หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 61 วันที่ 22 สิงหาคม 2561
ชื่อตอน
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 61 วันที่ 22 สิงหาคม 2561
บันทึกเสียงเมื่อ
ชุด
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561
ถอดความฉบับเต็ม
หลวงพ่อฝากไว้ ปี 2561 ลำดับที่ 61
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 สิงหาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบายไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ สัก 2-3 เที่ยว ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะหยุดไป สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ รู้จักลักษณะของความรู้สึกตัวอยู่ปัจจุบัน ทุกขณะลมหายใจเข้าลมหายใจออกให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง
ส่วนการเกิดการดับของใจนั้นมีอยู่เดิม การเกิดการดับของความคิดนั้นมีอยู่เดิม เราพยายามหัดวิเคราะห์ หัดสังเกต หัดอบรมใจของเรา แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา พูดคุยกับใจของเรา สติปัญญาอบรมใจของเรา รู้ไม่ทันต้นเหตุก็ให้รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม พยายามฝึกให้เกิดความเคยชินทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย
ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ความคิดผุดขึ้นมา ลักษณะอาการเขาเกิดเขาปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ กายทำหน้าที่อย่างนี้ ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างนี้ เราต้องรู้จักให้ชัดเจนว่าลักษณะของสติความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง พยายามดำรงตรงนี้ให้เกิดความเคยชินหรือว่าสร้าง สร้างขึ้นมานั่นแหละ สร้างความรู้ตัวขึ้นมาให้ต่อเนื่องให้เข้มแข็ง
ขณะที่เรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน บางทีใจของเราก็จะเกิดส่งออกไปภายนอก เราก็จะรู้เราก็จะเห็นลักษณะหน้าตาอาการ เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ บางทีความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ความรู้ตัวเรา รู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เราก็จะเห็นเข้าสักวันหนึ่ง
ถ้าเห็นใจเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิด ใจก็จะคลาย หงายหรือว่าแยกรูปแยกนาม ตรงนี้แหละถึงเรียกว่า เห็นถูกความเห็นถูก เห็นถูกเราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ลักษณะอัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขันธ์ห้าในกายของเราเป็นอย่างนี้ เราก็จะเห็นชัดเจน
แต่เวลานี้กำลังสติ ทั้งกำลังสติ กำลังใจ กำลังขันธ์ห้า เขารวมกันไปเป็นก้อน เราต้องพยายามจำแนกแจกแจงออกให้เห็นทีละชิ้นทีละส่วน ความรู้ตัวไม่ต่อเนื่องเราก็พยายามสร้างขึ้นมา สร้างขึ้นมา อดทนฝืน แก้ไขปรับปรุง ตั้งแต่ตื่นขึ้น ถ้าเราไม่รู้จักแก้ไขเรา ไม่รู้จักพิจารณา ไม่รู้จักสังเกต ไม่รู้จักหยุด การเกิดของใจก็เอาไม่อยู่
เราพยายามหมั่นพร่ำสอนใจของเราจนชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในดวงวิญญาณในขันธ์ห้า รอบรู้ในปัจจัยสี่ รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็ต้องพยายามกัน
