห้ามาปรุงแต่งวิญญาณเราต้องละทำความเข้าใจ เราละ เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ เราก็จะเข้าใจในธรรมะของพระพุทธองค์ ธรรมะก็คือธรรมชาติ ธรรมชาติของวิญญาณหรือว่าธรรมชาติของใจที่ไม่มีกิเลส ธรรมชาติของโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา โลกธรรมแปดเขาก็เป็นอยู่อย่างนั้น
กายเนื้อของเราก็ทำหน้าที่ของเราอยู่อย่างนี้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นทางผ่านของ รูป รส กลิ่น เสียง เรามีความรู้ตัวหรือว่ามีสติรู้ใจของเรา ให้ใจรับรู้ผิดถูกชั่วดีอย่างไร สติปัญญาไปแก้ไข พยายามกันนะ อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ขณะทำการทำงานมีสติรู้ใจ ใจรับรู้อยู่ตลอดเวลา การพูดง่ายนะ การลงมือ การสังเกต การวิเคราะห์ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียร มีความขยันหมั่นเพียร มีความเสียสละ มีความอดทน ทุกอย่างตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ ไม่ให้ใจของเราเกิดความอยากแม้แต่นิดเดียว อยากในอาหารก็เหมือนกัน อยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง
เพียงแค่ความอยากเราก็ไม่ให้เกิด กับความไม่อยากอีก ไม่ทั้งอยากทั้งไม่อยากอีก ถ้าใจของเราไม่เป็นกลาง ไม่นิ่ง มันก็อาจจะหาความเป็นกลางนี่ก็ต้องยากอยู่ ก็ต้องพยายามควบคุมอบรมหมั่นพร่ำสอนอยู่ตลอดเวลา จนกว่าเขาจะนิ่งได้นั่นแหละ ใจที่ฝึกดีแล้วถึงจะนำความสุขมาให้ ช่วงใหม่ๆ มันก็วิ่งหาทาง เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน ใจก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ขันธ์ห้าก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ กิเลสก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ กำลังฝ่ายไหนมันจะเยอะกว่ากัน ฝ่ายสติปัญญาฝ่ายกุศล ทำบ่อยๆจนกว่าอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเราได้ เอาสติปัญญาของเราไปใช้ได้นั่นแหละถึงจะอยู่กับสมมติอย่างมีความสงบความสุขกัน
หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปศึกษา ไม่ไปทำตั้งแต่ต้นเหตุก็จะไม่เข้าใจ ก็จะอยู่กับบุญ ทำบุญเป็นช่วงๆ แต่การละ การดับ การตามทำความเข้าใจ มันจะไม่ต่อเนื่อง เราก็ต้องพยายามดูรู้ให้ต่อเนื่องอย่าให้คลาดสายตาของสติปัญญาไปได้เลย เราก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะ วันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอา
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 12 มีนาคม 2556
ขอญาติโยมเราทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจให้ต่อเนื่องกันสักพักหนึ่ง ตั้งแต่ตื่นเช้าขึ้นมาเราได้สร้างความรู้ตรวจแล้วหรือยัง ถ้ายังก็เริ่มเสียนะ หยุดความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ เอาไว้ชั่วครั้งชั่วคราว ถึงเราหยุดไม่ได้ เราละไม่ได้ เราแยกไม่ได้ ก็ขอให้เรารู้จักคำว่าเจริญสติ ความรู้ตัวอยู่ปัจจุบันแล้วก็รู้ให้ต่อเนื่อง ระลึกได้เมื่อไรให้เรารีบทำ อย่าไปปล่อยโอกาสทิ้ง อย่าไปปล่อยเวลาทิ้ง
การเจริญสติเป็นลักษณะอย่างนี้ การเจริญสติที่ต่อเนื่องกันเป็นลักษณะอย่างนี้ ต่อไปก็การควบคุมจิต ควบคุมอารมณ์ จนกว่าจะรู้ลักษณะของจิตหรือว่ารู้ลักษณะวิญญาณในกายของเรา ว่าวิญญาณที่เกิดเป็นอย่างไร วิญญาณที่ปกติเป็นอย่างไร บางคนบางท่านก็พูดหลายสิ่งหลายอย่าง บางทีก็เรียกว่าใจ บางทีเขาเรียกว่าวิญญาณ แล้วแต่จะพูดแล้วแต่จะคิด ใจก็คือความเป็นกลางนั่นล่ะ วิญญาณก็อยู่ที่ใจนั่นแหละ ใจกับวิญญาณ ถ้าวิญญาณไม่เกิดเขาก็นิ่ง นิ่งอยู่ที่กลางใจ วิญญาณไม่มีกิเลสเขาก็นิ่ง