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน อันนี้เป็นเพียงแค่วิธีการแนวทาง ครูบาอาจารย์ สถานที่ เป็นแค่เพียงแผนที่ชี้แนะแนวทางให้ พวกท่านจะพากันไปทำหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวของพวกท่านเอง แต่ละวันๆ เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เรารู้จักละกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เรารู้จักควบคุมเรารู้จักดับ มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น อยู่คนเดียวก็มีความสุขอยู่หลายคนก็มีความสุข ถ้าเรารู้จักสังเกต เรารู้จักวิเคราะห์ แก้ไขตัวเรา สติปัญญานั่นแหละ คือครูบาอาจารย์คอยตรวจสอบใจของเรา อะไรผิดอะไรถูกเราก็พยายามแก้ไขเอา
ทุกเรื่องในชีวิตเป็นเรื่องของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จะลุกจะก้าวจะเดินใจปกติหรือไม่ จะรับประทานข้าวปลาอาหารใจเกิดความอยากหรือว่าใจเกิดความหิว กายเกิดกิเลสใจปรุงแต่งรวมหรือไม่ เหตุจากภายนอกหรือว่าเหตุจากภายใน เราต้องแก้ไขทั้งข้างนอกทั้งข้างใน มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่ได้กลับมาเกิดกัน
การเจริญสติเป็นอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องเป็นอย่างนี้ เอาไปใช้การใช้งาน การเกิดของใจเรารู้เห็นตั้งแต่เริ่มต้น กลางเหตุ ปลายเหตุ เขาเกิดอย่างไร เขาส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร เขารวมกันได้อย่างไร ทำไมพระพุทธองค์ถึงบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองวิญญาณ กองรูปกองนาม กองสังขาร กองความคิด กองอารมณ์ต่างๆ ที่ท่านว่าเป็นกองๆ ห้าขันธ์ห้ากอง เราจำแนกแจกแจงให้รู้เห็นตามความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ เข้าใจในหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐซึ่งมีอยู่ในกายของเราทุกคน เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะรู้เท่ารู้ทัน รู้จักจำแนกแจกแจง รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ให้ได้ตลอดเวลาจนเป็นอัตโนมัติ
ในการดู ในการรู้ รู้ไม่ทันต้นเหตุก็จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ใจเกิดความโลภพยายามละความโลภ ใจเกิดความโกรธละความโกรธ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจเกิดความโลภเราก็พยายามละความตระหนี่เหนียวแน่น ละความอยาก ใจเกิดความโกรธเราก็พยายามดับความโกรธ แล้วก็พยายามให้อภัยอโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี แก้ไข
กิเลสก็มีหลายชั้นหลายขั้นหลายตอน กิเลสหยาบกิเลสละเอียด มีหมดอยู่ในกายอยู่ในใจของเรา ขอให้เราเจริญสติให้ต่อเนื่องเอาไปใช้เอาไปวิเคราะห์ ตั้งแต่ต้นเหตุแล้วก็รู้จักแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องไปหาที่อื่นเลย หาในกายของเรานี่แหละ หาในใจของเรานี่แหละ ถ้าเรารู้จักวิธีการแนวทาง กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกจากขันธ์ห้า ใจวิเวกจากกิเลส ใจวิเวกจากการเกิด กายวิเวกจากโลกสมมติต่างๆ ถ้าเราเข้าใจกายของเรา เข้าไปอยู่ร่วมกับสมมติให้ใจรับรู้ ไม่ให้ใจเกิดกิเลส สติปัญญาเอาไปใช้ ก็ต้องพยายามกัน
ที่ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรกก็คือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ แต่เวลานี้เราอาจจะสร้างได้บ้างนิดๆ หน่อยๆ เอาไปใช้ได้บ้างเป็นบางครั้งบางคราว ในหลักธรรมแล้วท่านต้องพยายามเจริญให้ต่อเนื่องเอาไปใช้เอาไปวิเคราะห์ เอาไปจำแนกแจกแจงจนใจอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเรา จะไปไหนมาไหนเป็นเรื่องของสติปัญญา อันนี้ก็ต้องพยายามกันเพราะว่ากิเลสมารต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ แม้ตั้งแต่การปล่อยการวาง การแยกรูปแยกนาม การละกิเลส แม้แต่ใจไม่มีกิเลสเขาก็เกิดด้วยความว่าง เขาก็หลอกตัวเอง ใจเขาหลอกตัวเอง ขันธ์ห้าก็หลอกใจ สติปัญญาก็หลอกตัวเอง ถ้ากำลังสติปัญญาของเราไม่เข้มแข็ง ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผลเพียงพอก็ยากที่จะเข้าถึง ก็ต้องพยายามกันนะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชีก็ต้องพยายามกัน ทุกคนก็มีขันธ์ห้า ทุกคนก็มีกิเลส
เรามาอยู่รวมกันหลายคนหลายท่าน อยู่คนละทิศละที่ละทาง เราก็มาอยู่รวมกันให้มีความสมัครสมานสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งงานภายนอกงานภายใน ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความเป็นอยู่ของตัวเรา สิ่งต่างๆ ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว พยายามจัดระบบระเบียบทั้งภายนอกก็ให้เป็นระเบียบให้ดูสวยงามตา ภายในใจของเราก็พยายามขัดเกลาจากกิเลสหยาบกิเลสละเอียดต่างๆ แก้ไขตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา
อีกสักหน่อยก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตายเพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง ความตายมีกันทุกคน เกิดเท่าไรก็ตายหมด เกิดน้อยก็ตายน้อย เกิดมากก็ตายมาก ในหลักธรรมเกิดทางด้านรูปธรรมคือภพของมนุษย์นี้ก็เกิดมาแล้ว ที่นี้หยั่งลึกลงไปเกิดทางด้านจิตใจอีก เราก็พยามแก้ไข
แต่เวลานี้จิตของเรา ใจของเราทั้งหลงด้วย ยึดด้วย ติดด้วย ทั้งเป็นทาสกิเลสด้วย เราต้องมาสะสางทีละเล็กทีละน้อย ขัดเกลากิเลสเอาออกจากจิตออกจากใจของเรา เป็นเรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เรื่องของเราทั้งนั้น พยายามแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา โทษตัวเองแก้ไขตัวเอง จนไม่มีอะไรเหลือที่จะให้ไปละ
มองเห็นความเป็นจริง โลกก็เป็นอยู่อย่างนี้ สมมติก็เป็นอยู่อย่างนี้ วิมุตติก็เป็นอยู่อย่างนี้ ช่วงใหม่ๆ กิเลสต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ เราต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ มีความรับผิดชอบเป็นเลิศ รับผิดชอบตัวเรา แก้ไขตัวเรา แล้วก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง พยายามทำ ดำเนินให้ได้ทุกอิริยาบถ
รู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักหยุด รู้จักดับเอาไว้ ความสงสัยต่างๆ ความลังเลต่างๆ อย่าเพิ่งเอาขึ้นมานึกมาคิด เราพยายามใช้สมถะเข้าไปดับ วิเคราะห์สังเกตจนเห็นการเกิดการแยกการคลาย การตามดูรู้ การเห็น เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ หมดความสงสัยหมดความลังเลในสิ่งที่เราปฏิบัติ เราก็ต้องพยายามนะ แก้ไขตัวเรา
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ
พระธรรมเทศนาโดย พระอาจารย์สำราญ ธมฺมธุโร (หลวงพ่อกล้วย วัดป่าธรรมอุทยาน)
ในวันที่ 22 สิงหาคม 2561
ขอให้ทุกคนทุกท่านจงเจริญสติ สร้างความรู้สึกรับรู้สัมผัสของลมหายใจของตัวเราเองให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง นั่งตามสบาย วางกายให้สบาย วางใจให้สบายไม่ต้องพนมมือ ฟังไปด้วยน้อมสำเหนียกไปด้วย ลองสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ ลึกๆ สัก 2-3 เที่ยว ความนึกคิดปรุงแต่งต่างๆ ก็จะหยุดไป สัมผัสของลมหายใจที่วิ่งเข้าวิ่งออกกระทบปลายจมูกของเราก็จะชัดเจน ตั้งแต่ตื่นขึ้นตั้งแต่ยังไม่ได้ลุกจากที่ รู้จักลักษณะของความรู้สึกตัวอยู่ปัจจุบัน ทุกขณะลมหายใจเข้าลมหายใจออกให้ต่อเนื่องให้เชื่อมโยง
ส่วนการเกิดการดับของใจนั้นมีอยู่เดิม การเกิดการดับของความคิดนั้นมีอยู่เดิม เราพยายามหัดวิเคราะห์ หัดสังเกต หัดอบรมใจของเรา แก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา พูดคุยกับใจของเรา สติปัญญาอบรมใจของเรา รู้ไม่ทันต้นเหตุก็ให้รู้จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม พยายามฝึกให้เกิดความเคยชินทุกอิริยาบถ ยืนเดินนั่งนอน กินอยู่ขับถ่าย
ใจที่ปกติเป็นลักษณะอย่างนี้ ใจที่ไม่เกิดเป็นลักษณะอย่างนี้ ความคิดผุดขึ้นมา ลักษณะอาการเขาเกิดเขาปรุงแต่งส่งออกไปภายนอกเป็นลักษณะอย่างนี้ กายทำหน้าที่อย่างนี้ ทวารทั้งหกทำหน้าที่อย่างนี้ เราต้องรู้จักให้ชัดเจนว่าลักษณะของสติความรู้ตัวที่ต่อเนื่อง พยายามดำรงตรงนี้ให้เกิดความเคยชินหรือว่าสร้าง สร้างขึ้นมานั่นแหละ สร้างความรู้ตัวขึ้นมาให้ต่อเนื่องให้เข้มแข็ง
ขณะที่เรามีสติรู้ตัวอยู่ปัจจุบัน บางทีใจของเราก็จะเกิดส่งออกไปภายนอก เราก็จะรู้เราก็จะเห็นลักษณะหน้าตาอาการ เราก็รู้จักหยุดรู้จักดับ บางทีความคิดที่เราไม่ได้ตั้งใจคิดผุดขึ้นมา ความรู้ตัวเรา รู้ตัวอยู่ปัจจุบัน เราก็จะเห็นเข้าสักวันหนึ่ง
ถ้าเห็นใจเคลื่อนเข้าไปรวมกับความคิด ใจก็จะคลาย หงายหรือว่าแยกรูปแยกนาม ตรงนี้แหละถึงเรียกว่า เห็นถูกความเห็นถูก เห็นถูกเราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ ลักษณะอัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนัตตาเป็นลักษณะอย่างนี้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในขันธ์ห้าในกายของเราเป็นอย่างนี้ เราก็จะเห็นชัดเจน
แต่เวลานี้กำลังสติ ทั้งกำลังสติ กำลังใจ กำลังขันธ์ห้า เขารวมกันไปเป็นก้อน เราต้องพยายามจำแนกแจกแจงออกให้เห็นทีละชิ้นทีละส่วน ความรู้ตัวไม่ต่อเนื่องเราก็พยายามสร้างขึ้นมา สร้างขึ้นมา อดทนฝืน แก้ไขปรับปรุง ตั้งแต่ตื่นขึ้น ถ้าเราไม่รู้จักแก้ไขเรา ไม่รู้จักพิจารณา ไม่รู้จักสังเกต ไม่รู้จักหยุด การเกิดของใจก็เอาไม่อยู่
เราพยายามหมั่นพร่ำสอนใจของเราจนชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผล อะไรควรละ อะไรควรเจริญ อะไรควรดำเนิน ท่านถึงบอกว่าให้รอบรู้ในกองสังขาร รอบรู้ในดวงวิญญาณในขันธ์ห้า รอบรู้ในปัจจัยสี่ รอบรู้ในโลกธรรมในสิ่งที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็ต้องพยายามกัน
การได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน อันนี้เป็นเพียงแค่วิธีการแนวทาง ครูบาอาจารย์ สถานที่ เป็นแค่เพียงแผนที่ชี้แนะแนวทางให้ พวกท่านจะพากันไปทำหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับตัวของพวกท่านเอง แต่ละวันๆ เรามีความขยันหมั่นเพียรเพียงพอหรือไม่ เรามีความรับผิดชอบ เรามีความเสียสละ เรารู้จักละกิเลส กิเลสหยาบกิเลสละเอียด เรารู้จักควบคุมเรารู้จักดับ มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี ทำความเข้าใจ ทำความเข้าใจให้ได้ใช้ตัวเองให้เป็น อยู่คนเดียวก็มีความสุขอยู่หลายคนก็มีความสุข ถ้าเรารู้จักสังเกต เรารู้จักวิเคราะห์ แก้ไขตัวเรา สติปัญญานั่นแหละ คือครูบาอาจารย์คอยตรวจสอบใจของเรา อะไรผิดอะไรถูกเราก็พยายามแก้ไขเอา
ทุกเรื่องในชีวิตเป็นเรื่องของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา จะลุกจะก้าวจะเดินใจปกติหรือไม่ จะรับประทานข้าวปลาอาหารใจเกิดความอยากหรือว่าใจเกิดความหิว กายเกิดกิเลสใจปรุงแต่งรวมหรือไม่ เหตุจากภายนอกหรือว่าเหตุจากภายใน เราต้องแก้ไขทั้งข้างนอกทั้งข้างใน มองเห็นหนทางเดินว่าเราจะได้กลับมาเกิดหรือไม่ได้กลับมาเกิดกัน
การเจริญสติเป็นอย่างนี้ สติที่ต่อเนื่องเป็นอย่างนี้ เอาไปใช้การใช้งาน การเกิดของใจเรารู้เห็นตั้งแต่เริ่มต้น กลางเหตุ ปลายเหตุ เขาเกิดอย่างไร เขาส่งออกไปภายนอกได้อย่างไร เขารวมกันได้อย่างไร ทำไมพระพุทธองค์ถึงบอกว่าเป็นกองเป็นขันธ์ กองวิญญาณ กองรูปกองนาม กองสังขาร กองความคิด กองอารมณ์ต่างๆ ที่ท่านว่าเป็นกองๆ ห้าขันธ์ห้ากอง เราจำแนกแจกแจงให้รู้เห็นตามความเป็นจริง เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ เข้าใจในหลักของอริยสัจ ความจริงอันประเสริฐซึ่งมีอยู่ในกายของเราทุกคน เว้นเสียแต่ว่าพวกเราจะรู้เท่ารู้ทัน รู้จักจำแนกแจกแจง รู้จักเอาสติปัญญาไปใช้ให้ได้ตลอดเวลาจนเป็นอัตโนมัติ
ในการดู ในการรู้ รู้ไม่ทันต้นเหตุก็จักหยุด รู้จักดับ รู้จักควบคุม เจริญพรหมวิหารเข้าไปทดแทน ใจเกิดความโลภพยายามละความโลภ ใจเกิดความโกรธละความโกรธ ทำในสิ่งตรงกันข้าม ใจเกิดความโลภเราก็พยายามละความตระหนี่เหนียวแน่น ละความอยาก ใจเกิดความโกรธเราก็พยายามดับความโกรธ แล้วก็พยายามให้อภัยอโหสิกรรม มองโลกในทางที่ดี แก้ไข
กิเลสก็มีหลายชั้นหลายขั้นหลายตอน กิเลสหยาบกิเลสละเอียด มีหมดอยู่ในกายอยู่ในใจของเรา ขอให้เราเจริญสติให้ต่อเนื่องเอาไปใช้เอาไปวิเคราะห์ ตั้งแต่ต้นเหตุแล้วก็รู้จักแก้ไขตัวเราอยู่ตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องไปหาที่อื่นเลย หาในกายของเรานี่แหละ หาในใจของเรานี่แหละ ถ้าเรารู้จักวิธีการแนวทาง กายวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกเป็นอย่างนี้ ใจวิเวกจากขันธ์ห้า ใจวิเวกจากกิเลส ใจวิเวกจากการเกิด กายวิเวกจากโลกสมมติต่างๆ ถ้าเราเข้าใจกายของเรา เข้าไปอยู่ร่วมกับสมมติให้ใจรับรู้ ไม่ให้ใจเกิดกิเลส สติปัญญาเอาไปใช้ ก็ต้องพยายามกัน
ที่ท่านบอกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน ตนตัวแรกก็คือสติที่เราสร้างขึ้นมานี่แหละ แต่เวลานี้เราอาจจะสร้างได้บ้างนิดๆ หน่อยๆ เอาไปใช้ได้บ้างเป็นบางครั้งบางคราว ในหลักธรรมแล้วท่านต้องพยายามเจริญให้ต่อเนื่องเอาไปใช้เอาไปวิเคราะห์ เอาไปจำแนกแจกแจงจนใจอยู่ในโอวาทของสติปัญญาของเรา จะไปไหนมาไหนเป็นเรื่องของสติปัญญา อันนี้ก็ต้องพยายามกันเพราะว่ากิเลสมารต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ แม้ตั้งแต่การปล่อยการวาง การแยกรูปแยกนาม การละกิเลส แม้แต่ใจไม่มีกิเลสเขาก็เกิดด้วยความว่าง เขาก็หลอกตัวเอง ใจเขาหลอกตัวเอง ขันธ์ห้าก็หลอกใจ สติปัญญาก็หลอกตัวเอง ถ้ากำลังสติปัญญาของเราไม่เข้มแข็ง ชี้เหตุชี้ผล เห็นเหตุเห็นผลเพียงพอก็ยากที่จะเข้าถึง ก็ต้องพยายามกันนะ ไม่ว่าพระว่าโยมว่าชีก็ต้องพยายามกัน ทุกคนก็มีขันธ์ห้า ทุกคนก็มีกิเลส
เรามาอยู่รวมกันหลายคนหลายท่าน อยู่คนละทิศละที่ละทาง เราก็มาอยู่รวมกันให้มีความสมัครสมานสามัคคี ช่วยเหลือซึ่งกันและกันทั้งงานภายนอกงานภายใน ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความเป็นอยู่ของตัวเรา สิ่งต่างๆ ที่เราเข้าไปยุ่งเกี่ยว พยายามจัดระบบระเบียบทั้งภายนอกก็ให้เป็นระเบียบให้ดูสวยงามตา ภายในใจของเราก็พยายามขัดเกลาจากกิเลสหยาบกิเลสละเอียดต่างๆ แก้ไขตัวเราเองอยู่ตลอดเวลา
อีกสักหน่อยก็ต้องได้พลัดพรากจากกัน ไม่ได้พลัดพรากจากกันตอนเป็น ก็ต้องได้พลัดพรากจากกันตอนตายเพราะเป็นกฎของไตรลักษณ์ กฎของความเป็นจริง ความตายมีกันทุกคน เกิดเท่าไรก็ตายหมด เกิดน้อยก็ตายน้อย เกิดมากก็ตายมาก ในหลักธรรมเกิดทางด้านรูปธรรมคือภพของมนุษย์นี้ก็เกิดมาแล้ว ที่นี้หยั่งลึกลงไปเกิดทางด้านจิตใจอีก เราก็พยามแก้ไข
แต่เวลานี้จิตของเรา ใจของเราทั้งหลงด้วย ยึดด้วย ติดด้วย ทั้งเป็นทาสกิเลสด้วย เราต้องมาสะสางทีละเล็กทีละน้อย ขัดเกลากิเลสเอาออกจากจิตออกจากใจของเรา เป็นเรื่องของเราไม่ใช่เรื่องของคนอื่น เรื่องของเราทั้งนั้น พยายามแก้ไขเรา ปรับปรุงตัวเรา โทษตัวเองแก้ไขตัวเอง จนไม่มีอะไรเหลือที่จะให้ไปละ
มองเห็นความเป็นจริง โลกก็เป็นอยู่อย่างนี้ สมมติก็เป็นอยู่อย่างนี้ วิมุตติก็เป็นอยู่อย่างนี้ ช่วงใหม่ๆ กิเลสต่างๆ เขาก็ไม่ยอมแพ้ เราต้องเป็นคนขยันหมั่นเพียรเป็นเลิศ มีความเสียสละเป็นเลิศ มีความรับผิดชอบเป็นเลิศ รับผิดชอบตัวเรา แก้ไขตัวเรา แล้วก็ล้นออกไปสู่หมู่สู่คณะ สู่พี่สู่น้อง พยายามทำ ดำเนินให้ได้ทุกอิริยาบถ
รู้ไม่ทันต้นเหตุเราก็รู้จักหยุด รู้จักดับเอาไว้ ความสงสัยต่างๆ ความลังเลต่างๆ อย่าเพิ่งเอาขึ้นมานึกมาคิด เราพยายามใช้สมถะเข้าไปดับ วิเคราะห์สังเกตจนเห็นการเกิดการแยกการคลาย การตามดูรู้ การเห็น เราก็จะเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์ หมดความสงสัยหมดความลังเลในสิ่งที่เราปฏิบัติ เราก็ต้องพยายามนะ แก้ไขตัวเรา
สร้างความรู้ตัวให้ต่อเนื่อง ให้เชื่อมโยงกันสักนิดหนึ่งก็ยังดี ทำใจให้โล่ง สมองให้โปร่ง มีความรู้สึกรับรู้อยู่ที่ปลายจมูกของเราให้ชัดเจนกันนะ
พากันไหว้พระพร้อมๆ กัน พากันไปสร้างสานต่อทำความเข้าใจให้รู้ทุกอิริยาบถ