เราพยายามสร้างตัวรู้ให้ต่อเนื่อง เราก็จะรู้เท่าทัน รู้ไม่ทันต้นเหตุ เราก็รู้จักควบคุมเขาเรียกว่า สมถะ ขณะที่วิญญาณเกิดนั่นแหละ บางทีความคิดที่ไม่ตั้งใจคิดแทรกเข้ามา เขาเรียกว่า อาการของขันธ์ห้าซึ่งมีกันทุกคน จะมีมากมีน้อยมีกันทุกคน ใจทุกคนก็ฝักใฝ่ในบุญ ในการทำบุญ ในการให้ทาน ในการฝักใฝ่ในการสนใจ แต่การสนใจด้วยความอยากที่เกิดจากตัวใจนั้นเขายังเกิดอยู่ เราต้องมาดับความเกิด แล้วก็สังเกตวิเคราะห์จนกว่าใจของเราจะคลายออกจากอาการของขันธ์ห้าได้ เราก็จะรู้ลักษณะของความว่าง ว่างจากขันธ์ห้า
แต่ตัวใจยังเกิดความยินดียินร้าย ยังเกิดกิเลสอยู่ เราก็มาจัดการสติที่เราสร้างขึ้นมา แล้วก็มาควบคุมใจของเรา มาดับ มาหยุด มาละที่ใจของเรา แล้วก็ทำในสิ่งตรงกันข้าม อย่างเช่น ใจเกิดความโกรธเราก็ดับความโกรธ เราก็ให้อภัยทาน ใจเกิดความโลภ เราก็ดับความโลภ เราก็เอาออก เราก็คลาย เราก็เป็นผู้ให้ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจของเรามีความแข็งกระด้าง เราก็พยายามปรับสภาพใจของเราให้มีความอ่อนโยนอ่อนน้อม มีความเสียสละ หนุนกำลังสติปัญญาไปทำหน้าที่แทนทุกเรื่อง
ท่านถึงบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนแรกคือตัวสติ ความรู้ตัวที่เราสร้างขึ้นมา ตนที่สองคือตัวใจ ใจที่คลายออกจากความคิด ใจที่ไม่หลงความคิด ใจที่ไม่เกิดกิเลส ทำได้บ้างไม่ได้บ้างก็ต้องพยายามทำกัน รู้ลักษณะข้องใจ รู้ฐานของใจให้ชัดเจน สักวันหนึ่งเราก็จะมองเห็นหนทางเดินว่า การเกิดเป็นทุกข์เราก็จะไม่เกิด เพียงแค่ตัววิญญาณเกิด หรือขันธ์ห้ามาปรุงแต่งวิญญาณเราต้องละทำความเข้าใจ เราละ เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ เราก็จะเข้าใจในธรรมะของพระพุทธองค์ ธรรมะก็คือธรรมชาติ ธรรมชาติของวิญญาณหรือว่าธรรมชาติของใจที่ไม่มีกิเลส ธรรมชาติของโลกธรรม คือ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ นินทา โลกธรรมแปดเขาก็เป็นอยู่อย่างนั้น
กายเนื้อของเราก็ทำหน้าที่ของเราอยู่อย่างนี้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ซึ่งเป็นทางผ่านของ รูป รส กลิ่น เสียง เรามีความรู้ตัวหรือว่ามีสติรู้ใจของเรา ให้ใจรับรู้ผิดถูกชั่วดีอย่างไร สติปัญญาไปแก้ไข พยายามกันนะ อย่าพากันปล่อยวันเวลาทิ้ง ทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน กินอยู่ ขับถ่าย ขณะทำการทำงานมีสติรู้ใจ ใจรับรู้อยู่ตลอดเวลา การพูดง่ายนะ การลงมือ การสังเกต การวิเคราะห์ ต้องเป็นบุคคลที่มีความเพียร มีความขยันหมั่นเพียร มีความเสียสละ มีความอดทน ทุกอย่างตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนกระทั่งนอนหลับ ไม่ให้ใจของเราเกิดความอยากแม้แต่นิดเดียว อยากในอาหารก็เหมือนกัน อยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง
เพียงแค่ความอยากเราก็ไม่ให้เกิด กับความไม่อยากอีก ไม่ทั้งอยากทั้งไม่อยากอีก ถ้าใจของเราไม่เป็นกลาง ไม่นิ่ง มันก็อาจจะหาความเป็นกลางนี่ก็ต้องยากอยู่ ก็ต้องพยายามควบคุมอบรมหมั่นพร่ำสอนอยู่ตลอดเวลา จนกว่าเขาจะนิ่งได้นั่นแหละ ใจที่ฝึกดีแล้วถึงจะนำความสุขมาให้ ช่วงใหม่ๆ มันก็วิ่งหาทาง เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ เหมือนกัน ใจก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ ขันธ์ห้าก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ กิเลสก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ กำลังฝ่ายไหนมันจะเยอะกว่ากัน ฝ่ายสติปัญญาฝ่ายกุศล ทำบ่อยๆจนกว่าอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเราได้ เอาสติปัญญาของเราไปใช้ได้นั่นแหละถึงจะอยู่กับสมมติอย่างมีความสงบความสุขกัน
หลวงพ่อก็เพียงแค่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปศึกษา ไม่ไปทำตั้งแต่ต้นเหตุก็จะไม่เข้าใจ ก็จะอยู่กับบุญ ทำบุญเป็นช่วงๆ แต่การละ การดับ การตามทำความเข้าใจ มันจะไม่ต่อเนื่อง เราก็ต้องพยายามดูรู้ให้ต่อเนื่องอย่าให้คลาดสายตาของสติปัญญาไปได้เลย เราก็ต้องพยายามกันนะ
เอาล่ะ วันนี้ก็เจริญธรรมเพียงเท่านี้ พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจกันเอา